นักข่าวพลเมือง: สมัชชาคนจนยืนหนังสือถึงนายกผ่านผู้ว่าศรีสะเกษ

เครือข่ายชาวบ้านสมัชชาคนจนทั่วประเทศ ยื่นหนังถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แก้ไขปัญหาของ 7 เครือข่าย เขื่อน ป่าไม้ ที่ดิน ประมงพื้นบ้านภาคใต้ สลัมสี่ภาค เกษตรกรรมทางเลือก และสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากสิ่งแวดล้อมและการทำงานแห่งประเทศไทย โดยผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2554 ณ สันเขื่อนราษีไศล เครือข่ายชาวบ้านสมัชชาคนจนทั่วประเทศ ยื่นหนังถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดยผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ วันที่ 18 สิงหาคม 2554 ตัวแทนเครือข่ายสมัชชาคนจนทั่วประเทศจำนวน 300 คน ได้เดินทางมาถึงศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนเครือข่ายทามมูล ต.หนองแค อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ เวลา 10.00 – 16.00 น. เปิดเวทีประชุมใหญ่สรุปบทเรียนเครือข่ายต่อการแก้ไขปัญหาในแต่ละกรณี 7 เครือข่าย เขื่อน ป่าไม้ ที่ดิน ประมงพื้นบ้านภาคใต้ สลัมสี่ภาค เกษตรกรรมทางเลือก สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากสิ่งแวดล้อมและการทำงานแห่งประเทศไทย จากรัฐบาลที่ผ่านมาจนถึงรัฐบาล นายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในปัจจุบันจน โดยที่ประชุมมีข้อสรุปร่วมกันว่าควรมีการพัฒนาองค์กรเครือข่ายให้เข้มแข็ง 3 ระดับ ทั้งระดับนโยบาย ระดับเครือข่าย และระดับพื้นที่ที่ต้องสร้างฐานเศรษฐกิจให้สามารถพึงพาตนเองได้ โดยมีกรณีเขื่อนแก่งเสือเต้นที่เป็นประเด็นปัญหาร้อนที่เป็นเรื่องด่วนที่ทุกเครือข่ายต้องขับเคลื่อนร่วมกันในการแก้ไขปัญหาเพื่อให้สังคมเข้าใจว่า กรณีปัญหาเขื่อนผู้ได้รับผลกระทบยังแก้ไขไม่แล้วเสร็จ เช่น กรณีเขื่อนราษีไศล เขื่อนหัวนา ฉะนั้นรัฐบาลไม่ควรที่จะสร้างเขื่อนที่ก่อปัญหาใหม่ขึ้นมาอีก เวลา 13.00 น. สมาชิกสมัชชาคนจนเขื่อนราษีไศล-หัวนา จำนวนกว่า 2,000 คน ได้เดินทางเข้าร่วมเคลื่อนขบวนจากศูนย์เรียนรู้ฯทามมูล ไปยังสันเขื่อนราษีไศลท่ามกลางสายฝนโปรยปรายตลอดเวลา ขบวนได้หยุดปราศรัยที่สันเขื่อนนานกว่า 1 ชั่วโมง โดยทุกเครือข่ายได้ร่วมผลัดเปลี่ยนกันขึ้นเวทีปราศรัย ต่อมา ได้ทำพิธีไหว้พระและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำพื้นที่ที่ปกปักรักษาบริเวณลานเสมาสิทธิชุมชน จนถึงเวลา 14.00 น. ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษได้ส่งหัวหน้าสำนักงานจังหวัด นายประยงค์ ศิริประเสริฐศิลป์ มารับหนังสือแทนโดยไม่มีการแจ้งให้ทรายล่วงหน้า ซึ่งทำให้เครือข่ายชาวบ้านสมัชชาคนจนแสดงความไม่พอใจต่อการที่ผู้ว่าศรีสะเกษไม่ได้ให้ความสำคัญกับเครือชาวบ้านที่เดือดร้อนจากการพัฒนาของรัฐทั่วประเทศ แต่ก็ได้มีการยืนหนังสือผ่านไปถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดยให้มีการส่งหนังสือถึงนายกภายในวันที่ 19 สิงหาคม 2554 และเครือข่ายจะรอคำตอบที่ชัดเจนต่อการแก้ไขปัญหาที่ทางเครือข่ายได้ยืนข้อเสนอ สมัชชาคนจนซึ่งเป็นเครือข่ายองค์กรชาวบ้านที่รวมกลุ่มกันเนื่องจากได้รับผลกระทบและเดือดร้อนจากนโยบายหรือโครงการพัฒนาของรัฐและธุรกิจอุตสาหกรรม โดยสมัชชาคนจนมีการประชุมเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหาของเครือข่ายองค์กรในสมัชชาคนจนร่วมกับรัฐบาลที่แล้ว ตั้งแต่ปี 2552-2553 จำนวน 6 ครั้ง ต่อมาเมื่อมีการยุบสภาในเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๔ การแก้ไขปัญหาหยุดชะงักมานับตั้งแต่บัดนั้น ดังนั้น สมัชชาคนจนขอเสนอท่านในฐานะนายกรัฐมนตรี (1)สำหรับปัญหารายกรณี ให้เปิดการเจรจาแก้ไขปัญหาต่อจากที่ดำเนินการในรัฐบาลที่แล้ว (2) นำข้อเสนอเชิงนโยบายไปสู่เวทีเจรจาและการปฏิบัติ ข้อเสนอของสมัชชาคนจน ๑.