กสม.'ขอโทษ'รายงานสลายชุมนุมรั่ว-ช้า รับปากแถลงทุกเดือน 'แม่น้องเกด'บุกทวง

 

 
 
 
 
 
22 ก.ค.54 เวลาประมาณ 11.40 น. นางอมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) พร้อมด้วย น.พ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิฯ และประธานอนุกรรมการสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ร่วมกันแถลงข่าว กรณีเหตุผลความล่าช้าในการเปิดเผยรายงาน “การตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช.ระหว่างเดือนมีนาคม – พฤษภาคม 2553” หลังจากก่อนหน้านี้มีกำหนดจะแถลงข่าวในวันที่ 8 ก.ค.แต่ นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ เลขาธิการ กสม.ออกมาแถลงเลื่อนไม่มีกำหนด เนื่องจากกรรมการบางคนเห็นว่ายังมีบางประเด็นต้องแก้ไขเพิ่มเติม นอกจากนี้ กสม.ยังถูกวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับเนื้อหารายงานหลังจากรายงานบางส่วนหลุด รอดออกสู่สาธารณะ
 
 
อย่างไรก็ตาม การแถลงข่าวครั้งนี้มีสื่อมวลชนจำนวนมาก รวมถึงนักกิจกรรม นักสิทธิมนุษยชน ให้ความสนใจเข้าร่วมรับฟัง ซักถาม และเนื้อหาในการแถลงข่าวเป็นการตอบข้อซักถามของผู้เข้าร่วมเป็นหลัก

อมรากล่าว ว่า การแถลงข่าวในวันนี้เพียงต้องการเล่าความคืบหน้าว่าจะมีการปรับปรุงเนื้อหา ให้สมบูรณ์มากขึ้น ยังไม่ทราบกำหนดแล้วเสร็จ โดยจะมีการประชุมกันอย่างเข้มข้นสัปดาห์ละ 1 ครั้ง อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงที่ได้ค่อนข้างสมบูรณ์แล้ว เพียงแต่รายละเอียดบางอย่างยังไม่ตรงกัน ผู้เข้าร่วมถามว่าการปรับแก้จะปรับในส่วนหลักการหรือรายละเอียดข้อเท็จจริง ประธาน กสม.ระบุว่า ทั้งสองส่วน

นิรันดร์ กล่าวเสริมว่า ในการทำงานครั้งนี้กรรมการสิทธิมนุษยชน ทั้ง 7 คน จะเป็นผู้พิจารณาเองพร้อมกับผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆ ที่ กสม.เชิญเข้าร่วม เพื่อความรวดเร็วในการทำงาน โดยไม่ผ่านคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจทั้ง 3 คณะแล้ว

ผู้สื่อข่าวถามว่า การแก้ไขรายงานฉบับนี้เกิดจากกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงต่อร่างรายงาน ที่ “รั่ว” ออกมาใช่หรือไม่ ประธาน กสม.กล่าวว่า จริงๆ กรรมการก็มีมติต้องการให้ปรับปรุงอยู่แล้ว ส่วนเรื่องการรั่วของข้อมูลฉบับร่างจนเป็นเหตุให้สังคมเกิดความสับสนนั้น กำลังอยู่ระหว่างการสอบสวนภายใน ขณะที่ นพ.นิรันดร์กล่าวว่า ฉบับร่างดังกล่าวเป็นของ กสม.จริง แต่เป็นเพียงร่างรายงานของ “คณะทำงาน” ซึ่งได้สำรวจ เก็บข้อมูล เบื้องต้นและยังต้องผ่านการพิจารณาของอนุกรรมการเฉพาะกิจอีก 3 ชุด และกรรมการสิทธิชุดใหญ่อีกจึงจะเป็นรายงานที่พร้อมเผยแพร่

ผู้เข้า ร่วมโต้แย้งว่าเป็นเรื่องค่อนข้างแปลก เพราะกรรมการสิทธิเป็นผู้กำหนดกรอบเวลาในการแถลงข่าวผลสรุปของรายงานเอง เมื่อวันที่ 8 ก.ค. แสดงว่ารายงานดังกล่าวน่าจะเป็นฉบับที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว ประธาน กสม.ตอบว่า “เป็นความผิดพลาดในการวางแผนงาน ต้องขอโทษด้วย” ผู้เข้าร่วมกล่าวต่อว่า กสม.จะรับผิดชอบต่อความล่าช้ากว่าหนึ่งปีอย่างไร ต้องแสดงความรับผิดชอบโดยการลาออกหรือไม่ ประธาน กสม.กล่าวว่า “ไม่ทราบจะรับผิดชอบอย่างไร แล้วแต่สังคมจะประนาม มันเป็นงานยาก ทำให้เสร็จไม่ได้ภายใน 120 วัน เราพยายามแล้ว เมื่อทำไม่ทันก็ขยายเวลา...จะให้ลาออกก็ได้ ก็ต้องว่ากันตามกระบวนการ”

นัก ข่าวถามถึงรายชื่อของผู้ทรงคุณวุฒิที่จะเข้าร่วมพิจารณากับ กสม.ต่อจากนี้ รวมถึงหลักเกณฑ์ในการคัดเลือก เพราะที่ผ่านมาอนุเฉพาะกิจด้านกฎหมายซึ่งมีราว 20 คน ประกอบไปด้วยเจ้าหน้าทีทหาร ตำรวจถึง 10 คน กรรมการสิทธิกล่าวว่า ผู้ทรงคุณวุฒิมีหลากหลายด้านตามลิสต์ที่ กสม.มีอยู่ ในเบื้องต้นมีผู้ตอบรับแล้ว เช่น กิตติศักดิ์ ปรกติ จากนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ , พล.อ.เอกชัย จากศูนย์สันติวิธี สถาบันพระปกเกล้า, นางจิราพร บุนนาค รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.), นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ ผู้สื่อข่าวจากหนังสือพิมพ์มติชน, นายก่อเขต จันทรเลิศลักษณ์ จากสถานี TPBS, พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม และอีกหลายคนที่อยู่ระหว่างทาบทาม

ผู้เข้าร่วมแสดงความเห็นว่า กระบวนการทำงานต่อจากนี้ของ กสม. ควรมีความโปร่งใสมากขึ้น และมีการแถลงต่อสาธารณชนเป็นระยะ ประธาน กสม.ระบุว่าไม่สามารถกำหนดได้ ขณะที่ นพ.นิรันดร์กล่าวว่ากำหนดลำบาก เพราะขึ้นอยู่กับความร่วมมือในการส่งเอกสารหลักฐานของหน่วยงานรัฐด้วย เช่น ศอฉ. อย่างไรก็ตาม ในท้ายที่สุดทั้งสองรับปากว่าต่อจากนี้จะแถลงรายงานความคืบหน้าทุกเดือน และเปิดให้ภาคสังคมมีส่วนร่วมในการแสดงความเห็นมากขึ้น

ผู้สื่อข่าว ถามว่า กสม.จะมีการฟ้องร้องคดีด้วยหรือไม่ เพราะ กสม.ชุดนี้มีอำนาจในเรื่องนี้มากกว่า กสม.ชุดที่แล้ว นพ.นิรันดร์ตอบว่า การตรวจสอบของ กสม. ไม่ได้เป็นไปเพื่อหาผู้กระทำผิด แต่ต้องการชี้ว่าพฤติกรรม การกระทำใดเป็นการละเมิด เรื่องการหาผู้กระทำผิด เช่น ใครเป็นผู้ซุ่มยิงเสธ.แดง เป็นเรื่องในทางคดีอาญาที่ต้องติดตามกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ อย่างไรก็ตาม เรื่องการฟ้องคดีเป็นอำนาจที่ กสม.ทำได้ แม้ขณะนี้ไม่มีการดำเนินการดังกล่าว แต่จากคดีท่อก๊าซฯ อ.จะนะ จ.สงขลา เมื่อหลายปีก่อนที่มีการปะทะกัน ก็จะเห็นได้ว่า ความเห็นของ กสม.และกรรมธิการของวุฒิสภาที่ระบุว่าการกระทำดังกล่าวมีการละเมิดสิทธิหรือ ไม่ อย่างไร ถูกนำไปเป็นหลักฐานพิจารณาในศาลด้วย

