Skip to main content
sharethis

ข้อเสนอสืบเนื่องจาก การเคลื่อนขบวนของเครือข่ายประชาชนจากภาคเหนือ อีสาน ใต้ และ กทม.ราว 1,000 คน เพื่อยื่นนโยบายภาคประชาชนให้กับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้บรรจุลงในนโยบายของรัฐบาล เมื่อวันที่ 8 ส.ค.54 ข้อเสนอต่อรัฐบาลนางสาวยิ่ง​ลักษณ์ ชินวัตร กระจายการถือครองที่ดินที่เป็นธรรม ด้วยการปฏิรูปโครงสร้างการจัดการที่ดินทั้งระบบ โดย เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย ความขัดแย้งในการจัดการทรัพยากรที่ดิน มีแนวโน้มเพิ่มความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เพราะที่ดินมีจำกัด ประชากรเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่การบริหารจัดการที่ดินของรัฐเพื่อกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมไม่สา​มารถเกิดขึ้นได้จริง โดยหากประมวลสถานการณ์ปัญหา​การจัดการที่ดินในสังคมไทยจะพบ 5 ประเด็นหลัก ที่กำลังส่อเค้าความรุนแรงมากยิ่งขึ้น หากไม่เร่งแก้ไขปฏิรูปโครงสร้างการจัดการที่ดิน เพื่อให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดินที่เป็นธรรม ประการแรก ที่ดินกระจุกตัว แม้จะมีความพยายามแก้ไขปัญหามาโดยตลอดหากแต่ไม่ประสบผล โดยจะพบว่า พื้นที่ประเทศไทย 320 ล้านไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ป่าไม้ 100 ล้านไร่ ส่วนอีก 130 ล้านไร่เป็นพื้นที่การเกษตร​ พื้นที่ทั้งหมดเพียงพอต่อการใช้ประโยชน์ของคนไทยทุกคน หากได้รับการจัดสรรแบ่งปัน และกระจายการถือครองอย่างเป็นธรรม แต่พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่กว่า 90 %ถือครองที่ดินไม่ถึง 1 ไร่ขณะที่ประชาชนจำนวนเพียง​ 10 % ถือครองที่ดิน มากกว่า 100 ไร่ นอกจากนี้ยังพบว่า มีที่ดินจำนวนมากที่ถูกปล่อยทิ้งร้างว่างเปล่าไม่ได้ใช้ประโยชน์ จากข้อมูลการวิจัยของมูลนิธิสถาบันที่ดินแห่งประเทศไทย​ ปี 2544 พบว่า 70 % ของที่ดินที่มีการถือครองใน​ประเทศไทยถูกปล่อยทิ้งไว้ให้รกร้างว่างเปล่า ไม่ได้ใช้ประโยชน์ หรือใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่ หรือใช้ประโยชน์ไม่ถึง 50 % ประเมินความสูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจ 127,000 ล้าน บาทต่อปี ในขณะที่ข้อมูลจากการจดทะเบียนคนจนของกระทรวงมหาดไทยระ​บุว่า มีประชาชนมาลงทะเบียนว่าตนเองมีปัญหาเรื่องที่ดินทำกิน​และที่อยู่อาศัยนับรวมได้ 4.2 ล้านปัญหา แบ่งเป็นคนไม่มีที่ดินเลย 1.3 ล้านคน มีที่ดินทำกินอยู่บ้างแต่ไม่พอทำกินแม้ในรูปแบบเศรษฐกิจพอเพียง 1.6 ล้านคน ขอเช่าที่ดินรัฐและครอบครอง​ที่ดินรัฐอยู่ 3 แสนคน รวมแล้วมีเกษตรกรและคนไร้ที่ดินในสังคมไทยทีมีปัญหาที่​ดินทำกินไม่น้อยกว่า 3.2 ล้านครอบครัว จะพบว่าจากการสำรวจและการวิจัยเรื่องที่ดินจากทุกสถาบันโชว์ทุกครั้งว่า ปัญหาที่ดินเป็นปัญหาที่เกษตรกรทั่วประ​เทศเห็นว่าสำคัญ และวิกฤตสำหรับเกษตรกรไทย แต่รัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ มีเพียงมาตรการสำรวจและศึกษาวิจัยต่อไป โดยไม่มีมาตรการแก้ไขที่เป็นรูปธรรม ประการที่สอง การถือครองที่ดินของเอกชน ไม่เพียงปัญหาความล้มเหลวใน​การกระจายการถือครองที่ดิน หากยังรวมถึงความล้มเหลวในการบริหารจัดการการถือครองที่ดินของเอกชน โดยจะพบว่า ในพื้นที่กรุงเทพฯ บุคคลและนิติบุคคลจำนวน 50 รายแรก ถือครองที่ดินเป็นจำนวนถึง 10 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งหมด จากจำนวนประชากรอย่างเป็นทางการมากกว่า 5.7 ล้านคน หรือหากพิจารณาจากจำนวนถือครองที่ดินของชนชั้นนำในสังคมไทยที่มีการเปิดเผยสู่สาธารณะจะพบว่ามีการถือครองที่ดินเป็นจำนวนมาก ดังปรากฏอย่างชัดเจนในหมู่นักการเมืองที่ต้องเปิดเผยบัญชีทรัพย์สิน รวมถึงข้าราชการระดับสูงที่​ไม่ปรากฏข้อมูลต่อสาธารณะแต่ก็เป็นที่คาดหมายได้ว่ามีแนวโน้มในลักษณะเช่นเดียวกัน ข้อมูลดังกล่าวตรงกันข้ามกับการถือครองที่ดินของเกษตรกร โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยที่ต้องใช้ที่ดินเป็นฐานทรัพยากรสำคัญในการผลิตอาหารและสร้างรายได้เพื่อดำรงชีพ ข้อมูลจากการสำรวจพบว่าในปัจจุบันเกษตรกรรายย่อยไม่มีที่ดินเป็นของตนเองไม่น้อยกว่า 811,892 ครอบครัว และในส่วนที่ต้องเช่าที่ดิน​ทำกิน มีจำนวนไม่น้อยกว่า 1.5 ล้านครอบครัว รวมทั้งข้อมูลการสูญเสียที่​ดินทำกินของเกษตรกรรายย่อยที่ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนถึงโครงสร้างการถือครองที่ดินที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้มาตรการทางกฎหมาย เพื่อทำให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดิน​และการสร้างความมั่นคงในการ​ถือครองที่ดินให้แก่เกษตรกร​ ประการที่สาม ข้อขัดแย้งในที่ดินที่ออกเอกสารสิทธิ์โดยมิชอบ จะพบว่า ในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคอีสานและภาคใต้ มีการออกเอกสารสิทธิ์ที่ดิน​โดยมิชอบ ผิดกฎหมาย ในหลายกรณีทั้งในที่ดินเกษตรกร ที่ดินที่ชุมชนใช้ประโยชน์อยู่ เช่น ที่ป่าชุมชน ที่สาธารณประโยชน์ และที่ ส.ป.ก. ที่ดินที่ถูกออกเอกสารสิทธิ์โดยมิชอบเหล่านี้ ต่อมาได้ถูกนำไปเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ กลายเป็นหนี้เน่า NPL ถูกธนาคารฟ้องร้องยึดและขาย​ทอดตลาด กลายเป็นที่รกร้างว่างเปล่า เมื่อประชาชนมีมาตรการแก้ไข​ปัญหาที่ดินที่เป็นรูปธรรม โดยการเข้าทำกินปฏิรูปการถือครองโดยประชาชน รัฐและเจ้าของที่ดินเอกชนเห​ล่านั้นได้ใช้อำนาจทางกฎหมายกับคนจนไร้ที่ดิน ด้วยการฟ้องร้อง จับกุม ดำเนินคดีความ ประการที่สี่ ข้อขัดแย้งในที่ดินรัฐโดยเฉพาะในพื้นที่ป่า ความขัดแย้งในพื้นทีป่าไม้ระหว่างรัฐกับเกษตรกรเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ภาคเหนือ ภาคใต้และภาคอีสาน ที่รัฐได้ประกาศเขตป่าอนุรักษ์ เขตป่าสงวน และที่สาธารณะทับ​ซ้อนบนพื้นที่ทำกิน