Skip to main content
sharethis

แรงงานนิคมลำพูนใช้สิทธิ์นอกเขตเลือกตั้งเพียบ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตั้งแต่เวลา 08.00 น.วันนี้ (26 มิ.ย.)เป็นต้นมา มีประชาชนเดินทางออกไปใช้สิทธิ์ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งล่วงหน้า ที่หน่วยเลือกตั้งนอกเขตและในเขตจ.ลำพูน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ใช้แรงงานภาคอุตสากรรมที่มาทำงานในการนิคมอุตสาหกรรมภาคภาค เหนือ และสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ รองลงมาเป็นข้าราชการที่ทำงานวันที่เลือกตั้ง 3 ก.ค.มาใช้สิทธิ์จำนวนมาก ท่ามกลางการจราจรติดขัดและฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง เบื้องต้น สำหรับผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขต จ.ลำพูนที่ได้ลงทะเบียนไว้เพื่อขอใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 1 ประกอบด้วย อ.เมืองลำพูน บ้านธิ และอ.แม่ทา จำนวน 1,129 คน ลงคะแนน ณ หอประชุมอำเภอเมืองลำพูน อ.เมือง เขตเลือกตั้งที่ 2 ประกอบด้วย อ.ป่าซาง บ้านโฮ่ง ทุ่งหัวช้าง ลี้ และ อ.เวียงหนองล่อง จำนวน 730 คน ไปลงคะแนน ณ หอประชุมอินทนิล โรงเรียนธีรกานท์บ้านโฮ่ง อ.บ้านโฮ่ง ส่วนผู้ใช้สิทธิลงคะแนนก่อนวันเลือกตั้ง จำนวน 23,838 คน ไปลงคะแนนเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้ง ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ ร.ร.ส่วนบุญโญปถัมภ์ ลำพูน อ.เมือง จ.ลำพูน (เนชั่นทันข่าว, 26-6-2554) เลือกตั้งล่วงหน้าที่เบตงแรงงานไทยในมาเลย์กลับมาใช้สิทธิคึกคัก 26 มิ.ย. 54 - บรรยากาศการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งล่วงหน้าที่ อ.เบตง จ.ยะลา ที่สถานที่เลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตจังหวัดและสถานที่เลือกตั้งล่วงหน้าในเขต จังหวัดเป็นไปอย่างคึกคัก โดยมีประชาชนในพื้นที่และแรงงานไทยที่ทำงานอยู่ในมาเลเซียเดินทางมาใช้สิทธิ อย่างต่อเนื่อง โดยบรรยากาศการใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตจังหวัด ที่ศาลาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาในเขตเทศบาลเมืองเบตงนั้น จากการที่ประชาชนจำนวนมากทยอยเดินทางมาใช้สิทธิ อีกทั้งยังมีทหารที่มาปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ต่างเดินทางมาใช้สิทธิเลือก ตั้งล่วงหน้านอกเขตจังหวัดอีกด้วยซึ่งประชาชนที่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ล่วงหน้ามีจำนวน 3,654 คน ด้านคณะกรรมการการเลือกตั้งได้จัดพื้นที่สำหรับตรวจสอบลำดับที่ใน บัญชีผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ทั้งการค้นด้วยตนเองและค้นผ่านระบบอินเตอร์เน็ต รวมทั้งระดมกำลังทั้งเจ้าหน้าที่ อาสาสมัคร ตำรวจ ทหาร และอาสาสมัครภาคประชาชน คอยอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่เข้ามาใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า ทำให้การลงคะแนนเสียงยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่องและยังไม่ประสบปัญหาแต่ ประการใด สำหรับปัญหาที่พบในช่วงเช้าที่ผ่านมานั้น ส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาเล็กๆ น้อยๆ จากการเข้าใจผิดของผู้มีสิทธิเลือกตั้งเอง อย่างเช่นมาโดยไม่ทราบว่าต้องมีการลงทะเบียนก่อน หรือเข้าใจผิดว่าตนเองต้องใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้ง ทั้งที่มีรายชื่อครบถ้วนและมีสิทธิเลือกตั้งในเขตพื้นที่ที่อาศัยอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ถือว่าในภาพรวมแล้วการเลือกตั้งล่วงหน้ายังคงดำเนินไปอย่างราบรื่น และผู้ที่ได้ลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้าไว้กับทาง กกต. แล้วสามารถใช้สิทธิได้ทุกคน (ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 26-6-2554) เผยอัตราว่างงาน เมษายน 285,000 คน ลดลง 0.8% จบป.ตรี เตะฝุ่น เฉียด 8 หมื่น นายวิบูลย์ทัต สุทันธนกิตติ์ ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) เปิดเผยถึง จำนวนผู้ว่างงานล่าสุดในเดือนเมษายน 2554 ว่า มีจำนวนทั้งสิ้น 285,000 คน หรือคิดเป็นอัตราการว่างงาน ร้อยละ 0.8 ลดลงจากปีก่อน 166,000 คน แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2554 ประมาณ 9,000 คน โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อน 199,000 คน ส่วนผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อนมีจำนวน 86,000 คน ซึ่งผู้ว่างงานมาจากภาคการบริการและการค้ามากที่สุด 88,000 คน ภาคการผลิต 69,000 คน และภาคเกษตรกรรม 42,000 คน ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาระดับการศึกษาของผู้ว่างงาน พบว่าผู้ว่างงานส่วนใหญ่จบการศึกษาในระดับอุดมศึกษามากที่สุดจำนวน 79,000 คน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.2 รองลงมาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 66,000 คน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 52,000 คน หรือร้อยละ 1 ระดับประถมศึกษา 49,000 คน หรือร้อยละ 0.6 และผู้ที่ไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษา 39,000 คน หรือร้อยละ 0.3 ส่วนจำนวนผู้มีงานทำในเดือนเมษายน นั้น มีจำนวนทั้งสิ้น 37.37 ล้านคน แยกเป็นผู้มีงานทำในภาคเกษตรกรรม 12.66 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 180,000 คนที่มีจำนวน 12.48 ล้านคน ขณะที่ผู้มีงานทำนอกภาคเกษตรกรรม 24.71 ล้านคน ลดลง 70,000 คน จาก 24.78 ล้านคน เหลือ 24.71 ล้านคน ซึ่งการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมที่ลดลงส่วนใหญ่ลดลงในสาขาการขายส่ง ขายปลีก ซ่อมยานยนต์ จำนวน 550,000 คน สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า 230,000 คน สาขาการก่อสร้าง และสาขางานด้านสุขภาพและงานสังคมสงเคราะห์ลดลงเท่ากัน 90,000 คน สาขาที่เพิ่มขึ้นได้แก่การบริหารราชการ การป้องกันประเทศ และการประกันสังคมภาคบังคับ 250,000 คน สาขากิจกรรมบริการด้านอื่น เช่น กิจกรรมบริการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย การบริการซักรีดและซักแห้ง การซ่อมเครื่องใช้ในครัวเรือน เป็นต้น 210,000 คน สาขาการศึกษา 80,000 คน และที่เหลือกระจายอยู่ในสาขาอื่น (มติชนออนไลน์, 26-6-2554) ทีดีอาร์ไอวิจารณ์นโยบายค่าจ้างขั้นต่ำเป็นไปไม่ได้ เตือนแรงงานคิดให้ดีก่อน 27 มิ.