Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

ที่มา: เฟซบุคสุจิตต์ วงษ์เทศ (Sujit Wongthes), 25 ก.ค. 54 กลาโหม เป็นคำเขมร แปลว่าสังเวียนแห่งการบูชาไฟ อันเป็นพิธีพราหมณ์กัมพูชาสมัยโบราณ ทำก่อนยกทัพ ไทยรับวัฒนธรรมพร้อมคำกลาโหมจากเขมรตั้งแต่ยุคก่อนกรุงศรีอยุธยา แล้วปรับใช้สืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้ เรียกกระทรวงกลาโหม คำอธิบายเรื่องกลาโหม สรุปจากหนังสือ ศัพท์สันนิษฐาน และอักษรวินิจฉัย ของ จิตร ภูมิศักดิ์ ว่า กลา มาจากคำเขมรว่า กระลา, กฺรฬา แปลว่า สังเวียน (คำแปลของเสด็จในกรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร) โหม หมายถึง เซ่นสรวงบูชาไฟ (ที่เชิญจากสังเวียนบูชาไฟ คือ กลา, กระลา) กร่อนจากโหมกูณฑ์ หมายถึง ใส่สิ่งของเซ่นสรวงบูชาไฟ ในพิธีบูชาไฟของพราหมณ์ โหมกูณฑ์ คือ บูชาไฟ เป็นพิธีพราหมณ์ต้องทำทุกครั้งเมื่อยกทัพ โดยราชโหดา (หรือโหรดา, อาจารย์โหม) ในกระบวนทัพนั้น ได้แก่พราหมณ์ผู้ทำไสยเวทฝ่ายการบูชาไฟในราชสำนัก ครั้นไทยรับจากเขมร มาแล้ว จิตร ภูมิศักดิ์ อธิบายว่า ถึงยุคพระบรมไตรโลกนาถแห่งต้นอยุธยา เมื่อคราวปรับปรุงระเบียบราชการครั้งใหญ่ก็เปลี่ยนให้ข้าราชการผู้ใหญ่ฝ่าย ทหารทำการบังคับบัญชา และอำนวยการโหมกูณฑ์ในพระกลาโหม หรือสังเวียนบูชาไฟทุกครั้งที่จะไปทัพ จึงยกให้ผู้ว่าราชการฝ่ายทหาร ดำรงตำแหน่ง“สมุหพระกลาโหม”ซึ่งไม่มีในเขมร แม่ทัพ ในคำว่า แม่ทัพบก, แม่ทัพเรือ, แม่ทัพอากาศ ก็มาจากคำเขมร หมายถึงผู้เป็นใหญ่ในกองทัพ แม่ คำเขมรออกเสียง เม หมายถึง ผู้เป็นใหญ่ เป็นคำเรียกยกย่องผู้หญิง ตั้งแต่ราว 3,000 ปีมาแล้ว ปัจจุบันมีร่องรอยอยู่ในคำว่า แม่ทัพ, แม่น้ำ, แม่เหล็ก, ฯลฯ

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net