Skip to main content
sharethis

สิทธิของพลเมืองในชายแดนใต้ หลายอย่างยังถูกปิดกั้น” น่าจะเป็นเสียงสะท้อนหนึ่งของปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ได้จากเวทีเสวนาเรื่อง สร้างการเรียนรู้สิทธิ อำนาจหน้าที่ และการป้อนกันสิทธิตามวิถีชีวิตวัฒนธรรมชุมชน เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2554 ที่หอประชุมอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี เป็นเวทีที่จัดโดย คณะกรรมการส่งเสริมการเมืองภาคพลเรือนภาคใต้ สภาพัฒนาการเมือง มีผู้เข้าร่วมกว่า 50 คน ส่วนหนึ่งของมุมมองจากเวทีนี้ สะท้อนออกมาจากตัวแทนผู้เข้าร่วมดังนี้ นายยะโกะ เบ็ญมะเซ็ง สมาชิกสภาพัฒนาการเมืองจังหวัดปัตตานี การเสวนาครั้งนี้ พูดถึงประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสิทธิต่างๆ ของประชาชนใน 3 จังหวัด ชายแดนใต้ ได้แก่ สิทธิมนุษยชน สิทธิพลเมือง อำนาจหน้าที่ โดยภาพรวมที่เกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครอง ประเด็นสำคัญที่มีการพูดคุยกันคือ การขาดคุณธรรมและจริยธรรมของคนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะนักการเมือง ข้าราชการและประชาชนเอง เมื่อขาดคุณธรรมแล้ว จะเกิดการคอรัปชั่น เสพสิ่งมึนเมา ยาเสพติด และขาดการมีจิตสำนึกที่ดีต่อสังคม ปัจจุบันนี้ เรากำลังสร้างการเมืองในภาคพลเมือง เราจะต้องสร้างประชาธิปไตยชุมชนในจังหวัดปัตตานีให้ได้ ซึ่งประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนส่วนใหญ่เข้าใจว่า ประชาชนประชาธิปไตยเป็นเพียงแค่การเลือกตั้งเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง ยังมีอีกหลายอย่าง เช่น การตรวจสอบ การติดตามการทำงานของนักการเมืองและข้าราชการ เป็นต้น จะต้องสร้างประชาธิปไตยที่อยู่บนพื้นฐานศาสนาที่มีอยู่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีรูปแบบคือ ผู้ที่จะลงสมัครเลือกตั้งของแต่ละพรรคการเมือง จะต้องมาจากการคัดเลือกของสภาชูรอ หรือ สภาแห่งการปรึกษาหารือก่อน การคัดเลือกของสภาชูรอ คือการให้ประชาชนเลือกผู้สมัครที่เหมาะสมของแต่ละพรรคการเมืองมาก่อน ในเขตละเขตเลือกตั้ง ภาษาอังกฤษเรียกว่า Primary election หรือ การเลือกตั้งขั้นต้น เมื่อได้ตัวแทนที่จะลงสมัครการเลือกตั้งแต่ในแต่ละพรรคของแต่ละเขต ก็การแข่งขันตามปกติ สิทธิที่สำคัญที่สุดที่ประชาชนจะต้องได้รับนั้น คือ 1.ต้องได้รับความเป็นธรรมจากภาครัฐ 2.ต้องได้รับการยอมรับในความเป็นเชื้อชาติที่แตกต่างกับพื้นที่อื่นๆของประเทศไทย อาจจะหมายถึงการที่ระบุเชื้อชาติมลายูในบัตรประชาชนได้ ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะนี้เป็นสิทธิอย่างหนึ่งที่ประชาชนจะต้องย่อมรับ นายเสรี สะแม อุปนายกคนพิการจังหวัดปัตตานี สิทธิของคนพิการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ยังขาดอยู่ 3 เรื่องหลักๆ คือ 1.สถาบันการศึกษาสำหรับคนพิการ ที่เป็นระบบสำหรับมุสลิม โดยเฉพาะอาหารฮาลาล และครูผู้สอนที่สามารถพูดภาษามลายูได้ 2.ต้องการให้สถานที่สำคัญทางศาสนาทั้งพุทธและอิสลามใน 3 จังหวัดชายแดนใต้และ 4 อำเภอของสงขลา มีทางเดินสำหรับคนพิการ โดยเฉพาะบันไดต้องมีราวจับ เพื่ออำนวยความสะดวกให้คนพิการ สามารถประกอบศาสนากิจได้เหมือนกับคนปกติ ได้ 3.ต้องการให้สถานที่ราชการ เอกชนและสถานที่สาธารณะต่างๆสร้างทางเดินหรือทางสำหรับคนพิการโดยเฉพาะ เพื่อง่ายต่อการมาใช้บริการสำหรับคนพิการ ขอเรียกร้องให้บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผลักดันให้มีการตั้งชมรมคนพิการ ตั้งแต่ระดับชุมชนถึงระดับจังหวัดในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อง่ายต่อการให้ความช่วยเหลือ เยี่ยมเยือน และให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ในอนาคตอันใกล้นี้ ผมและพรรคพวกจะตั้งสมาคมคนพิการมุสลิมให้ได้ เพื่อให้สามารถขอความช่วยเหลือจากภายในประเทศและต่างประเทศได้ โดยเฉพาะจากเงินซากาต(การบริจาคทานที่บังคับสำหรับมุสลิม) จากประเทศมุสลิม นายมันโซร์ สาและ รองประธานมูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้ สิทธิในด้านภาษาที่คน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ขาดไปอย่างเห็นได้ชัด คือ สิทธิในการได้อ่านป้ายข้อความต่างๆ หรือคำประกาศ โดยเฉพาะที่เป็นทางราชการ ที่เป็นภาษามลายูอย่างเดียว หรือภาษามลายูควบคู่กับภาษาไทยมีน้อยมาก จริงแล้วๆมันเป็นนโยบายของรัฐบาล ที่ไม่สนับสนุนการใช้ภาษามลายู นี่คือการลดบทบาททางอ้อมของภาษามลายูในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ นี่คือนโยบายที่กดทับไม่ให้คน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้พูดภาษามลายู เมื่อคน 3 จังหวัดชายแดนใต้ไม่พูดภาษามลายูแล้ว ความเป็นอัตลักษณ์มลายูมันก็จะค่อยๆหมดไปด้วย น่าแปลกเป็นอย่างยิ่งว่า รัฐบาลให้เกียรติต่อภาษาฝรั่งหรือภาษาจีน เกาหลีและอื่นๆ โดยให้มีการเรียนการสอนในโรงเรียนของรัฐบาล แต่สำหรับภาษามลายู รัฐบาลไม่สนับสนุนให้มีการเรียนการสอนในโรงเรียนของรัฐ ทั้งๆที่ ภาษามลายูเป็นภาษาที่คนใช้มากกว่า 300 ล้านคนในโลกมลายู และกำลังจะใช้เป็นภาษาหลักของอาเซียน สิ่งที่น่าเป็นห่าง คือ การที่หน่วยงานของรัฐบาลบางหน่วยงานรัฐที่เขียนภาษามลายู โดยใช้อักษรไทย เป็นสิ่งประชาชนและนักวิการไม่เห็นด้วย เพราะการเขียนภาษามลายู มี 2 รูปแบบเท่านั้น คือ 1.เขียนด้วยอักษร Romanic และ 2.เขียนด้วยอักษรยาวี ดังนั้น การเขียนภาษามลายูด้วยอักษรไทย จึงไม่เป็นที่ยอมในโลกมลายูและในประชาคมอาเชียน เนื่องจากตัวอักษรไทย ไม่สามารถแทนเสียงภาษามลายูได้ทั้งหมด ปัจจุบันมีหลายมหาวิทยาลัยในพื้นที่ เปิดสอนสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องภาษามลายู ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี ถือว่าเป็นการเปิดพื้นที่สำหรับภาษามลายู แต่ยังไม่ถึงจุดที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพได้ เพราะมหาวิทยาลัยยังไม่สามารถผลิตบัณฑิตที่สามารถใช้ภาษามลายูได้ดีเท่าที่ควร วันนี้กระแสการใช้ภาษามลายู ถูกแทรกแซงโดยภาษาอื่นๆ ที่อยู่รอบตัวของคน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ทำให้ไม่สามารถสกัดกั้นหรือทำลายกระแสของการใช้ภาษาเหล่านั้น แต่จะทำอย่างไรที่จะให้ภาษามลายูยังยั่งยืนอยู่ได้ต่อไป ท่ามกลางกระแสเหล่านั้น

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net