ย. 54 - นายสราวุธ ไพฑูรย์พงษ์ นักวิชาการอาวุโส ฝ่ายการวิจัยทรัพยากรมนุษย์และพัฒนาสังคม สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยว่า การจัดทำนโยบายเรื่องการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ หรือเพิ่มเงินเดือนให้กับแรงงานระดับปริญญาตรี หรือการจัดทำกองทุนจ้างงาน 1 ล้านตำแหน่ง เป็นต้น ถือเป็นนโยบายประชานิยมที่พรรคการเมืองนำเสนอเพื่อขอคะแนนเสียงจากกลุ่มผู้ ใช้แรงงานในการเลือกตั้งที่จะมาถึง 3 ก.ค.นี้ ซึ่งในแง่หนึ่งถือเป็นเรื่องดีที่พรรคการเมืองให้ความสำคัญกับแรงงาน แต่ขณะเดียวกันแรงงานต้องพิจารณาให้ดีว่าเป็นนโยบายที่สามารถทำได้จริง นอกจากนี้ การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการค่าจ้าง ซึ่งเป็นคณะกรรมการไตรภาคี ที่ประกอบด้วยนายจ้าง ลูกจ้างและตัวแทนรัฐ ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน และคณะกรรมการค่าจ้างต้องเป็นผู้ประกาศอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ หรืออัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือโดยเสนอต่อ ครม. อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากนโยบายของพรรคการเมืองต่าง ๆ แล้ว เช่น การกำหนดเป้าหมายเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำร้อยละ25 ในเวลา 2 ปี พอจะมีความเป็นไปได้ เพราะเพิ่มจาก 221 บาท เป็น 276 บาท และใช้เวลา 2 ปี แต่ที่ยากกว่าคือ การจะเพิ่มจาก 221 บาท เป็น 300 บาท เท่ากับเพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ 35.7 แต่ไม่ได้ระบุให้ชัดเจนว่าจะปรับเพิ่มขึ้นได้เมื่อใด ซึ่งที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 41-54 อัตราค่าจ้างขั้นต่ำในไทยไม่เคยเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 10 โดยมีอัตราเฉลี่ยเพียงร้อยละ 2.4 เท่านั้น สูงสุดอยู่ที่ร้อยละ 9.1 ในปี 2550-2551 รองลงมาคือ ร้อยละ 7 ในปี 2553-2554 เท่านั้น ส่วนประเด็นเรื่องเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท อาจมีทางเป็นไปได้ในภาคเอกชน สำหรับผู้จบการศึกษาสายวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ ส่วนภาคราชการยังต่ำกว่าอยู่มาก ซึ่ง ปัญหาที่แท้จริงเป็นความแตกต่างระหว่างเงินเดือนปริญญาตรี กับผู้จบระดับมัธยมปลาย ปวช. และ ปวส. เท่านั้น ขณะเดียวกันปัญหาแรงงานที่เกิดขึ้นในขณะนี้ เป็นความขาดแคลนแรงงานระดับล่างและระดับกลางมาก ขณะที่แรงงานระดับปริญญามีมากเกินไปจนว่างงานจำนวนมาก ที่เป็นเช่นนี้เพราะช่องว่างของค่าจ้างเงินเดือนสำหรับผู้จบมัธยม หรือ ปวช.