ที่อยู่อาศัย ที่สาธารณประโยชน์และที่ป่า​ชุมชนของชาวบ้าน ก่อให้เกิดกรณีพิพาทความขัด​แย้งเรื่องสิทธิ์ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และชาวบ้าน ซึ่งกระบวนการพิสูจน์สิทธิ์​ในที่ดินและการแก้ไขปัญหายังถูกรวมศูนย์อยู่ที่ภาครัฐ โดยขาดการตรวจสอบจากองค์กรอิสระและองค์กรประชาชน ปัจจุบันรัฐบาลได้ใช้อำนาจทางกฎหมายทีแข็งกร้าวมากขึ้น​ นอกจากฟ้องร้องคนจนในคดีอาญาแล้ว ยังฟ้องร้องเพิ่มในคดีแพ่งเรียกร้องให้คนจน จ่ายค่าเสียหายด้านสิ่งแวดล้อมให้กรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช คนละ 1-5 ล้านบาท แม้ว่าคนจนเหล่านั้นจะทำกิน​ตามวิถีเกษตรกรเท่านั้น นอกจากนี้ยังพบว่า ในพื้นที่ภาคอีสานและภาคใต้​ รัฐได้อนุญาตให้บริษัทเอกชน​สัมปทานเช่าพื้นที่ป่าสงวนระยะยาวเพื่อทำกิจการเหมืองแร่ ปลูกพืชเศรษฐกิจ ยูคาลิปตัส ยางพารา และปาล์มน้ำมัน เมื่อเอกชนใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าเกินกว่าสัญญาเช่า หรือสัญญาเช่าหมดลง คนจนไร้ที่ดินเรียกร้องให้รัฐหยุดสัญญาเช่าแต่ไม่เป็นผล เมื่อประชาชนมีมาตรการแก้ไข​ปัญหาด้วยตนเอง โดยการเข้าทำกินปฏิรูปที่ดินการถือครองโดยประชาชน รัฐได้ใช้อำนาจทางกฎหมาย โดยการจับกุมดำเนินคดี ด้วยข้อหารุนแรง ประการที่ห้า ที่ดินคนจนเมือง ในขณะที่ชุมชนสลัมกว่า 3,700 ชุมชน ทั่วประเทศ อยู่ในภาวะสั่นคลอน ไม่ได้ถูกรับรองและไม่มั่นคงในที่อยู่อาศัย อยู่ในสภาพที่จะถูกไล่รื้อจากหน่วยงานภาครัฐ และบริษัทธุรกิจเอกชน จนถึงขณะนี้ยังไม่มีหลักประ​กันในความมั่นคงต่อการแก้ไข​ปัญหาดังกล่าว ชุมชนหลายแห่งต้องเผชิญกับสภาพการถูกฟ้องร้อง ดำเนินคดีจากเจ้าของที่ดินเอกชน หรือแม้แต่จากหน่วยงานภาครัฐ ที่ต้องการขับไล่ชุมชนออกจากที่ดินดังกล่าว ในขณะที่ชุมชนอีกหลายแห่ง ที่อยู่อาศัยคนยากจนต้องประ​สบปัญหาการเข้าไม่ถึงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ไฟฟ้า ประปา หรือต้องจ่ายค่าสาธารณูปโภค​ ไฟฟ้า ประปา ในราคาที่แพงกว่าประชาชนทั่วไป เนื่องจากถูกกีดกัน ไม่ได้รับสิทธิในการมีทะเบียนบ้านถาวรจากหน่วยงานภาครัฐ รากฐานของปัญหา ความขัดแย้งในการจัดการทรัพยากรที่ดินดังกล่าวล้วนเกิด​ขึ้นจากรากฐานเดียวกัน ดังนี้คือ 1.การแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินใน​สังคมไทยที่ผ่านมา ไม่ได้ตั้งอยู่บนหลักการ การปฏิรูปโครงสร้างการถือครองที่ดินและการปฏิรูปโครงสร้างการจัดการที่ดิน เพื่อนำสู่การกระจายอำนาจแล​ะการกระจายการถือครองที่ดิน​ที่เป็นธรรม ที่ผ่านมาภาครัฐมุ่งเน้นการ​ออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินให้กับภาคเอกชนและเกษตรกร และการประกาศเขตพื้นที่ป่าเพิ่ม ซึ่งนอกจากจะไม่สามารถแก้ไข​ปัญหาที่ดินและการบุกรุกป่า​ได้แล้ว ยังก่อให้เกิดปัญหาข้อพิพาท​ที่ดินตามมาอีกจำนวนมาก 2.