Skip to main content
sharethis

ธนาคารโลกพิจารณายกระดับรายได้ประชาชาติของไทยจากชนชั้นกลางระดับล่างสู่ชนชั้นกลางระดับบน ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์แนะต้องพัฒนาการศึกษาและทักษะแรงงานเพื่อแก้ปัญหาช่องว่างรายได้ที่ไม่เท่าเทียมซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังของไทย เมื่อวันที่ 1 ก.ค. ที่ผ่านมา ธนาคารโลก พิจารณาปรับระดับรายได้คนไทยโดยประมินจากรายได้ประชาชาติ (GNI) โดยรายได้ที่จัดอยู่ในเกณฑ์ชนชั้นกลางระดับบนคือผู้ที่มีรายได้ระหว่าง 3,976 -12,275. เหรียญสหรัฐ ต่อปี ซึ่งตามข้อมูลขณะนี้ประเทศไทยมีรายได้ประชาชาติเฉลี่ย 4,210 เหรียญสหรัฐต่อคนต่อปี ดร. กิริฎา เภาพิจิตร นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของธนาคารโลก กล่าวว่าการปรับอันดับให้กับประเทศไทยนั้นเป็นการยอมรับในความสามารถทางเศรษฐกิจของไทยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาซึ่งรายได้ประชาชาติของไทยเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ขณะที่ความยากจนลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยชี้ว่าประเทศไทยมีการจัดการกับเศรษฐกิจมหภาคอย่างระมัดระวังโดยมีระบบการคลังที่เข้มแข็งและมีหนี้สาธารณะและอัตราเงินเฟ้อในระดับต่ำ ดร. กิริฎากล่าวด้วยว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการบรรยากาศทางธุรกิจที่เป็นมิตร และประสบความสำเร็จในการดึงดูดความสนใจแก่นักลงทุนต่างชาติ อีกทั้งมีความหลากหลายในการผลิต มีการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้ารวมทั้งขยายตัวสู่ตลาดส่งออกใหม่ๆ ความสำเร็จเหล่านี้สะท้อนถึงความยืดหยุ่นของระบบเศรษฐกิจที่มีต่อวิกฤตการเงินระดับโลกครั้งล่าสุด ซึ่งทำให้ไทยมีโอกาสที่ในการสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งทั้งในภูมิภาคอาเซียนและในระดับโลก อย่างไรก็ตาม ดร.กิริฎากล่าวว่า สิ่งที่พึงระวังคือไทยต้องไม่ติดกับดัก โดยต้องไม่ยึดติดอยู่กับภาคอุตสาหกรรม แต่ต้องมองช่องทางอื่นได้แก่ภาคเกษตรและภาคบริการด้วย ทั้งนี้การศึกษาและทักษะที่สูงขึ้นของแรงงานรวมไปถึงความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และการแข่งขันก็เป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะไม่เพียงทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มสูงขึ้นแต่จะช่วยลดช่องว่างรายได้ที่ไม่เท่าเทียมกันที่เป็นปัญหาเรื้อรังของประเทศไทยด้วย

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net