สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 17 - 23 ก.ค. 2554

สมานฉันท์แรงงานไทยขีดเส้นใต้ให้เพื่อไทย 6 เดือน ขึ้นค่าแรง 300 บาท คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ยื่นข้อเสนอนโยบายเร่งด่วนเกี่ยวกับผู้ใช้แรงงานต่อพรรคเพื่อไทย โดยมี นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ รองโฆษกพรรคเพื่อไทย เป็นผู้รับมอบ โดย คณะกรรมการดังกล่าวมีข้อเสนอต้องการให้ พรรคเพื่อไทย สานต่อ กรณีรับรองอนุสัญญาการรวมตัวกลุ่มสหภาพแรงงานและการต่อรอง ระหว่างลูกจ้างและนายจ้าง ซึ่งขณะนี้ไม่มีการคุ้มครองผู้ก่อตั้งสหภาพ ทำให้ นายจ้าง สามารถปลดผู้ก่อตั้งออกจากโรงงานได้ ขณะที่ ยังต้องการให้พรรคเพื่อไทย สานต่อเรื่องปรับโครงสร้างค่าจ้างและสนับสนุนค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท เนื่องจาก คณะกรรมการสมานฉันท์ ได้มีการสำรวจเกี่ยวกับภาคอุตสาหกรรม พบว่าผู้ใช้แรงงานมีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ดังนั้น พวกตนจะให้โอกาส พรรคเพื่อไทย บริหารประเทศ 6 เดือน หากยังไม่สามารถดำเนินการเรื่องนี้ได้ ก็จะออกมาทวงถามอย่างแน่นนอน ทั้งนี้กรณีแรงงานต่างชาติ ที่เข้ามาอย่างถูกกฎหมาย พวกตนเห็นว่าต้องให้ความเท่าเทียมเรื่องค่าจ้างไม่ 2 มาตรฐาน โดยรัฐบาลจำเป็นต้องควบคุมแรงงานต่างชาติที่เข้ามาอย่างผิดกฎหมาย เพราะขณะนี้ยังมีปัญหาอยู่จำนวนมาก (ไอเอ็นเอ็น, 18-7-2554) เล็งปรับหลักสูตรพัฒนาฝีมือแรงงาน ชี้ฝึกลูกจ้างยังไร้คุณภาพ นายพานิช จิตร์แจ้ง รองอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยผลประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน ซึ่งมีนายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธาน ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ปรับแนวทางการฝึกอบรมพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานของสถาน ประกอบการ เช่น ช่างฝีมือสาขาต่างๆ พนักงานธุรการ บัญชี ซึ่งเดิม กพร.ให้สถานประกอบการสามารถส่งหลักสูตรและค่าใช้จ่ายมาให้พิจารณาก่อนหรือ หลังการอบรมก็ได้ เพื่อให้รับสิทธิประโยชน์ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.2554 เช่น สถานประกอบการสามารถนำค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการฝึกอบรมมาขอลดหย่อนภาษีได้ถึง 200 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ พบว่าการจัดอบรมของสถานประกอบการส่วนหนึ่ง เป็นไปอย่างไม่มีคุณภาพ ดังนั้น จึงปรับแนวทางให้สถานประกอบการต้องส่งหลักสูตรและค่าใช้จ่ายในการอบรมมาให้ กพร.พิจารณาเพื่อให้การรับรองก่อนจัดฝึกอบรม อีกทั้งกพร.จะส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบว่ามีการฝึกอบรมจริงหรือไม่เพื่อให้ การอบรมเป็นไปอย่างมีคุณภาพ ซึ่งจะเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 รองอธิบดี กพร. กล่าวอีกว่า กพร.ยังได้เตรียมการรองรับแนวทางดังกล่าว โดยได้จัดทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์บรรจุไว้ในเว็บไซต์ กพร. ที่ www.dsd.go.th เพื่อให้สถานประกอบการส่งหลักสูตรและค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมมาให้ กพร.ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต เพื่อลดค่าใช้จ่ายในเรื่องเอกสารและการเดินทางให้แก่ผู้ประกอบการ ทั้งนี้ จะมีการเปิดตัวระบบนี้ในวันที่ 8 กันยายนนี้ นอกจากนี้ ยังเตรียมเสนอคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานให้ออกประกาศกระทรวงแรง งานตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานขยายการอบรมทักษะฝีมือแรงงาน ให้ครอบคลุมไปถึงสถานประกอบการที่มีลูกจ้าง50 คนขึ้นไป เพื่อให้การพัฒนาแรงงานครอบคลุมทั้งระบบและสนับสนุนให้แรงงานเข้าสู่ระบบ มาตรฐานฝีมือแรงงานมากขึ้นซึ่งสถานประกอบการกลุ่มนี้ได้รับสิทธิประโยชน์การ ลดหย่อนหรือยกเว้นภาษี ตาม พ.ร.บ.เช่นกัน คาดว่าจะเสนอคณะกรรมการฯในช่วงเดือนสิงหาคมนี้ นายพานิช กล่าวด้วยว่า ปัจจุบัน พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน กำหนดให้สถานประกอบการที่มีลูกจ้าง 100 คนขึ้นไป ต้องจัดฝึกอบรมพัฒนาทักษะฝีมือลูกจ้างให้ได้อย่างน้อย 50 เปอร์เซ็นต์หากฝึกไม่ครบหรือไม่จัดฝึกอบรมจะต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน พัฒนาฝีมือแรงงานร้อยละ 1 ของเงินเดือนลูกจ้าง มีสถานประกอบการที่อยู่ในข่ายข้อบังคับนี้กว่า 1 หมื่นแห่ง ซึ่งกพร.เน้นให้สถานประกอบการจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมโดยอิงเกณฑ์มาตรฐานฝีมือ แรงงานในระดับ1 แต่ละปีมีแรงงานได้รับการพัฒนาทักษะฝีมือ 3-4 ล้านคนโดยสถานประกอบการเสียค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมตั้งแต่ 1พันบาทจนถึงหลักล้านบาท \ปี 2551 มีสถานประกอบการที่ฝึกอบรมไม่ครบ 851 แห่ง ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนฯ กว่า 24 ล้านบาท มีลูกจ้างไม่ได้รับการอบรม 52

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท