Skip to main content
sharethis

แรงงานภาคเกษตรเริ่มวิกฤต!เผยตัวเลขผู้สูงอายุเริ่มพุ่งสูงขึ้น / เผยแรงงานไทยกว่า 3,300 คนในอังกฤษปลอดภัย / แรงงานเอจีซีร้องถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม / นักวิชาการแนะ รมว.แรงงาน ปรับค่าจ้าง-หนุนตั้งสหภาพ / “เผดิมชัย” ยืนยันเดินหน้าค่าจ้าง 300 บาท ทันที ในพื้นที่ที่เริ่มทำได้ก่อน แนะ กกจ.ออกกฎเหล็กแก้หลอกลวงแรงงาน เมื่อวันที่ 7 ส.ค. น.ส.สุธาสินี แก้วเหล็กไหล ผอ.โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย กล่าวว่า ช่วงปี 2553 จนถึงปัจจุบัน โครงการฯ ได้รับร้องเรียนจากแรงงานไทยที่ไปทำงานต่างประเทศ และพบว่า ปัญหาการหลอกลวงแรงงาน มีความซับซ้อนและรุนแรงมากขึ้น จึงอยากเสนอแนวทางแก้ปัญหาว่า 1. กรมการจัดหางาน (กกจ.) ควรรวบรวมข้อมูล เช่น โควตาแรงงาน ประเภทงาน ค่าจ้างของประเทศต่าง ๆ ที่ต้องการแรงงานไทยไปทำงานในแต่ละปีไว้อย่างเป็นระบบ ไว้ในเว็บไซต์ของ กกจ. และเผยแพร่ข้อมูลไปยังสำนักงานจัดหางานจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) 2. หากบริษัทจัดหางานที่ขึ้นทะเบียนไว้กับ กกจ. กระทำผิดกฎหมายเช่น หลอกลวงเรียกเก็บเงินค่าบริการจากแรงงาน ถึง 2 ครั้ง ก็ขอให้เพิกถอนใบอนุญาตไม่ใช่แค่ลงโทษพักใช้ใบอนุญาต 120 วันเท่านั้น รวมถึงขึ้นบัญชีดำบริษัทและนายหน้าจัดหางานเถื่อนที่ถูกตำรวจออกหมายจับและ นำข้อมูลขึ้นเว็บไซต์ กกจ. 3. กกจ. ควรดูแลให้บริษัทจัดหางานดำเนินการตามมาตรา 27 ของ พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2537 ที่ห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตจัดหางานในประเทศ เรียกหรือรับค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายก่อนที่นายจ้างรับคนหางานเข้าทำงาน และจ่ายค่าจ้างเป็นครั้งแรกแล้วอย่างเข้มงวด บริษัทจัดหางานควรเก็บเงินจากแรงงานเฉพาะค่าเดินทางและค่าใช้จ่ายที่จำเป็น จริง ๆ 4. การฝึกอบรมควรใช้เวลา 2 สัปดาห์ถึง 1 เดือน โดยอบรมด้านกฎหมายแรงงาน ลักษณะงานและค่าจ้างที่ควรได้รับ วิธีแก้ปัญหาและการขอความช่วยเหลือกรณีเกิดปัญหา ภาษาและวัฒนธรรมของประเทศที่จะไปทำงาน 5. กกจ. ควรจัดทำรายชื่อและเบอร์โทรศัพท์ติดต่อหน่วยงานรัฐ องค์กรและมูลนิธิต่าง ๆ ที่ทำงานช่วยเหลือแรงงานไทยทั้งในไทยและต่างประเทศแทรกไว้ในสิ่งที่แรงงาน ต้องใช้ในชีวิตประจำวันเช่น ปากกาสอดไส้เบอร์โทรศัพท์ 6. เพิ่มวงเงินค้ำประกันแรงงานไทยที่จะไปทำงานต่างประเทศ ให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงไม่ใช่กำหนดวงเงินไว้สูงสุดแค่ 5 ล้านบาท เมื่อกรณีนายจ้างผิดสัญญา ไม่จ่ายค่าจ้าง จะทำให้แรงงานได้รับเงินชดเชยที่เหมาะสมเพราะบางคนต้องกู้เงิน ขายที่ดินเพื่อนำเงินมาเป็นค่าเดินทางและค่าใช้จ่ายทำงานต่างประเทศ และ 7. ปรับปรุงคู่มือการไปทำงานต่างประเทศซึ่งจัดทำขึ้นในสมัยนายไพฑูรย์ แก้วทอง เป็น รมว.