Skip to main content
sharethis

ในงานอภิปรายเรื่อง “60 ปี อนุสัญญาว่าด้วยผู้ลี้ภัยกับประเทศไทย: อดีต ปัจจุบัน และอนาคต” โดยความร่วมมือระหว่าง มูลนิธิไทยเพื่อคนมีปัญหาสิทธิและสถานะบุคคล(ทีซีอาร์) และ เครือข่ายสิทธิผู้ลี้ภัยภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค (เอพีอาร์อาร์เอ็น) เนื่องในวันผู้ลี้ภัยโลก 20 มิถุนายนที่ผ่านมา ณ สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทยโดยมีผู้ร่วมอภิปรายสี่คนประกอบด้วย ศ.วิทิต มันตาภรณ์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ดร.ศรีประภา เพชรมีศรี ผู้แทนประเทศไทยในคณะกรรมกาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน, สมชาย หอมละออ คณะกรมมาธิการปฏิรูปกฎหมายแห่งชาติ และนายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดย ศ.วิทิต มันตาภรณ์เสนอสิบข้อในการจัดการปัญหาผู้ลี้ภัยตามหลักสิทธิมนุษยชน โดยมีความเห็นว่าประเทศไทยไม่ค่อยเคร่งครัดหรือรุนแรงกับผู้ลี้ภัยมากนักซึ่งถือว่าดีมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นท่ามีกฎระเบียบที่เคร่งครัดรุนแรง และหลายประเทศที่แก้ปัญหาโดยการส่งผู้อพยพกลับประเทศต้นทางอย่างเดียว แต่ถึงแม้ว่ากฎหมายของผู้ลี้ภัยจะไม่ค่อยมีมาตรการรุนแรงเมื่อเทียบกับประเทศอื่น รวมถึงกฎหมายการให้สัญชาติของไทยจะเป็นเรื่องที่ดี แต่เรายังมีปัญหาเรื่องระบบการจัดการผู้อพยพที่ยังค่อนข้างซับซ้อนและยุ่งยาก และเรายังไม่มีกฏหมายที่เป็นสากลในการจัดการกับปัญหาของบุคคลไร้สัญชาติอย่างเป็นรูปธรรมโดยเสนอข้อเสนอสิบข้อในการจัดการปัญหาดังกล่าวเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน โดยสรุปดังนี้ หนึ่ง ต้องไม่มีการส่งผู้ลี้ภัยกลับเข้าประเทศต้นทางหรือประเทศที่ผู้ลี้ภัยอพยพมา สอง ต้องดูแลผู้อพยพลี้ภัยอย่างเป็นมิตร สาม ต้องปฎิบัติกับผู้อพยพลี้ภัยอย่างไม่แบ่งแยก สี่ ต้องปฎิบัติกับผู้ลี้ภัยตามหลักกฎหมายสากล ห้า ต้องมีกฎหมายคุ้มครองสำหรับผู้ลี้ภัยที่ไม่ได้รับความคุ้มครองหรือไม่มีสัญชาติจากประเทศต้นทางของผู้อพยพ หก ต้องไม่มีค่ายกักกันของผู้ลี้ภัย เจ็ด ต้องดูแลเอาใจใส่ผู้อพยพลี้ภัยโดยไม่มีการทอดทิ้ง แปด ต้องไม่มีความเกี่ยวพันธ์กับกระบวนการค้ามนุษย์รวมถึงให้ความคุ้มครองกับผู้ลี้ภัยด้วย เก้า ต้องให้ความคุ้มครองกับผู้ลี้ภัยที่เป็นเด็กและสตรีหรือคนพิการเป็นพิเศษ สิบ สร้างชุมชนให้ผู้อพยพลี้ภัยอยู่อย่างเป็นกิจจะลักษณะ ทั้งนี้ นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กล่าวเสริมในประเด็นปัญหาว่าในหลายๆ ประเทศที่เกิดสงครามชนกลุ่มน้อย ผู้อพยพที่หลั่งใหลเข้ามาในประเทศไม่ได้รับความคุ้มครองจากประเทศของผู้อพยพเนื่องจากเป็นชนกลุ่มน้อยที่รัฐบาลประเทศนั้นๆ ไม่ให้สัญชาติ คนเหล่านี้เมื่ออพยพเข้ามาในไทยถูกทำให้กลายเป็นบุคคลผิดกฎหมาย และยกตัวอย่างเช่นในพม่า เมื่อรัฐพยายามผลักดันให้ชนกลุ่มน้อยโรฮิงยาผู้ลี้ภัยกลับเข้าไปในเขตแดนของตน คนเหล่านี้ก็ไม่สามารถเข้าไปในประเทศได้เนื่องจากไร้สัญชาติ ทำให้ต้องตั้งถิ่นฐานอยู่ตามป่าเขาเป็นจำนวนถึงสามถึงสี่พันคน โดยการแก้ปัญหาคือต้องทำให้รัฐไทยตระหนักว่าว่าคำว่าเขตแดนนั้นไม่ใช่หลักทางภูมิศาสตร์อย่างเดียว คือไม่ใช่มองปัจจัยทางกายภาพของอธิปไตยอย่างเดียว แต่ต้องนึกถึงเรื่องชุมชน เรื่องคน และเรื่องคุณภาพชีวิตของมนุษย์ เราอยุ่ในโลกที่มีพรมแดน แต่แท้จริงเราอยู่ในโลกไร้พรมแดนในโลกยุคโลกาภิวัฒน์องค์กรระดับโลกควรมีนโยบายที่ไม่ใช่การเปิดเสรีในระบบทุน ประชาคมอาเซียนต้องนึกถึงผลประโยชน์ของประชาชนเป็นใหญ่ ต้องใช้หลักการสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาค ไม่อย่างนั้นองค์กรอาเซียนจะเป็นเพียงแค่เศษกระดาษและเป็นเพียงองค์กรที่เอื้อประโยชน์ต่อคนเพียงกลุ่มเดียว หรือนักการเมืองบางคน ทั้งนี้สังคมไทยควรเปลี่ยนความคิดใหม่ ที่คิดว่าถ้าเราทำดีแล้วจะมีผู้อพยพเข้ามาอีก หรือมองว่าผู้ลี้ภัยเข้ามาสร้างปัญหาเข้ามาแย่งงาน ทั้งที่มีงานวิจัยหลายชิ้นออกมาว่าความคิดเหล่านี้เป็นแค่มายาคติของรัฐไทยที่สร้างขึ้นเพื่อควบคุมและกดขี่ผู้อพยพลี้ภัยโดยการอ้างความเป็นอธิปไตย นพ.นิรันดร์ กล่าวโดยสรุป

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net