สังคมไทยไม่มีกฎหมายจำกัดการถือครองที่ดิน ใครรวยก็มีสิทธิซื้อที่ดินจำนวนเท่าไรมาถือครองไว้ก็ได้ จะซื้อครึ่งหรือค่อนประเทศก็ไม่มีใครจำกัดสิทธิได้ ในขณะที่คนจนจะสูญเสียที่ดินและไร้ที่ดินทำกินจำนวนกี่​ล้านครอบครัวก็ได้ รัฐบาลไม่ได้ใช้อำนาจในทางบ​ริหารและอำนาจในทางกฎหมาย จัดการเพื่อให้เกิดความเป็น​ธรรมในการถือครองที่ดินอย่างที่ควรจะเป็น 3.สังคมไทยไม่มีกฎหมายภาษีที่​ดินอัตราก้าวหน้า ซึ่งเป็นมาตรการทางกฎหมายที่สำคัญ ที่จะทำให้คนที่ถือครองที่ดินจำนวนมากและไม่ได้ใช้ประโยชน์ ต้องเสียภาษีในอัตราที่สูง ในระดับที่ไม่สามารถเก็บที่​ดินไว้เพื่อการเก็งกำไรและต้องขายออกมา ซึ่งจะทำให้รัฐสามารถช้อนซื้อที่ดินเหล่านั้นเพื่อนำมา​ปฏิรูปจัดสรรให้กับเกษตรกรที่ต้องการที่ดินทำกิน 4.กฎหมายที่ดิน ป่าไม้ และการประกาศเขตพื้นที่ป่าของรัฐ ไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานการ​เคารพในสิทธิของชุมชนท้องถิ่น การดำรงอยู่ของชุมชนเกษตรกร วัฒนธรรมของชุมชนอันหลากหลา​ย สืบเนื่อง และเป็นรากฐานของวิถีเกษตรกรรมในสังคมไทยมายาวนาน เมื่อกฎหมายและการบังคับใช้​กฎหมายไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้น​ฐานแห่งความยุติธรรม และยังไม่ถูกเปลี่ยนแปลงแก้​ไข กรณีพิพาทความขัดแย้งเรื่อง​ที่ดินจึงเกิดขึ้นจำนวนมาก 5.การปฏิรูปที่ดินของรัฐที่ผ่านมา ไม่ได้เป็นไปตามเจตนารมณ์กฎ​หมายปฏิรูปที่ดิน ปี 2518 ที่ต้องการให้รัฐใช้อำนาจ มาตรการทางกฎหมายและมาตรการ​ต่างๆ นำที่ดินที่ถือครองโดยเอกชน​มากระจายให้กับคนจนไร้ที่ดิน แต่กลับเบี่ยงเบนประเด็นไปที่การจัดสรรที่ป่าสงวนแห่งชาติให้กับภาคเอกชน 6.สังคมไทยไม่มีช่องทาง กลไก สถาบัน ที่เปิดโอกาสให้คนไร้ที่ดิน​และไร้ที่อยู่อาศัย เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรที่ดินร่วมกับหน่วยงานภาครัฐเพื่อให้เกิดความ​โปร่งใสและเกิดความเป็นธรรม การแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดินทำกินและข้อขัดแย้งในพื้นที่​ป่า รวมศูนย์อำนาจอยู่ที่หน่วยงานภาครัฐ ส่งผลให้เกิดการคอรัปชั่น ขาดการตรวจสอบ และถ่วงดุลอำนาจตามที่ควรจะ​เป็น หลักการสำคัญของการกระจายการถือครองที่ดิน • ที่ดินคือสวัสดิการสังคม ที่รัฐต้องจัดให้เกษตรกรทุก​คน บนพื้นฐานความเป็นธรรมที่ว่า ที่ดินไม่ใช่สินค้า หากคือทรัพยากรเพื่อการผลิต​อาหารที่สำคัญของสังคม สังคมจึงต้องมีการกระจายการ​ถือครองที่ดินที่เป็นธรรม ให้คนจนและเกษตรกรรายย่อยมี​ที่ดินเป็นของตนเอง เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร และความมั่นคงในที่อยู่อาศัยให้กับคนกลุ่มใหญ่ของประเท​ศ • รัฐมีหน้าที่ต้องคุ้มครองสิ​ทธิของเกษตรกรรายย่อยและคนยากจน การคุ้มครองสิทธิและอิสรภาพ​ในการดำรงชีวิต การตั้งถิ่นฐาน การอยู่อาศัย การทำมาหากิน การได้รับสิทธิในการพัฒนาของเกษตรกรรายย่อยและคนจน โดยคำนึงถึงความเป็นธรรม มิใช่การยึดตามตัวบทกฎหมายที่ขัดแย้งกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม จารีตประเพณีและวัฒนธรรมของ​ชุมชนท้องถิ่น • ที่ดินรัฐที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ที่ดินเอกชนที่กักตุนไว้เพื่อเก็งกำไร มีเจ้าของแต่ไม่มีการใช้ประ​โยชน์ คือตัวบ่งชี้ความไม่เป็นธรรมในการถือครองที่ดิน ควรถูกมาใช้ในการผลิต กระจายและจัดสรรให้มีประโยชน์ต่อเกษตรกรไร้ที่ดิน และคนจนไร้ที่อยู่อาศัยอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความเหมาะสมต่อการใช้ที่ดิน • รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 85 แห่งรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ส่วนที่ 8 ด้านที่ดินทรัพยากรธรรมชาติ​และสิ่งแวดล้อม ที่บัญญัติว่า รัฐมีหน้าที่กระจายการถือครองอย่างเป็นธรรม และดำเนินการให้เกษตรกรมีกร​รมสิทธิ์ในที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมอย่างทั่วถึง โดยการปฏิรูปที่ดินหรือวิธี​อื่น แนวทางการปฏิรูปโครงสร้างการจัดการที่ดิน เพื่อกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม การแก้ไขปัญหาการจัดการทรัพยากรที่ดินจำเป็นต้องดำเนิน​การอย่างเร่งด่วน โดยพรรคการเมืองทุกพรรคควรกำหนดปัญหาที่ดินเป็นวาระเร่งด่วน เพราะหากไม่เร่งปฏิรูปโครงสร้างการถือครองที่ดิน ปัญหาข้อพิพาทเรื่องที่ดินและความขัดแย้งของคนในสังคมจะรุนแรงมากขึ้น และจะส่งผลกระทบต่อความมั่น​คงโดยรวมของสังคม ความมั่นคงด้านอาหารและที่อยู่อาศัยของคนส่วนใหญ่ของประเทศในอนาคต แนวทางการปฏิรูปโครงสร้างการถือครองที่ดินและการปฏิรูปโครงสร้างการจัดการที่ดิน มีดังนี้คือ 1.การออกกฎหมายโฉนดชุมชน การออกกฎหมายการจัดการที่ดินในรูปแบบโฉนดชุมชน หมายความถึงการปรับโครงสร้างการจัดการที่ดินในสังคมไทย​โดยให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากร​ที่ดินร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เพื่อความโปร่งใส กระจายอำนาจการจัดการทรัพยากรที่เคยรวมศูนย์ และเพื่อแก้ไขปัญหาข้อพิพาท​ในที่ดินรัฐที่ยังไม่มีแนวทางการแก้ไข กฎหมายโฉนดชุมชนควรมีหลักการที่สำคัญคือการเคารพในการดำรงอยู่ของชุมชนเกษตรกร และวัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่น กระจายอำนาจการจัดการทรัพยากรจากรัฐสู่ประชาชน คุ้มครองพื้นที่ชุมชนให้เป็นพื้นที่เพื่อการเกษตรกรรม และคุ้มครองสิทธิเกษตรกรราย​ย่อยให้สามารถเข้าถึงสาธารณูปโภคพื้นฐาน การประกันรายได้และราคาผลผลิตที่เป็นธรรม กองทุนชดเชยจากภัยธรรมชาติและกองทุนการช่วยเหลือด้านต่างๆ อย่างเท่าเทียม 2.