แรงงาน ให้มีความทันสมัยและชัดเจนมากขึ้น เนื่องจากบางกรณีคู่มือนี้ระบุไว้เช่น แรงงานไทยที่ไปเก็บผลเบอร์รี่ในต่างประเทศต้องไม่เสียค่าบริการในการไปทำงาน แต่ปัจจุบันบริษัทจัดหางานเก็บค่าบริการจากแรงงานคนละกว่า 7-8 หมื่นบาท. (เดลินิวส์, 7-8-2554) ผู้ประกอบการ รปภ.ค้านขึ้นค่าแรง 300 บาท ชี้เพิ่มภาระกว่า 40% วันนี้ (8 ส.ค.) ที่โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค กรุงเทพฯ สมาคมรักษาความปลอดภัยภาคพื้นเอเชีย (ประเทศไทย) สมาคมผู้ประกอบการรักษาความปลอดภัยแห่งประเทศไทย และสมาคมผู้บริหารงานรักษาความปลอดภัยแห่งประเทศไทย จัดสัมมนาในหัวข้อ นโยบายปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ทั่วประเทศ มีผลกระทบต่อธุรกิจงานรักษาความปลอดภัยอย่างไร โดยมีผู้ประกอบการบริษัทรักษาความปลอดภัยให้ความสนใจเข้าร่วมฟังเป็นจำนวน มาก ซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาททั่วประเทศในทันที เพราะจะส่งผลกระทบกับกิจการรักษาความปลอดภัยเป็นอย่างมาก โดยนายวัลลภ กิ่งชาญศิลป์ นายกสมาคมสมาคมรักษาความปลอดภัยภาคพื้นเอเชีย (ประเทศไทย) กล่าวว่า ส่วนตัวไม่คัดค้านที่รัฐบาลจะปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ แต่ไม่เห็นด้วยกับการที่จะปรับขึ้นในทันที โดยมองว่า เป็นวาทะของนักการเมืองในการเรียกคะแนนเสียงจากประชาชนเสียมากกว่า ยิ่งหากพูดว่าปรับขึ้นค่าแรงเพื่อช่วยเหลือให้ประชาชนมีรายได้รับกับค่าครอง ชีพที่ขึ้นสูงขึ้นทุกวันก็ยิ่งไม่ได้ผล เพราะตอนนี้ราคาสินค้าได้ขึ้นรอล่วงหน้าแล้ว นายวัลลภ กล่าวต่อว่า หากรัฐบาลปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท จะทำให้ต้นทุนค่าจ้างแรงงานของกิจการรักษาความปลอดภัยสูงขึ้นกว่าเดิมถึง 40% ซึ่งจะทำให้บริษัทห้างร้านที่เคยจ้างบริษัทรักษาความปลอดภัย กลับไปจ้างแรงงานในส่วนนี้เอง อีกทั้งแรงงานก็จะกลับไปทำงานที่บ้านเกิด เพราะไม่มีความเหลื่อมล้ำในเรื่องของค่าแรงจากพื้นที่การทำงานอีกต่อไป ซึ่งนั่นจะทำให้หลายบริษัทต้องปิดตัวลง และอาจทำให้ธุรกิจรักษาความปลอดภัยประสบกับภาวะวิกฤติได้ รัฐบาลจึงควรปรับขึ้นค่าแรงแบบค่อยเป็นค่อยไปเป็นขั้นบันได เช่นบอกว่าปีนี้ปรับขึ้น 10% จากเดิม ปีหน้าปรับอีก 5% จนครบ 300 บาท ภายในกี่ปีก็ว่ากันไป ไม่ใช่ปรับขึ้นครั้งเดียวเป็น 300 บาท ซึ่งจะทำให้ภาคเอกชนปรับตัวไม่ทัน นายวัลลภ ยังกล่าวด้วยว่า ปัจจุบันรัฐบาลยังไม่มีความชัดเจนในการบังคับใช้ตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวกับภาค แรงงานหลายเรื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พ.ร.บ.รักษาความปลอดภัย ที่มีแต่คนพูดว่าเป็นกฎหมายที่สำคัญ แต่ไม่เห็นมีความคืบหน้าว่าจะสามารถบังคับใช้ได้เมื่อไหร่ จึงถึงเวลาแล้วที่จะนำเรื่องนี้มาคุยอย่างจริงจัง และอยากเสนอให้มีการปรับระดับของแรงงานภาคการรักษาความปลอดภัยขึ้นเป็นแรง งานฝีมือ ไม่ใช่แรงงานกรรมกร เพราะถือเป็นแรงงานที่ต้องใช้ทักษะสูง ซึ่งจะสามารถปรับฐานเงินเดือนให้สูงขึ้นได้โดยไม่มีผลกระทบต่อกิจการมากนัก ขณะที่นายสมบัติ พิมพ์แสง อดีตนายกสมาคมสมาคมรักษาความปลอดภัยภาคพื้นเอเชีย (ประเทศไทย) กล่าวว่า การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำนั้นควรจะเป็นมติเห็นชอบร่วมกันของไตรภาคี อันประกอบด้วย รัฐบาล นายจ้าง และลูกจ้าง มากกว่าที่จะมาจากนโยบายหาเสียง โดยควรขึ้นแบบขั้นบันได แต่ยอมรับว่าหากรัฐบาลขึ้นค่าแรงเมื่อใด บริษัทในภาครักษาความปลอดภัย คงต้องมีการปรับตัวด้วยการนำเทคโนโลยีกล้องซีซีทีวีมาช่วย เพื่อลดภาระในส่วนของค่าจ้างแรงงาน ด้านนายวัชรพล บุษมงคล นายกสมาคมผู้ประกอบการรักษาความปลอดภัยแห่งประเทศไทย กล่าวด้วยว่า รัฐบาลต้องดำเนินการปรับค่าจ้างอย่างค่อยเป็นค่อยไปในลักษณะขั้นบันได เพื่อให้บริษัทห้างร้านมีเวลาในการปรับตัว นอกจากนี้ จะเสนอขอมาตรการช่วยเหลือจากรัฐบาล เช่น ปรับลดภาษีมูลค่าเพิ่ม ปรับลดอัตราเงินสมทบประกันสังคม เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการต่อไป (ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 8-8-2554) ผู้นำแรงงานเรียกร้อง พท.เลือก รมว.แรงงานอย่างรอบคอบ ต้องมือสะอาด ก.แรงงาน 8 ส.ค.- น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวเรียกร้องพรรคเพื่อไทย ให้พิจารณาเลือกผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานคนใหม่ อย่างรอบคอบ ภายหลังมีรายชื่อ แคนดิเดทผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่ง รมว.แรงงาน ออกมาหลายคน อาทิ นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ นายปลอดประสพ สุรัสวดี และล่าสุด คือ นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ ส.ส.พรรคเพื่อไทย จ.นครปฐม โดยต้องการให้คำนึงถึงคุณสมบัติสำคัญ คือ ต้องไม่เคยมีประวัติพัวพันการทุจริต เพราะการเป็น รมว.แรงงาน ต้องกำกับดูแลนโยบาย สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ที่กองทุนมีมูลค่าสูงกว่า 800,000 ล้านบาท ต้องดูแลแรงงานต่างด้าว และการส่งคนงานไปทำงานต่างประเทศที่มีผลประโยชน์มหาศาล ต้องเข้าใจปัญหาแรงงานที่มีความซับซ้อน และหลากหลายมิติ ขณะเดียวกันต้องมีความตั้งใจจริงที่จะแก้ไขปัญหาให้กับผู้ใช้แรงงาน ไม่ใช่มาเป็น รมว.แรงงาน เพราะเห็นตำแหน่งรัฐมนตรีเป็นแค่ทางผ่านไปสู่อำนาจ หรือการทุจริต หาผลประโยชน์ ซึ่งเชื่อว่าในพรรคเพื่อไทย มีผู้มีคุณสมบัติที่เหมาะสมหลายคน อย่างไรก็ตาม ตนจะจับตาดูผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่ง รมว.แรงงาน ในครั้งนี้อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการทุจริตหาผลประโยชน์ ซึ่งในสมัยพรรคไทยรักไทย เป็นรัฐบาล เคยมีปัญหาทุจริตคอมพิวเตอร์ของสำนักงานประกันสังคม 2,800 ล้านบาท และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เคยชี้มูลความผิดผู้เกี่ยวข้อง แต่เรื่องก็เงียบหายไป ซึ่งตนและผู้ใช้แรงงานหลายคนยังติดใจสงสัย รวมถึงการผลักดันนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท และเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท ว่าจะสามารถทำได้จริงหรือไม่ด้วย (สำนักข่าวไทย, 8-8-2554) ผู้นำแรงงานห่วงค่าจ้าง 300 บาท ทำลูกจ้างชั่วคราวตกงาน ก.แรงงาน 9 ส.ค.- ผู้นำแรงงานค้านแนวคิด กทม.เตรียมเลิกจ้างลูกจ้างชั่วคราวหากปรับค่าแรง 300 บาท ชี้ไม่เป็นธรรมกับลูกจ้างที่ต้องหาเช้ากินค่ำ แนะรัฐต้องสำรวจตัวเลขลูกจ้างชั่วคราวในหน่วยงานรัฐทั่วประเทศ หนุนงบรองรับ น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวถึงกรณีที่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ออกมาระบุว่าอาจจะต้องเลิกจ้างลูกจ้างชั่วคราวของ กทม. 60,000 คน หากต้องปรับขึ้นค่าจ้างเป็น 300 บาทตามนโนบายของรัฐบาล เพราะแบกภาระด้านงบประมาณไม่ไหวว่า แนวคิดดังกล่าวเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรมกับลูกจ้างชั่วคราว โดยเฉพาะลูกจ้างในภาครัฐ ที่ปัจจุบันสวัสดิการ และเงินเดือนยังต่ำมาก ทั้งนี้ ต้องการให้รัฐบาล และ กทม.รวมถึงหน่วยงานรัฐอื่นๆ ที่มีลูกจ้างชั่วคราว ร่วมหารือกันเพื่อวางแนวทางแก้ปัญหา โดยสำรวจจำนวนลูกจ้างชั่วคราวที่ทำงานในหน่วยงานรัฐทั้งหมดให้ชัดเจน และดูว่าต้องใช้งบประมาณเพิ่มเติมเพื่อปรับค่าจ้างเป็น 300 บาทต่อวันจำนวนเท่าใด จากนั้นรัฐบาลต้องหางบมาสนับสนุนให้แก่ กทม.และหน่วยงานรัฐต่างๆ “เมื่อพรรคเพื่อไทย (พท.) หาเสียงด้วยนโยบายปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน พร้อมกันทั่วประเทศ แล้วได้รับเลือกตั้งเป็นรัฐบาล ก็ต้องรับผิดชอบต่อนโยบายที่ได้หาเสียงไว้ เชื่อว่าก่อนที่จะประกาศนโยบายจะต้องมีการคิดและวางแผนดำเนินการไว้ก่อนแล้ว ดังนั้น เมื่อ กทม.หรือหน่วยงานรัฐต่างๆ มีปัญหาด้านงบประมาณเพื่อรองรับค่าจ้าง 300 บาท รัฐบาลก็ต้องช่วยแก้ปัญหา” น.ส.วิไลวรรณ กล่าว ผู้สื่อข่าวว่ารายงานว่า จากข้อมูลโครงการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรทั่วราชอาณาจักรในไตรมาสที่ 1 ปี 2554 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ปัจจุบันมีลูกจ้างหน่วยงานรัฐทุกประเภททั้งหมดประมาณ 3.6 ล้านคน และลูกจ้างหน่วยงานเอกชนทั้งหมดประมาณ 13.9 ล้านคน (สำนักข่าวไทย, 9-8-2554) “เผดิมชัย” ยืนยันเดินหน้าค่าจ้าง 300 บาท ทันที ในพื้นที่ที่เริ่มทำได้ก่อน ก.