ต่ำกว่าระดับปริญญามาก (ข้าราชการบัญชีเก่า ปวช. 5,760 บาท ปวส. 7,100 บาท และ ปริญญาตรี 7,940 บาท ปรับใหม่ปี 2554 ปวช. 6,100 บาท ปวส. 7,300 บาท และ ปริญญาตรี 8,700 บาท) จึงทำให้ใช้แรงงานระดับล่างและระดับกลางพยายามไขว่คว้าหาปริญญา และเกิดปัญหาความไม่สอดคล้องของโครงสร้างแรงงาน นโยบาย ที่น่าจะเหมาะกับสถานการณ์แรงงานของประเทศไทยจึงน่าจะเป็นการยกระดับเงิน เดือนแรงงานระดับกลางให้สูงขึ้น และไม่ต่างจากแรงงานระดับปริญญาจนเกินไป นอกจากนี้ การจ้างกองทุนจ้างงาน 1 ล้านตำแหน่ง นั้นถือว่าเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เพราะไม่มีประเทศไหนในโลกที่ไม่มีการ ว่างงาน โดยสหรัฐอเมริกา ถือว่าอัตราการว่างงานธรรมชาติ คือ ร้อยละ 3 แต่ประเทศไทยมีอัตราการว่างงานอยู่ที่กว่าร้อยละ 1 ถือว่าต่ำ นอกจากนี้ นโยบายนี้ไม่ชัดเจนว่าจะจ้างงานเป็นเวลากี่วัน กี่เดือน หรือนานเท่าใด ทันทีที่ครบกำหนดจ้างก็จะมีการว่างงานเกิดขึ้น เพราะเป็นไปไม่ได้ที่กองทุนจะสามารถจ้างงานได้ตลอดไป (เหมือนที่เคยเกิดขึ้นกับกองทุนมิยาซาวา ช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ) กองทุนจ้างงานที่พูดถึงยังเป็นการซ้ำซ้อนกับการประกันสังคมกรณีการว่างงาน ซึ่งมีกฎ กติกา มารยาท ที่เริ่มเข้าที่เข้าทางดีอยู่แล้ว (สำนักข่าวไทย, 27-6-2554) ปชช.ร้อง สปส.รักษาแย่ 406 ราย ด้าน สปส.ขู่ฟัน รพ.เห็นแก่เงิน นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล ผอ.สำนักจัดระบบบริการทางการแพทย์ สำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน (รง.) เปิดเผยว่า ปัจจุบัน สปส.มีโรงพยาบาลรัฐและเอกชน คลีนิคที่เป็นเครือข่ายสถานพยาบาลในระบบประกันสังคมทั้งสิ้น 2,120 แห่ง โดยในช่วงตั้งแต่เดือนม.ค.2553 จนถึงเดือนพ.ค. 2554 มีผู้ประกันตนร้องเรียนเรื่องการรักษาพยาบาลทั้งหมด 406 ราย ส่วนใหญ่ร้องเรียนใน 3 ประเด็นได้แก่ 1.การบริหารจัดการ 2.พฤติกรรมการให้บริการ และ 3.มาตรฐานการให้บริการโดยเฉพาะมาตรฐานการให้บริการนั้นมีการร้องเรียนมากที่ สุด เช่น ตรวจรักษาไม่ละเอียดทำให้ไม่พบโรค รักษาล่าช้าเช่น ผู้ป่วยโรคหัวใจควรผ่าตัดทำบายพาสแต่กลับไม่ผ่าตัด ไม่ยอมส่งต่อผู้ป่วยไปโรงพยาบาลอื่นซึ่งกรณีนี้ส่วนใหญ่เป็นโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งบางแห่งทำเพื่อต้องการเงินจากประกันสังคม นพ.สุรเดชกล่าวอีกว่า หาก สปส.ตรวจสอบพบว่าโรงพยาบาลประกันสังคมรักษาไม่ได้มาตรฐานการให้บริการ เช่น ไม่ยอมส่งต่อผู้ป่วย จะมีบทลงโทษตั้งแต่ตักเตือน ภาคทัณฑ์ ลดโควตาผู้ประกันตนและยกเลิกสัญญา ที่ผ่านมามีโรงพยาบาลถูกยกเลิกสัญญา 3 ราย ส่วนกรณีโรงพยาบาลประกันสังคมตรวจรักษาคนไข้ไม่ละเอียด ทำให้ไม่พบโรคและผู้ประกันตนไปรักษาโรงพยาบาลอื่นๆ แล้วพบโรค หากตรวจสอบแล้วพบข้อบ่งชี้ว่าโรงพยาบาลประกันสังคมรักษาไม่ได้มาตรฐานการให้ บริการ โรงพยาบาลประกันสังคมแห่งนั้น จะต้องรับผิดชอบจ่ายค่ารักษาให้แก่ผู้ประกันตน “ส่วนกรณีโรงพยาบาลประกันสังคมรักษาไม่เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพ ส่งผลให้ผู้ประกันตนต้องพิการหรือเสียชีวิตจากการรักษาพยาบาลซึ่งที่ผ่านมา มีกรณีเสียชีวิต 1 ราย สปส.