ปัญหารายกรณี ซึ่งได้มีการประชุมเจรจาแก้ไขปัญหามาตั้งแต่รัฐบาลที่แล้ว ขอให้รัฐบาลเปิดการเจรจาแก้ไขปัญหากับสมัชชาคนจนต่อเนื่องจากรัฐบาลที่แล้ว โดยให้เริ่มเปิดการเจรจาภายในเดือนกันยายน ๒๕๕๔ ๒.ข้อเสนอเชิงนโยบาย ๒.๑) การจัดการน้ำ ๒.๑.๑) รัฐต้องยุติโครงการก่อสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ เช่น เขื่อนแก่งเสือเต้น เขื่อนโป่งขุนเพชร เขื่อนท่าแซะ และอื่นๆ รวมทั้งยุติโครงการผันน้ำข้ามลุ่มน้ำ ๒.๑.๒) รัฐต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาให้ผู้ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อน เช่น เขื่อนราษีไศล เขื่อนหัวนา เขื่อนปากมูล และเขื่อนอื่นๆ ๒.๑.๓) รัฐต้องสนับสนุนการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนโดยองค์กรชุมชน ๒.๒)การจัดการป่าไม้ ๒.๒.๑)ให้รัฐแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวกับป่าไม้ คือ พรบ.ป่าไม้, พรบ.อุทยานแห่งชาติ, พรบ.ป่าสงวนแห่งชาติ, พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า, พรบ.สวนป่า ๒.๒.๒)ยกเลิกอุทยานแห่งชาติ/เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ที่ประกาศทับที่อยู่อาศัยและที่ทำกินของชุมชน ๒.๒.๓)ให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๑ ๒.๒.๔)สร้างกฎหมายและกลไกสนับสนุนการจัดการทรัพยากรป่าไม้โดยองค์กรชุมชน ๒.๓) การปฏิรูปที่ดิน ๒.๓.๑)ให้รัฐยกเลิกประมวลกฎหมายที่ดิน ๒.๓.๒)ให้รัฐยกเลิก พรบ.ที่ราชพัสดุ ๒.๓.๓)ให้รัฐจัดกระบวนการยกร่างกฎหมายเกี่ยวกับที่ดินข้างต้นขึ้นใหม่โดยให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมด้วย ๒.๓.๔)ให้รัฐจัดกระบวนการยกร่างเพื่อออกกฎหมายกระจายการถือครองที่ดิน ๒.๓.๕)ให้รัฐจัดกระบวนการยกร่างเพื่อออกกฎหมายเก็บภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้า ๒.๔) ผู้ใช้แรงงานและผู้เจ็บป่วย ๒.๔.๑)รัฐต้องปรับโครงสร้างอนุกรรมการยกร่างสถาบันส่งเสริมสถาบันความปลอดภัยฯ โดยให้สหภาพแรงงานและสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากสิ่งแวดล้อมและการทำงานแห่งประเทศไทยเข้าไปมีส่วนร่วม ๒.๕) เกษตรกรรม ๒.๕.๑)รัฐต้องปกป้องคุ้มครองเกษตรกรรายย่อย เพิ่มอำนาจต่อรองให้เกษตรกรรายย่อยโดยการสนับสนุนให้เกษตรกรเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและเทคโนโลยีในระดับที่เกษตรกรควบคุมได้ ๒.๕.๒)สนับสนุนการรวมตัวและการมีส่วนร่วมในการจัดการตลาดของเกษตรกรรายย่อย ๒.๕.๓)ให้รัฐรักษาสมดุลของการขยายตัวของพืชเศรษฐกิจพืชพลังงาน เพื่อรักษาสมดุลของระบบนิเวศ และปกป้องทรัพยากรอาหารของท้องถิ่น รวมถึงการควบคุมการใช้สารเคมีอันตรายทางการเกษตร เช่น การควบคุมการโฆษณาการส่งเสริมการขาย ๒.๖)ประมง ๒.๖.๑) ให้พิจารณา พรบ.ประมงฉบับภาคประชาชน โดยได้มีตัวแทนเครือข่ายเป็นผู้ยืนหนังสือ นายพุฒ บุญเต็ม ตัวแทนเครือข่ายเขื่อน /นายสวาท อุปฮาด ตัวแทนเครือข่ายที่ดิน /นายอดินันท์ จิเหล่า ตัวแทนเครือข่ายประมงพื้นบ้านฯ/ นายประสิทธิ์ จิตราตัวแทนเครือข่ายป่า / นางสมบุญ สีคำดอกแค ตัวแทนสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯ เวลา 15.00 น. สมาชิกเครือสมัชชาคนจนจึงได้เดินทางกลับภูมิลำเนา

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท