Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

จากช่วงคืนที่ผ่านมา สื่อมวลชนไทยได้รายงานว่านายสุวิทย์ คุณกิตติ หัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทยในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ประกาศว่าไทยได้ “ลาออกจากคณะกรรมการมรดกโลก” บ้างก็ว่า “ถอนตัวจากสมาชิกมรดกโลก” บ้างก็ว่า “Thailand has withdrawn from the World Heritage Convention” ล่าสุดคุณสุวิทย์เองใช้คำว่า “คกก.มรดกโลกนำวาระเขาพระวิหารเข้าที่ประชุม จึงเป็นที่มาของการถอนตัวของไทยออกจากกรรมการและสมาชิกภาคีอนุสัญญา” (http://twitter.com/#!/SuwitKhunkitti). ผู้เขียนยังไม่พบหนังสือ ถ้อยแถลง หรือคำอธิบายอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลไทยว่า “การถอนตัว” ดังกล่าวมีรายละเอียดเช่นใด แต่ในยุคสมัยที่สื่อมวลชนต่างชิงเสนอข้อมูลจาก Twitter เพียงไม่กี่บรรทัด ผู้เขียนในฐานะนักกฎหมายจึงจำต้องตั้งข้อสังเกตเบื้องต้นเพิ่มเติมอีกบางบรรทัด เพื่อประโยชน์ของประชาชนคนไทยผู้มีสิทธิได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนดังนี้ ไทยจะ “ถอนตัว” (withdraw) จาก “ภาคีมรดกโลก” ได้หรือไม่นั้น ไม่ใช่เรื่องการตัดสินใจตามอำเภอใจ แต่เป็นเรื่องการใช้สิทธิตามขั้นตอนกฎหมายระหว่างประเทศ โดยหลักก็คือ อนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ ค.ศ. 1972 (“อนุสัญญามรดกโลกฯ”) ซึ่งไทยอาจ “ยังคง” เป็น หรือ “เคย” เป็น “ภาคีอนุสัญญา” (“ภาคี” ในที่นี้ก็หมายถึง “คู่สัญญา” ที่ยอมผูกพันตามกฎหมายนั่นเอง) กฎหมายระหว่างประเทศรับรองว่าไทยมีสิทธิถอนตัวจากการเป็น \ภาคีอนุสัญญามรดกโลกฯ\" โดยการ “ประกาศไม่ยอมรับ” (denounce) ทั้งนี้ตามที่อนุสัญญามรดกโลกฯ ข้อ 35 กำหนดสิทธิไว้ ดังนี้: Article 35 1. Each State Party to this Convention may denounce the Convention. 2. The denunciation shall be notified by an instrument in writing

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net