ผู้เข้าร่วมถามว่า กรณีเหตุการณ์ 7 ตุลาฯ กสม.ชุดที่แล้วตั้งคณะกรรมการชุดพิเศษและภายในเวลา 10 วัน สามารถชี้ประเด็นการละเมิดสิทธิได้ในส่วนที่เห็นอย่างชัดเจน ซึ่งกรณีการสลายการชุมนุมปีที่แล้วมีข้อมูลบางส่วนที่อาจยังเป็นข้อถกเถียง แต่ข้อมูลบางส่วนก็เห็นได้ชัดว่ามีการละเมิดสิทธิ เหตุใด กสม.ชุดนี้จึงยังไม่มีข้อสรุปใดๆ เลยกระทั่งเวลาผ่านมากว่าปี ประธาน กสม.กล่าวว่า “เรากำลังสรุปบทเรียน ไม่ได้อยากให้มันเกิดขึ้น แต่กระบวนการทำงานต้องมีการปรับปรุงชัดเจน และเราหวังว่าในอนาคตเราจะทำได้ดีกว่านี้” พร้อมระบุว่ามีการถกเถียงในคณะกรรมการเช่นกันว่าจะเปิดข้อมูลเป็นส่วนๆ ไปหรือเปิดทั้งหมด และยังไม่เป็นที่ตกลงกัน

 
ผู้ สื่อข่าวถามว่า รัฐบาลเปลี่ยนขั้วแล้วจะกระทบต่อสำนวนนี้เพียงใด ประธาน กสม.กล่าวว่า “ไม่เลย ข้อมูลก็เป็นอย่างที่มันเป็น” ผู้สื่อข่าวถามว่าความล่าช้า และข้อมูลที่รั่วไหลครั้งนี้เป็นเพราะมีความขัดแย้งในบรรดากรรมการฯ หรือไม่ ประธาน กสม.ตอบว่า ความขัดแย้งเป็นเรื่องธรรมดาและมั่นใจว่าจัดการได้  

 

'แม่น้องเกด' บุกทวงความคืบหน้า 
หลัง จากนั้น เวลาประมาณ 14.00 น. นางพะเยาว์ อัคฮาด แม่ของน.ส.กมนเกด อัคฮาด พยาบาลอาสา หนึ่งในผู้เสียชีวิตที่ถูกยิงในวัดปทุมวนารามเข้าพบนางอมรา และนพ.นิรันดร์ตามนัดหมาย เพื่อสอบถามความคืบหน้ารายงานการตรวจสอบเหตุการณ์ฯ หลังจากเมื่อวันที่ 12 ก.ค.ได้เข้าพบ กสม.มาแล้วครั้งหนึ่ง (รายละเอียดที่นี่) ภายหลังหารือกันราว 1 ชม. นางพะเยาว์ให้สัมภาษณ์ว่า กสม.ชี้แจงว่าร่างรายงานที่หลุดออกไปยังมีข้อมูลที่คลาดเคลื่อน และรับปากว่าจะแถลงความคืบหน้าทุกเดือน โดยจะแจ้งข่าวให้ผู้เสียหายทราบและร่วมเข้าฟังด้วย พร้อมทั้งระบุว่าหน้าที่หาผู้กระทำผิดเป็นหน้าที่ของตำรวจ ซึ่งตนได้แสดงความคิดเห็นไปว่า ที่ผ่านมา รอมาเกือบ 1 ปี ไม่พบว่า กสม.ทำหน้าที่ปกป้องสิทธิมนุษยชนแก่ผู้บาดเจ็บ ผู้เสียชีวิต และผู้ถูกจับกุมเลย ตนเห็นว่ากรณี 6 ศพวัดปทุม หลักฐานต่างๆ ค่อนข้างชัดเจน และน่าจะเป็นประเด็นแรกๆ ที่สามารถเปิดเผยได้
 
 
 

 

อนุกรรมการ 3 ชุดที่รับผิดชอบตรวจสอบการละเมิดสิทธิ

เหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองเมื่อปี 2553
 
 
 
 
 
คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อพิจารณาตรวจสอบกรณีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากการชุมนุมของกลุ่ม นปช.
 