จะส่งเรื่องต่อไปยังกองการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขเพื่อพิจารณาว่า จะให้โรงพยาบาลช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกันตนหรือญาติอย่างไรโดยให้ทั้งสอง ฝ่ายมาเจรจากัน” นพ.สุรเดชกล่าว นพ.สุรเดชกล่าวด้วยว่า การพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์นั้นสปส.ได้เพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีโรคและยา ที่เสียค่าใช้จ่ายสูง เช่น โรคไต โรคเรื้อรัง ทันตกรรม ยาราคาแพง และเตรียมจะเพิ่มสิทธิประโยชน์กายอุปกรณ์ เช่น ลิ้นหัวใจ สายสวนหัวใจด้วย เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายผู้ประกันตน และจัดระบบตรวจสอบมาตรฐานการให้บริการโดยเฉพาะกระบวนการให้บริการเข้มข้นมาก ขึ้น รวมทั้งให้ผู้แทนผู้ประกันตนกับโรงพยาบาลมาพูดคุยกันถึงปัญหาต่างๆ เพื่อทำความเข้าใจและแก้ปัญหาร่วมกัน (ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 27-6-2554) แรงงานชาวไทยในประเทศมาเลเซียเตรียมลางานเพื่อเดินทางมาใช้สิทธิเลือกตั้ง วันที่ 3 ก.ค.นี้ กลุ่มแรงงานชาวไทยบางส่วนที่ไปประกอบ อาชีพรับจ้างกรีดยาง ลูกจ้างตามร้านอาหาร และทำงานตามโรงงานต่างๆในพื้นที่รัฐกลันตัน และตรังกานู ประเทศมาเลเซียเตรียมลางานวันที่2ก.ค.54เพื่อกลับออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง ทั่วไปยังภูมิลำเนาของตนเองในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ในวันอาทิตย์ที่ 3ก.ค.นี้แล้ว โดยได้มีการโทรศัพท์มาสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับการเลือกตั้ง และขั้นตอนการใช้สิทธิเลือกตั้งผ่านทางสวท.สุไหงโก-ลก ในช่วงของรายการ “รอบบ้าน สวท.” ซึ่งเป็นรายการเฉพาะกิจที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้งในภาคภาษามลายู ท้องถิ่น ทำให้เห็นถึงความตื่นตัวของคนไทยที่แม้ต้องไปทำงานต่างแดนก็ยังต้องการใช้ สิทธิเลือกตั้ง ส.ส.ที่จะมาเป็นผู้แทนของตนเองบนเวทีการเมืองไม่ต่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ ในประเทศไทย ด้านนายอาลาวี อูมาร์ นายสถานีรถไฟสุไหงโก-ลก ยืนยันการรถไฟแห่งประเทศไทยพร้อมให้บริการประชาชนที่เตรียมเดินทางขาไปและ ขากลับจาก อ.สุไหงโก-ลกเพื่อไปใช้สิทธิเลือกตั้งยังภูมิลำเนาของตนเองอย่างเต็มที่ โดยรถไฟชั้น3 ขบวนรถเร็ว สุไหงโก-ลก-กรุงเทพฯ และรถไฟขบวนท้องถิ่นทุกขบวนยังคงให้บริการฟรีซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ ขยายผลโครงการลดภาระค่าครองชีพของรัฐบาลที่จะสิ้นสุดในเดือนมิถุนายนนี้ไป อีก6เดือน และจะมีการพิจารณานโยบายดังกล่าวอีกครั้งในช่วงเดือนธันวาคม2554 ส่วนนายวิเชียร ศรีรักษ์ นายสถานีบริษัทขนส่งจำกัด สาขานราธิวาส เปิดเผยว่า จำนวนประชาชนที่มาจองตั๋วโดยสารขบวนรถโดยสารปรับอากาศ สุไหงโก-ลก-กรุงเทพ ที่เดินทาง5เที่ยวต่อวัน ในห้วงของวันเลือกตั้ง1-5ก.ค.นี้ ยังอยู่ในระดับปกติ ซึ่งหากผู้ใช้บริการมีความประสงค์ที่จะเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งในช่วง เวลาดังกล่าวกับบริษัทขนส่งจำกัดก็สามารถจองตั๋วโดยสารได้ ณ สถานีขนส่ง อ.สุไหงโก-ลก และอ.เมืองนราธิวาสได้ทุกวันในเวลาทำการ อย่างไรก็ตามจากจำนวนผู้ใช้บริการที่ไม่ได้เพิ่มจำนวนขึ้นนั้นปัจจัยส่วน หนึ่งคาดว่ามาจากที่ประชาชนต่างภูมิลำเนาที่เข้ามาทำงานในพื้นที่จ.นราธิวาส ได้ใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าตั้งแต่วันที่26มิ.ย.ที่ผ่านมาแล้ว (สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 28-6-2554) บริษัทจัดหางานฟ้อง NBT หมิ่นฯ ส่งแรงงานไทยไปลิเบีย เรียก 140 ล้าน ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 28 มิ.ย.นี้ บริษัทจัดหางานเงินและทองพัฒนา จำกัด มอบอำนาจให้ทนายความเป็นโจทก์ฟ้อง น.ส.ศันสนีย์ มีชูสาร ผู้ดำเนินรายการรู้ทันเล่ห์เลี่ยม ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์(NBT) กับพวกเป็นจำเลยที่ 1 – 9 ในความผิดฐานหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 140 ล้านบาท กรณีรายการรู้ทันเล่ห์เลี่ยม นำคำสัมภาษณ์ของนายมานะ พึ่งกล่อม และนายอำนวยพร ดาท่าราช 2 แรงงานไทยในประเทศลิเบีย จำเลยที่ 6 – 7 ในคดีนี้มาออกอากาศเมื่อวันที่ 28 พ.ค. และวันที่ 4 มิ.ย. 2554 ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เสื่อมเสียชื่อเสียง จึงนำคดีมาฟ้องขอให้ศาลพิพากษาลงโทษตามความผิดด้วย ศาลรับคำฟ้องไว้พิจารณาเป็นคดีหมายเลขดำที่ อ.2654/2554 เพื่อมีคำสั่งจะรับฟ้องหรือไม่ต่อไป (แนวหน้า, 28-6-2554) บอร์ดค่าจ้าง กทม.ยังสรุปตัวเลขขึ้นค่าจ้างไม่ได้ นัดถกอีกครั้ง 5 ก.ค.นี้ 28 มิ.ย. 54 - นางอำมร เชาวลิต ที่ปรึกษาวิชาการแรงงาน กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ กทม. ว่า ที่ประชุมวันนี้ยังไม่สามารถสรุปตัวเลขการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในส่วนของ กทม.ได้ เนื่องจากมีการท้วงติงจากหน่วยงานทางด้านเศรษฐกิจ อาทิ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กระทรวงพาณิชย์ ที่ออกมาระบุว่าตัวเลขข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจ เช่น อัตราเงินเฟ้อ ราคาน้ำมัน และอัตราค่าครองชีพยังไม่นิ่ง ประกอบกับตัวเลขค่าจ้างในส่วนของ กทม. ถือว่ามีความอ่อนไหว และมีส่วนผลกระทบกับภาพรวมเศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง จึงให้แต่ละฝ่ายไปทบทวนตัวเลข ก่อนนำเข้าที่ประชุมฯ อีกครั้งในวันที่ 5 กรกฎาคม และสรุปตัวเลขเสนอให้คณะกรรมการค่าจ้างกลาง (บอร์ดค่าจ้าง) ที่จะนัดประชุมในวันที่ 6 กรกฎาคม โดยไม่ต้องผ่านคณะอนุกรรมการวิชาการและกลั่นกรอง เนื่องจากเวลามีจำกัด อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าการพิจารณาในครั้งนี้จะต้องมีการปรับขึ้นค่าจ้างแน่นอน เพราะที่ประชุมฯ มีมติไปแล้ว และจะนำกรอบการพิจารณาขึ้นค่าจ้างเดิมที่สรุปว่าจะปรับขึ้น 5-9 บาท มาร่วมพิจารณากับตัวเลขใหม่ด้วย (สำนักข่าวไทย, 28-6-2554) พนง. โรงงานเซรามิกประท้วงรัฐขึ้นราคาก๊าซ LPG สมาคมเครื่องปั้นดินเผาลำปาง ได้นำพนักงานโรงงานเซรามิกกว่า 300 คน จาก 200 โรงงานที่ตั้งอยู่ในจังหวัดลำปาง มาชุมนุมหน้าศูนย์ราชการจังหวัดลำปาง หลังคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) และ ครม. มีมติขยับขึ้นราคาก๊าซ LPG ในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2554 นี้ โดยจะทยอยปรับราคาขึ้น ไตรมาสละ 3 บาท ไปจนถึง 12 บาท ดังนั้นผู้ประกอบการเซรามิกลำปางจึงเรียกร้องไปยัง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ให้นึกถึงผลกระทบ ที่จะเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรรมเซรามิก เพราะโรงงานเซรามิกลำปางใช้ก๊าซ LPG เป็นปัจจัยหลักในการ เผาอบผลิตภัณฑ์เซรามิก ซึ่งหากมีการปรับราคา LPG ขึ้นตามนี้ โรงงานเซรามิก จะปิดตัวลงกว่า 30 % ส่วนที่เหลือจะ ต้องลดกำลังการผลิตลงกว่า 50 % เมื่อโรงงานเซรามิกอยู่ไม่ไหว ทั้งปิดตัวลง และลดกำลังการผลิต แรงงานที่จ้างอยู่กว่า 40,000 คน ก็ต้องปรับลดตาม ทั้งนี้ ทางกลุ่มเซรามิกลำปาง จึงต้องชุมนุมเรียกร้อง ให้ตรึงราคาก๊าซ LPG ออกไปก่อน โดยในวันนี้ได้มายื่นหนังสือ ผ่าน นายสุวรรณ กล่าวสุนทร รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เพื่อดำเนินการส่งหนังสือต่อให้รัฐบาล ไปจนถึงนายกรัฐมนตรี และจะติดตามความคืบหน้า หลังยื่นหนังสือ หากทางรัฐบาลยังนิ่งเฉย หรือไม่มีมาตราใด ออกมาช่วยเหลือ ทางผู้ประกอบการ และพนักงานโรงงานเซรามิก จะออกมาเตรียมชุมนุมใหญ่อีกครั้ง (ไอเอ็นเอ็น, 29-6-2554) เผยแรงงานกินเงินค่าจ้างขั้นต่ำพุ่งเป็น 3.1 ล้านคน เหตุนายจ้างไม่ยอมขึ้นเงินประจำปีให้ นางเพชรรัตน์ สินอวย ผู้อำนวยการกลุ่มงานวิจัยและวางแผนกำลังแรงงาน กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า จากฐานข้อมูลการจ่ายเงินสมทบของสำนักงานประกันสังคม (สปส.) พบว่า หลังจากปรับค่าจ้างขั้นต่ำเมื่อเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา มีแรงงานที่ได้รับผลตอบแทนการทำงานในอัตราขั้นต่ำเพิ่มขึ้นจากในปี 2553 ที่มีอยู่ 2 ล้านคน เป็น 3.1 ล้านคนในเดือนปัจจุบัน ทั้งๆที่มีแรงงานใหม่เข้าระบบเพียง 4 แสนคนเท่าน้ัน นางเพชรรัตน์ กล่าวว่า โดยหลักการเมื่อมีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำแล้ว จำนวนผู้มีรายได้ในอัตราขั้นต่ำควรมีจำนวนเท่าเดิมหรือน้อยลง แต่จากตัวเลขดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่ามีแรงงานบางส่วนที่ได้รับผลกระทบ เพราะเดิมเคยมีรายได้มากกว่าอัตราขั้นต่ำ แต่เมื่่อปรับขึ้นค่าจ้างต้นปีแล้ว แทนที่นายจ้างจะปรับขึ้นเงินเดือนให้คนกลุ่มนี้ด้วยกลับไม่ปรับเพิ่มให้ ทำให้คนกลุ่มนี้มีรายได้ตกลงมาอยู่ในเกณฑ์ผู้มีรายได้ขั้นต่ำแทน \อีกมุมหนึ่งสะท้อนว่าการขึ้นค่าจ้าง ขั้นต่ำไม่ได้ช่วยดันให้คนที่มีรายได้มากกว่ากรอบค่าจ้างขั้นต่ำได้รับการ ปรับเงินเดือนเพิ่มไปด้วย ตัวเลขจึงเพิ่มขึ้นแบบนี้\"นางเพชรรัตน์ กล่าว นางเพชรรัตน์ กล่าวว่า ขณะนี้คณะกรรมการค่าจ้างกลางอยู่ระหว่างการพิจารณาปรับเพิ่มค่าจ้างกลางปี ซึ่งไม่ทราบว่าเมื่อมีการขึ้นค่าจ้างไปแล้ว ตัวเลขผู้ในรายได้ในเกณฑ์ขั้นต่ำจะสูงขึ้นอีกหรือไม่ แต่จะนำเสนอข้อมูลนี้ประกอบการพิจารณาของกรรมการด้วย (โพสต์ทูเดย์

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net