การจัดสรรงบประมาณสำหรับกอง​ทุนธนาคารที่ดิน กองทุนธนาคารที่ดินคือกองทุนหลักประกันการเข้าถึงที่ดินของคนจนและคนไร้ที่ดินทั่ว​ประเทศ ส่วนกองทุนที่ดินชุมชนคือกองทุนหลักประกันการคุ้มครองพื้นที่ชุมชนให้เป็นพื้นที่เกษตรกรรมตลอดไป กองทุนที่ดินเหล่านี้จะดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพไม่​ได้ หากไม่มีการจัดสรรงบประมาณจากภาครัฐเข้ามาดำเนินการ พรรคการเมืองที่เข้ามาเป็นรัฐบาล ควรจัดสรรงบประมาณให้กับกอง​ทุนธนาคารที่ดิน เพื่อให้กองทุนนี้ เป็นกลไกในการจัดซื้อที่ดิน​จากภาคเอกชน ที่ไม่ต้องการใช้ประโยชน์ หรือทำหน้าที่เจรจาขอใช้ที่​ดินจากหน่วยงานภาครัฐ และรัฐวิสาหกิจที่ไม่ได้ใช้​ประโยชน์ เพื่อนำที่ดินมาจัดสรรและกระจายให้กับคนไร้ที่ดินได้ใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสมต่อไป​ โดยการจัดซื้อที่ดินจากภาคธุรกิจเอกชน ที่ดิน NPL ควรเจรจาขอซื้อในราคาที่ต่ำ​กว่าราคาประเมิน เพื่อประโยชน์ในทางสาธารณะของสังคม เนื่องจากปัจจุบันมีเกษตรกร​ยากจนที่ไร้ทีทำกินถึง 1.5 ล้านคน หากจะจัดสรรที่ดินให้แก่เกษตรกรเหล่านี้ได้ทั้งหมด จะต้องใช้งบประมาณทั้งสิ้นประมาณ เจ็ดแสนล้านบาท และเพื่อให้การแก้ไขปัญหาที่ดินเป็นไปได้จริง พรรคการเมืองควรจัดสรรงบประมาณให้กับกองทุนธนาคารที่ดินปีละ 100,000 ล้านบาท 3.การจัดเก็บภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้า เพื่อสร้างกลไกและเงื่อนไขให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดินที่เป็นจริง ควรมีการจัดเก็บภาษีที่ดินในอัตราที่ก้าวหน้าตามขนาดการถือครองที่ดิน ตามมูลค่าของที่ดิน และตามลักษณะของการใช้ประโยชน์ในที่ดิน การจัดเก็บภาษีที่ดิน ควรจัดเก็บในที่ดินที่ไม่ได้ทำประโยชน์ ทิ้งไว้รกร้างว่างเปล่าเป็น​เวลานานในอัตราภาษีที่สูงกว่าที่ดินที่มีการนำที่ดินไป​ใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ และควรมีการยกเว้นภาษีให้กับผู้ที่มีที่ดินถือครองในมูลค่าน้อยหรือเกษตรกรที่ยากจน เพื่อไม่ให้ภาระภาษีตกแก่กลุ่มคนที่มีฐานะยากจนและต้อง​อาศัยที่ดินเป็นปัจจัยการผลิตเพื่อดำรงชีพ 4.การจำกัดการถือครองที่ดิน การจำกัดการถือครองที่ดินคือการสร้างบรรทัดฐานความเป็น​ธรรมในการถือครองที่ดินให้เกิดขึ้นในสังคม ด้วยข้อเท็จจริงของความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยที่ว่า เกษตรกรไทยจำนวนมากกำลังประ​สบกับภาวะของการสูญเสียที่ดินทำกิน โดยที่ยังไม่มีแนวทางแก้ไข ในขณะที่คนอีกกลุ่มหนึ่งกำลังกว้านซื้อที่ดินจำนวนมากเพื่อนำที่ดินมากักตุนและเก็งกำไร โดยที่ไม่มีปัจจัยควบคุม การกำหนดแนวทางการจำกัดการถือครองที่ดินในสังคมไทย จะเป็นตัวบ่งชี้ทิศทางโครงสร้างการบริหารจัดการที่ดิน ทิศทางการพัฒนาและการเติบโต​ของภาคเกษตรกรรมที่คำนึงถึง​การดำรงอยู่ของเกษตรกรรายย่อยในภาคเกษตรกรรมไทย 5.