แรงงาน 10 ส.ค.- นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวยืนยันว่า จะเดินหน้าผลักดันนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน และเงินเดือนผู้จบปริญญาตรีรุ่นใหม่เป็น 15,000 บาททันที โดยในส่วนของค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท คาดว่าจะเริ่มต้นในพื้นที่ที่เริ่มทำได้ก่อน จากนั้นจะทยอยปรับค่าจ้างขั้นต่ำให้เป็นระบบเดียวกันทั้งประเทศ เพราะทางพรรคเพื่อไทยได้เตรียมการล่วงหน้าเรื่องดังกล่าวไว้ 2-3 เดือนแล้ว ทั้งนี้ หลังจากเข้าทำงานที่กระทรวงแล้ว จะเชิญนายจ้าง ลูกจ้างและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาหารือกัน เพื่อปรับขึ้นค่าจ้างเป็น 300 บาทต่อวัน โดยจะดำเนินการผ่านระบบไตรภาคีที่มีทั้งฝ่ายรัฐบาล นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันพิจารณาเพื่อให้การปรับค่าจ้างมีความสมดุล นายจ้างและลูกจ้างสามารถอยู่ได้ นายเผดิมชัย กล่าวต่อว่า อยากให้มองว่าการปรับขึ้นค่าขั้นต่ำเป็น 300 บาท เป็นเรื่องที่อยู่บนพื้นฐานความจริงของสังคม เป็นการให้โอกาสแก่แรงงานได้รับค่าตอบแทนที่คุ้มค่ากับการทำงาน ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ไม่ใช่มองแต่เรื่องผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเพียงอย่างเดียว พร้อมยืนยันว่านโยบายดังกล่าวไม่ใช่เรื่องประชานิยม แต่เป็นนโยบายที่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง เพราะปัจจุบันค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น แรงงานทุกคนและบัณฑิตจบใหม่ ควรได้รับค่าตอบแทนที่คุ้มค่ากับการทำงานสามารถเลี้ยงดูครอบครัวและดำรง ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายเผดิมชัย จะเข้ามาทำงานที่กระทรวงแรงงานเป็นวันแรก ในวันที่ 15 ส.ค.นี้ เวลา 10.00 น. (สำนักข่าวไทย, 10-8-2554) คสรท.จี้ รมว.รง.ขึ้นค่าจ้าง 300 บ. วันนี้ (10 ส.ค.) นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวว่า ขอแสดงความยินดีกับ รมว.แรงงานคนใหม่ แม้ยังไม่แน่ใจว่า เคยผ่านงานด้านแรงงานมามากน้อยแค่ไหน แต่ต้องให้โอกาสในการทำงานก่อน โดยเรื่องเร่งด่วนที่อยากให้รัฐบาลชุดนี้ทำ คือ การควบคุมราคาสินค้า อย่าให้แพงขึ้นไปเรื่อยๆ เพราะถึงแม้ว่าค่าจ้างจะปรับสูงขึ้นแต่จะสู้กับราคาสินค้าที่ปรับขึ้นไม่ ไหว และอยากให้ทำตามนโยบายที่ได้หาเสียงไว้ซึ่งเป็นสัญญาประชาคมทั้งในเรื่อง ปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท และปรับเงินเดือนผู้จบปริญญาตรีรุ่นใหม่เป็น 15,000 บาท ซึ่งเรื่องเหล่านี้ รัฐบาลชุดใหม่จะต้องทำให้ได้ตามที่ได้หาเสียงไว้ เพราะพี่น้องแรงงานรออยู่ โดยอยากให้ปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน ในช่วงเดือน ม.