Skip to main content
sharethis

ที่มา: ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง (TCIJ) วานนี้ (4 ก.ค.54) กลุ่มอนุรักษ์ต้นน้ำท่าแซะ จ. ชุมพร ออกแถลงการณ์ “สมัชชาคนจนกรณีเขื่อนท่าแซะ” ประณามกรณีนายพินิจ เจริญพานิช ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ร่วมกับกรมชลประทานจัดประชุมร่วมหลายภาคส่วนเพื่อรื้อฟื้นโครงการเขื่อนท่าแซะ เมื่อวันที่ 1 มิ.ย.54 โดยไม่มีการปรึกษาชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการ พร้อมเรียกร้องให้มีการพิจารณายกเลิกโครงการเขื่อนท่าแซะโดยเด็ดขาด แถลงการณ์ดังกล่าวระบุว่า การดำเนินการโครงการเขื่อนท่าแซะที่ผ่านมาไม่ถูกต้อง และไม่มีความโปร่งใสในกระบวนการพิจารณา อาทิ การนำเรื่องเข้าพิจารณาในคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติโดยยังไม่ผ่านคณะ กรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) อีกทั้งข้อมูลที่เสนอในรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เป็นข้อมูลเก่าเมื่อ 10 ปีที่แล้ว มีการบิดเบือนข้อมูล โดยเฉพาะประเด็นความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ เพราะเขื่อนท่าแซะทำลายเศรษฐกิจสวนยางพารา ปาล์มน้ำมัน และไม้ผลของประชาชนกว่า 6,800 ไร่ มีมูลค่าปีละร้อยล้านบาท และทำลายป่าอนุรักษ์เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุทยานเสด็จในกรม กรมหลวงชุมพรซึ่งเป็นลุ่มน้ำชั้น A1 กว่า 2,400 ไร่ แถลงการณ์ระบุด้วยว่า กลุ่มอนุรักษ์ต้นน้ำท่าแซะยืนยันคัดค้านโครงการเขื่อนท่าแซะจนถึงที่สุด และขอให้เจ้าหน้าที่รัฐทุกฝ่ายหยุดพฤติกรรมการข่มขู่ชาวบ้านผู้ได้รับผล กระทบ อีกทั้งจะไม่มีการเจรจาเรียกร้องค่าชดเชยใดๆ และเพื่อพิทักษ์สิทธิชุมชนท้องถิ่น ชาวบ้านจะไม่ยอมอพยพโยกย้ายจากพื้นที่ พร้อมกันนี้ กลุ่มอนุรักษ์ต้นน้ำท่าแซะได้นัดชุมนุมในวันที่ 5 ก.ค.54 เพื่อให้ผู้ว่าฯ หยุดละเมิดสิทธิชาวบ้านและหยุดละเมิดต่อมติ ครม.ที่ให้ชะลอโครงการ ทั้งนี้ โครงการเขื่อนท่าแซะเดิม วางแผนตั้งก่อสร้างในเขต ต.สองพี่น้อง อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร ระยะเวลาก่อสร้าง 6 ปี (ปี 2547 - 2552) งบประมาณทั้งโครงการ 3,321 ล้านบาท โดยจะมีการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาด 215.63 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อเพิ่มพื้นที่ชลประทาน 61,000 ไร่ ครอบคลุมเขต อ.ท่าแซะ รวม 7 ตำบล คือ ต.ท่าแซะ ต.สองพี่น้อง ต.หงษ์เจริญ ต.คุริง ต.นากระดาน และต.ท่าข้าม อีกทั้งยังมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งน้ำดิบให้กับพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม ด้วย แถลงการณ์สมัชชาคนจนกรณีเขื่อนท่าแซะ กลุ่มอนุรักษ์ป่าต้นน้ำท่าแซะ การที่ผู้ว่าราชการ นายพินิจ เจริญพานิช ผู้ว่าจังหวัดชุมพร ผลักดันโครงการสร้างเขื่อนท่าแซะร่วมกับกรมชลประทานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยการอนุมัติของคณะรัฐมนตรีอย่างมีเงื่อนไขคือให้ปฏิบัติตามมติคณะกรรมการ สิ่งแวดล้อมแห่งชาตินั้นพวกเราเครือข่ายประชาชนต้นน้ำท่าแซะจังหวัดชุมพรใน นามกลุ่มอนุรักษ์ต้นน้ำท่าแซะขอยืนยันว่าการดำเนินการที่ผ่านมาไม่ถูกต้อง และไม่มีความโปร่งใสในกระบวนการพิจารณาทุกขั้นตอนมาตั้งแต่ต้น กล่าวคือ การนำเรื่องเข้าพิจารณาในคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติโดยยังไม่ผ่านคณะ กรรมการผู้ชำนาญการ(คชก.) มีการใช้ข้อมูลที่เสนอในรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) ที่เป็นข้อมูลเท็จและบิดเบือนโดยเฉพาะประเด็นสำคัญเรื่องความคุ้มค่าทาง เศรษฐกิจพื้นที่ชลประทานความต้องการใช้น้ำและพื้นที่น้ำท่วมในป่าอนุรักษ์ อุทยานเสด็จในกรม กรมหลวงชุมพรแต่กรรมการสิ่งแวดล้อมกลับอนุมัติผ่านโครงการโดยไม่ฟังเสียงทัก ท้วงจากประชาชนโดยเพิ่มเงื่อนไขให้ไปปฏิบัติตามผู้ชำนาญการแล้วกระทรวงเกษตร ได้นำเรื่องขออนุมัติกับคณะกรรมการกลั่นกรองโดยที่กรมชลประทานเจ้าของ โครงการยังไม่ได้ดำเนินการใดๆเลยตามเงื่อนไขของผู้ชำนาญการจากนั้นก็เสนอให้ ครม.อนุมัติโครงการโดยไม่ฟังเหตุผลและตรวจสอบข้อมูลใดๆตามที่ประชาชนผู้ได้ รับผลกระทบได้ยื่นหนังสือทักท้วงคัดค้านกับ ฯพณฯนายกรัฐมนตรี รมว.เกษตรฯ และรมว.ทรัพยากรธรรมชาติฯ โดยที่ได้มีการคัดค้านโครงการเขื่อน ท่าแซะมาตลอดตั้งแต่ต้น กลุ่มอนุรักษ์ต้นน้ำท่าแซะ จึงมีท่าทีและมีข้อเสนอ ดังนี้ 1.กลุ่มอนุรักษ์ต้นน้ำท่าแซะขอประณามการจัดฉากเวทีชี้แจงเขื่อนท่าแซะของ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรและกรมชลประทานที่จัดประชุมกับหลายฝ่าย เพื่อผลักดันให้มีการสร้างเขื่อนท่าแซะ 2.การที่กรมชลประทานและจังหวัดชุมพรอ้างมติครม.เพื่อเริ่มดำเนินการสร้าง เขื่อนท่าแซะโดยไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ผู้ชำนาญการ จนถึงครม.นั้นถือเป็นการเจตนาจงใจเอามติครม.มาข่มขู่ประชาชนให้เกรงกลัวและ ยินยอมนับเป็นการกระทำของหน่วยงานราชการผู้ไม่มีความเจริญทางจิตใจด้อยพัฒนา ล้าหลังที่สุดขัดกับการปฏิรูปราชการหลักธรรมาภิบาลและไม่เคารพต่อสิทธิและ การมีส่วนร่วมของประชาชนตามบทบัญญัติของกฎหมายรัฐธรรมนูญพ.ศ.2550 3.การสร้างเขื่อนท่าแซะไม่มีความคุ้มทุนทางเศรษฐกิจอย่างที่กรมชลประทาน อ้างข้อมูลเก่าในรายงานEIA เมื่อ10 ปีที่แล้วเพราะเป็นช่วงหลังพายุเกย์และข้อมูลสำคัญบิดเบือนมาตั้งแต่ต้นด้วย เพราะเขื่อนท่าแซะทำลายเศรษฐกิจสวนยางพาราปาล์มน้ำมันและไม้ผลของ ประชาชนกว่า6,800 ไร่มีมูลค่าปีละร้อยล้านบาทและทำลายป่าอนุรักษ์เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า อุทยานเสด็จในกรม กรมหลวงชุมพรซึ่งเป็นลุ่มน้ำชั้นA1 กว่า2,400 ไร่และจ.ชุมพรมีภูมิอากาศชุ่มชื้นฝนตกชุกทั้งปีไม่ต้องการใช้น้ำชลประทาน 4.กลุ่มอนุรักษ์ต้นน้ำท่าแซะขอยืนยันคัดค้านโครงการเขื่อนท่าแซะจนถึงที่ สุดจนกว่าจะมีการยกเลิกโครงการด้วยสันติวิธีและความอดทดเพื่อปกป้องทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแห่งชุมชนท้องถิ่นต้นน้ำท่าแซะตามสิทธิในบทบัญญัติ ของรัฐธรรมนูญพ.ศ.2550 และขอให้เจ้าหน้าที่รัฐทุกฝ่ายหยุดพฤติกรรมการข่มขู่ชาวบ้านผู้ได้รับผล กระทบจากเขื่อนท่าแซะ 5.กลุ่มอนุรักษ์ต้นน้ำท่าแซะซึ่งเป็นประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ เขื่อนท่าแซะจะไม่ขอเจรจาเรียกร้องค่าชดเชยใดๆเพื่อพิทักษ์สิทธิชุมชนท้อง ถิ่นเราจะไม่ยอมอพยพโยกย้ายจากพื้นที่ต้นน้ำท่าแซะไปที่ไหนทั้งสิ้นขอเรียก ร้องให้กรมชลประทานเร่งพิจารณายกเลิกโครงการเขื่อนท่าแซะจ. ชุมพรโดยเด็ดขาด 6.กลุ่มจะสนับสนุนแนวทางการจัดการลุ่มน้ำท่าตะเภา(ท่าแซะ-รับร่อ) ด้วยวิธีการที่ยั่งยืนเท่านั้นและขอให้รัฐบาลเร่งพิจารณาแนวทางเลือกอื่นที่ ไม่ใช่การสร้างเขื่อนท่าแซะ กลุ่มอนุรักษ์ต้นน้ำท่าแซะจ. ชุมพร ต.สองพี่น้อง อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร ณ ศาลากลางจังหวัดชุมพร

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net