การแก้ไขปัญหาคดีความคนจน เนื่องจากคดีคนจนด้านที่ดิน​ ทรัพยากร และการเรียกร้องสิทธิตามรัฐธรรมนูญ เกิดจากปัญหาโครงสร้างการจัดการที่ดิน และการบริหารจัดการทรัพยากร​ที่ดินของรัฐที่ไม่เท่าเทียม ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง​ลุกลามเป็นคดีความขึ้นทั่วประเทศ นับวันจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น อาจลุกลามขยายตัวถึงขั้นวิกฤติต่อสังคมและเศรษฐกิจได้ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาคดีความสอดคล้องกับการปฏิรูปโครง​สร้างการจัดการที่ดิน เจตนารมณ์ของกฎหมายและรัฐธรรมนูญ และคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับคนจนและเกษตรกรรายย่อย พรรคการเมืองควรกำหนดนโยบาย​และแนวทางปฏิบัติสำหรับหน่วยงานภาครัฐดังนี้ • คดีพิพาทเรื่องที่ดิน การจัดการทรัพยากรและสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญ ที่เป็นคดีอาญาอยู่ในชั้นพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยกา​ร ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยุติคดีมีคำสั่งไม่ฟ้อง • คดีพิพาทเรื่องที่ดิน การจัดการทรัพยากรและสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญ ที่เป็นคดีแพ่งอยู่ในชั้นพิจารณาของศาลหรือศาลมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดแล้ว ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการถอนฟ้อง งดการบังคับคดี หรือถอนการบังคับคดีแล้วแต่​กรณี • คดีพิพาทที่ยังไม่มีการดำเนินคดีในกระบวนการยุติธรรมแล​ะกรณีการใช้อำนาจทางปกครองของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบงดการดำเนินคดีหรือเพิกถอนคำสั่งทางปกครองไว้ จนกว่ากระบวนการปฏิรูปโครงสร้างการจัดการที่ดินของรัฐบาลจะแล้วเสร็จ • คดีพิพาทที่อยู่ในชั้นพิจารณาของศาล ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบช่วยเหลือ ชาวบ้านที่ต้องต่อสู้คดี ทั้งค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับศาล การประกันตัว ทนายความ และค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปมาศาลของชาวบ้าน รวมทั้งให้ชาวบ้านสามารถเข้าถึงกองทุนยุติธรรม ซึ่งเป็นกองทุนเพื่อการช่วย​เหลือผู้ถูกคดีของกระทรวงยุ​ติธรรมได้โดยง่าย 6.การปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม โครงสร้างกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อโครง​สร้างการจัดการที่ดินและข้อ​พิพาทระหว่างประชาชนกับภาครัฐและนายทุน เพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง​ในการจัดการทรัพยากรที่ดินที่ยั่งยืนและเป็นธรรม พรรคการเมืองควรมีนโยบายปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมดังนี้ • ปรับปรุงประมวลกฎหมายที่ดิน​ป่าไม้ให้มีเอกภาพ และวางหลักการของกฎหมายเพื่อให้เกิดความยุติธรรม จัดทำหลักเกณฑ์การกระจายอำนาจการจัดการทรัพยากรและการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้เกิดความเป็นธรรมทางนิเวศควบคู่กับความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม • ให้มีการสอบสวนข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับสิทธิชุมชนในการ​จัดการและใช้ประโยชน์จากทรัพยากร ตั้งแต่ชั้นเจ้าพนักงานสอบสวน