ค.2555 ทุกจังหวัดเท่ากันทั่วประเทศ ซึ่งมั่นใจว่า รัฐบาลเดินหน้านโยบายเหล่านี้ได้แน่นอน เพราะได้รับเลือกตั้งมาด้วยเสียงข้างมาก อย่างไรก็ตาม ค่าจ้างขั้นต่ำที่สอดรับสภาพความเป็นจริงของความเป็นอยู่ของแรงงานที่ทาง คสรท.เสนออยู่ที่ 421บาทต่อวันนั้น ค่อยหารือถึงแนวทางในการปรับอีกครั้งหลังจากมีการปรับขึ้นในครั้งนี้ นายชาลี กล่าวอีกว่า ส่วนเรื่องที่อยากให้สานต่อจาก รมว.แรงงานคนก่อน ที่ได้ทำเอาไว้ คือ การรับรองเรื่องอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) ฉบับที่ 87 และ 98 ซึ่งเกี่ยวข้องกับเสรีภาพในการรวมตัวในการจัดตั้งสหภาพแรงงาน สหพันธ์แรงงาน และสภาแรงงาน และเกี่ยวข้องกับเสรีภาพในการเจรจาต่อรองกับนายจ้าง ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นรอการรับรองจากรัฐบาล รวมถึงการยกระดับสำนักงานประกันสังคม (สปส.)ให้เป็นองค์กรอิสระ โดยทาง คสรท.ได้ล่ารายชื่อ 1.5 หมื่นคนและเสนอร่างกฎหมายต่อสภาไปแล้ว ขณะนี้เรื่องนี้ค้างอยู่ที่สภา “ขอฝากถึง รมว.แรงงานคนใหม่ ว่า นโยบายใดที่เป็นประโยชน์ต่อพี่น้องแรงงานทั่วประเทศ ก็อยากให้สานต่อนโยบายเดิม ไม่อยากให้แบ่งว่าเป็นผลงานของรัฐบาลชุดเก่าหรือรัฐบาลชุดใหม่ (ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 10-8-2554) ก.แรงงานรุกพีอาร์ค่าจ้างตามฝีมือ รับนโยบายขึ้นค่าแรง 300 บาท วันนี้ (10 ส.ค.) ที่กระทรวงแรงงาน นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวในการประชุมหารือข้าราชการของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน (Morning Brief) ว่า ขอให้ทุกหน่วยงานเร่งดำเนินการประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ ความเข้าใจแก่นายจ้าง ลูกจ้าง เจ้าของสถานประกอบการ สถานศึกษา หน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสื่อมวลชน และอาสาสมัครแรงงาน เกี่ยวกับประกาศอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานใน 11 สาขาอาชีพแรก ซึ่งบังคับใช้แล้ว เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2554 และในส่วนที่เพิ่มอีก 11 สาขาอาชีพ ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 6 ตุลาคม 2554 รวมถึงการตั้งเป้าจะดำเนินการกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือให้ได้ 120 สาขาอาชีพภายในกลางปีหน้า ขณะเดียวกัน ก็ได้ให้คณะอนุกรรมการค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ ไปศึกษาวิเคราะห์ หาแนวทาง และมาตรการที่เหมาะสมในการพิจารณาปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือให้ สอดคล้องกับนโยบายในการปรับขึ้นค่าจ้างขึ้นต่ำ 300 บาทต่อวันของรัฐบาลชุดใหม่ เนื่องจากขณะนี้อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือในหลายสาขายังต่ำกว่า 300 บาท ทั้งนี้ อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานใน 11 สาขาอาชีพแรก ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2554 เช่น ช่างซ่อมรถยนต์ ระดับ 1 ได้ 275 บาท ระดับ 2 ได้ 360 บาท ระดับ 3 ได้ 445 บาท ผู้ประกอบอาหารไทย ระดับ 1 ได้ 280 บาท ระดับ 2 ได้ 360 บาท และช่างซ่อมไมโครคอมพิวเตอร์ระดับ 1 ได้ 300 บาท ระดับ 2 ได้ 400 บาท ระดับ 3 ได้ 500 บาท การกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ เป็นการมุ่งให้ความคุ้มครองดูแลทั้งลูกจ้างและนายจ้างให้ได้รับประโยชน์และ เป็นธรรม เพื่อให้แรงงานที่มีฝีมือและผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติแต่ละ ระดับ ได้รับค่าจ้างที่เหมาะสมและเป็นธรรม ส่วนผู้ประกอบการได้แรงงานที่มีคุณภาพ (ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 10-8-2554) นักวิชาการแนะ รมว.แรงงาน ปรับค่าจ้าง-หนุนตั้งสหภาพ ศาสตราภิชานแล ดิลกวิทยรัตน์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า นโยบายด้านแรงงานที่นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ควรเริ่มดำเนินการทันที คือ การทำตามสัญญาที่หาเสียงไว้ในเรื่องการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 ต่อวันทั่วประเทศ และการปรับเงินเดือนปริญญาตรีเป็น 15,000 บาท โดยเฉพาะค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท แรงงานทั่วประเทศต่างจับตาว่ารัฐบาลชุดใหม่จะทำได้หรือไม่ ซึ่งหากทำให้เป็นรูปธรรมได้ แรงงานก็จะให้การยอมรับรัฐบาลชุดนี้ ศาสตราภิชานแล กล่าวอีกว่า สิ่งที่อยากให้ รมว.แรงงาน ช่วยผลักดันเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานมากที่สุดก็คือ การปรับค่าจ้างของแรงงานให้เหมาะสม และมีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีวิต โดยไม่ต้องทำโอที และกู้เงินมาใช้จ่าย จะได้ไม่ต้องเบียดเบียนเวลาที่อยู่กับครอบครัว จนสร้างปัญหาครอบครัวแตกแยก ซึ่งปัจจุบันต้นทุนค่าจ้างอยู่ที่ร้อยละ 10 โดยสินค้าราคา 100 บาท เป็นต้นทุนค่าจ้าง 10 บาท อยากให้ต้นทุนค่าจ้างเพิ่มเป็นร้อยละ 15-20 และแรงงานที่ทำอยู่เดิมซึ่งได้ค่าจ้างมากกว่า 300 บาทต่อวันไปแล้วได้ขยับขึ้นค่าจ้างเป็นขั้น ๆ ไป อย่างไรก็ตาม ไม่เห็นด้วยหากจะนำเงินภาษีของประชาชนมาชดเชยส่วนต่างต้นทุนค่าจ้างที่เพิ่ม ขึ้นให้แก่นายจ้าง เพราะอยากให้ลดความเหลื่อมล้ำระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ซึ่งนายจ้างต้องรู้จักเฉือนเนื้อตัวเองและเสียสละรับผิดชอบต่อสังคมบ้าง ศาสตราภิชานแล กล่าวอีกว่า นอกเหนือจากเรื่องค่าจ้าง อยากให้รัฐบาลชุดใหม่ให้การรับรองเรื่องอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) ฉบับที่ 87 และ 98 เร่งพัฒนาฝีมือแรงงานให้สอดรับการปรับขึ้นค่าจ้างและยกระดับสำนักงานประกัน สังคม (สปส.)ให้เป็นองค์กรอิสระ ไม่ใช่ให้ปลัดกระทรวงแรงงานหรือ รมว.แรงงาน เป็นประธานบอร์ด สปส. และสนับสนุนแรงงานนอกระบบสู่ประกันสังคม ทั้งนี้ รมว.แรงงาน แทบไม่ต้องคิดทำอะไรใหม่ เพราะมีโจทย์ที่ฝ่ายแรงงานได้ชี้เป้าเอาไว้ให้หลายปีแล้ว แค่ทำงานไปตามโจทย์เหล่านี้ จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานให้ดีขึ้นได้มาก (สำนักข่าวไทย, 11-8-2554) แรงงานเอจีซีร้องถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ก.แรงงาน 11 ส.ค.- นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) พร้อมด้วยพนักงานของ บริษัท เอจีซี อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ใน จ.พระนครศรีอยุธยา จำนวน 30 คน ได้เดินทางมายื่นหนังสือเรียกร้องขอความเป็นธรรม กรณีบริษัทฯ ประกาศเลิกจ้างกรรมการ สหภาพแรงงาน เอจีซี สัมพันธ์แห่งประเทศไทย และสหภาพแรงงาน เอจีซี เทคโนโลยี ประเทศไทย และสมาชิก รวม 61 คน นายสมนึก บุญโฉม คณะกรรมการสหภาพแรงงาน เอจีซี เทคโนโลยี ประเทศไทย กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้อ้างว่าบริษัทคู่ค้าไม่รับสินค้าที่ผลิต เนื่องจากอ้างว่าสินค้าไม่ได้คุณภาพตามาตรฐานที่กำหนด จึงได้มีการประกาศใช้มาตรา 75 จนปีนี้นายจ้างก็ยังอ้างในลักษณะเช่นเดิม พร้อมประกาศใช้มาตรา 75 โดยประกาศในวันที่ 12 ก.ค. และลงวันที่ 11 ก.ค. ซึ่งขัดต่อ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ในการใช้มาตรา 75 ที่จะต้องประกาศให้ทราบก่อนใช้จริง 3 วัน ทั้งนี้ ในหนังสือดังกล่าวไม่ได้ลงวันที่สิ้นสุดการใช้มาตรา 75 และในวันที่ 18 ก.ค.นายจ้างได้ส่งข้อความเลิกจ้างเข้าโทรศัพท์ของพนักงานทั้ง 61 คน โดยทางสหภาพฯ และผู้ถูกเลิกจ้างมองว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมเพราะอยู่ระหว่างการประกาศใช้ มาตรา 75 \มองว่าทางบริษัทฯ ต้องการจะล้มล้างสหภาพฯ เนื่องจากทางสหภาพฯ จะเข้าไปติดตามทวงถามสิทธิ์ให้กับพนักงานส่วนที่อ้างว่าสินค้าไม่ได้คุณภาพ ก็ไม่รู้ว่าจริงเท็จประการใดทุกครั้งที่เกิดปัญหาก็มักจะบอกว่าเป็นเพราะ สินค้าไม่ได้คุณภาพ ลูกค้าไม่ยอมรับ ทำให้ต้องปิดไลน์การผลิต จึงอยากเรียกร้องให้ทางบริษัทฯ รับพนักงานทั้งหมดกลับเข้าทำงาน เพราะการถูกเลิกจ้างครั้งนี้ ไม่ได้กระทบเฉพาะกับตัวพนักงานเท่านั้น แต่ยังกระทบไปถึงครอบครัว พ่อ แม่ลูก ยังรวมถึงสังคมด้วย \" นายสมนึก กล่าว (สำนักข่าวไทย

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net