1 ศาสตราจารย์อมรา พงศาพิชญ์ ประธานอนุกรรมการ
2 พลตำรวจเอก วันชัย ศรีนวลนัด อนุกรรมการ
3 นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ อนุกรรมการ
4 รองศาสตราจารย์กิตติศักดิ์ ปรกติ อนุกรรมการ
5 ผู้ช่วยศาสตราจารย์จันทจิรา เอี่ยมมยุรา อนุกรรมการ
6 พลโท ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ อนุกรรมการ
7 นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ อนุกรรมการ
8 นายวัฒนา เตียงกูล อนุกรรมการ
9 นางสมศรี หาญอนันทสุข อนุกรรมการ
10 นางสาวสารี อ๋องสมหวัง อนุกรรมการ
11 นายสุณัย ผาสุก อนุกรรมการ
12 นายอนุสิษฐ คุณากร อนุกรรมการ
13 ผู้แทนสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย อนุกรรมการ
14 ผู้แทนสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย อนุกรรมการ
15 นายชูชัย ศุภวงศ์ อนุกรรมการและเลขานุการ
16 นายโสพล จริงจิตร อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
17 นายสุพจน์ เวชมุข อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
18 นายนฤนาท คุ้มไพบูลย์ อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
19 นายเอกลักษณ์ ภูมิศาสตรา อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
 
 
 
คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อตรวจสอบด้านกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากการชุมนุมของกลุ่ม นปช.
 
1 พลตำรวจเอก วันชัย ศรีนวลนัด ประธานอนุกรรมการ
2 นายกฤษฎา บุณยสมิต อนุกรรมการ
3 รองศาสตราจารย์กำชัย จงจักรพันธ์ อนุกรรมการ
4 พันตำรวจเอก ชนะชัย ลิ้มประเสริฐ อนุกรรมการ
5 นายชัยพร เกริกกุลธร อนุกรรมการ
6 รองศาสตราจารย์ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ อนุกรรมการ
7 พันเอก ปิยะวัฒก์ กิ่งเกตุ อนุกรรมการ
8 พลตำรวจตรี ประพัฒน์ คนตรง อนุกรรมการ
9 พลตำรวจตรี วิชัย รัตนยศ อนุกรรมการ
10 พลโท ศานิต สร้างสมวงษ์ อนุกรรมการ
11 พันตำรวจโท ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ อนุกรรมการ
12 ผู้แทนจากกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม อนุกรรมการ
13 พลตำรวจตรี ธวัช บุญเฟื่อง อนุกรรมการ
14 นายวัฒนา เตียงกูล อนุกรรมการ
15 นายวรณัฐ คงเมือง อนุกรรมการ
16 พันเอก วิจารณ์ จดแตง อนุกรรมการ
17 นายสุพจน์ เวชมุข อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
18 นายภพธรรม สุนันธรรม อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
19 นายเชิดชัย ยุสเปรมานนท์ อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
 
 
 
คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐาน กรณีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากการชุมนุมของกลุ่ม นปช.
 
1 ศาสตราจารย์อมรา พงศาพิชญ์ ที่ปรึกษา
2 นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ ประธานอนุกรรมการ
3 นายก่อเขต จันทเลิศลักษณ์ อนุกรรมการ
4 นายไตรยฤทธิ์ เตมหิวงศ์ อนุกรรมการ
5 นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ อนุกรรมการ
6 นางสมศรี หาญอนันทสุข อนุกรรมการ
7 นายสุณัย ผาสุก อนุกรรมการ
8 นายอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ อนุกรรมการ
9 พลเอก เอกชัย ศรีวิลาศ อนุกรรมการ
10 นายเอกพันธุ์ ปิณฑวณิช อนุกรรมการ
11 นายนิมิตร์ เทียนอุดม อนุกรรมการ
12 นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ อนุกรรมการ
13 พันเอก ไพรุจน์ คำชุม อนุกรรมการ
15 นายโสพล จริงจิตร อนุกรรมการและเลขานุการ
15 นายนฤนาท คุ้มไพบูลย์ อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
16 นายเอกลักษณ์ ภูมิศาสตรา อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
17 นางสาววราพร บุญสิน อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
 
 
ทั้ง นี้ มีผู้ลาออกจากคณะอนุกรรมการ 5 ราย ได้แก่ นางจันทจิรา เอี่ยมมยุรา นิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.),นายปิยบุตร แสงกนกกุล นิติศาสตร์ มธ., น.ส.สาวตรี สุขศรี นิติศาสตร์ มธ., สมบัติ บุญงามอนงค์ นักกิจกรรม และน.ส.จีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไท
 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท