Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

เมื่อนักรณรงค์ทางด้านเสรีภาพในการแสดงออก และนักข่าวจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียใต้ มารวมตัวกันในเมืองหลวงของประเทศอินโดนีเซียเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา แต่ละคนต่างก็มีเรื่องราวอันสำคัญจะบอกให้โลกได้รับรู้

ในพม่า นักข่าววีดีโอ 17 คน ถูกคุมขังเดี่ยวและทรมาน ในฟิลิปปินส์ มีนักข่าวมากกว่า 121 คนถูกสังหารตั้งแต่ปี 2529 และจนปัจจุบัน มีเพียงสิบคดีเท่านั้นที่สามารถนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้ ในอินโดนีเซีย เกิดเหตุการณ์ที่กลุ่มศาสนานิยมหัวรุนแรง โจมตีนักพิทักษ์สิทธิมนุษยชน เนื่องด้วยประเด็นที่เกี่ยวข้องกับรักร่วมเพศ ศาสนา และสิทธิของชนพื้นเมือง โดยตำรวจอินโดนีเซียถูกกล่าวหาว่ามี “ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด” กับกลุ่มที่ก่อการโจมตี

ในมาเลเซีย สื่อถูกสั่งห้ามล้อเลียนและวิจารณ์ศาล ในขณะที่กลุ่มสตรีมุสลิมที่ต่อสู้เรื่องความเท่าเทียมทางเพศ กลับถูกตราหน้าว่าเป็นพวกบ่อนทำลายล้างศาสนาอิสลาม ในสิงคโปร์ ไม่มีใครแม้แต่คนเดียวในประเทศ ที่สามารถประท้วงได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากรัฐบาล และในประเทศไทย ไม่มีข้อกำหนดที่แน่นอนเกี่ยวกับสิทธิของผู้ต้องขังในกรณีหมิ่นพระบรมเดชานุ ภาพ และคำถามที่ว่าพวกเขาควรถูกจัดให้เป็นนักโทษการเมืองหรือไม่ นอกจากนี้ ข้อหาที่เขาใช้จับกุมก็มีความคลุมเครือมาก

แฟรงค์ ลา รู ผู้ตรวจการพิเศษแห่งสหประชาชาติด้านเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการ แสดงออก กล่าวต่อที่ประชุมว่า เมื่อเป็นเรื่องของการสื่อสารแล้ว “การควบคุมไม่เคยทำได้สำเร็จ” หากแต่นักข่าว และนักรณรงค์เพื่อเสรีภาพในการแสดงออกยังคงถูกจำคุก ทำร้าย แม้แต่สังหาร

การสัมมนาดังกล่าว กลายเป็นเวทีรวมตัวสำหรับผู้ที่มองว่าเสรีภาพในการแสดงออกในประเทศตนเองถูก จำกัดอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ เวทีดักล่าวจัดโดยฟอรั่ม เอเชีย ซึ่งเป็นเอ็นจีโอระดับภูมิภาค ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ และพันธมิตรเพื่อสื่อในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asian Press Alliance - SEAPA) ร่วมกับมหาวิทยาลัยพารามาดินาในจาการ์ตา และอื่นๆ

“ในพม่า ไม่มีเสรีภาพในการแสดงออกเลยแม้แต่น้อย และความจริงมีอยู่เพียงชุดเดียวเท่านั้น” Toe Zaw Tatt กล่าว เขาเป็นหัวหน้าของสถานี เดโมคราติก วอยซ์ ออฟ เบอร์ม่า ผู้ซึ่งขณะนี้ลี้ภัยและอาศัยอยู่ในประเทศไทย

นอกจากนี้ เมลินดา ควินโต เดอ จีซัส ผู้อำนวยการศูนย์เพื่อเสรีภาพสื่อและความรับผิดชอบ (Centre for Media Freedom and Responsibility) ในกรุงมะนิลา กล่าวว่า ความล้มเหลวของการไม่สามารถนำตัวผู้กระทำผิดในการสังหารนักข่าวฟิลิปปินส์ “อาจเป็นสาเหตุมาจากสภาวะความไร้ขื่อแปของกฎหมายทีดำรงอยู่ในประเทศ”

ในมาเลเซีย สตรีบางคนที่พยายามจะเปลี่ยนแปลง “มโนทัศน์ของสตรีมุสลิม” กลับถูกทำให้เงียบงัน ยาสมิน มาสิดี กล่าว เธอเป็นผู้จัดการการสื่อสารของกลุ่ม “Sisters in Islam” ซึ่งเป็นกลุ่มสตรีที่ทำงานร่วมกันเพื่อความเท่าเทียมทางเพศ มาซีดีกล่าวว่าสตรีมุสลิมบางคน ยังถูกส่งไปยัง “ค่ายบำบัด” เนื่องจากประพฤติตนไม่เหมาะสมตามหลักและอัตลักษณ์ของศาสนาอิสลาม

กลุ่มดังกล่าวได้ผลิตหนังสือเล่มเล็กที่ชื่อว่า “ผู้หญิงและผู้ชายเท่าเทียมกันต่อหน้าพระอัลเลาะห์หรือไม่” และถูกทางการมาเลเซียสั่งห้าม โดยมาซีดีกล่าวว่าเป็นเพราะ หนังสือดังกล่าว “ทำให้สตรีมุสลิมเกิดความสับสน โดยเฉพาะสำหรับคนที่มีความเชื่อศาสนาที่ไม่ลึกมากนัก”

ในประเทศไทย นักรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ สุภิญญา กลางณรงค์ ขึ้นพูดในฐานะตัวแทนของเครือข่ายพลเมืองเน็ต และเสนอว่าถึงแม้สื่อไทยจะถูกทำให้เซ็นเซอร์อย่างเป็นระบบ แต่โซเชียลมีเดียอย่างเช่นทวิตเตอร์และบล็อก ถูกใช้เป็นเครื่องมือที่ท้าทายสื่อแบบเก่าที่ทำตัวเป็นผู้ควบคุมข้อมูลข่าว สาร และผู้เขียน ในฐานะผู้พูดคนที่สองจากประเทศไทย ได้กล่าวถึงกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่ทำให้การพูดคุยเรื่องสถาบัน กษัตริย์เป็นไม่ได้ ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่าเป็นภัยต่ออนาคตของสังคมและประชาธิปไตยไทยเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ การจับกุมด้วยกฎหมายดังกล่าวน่าจะยังมีมากขึ้นเรื่อยๆ ถึงแม้ว่าตอนนี้จะมีคนอย่างน้อย 11 คนที่ถูกจับกุมด้วยกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอยู่ในเรือนจำที่กรุงเทพฯ แล้วก็ตาม นอกจากนี้ ความกลัวในหมู่ฝ่ายนิยมสถาบันฯ ก็ยังเพิ่มขึ้นรื่อยๆ เนื่องมาจากพระชนมพรรษาที่มากขึ้น และสุขภาพที่เปราะบางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ในการประชุมเชิงปฏิบัติการระยะเวลาสองวันนี้ ยังมีเรื่องราวจากเนปาล ปากีสถาน บังกลาเทศ อินเดีย และศรีลังกา ที่เสริมเข้ามาในบรรยากาศที่น่าหดหู่ เช่น ปากีสถานกลายเป็นสถานที่ที่อันตรายที่สุดแห่งหนึ่งในโลกสำหรับนักข่าว โดยในระยะหกเดือนที่ผ่านมา มีนักข่าวถูกสังหารไปแล้ว 7 ราย และจนปัจจุบันยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ ต่อกรณีดังกล่าว

แฟรงค์ ลา รู ผู้ซึ่งท่วมท้นไปด้วยการร้องขอเสรีภาพและความช่วยเหลือ กล่าวและเรียกร้องให้ทุกคนร่วมกันต่อสู้ และในประเด็นกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในประเทศไทย เขากล่าวว่า “นี่เป็นกฎหมายที่เราจะต้องวิพากษ์วิจารณ์และประณาม” และคนที่ถูกคุมขังด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ “ควรจะต้องถูกนับเป็นนักโทษการเมือง” ลา รู กล่าว และเสริมด้วยว่า ทางสหประชาชาติ จะออกแถลงการณ์ว่าด้วยกฎหมายดังกล่าวในเร็วๆ นี้

ลารู ยังกล่าวให้คนทั่วไประลึกด้วยว่า ในระบบประชาธิปไตย “สาธารณะชนต่างหากที่เป็นผู้ตัดสินใจว่าเขาอยากอ่านอะไร และไม่อ่านอะไร ไม่ใช่รัฐบาล เพราะเมื่อ [รัฐบาล] กลายเป็นผู้ตัดสินใจแล้ว มันจะเป็นผลประโยชน์ที่ตกอยู่กับผู้มีอำนาจทางการเมือง และกลายเป็นระบบอำนาจนิยม”
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net