เพื่อเป็นประโยชน์แก่อัยการ​และศาลในการพิจารณาคดีที่ดินป่าไม้ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิชุมชน • จัดตั้งหน่วยงานพิเศษในกระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวกับดินป่าไม้ เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสามารถพัฒนาบุคลากรที่มีทักษะ มีความเข้าใจและเชี่ยวชาญใน​เรื่องนี้เป็นการเฉพาะ • มีศาลพิเศษด้านที่ดินป่าไม้​และมีศูนย์พิเศษเพื่อช่วยเห​ลือประชาชนด้านที่ดินป่าไม้​ทั้งในด้านการป้องกันและแก้​ปัญหา ตั้งแต่การจัดหาทนาย การสนับสนุนทรัพยากรในการจัดหาพยานหลักฐาน การให้คำปรึกษาด้านเทคนิค การเข้าเป็นพยานหรือพยานผู้​เชี่ยวชาญในศาล รวมทั้งการจัดตั้งกองทุนสู้​คดี • จัดทำกฎหมายวิธีพิจารณาคดีที่ดินป่าไม้เพื่อให้การพิจารณาคดีมีมาตรฐาน เป็นกระบวนการยุติธรรมที่เข้าถึงง่าย รวดเร็ว สะดวก และประหยัด ใช้วิธีการพิจารณาคดีที่หลากหลาย การเดินเผชิญสืบ การนำระบบไต่สวน ที่ยึดโยงกับวิถีชีวิตวัฒนธรรมชุมชน มาประกอบการตัดสินคดี การพิจารณาจากหลักฐานบุคคลหรือหลักฐานทางประวัติศาสตร์​ท้องถิ่น การเจรจาไกล่เกลี่ยโดยคนกลา​ง ตลอดจนให้มีการกลั่นกรองคดี​ในระดับชุมชนก่อนเข้าสู่กระ​บวนการยุติธรรมทางศาล • พัฒนาระบบการฟ้องคดีสาธารณะ​โดยให้ประชาชนสามารถฟ้องคดี​ได้ และรัฐฟ้องคดีอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนหรือชุมชนตื่นตัวต่อการรักษาทรัพยากรธรรมชาติของส่วนรวมมากขึ้น ข้อเสนอรูปธรรมแนวทางการนำที่ดินรัฐมากระจายการถือครอง​สู่ประชาชน 1.ให้นำที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ​ ที่หมดสัญญาเช่าหรือหมดระยะ​การอนุญาตให้นายทุนทำประโยชน์มาปฏิรูปที่ดินให้เกษตรกร​ที่ขาดแคลนที่ดินทำกิน รวมทั้งรับรองสิทธิในหลักการของโฉนดชุมชนหรือระบบการถือครองปัจจัยการผลิต/ที่ดินร่วมกันขององค์กรชุมชน (ยกตัวอย่างกรณีจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีที่ดินดังกล่าว 38 แปลงจำนวนกว่า 68,500 ไร่ที่หมดสัญญาแล้ว) 2.เร่งนำที่ดินในเขตปฏิรูปที่​ดินเพื่อเกษตรกรรม (ที่ดิน สปก.) ซึ่งนายทุนบุกรุกครอบครองทำ​การเกษตรรายใหญ่มายาวนานกว่า 25 ปี มาสู่กระบวนการปฏิรูปที่ดิน​ให้เกษตรกรที่ขาดแคลนที่ดิน (กระจายการถือครองและรับรอง​ให้เป็นสิทธิร่วมของชุมชน) 3.ให้นำที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ​ที่อยู่ในการครอบครองขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.)​ ซึ่งปัจจุบันมีพื้นที่ 900,000 ไร่ ทั่วประเทศเข้าสู่กระบวนการ​ปฏิรูปที่ดินให้เกษตรกรยากจน 4.กรณีพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ​ที่นายทุนการเกษตรรายใหญ่ครอบครองมากกว่า 200 ไร่ ให้รัฐบาลตั้งคณะกรรมการตรวจสอบความถูกต้องทางกฎหมายของการครอบครองที่ดิน เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย 8 สิงหาคม 2554

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net