Skip to main content
sharethis

โครงการเกี่ยวก้อยปี 2 โดยมูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน จัดงานการมีส่วนร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ “ลบเส้นพรมแดนด้วยสื่อภาพยนตร์” รวมถึงลบอคติระหว่างกลุ่มชน และความตระหนักต่อความยุติธรรมในสังคม เมื่อวันที่ 8-14 ส.ค.54 ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมของธารทอง รีสอร์ท อ.แม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ มีการจัดงานอบรมเชิงปฏิบัติการ “ลบเส้นพรมแดนด้วยสื่อภาพยนตร์” โครงการเกี่ยวก้อย ปี 2 ร่วมเกี่ยวก้อย โดย มูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน คณะอนุกรรมการสิทธิพลเมืองและสิทธิการเมือง สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย มูลนิธิหนังไทย หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ไทยพีบีเอส คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ สนับสนุนโดยโครงการสะพานและ USAID โครงการ “เกี่ยวก้อย” เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการ ส่งเสริม และสนับสนุนทั้งด้านข้อมูลและเทคนิค ให้เยาวชนและนักพัฒนาผู้มีความสนใจในการผลิตภาพยนตร์ และคนทำภาพยนตร์อิสระรุ่นใหม่ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ ทำสื่อในประเด็นหลักสิทธิมนุษยชน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วในสังคมไทยอาจจะหลงลืมว่า ผู้ที่แตกต่างด้วยเพศ วัย สภาพร่างกาย ฐานะ สถานะทางกฎหมาย เชื้อชาติ สัญชาติ และความคิดเห็น ก็ล้วนแล้วแต่เป็นมนุษย์ที่ย่อมมีสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เพาะว่าสื่อนั้นมีบทบาททั้งทางตรงและอ้อมในการสร้าง \พรมแดน\" หรือลด \"พรมแดน\" อคติระหว่างกลุ่มชน รวมถึงมีอิทธิพลต่อความตระหนักต่อความยุติธรรมในสังคม โดยเฉพาะสื่อภาพยนตร์และวิดีโอ ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นสื่ออันทรงประสิทธิภาพในการสร้างความตระหนัก และทรงอิทธิพลต่อทัศนคติของผู้ชมต่อประเด็นใดหรือกลุ่มชนใดเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น การใช้สื่อภาพยนตร์เพื่อสร้างความเข้าใจในเรื่องสิทธิมนุษยชนถือว่ามีพลังอย่างยิ่ง ทั้งนี้มูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดนจึงได้ริเริ่ม \"โครงการเกี่ยวก้อย\" ขึ้นในปี 2553 โดยในปีแรกดำเนินการร่วมกับสาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่และโครงการปิ๊งส์ (สสส.) และในปี 2554 มูลนิธิฯได้ขยายความร่วมมือไปยังคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ (เชียงใหม่) สื่อมวลชน ศิลปิน และนักสิทธิมนุษยชน เพื่อส่งเสริมบทบาทของคนทำภาพยนตร์รุ่นใหม่ ด้วยการจัดเวทีเรียนรู้ ผลิต และเผยแพร่ผลงานสู่สังคมไทย อนึ่งการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ ว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชน เป็นแนวคิดการพัฒนาโครงการภาพยนตร์ และการเขียนบทภาพยนตร์เบื้องต้น ซึ่งประเด็นสิทธิมนุษย์ชน สำหรับผู้เข้าร่วมอบรมให้เข้าใจใส่ในการเขียนบทภาพยนตร์ ในเรื่องสิทธิมนุษยชน คือ ศักดิ์ศรีของคน เป็นสิทธิ และหน้าที่ของคน ที่ต้องได้รับสิทธิ ที่มีตั้งแต่เกิด ไม่มีใครเอาไปได้ รวมทั้งสิทธิมนุษยชน เป็นเสรีภาพของมนุษย์ตามหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน จากหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยด้วยสิทธิมนุษยชน 1948 ซึ่งอธิบายความว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมามีเสรีและเท่าเทียมกัน เราเท่าเทียมกันในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ นั่นคือ เราล้วนเป็นมนุษย์ที่สามารถคิดผิดชอบชั่วดีและตัดสินใจได้ เราจึงต้องปฏิบัติต่อกันฉันพี่น้อง และเราทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพเท่าเทียมกัน ไม่ว่าเราจะเพศอะไร เผ่าพันธุ์ใด สีผิวใด เกิดที่ไหน ถือสัญชาติใด พูดภาษาอะไร ฐานะทางเศรษฐกิจเป็นอย่างไร สถานะทางกฎหมายเป็นอย่างไร และมีความคิดเห็นทางการเมืองอย่างไร และเราทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิตและอยู่อย่างปลอดภัย เป็นต้น เกี่ยวก้อยปี 2 : Holding Hands Project โครงการส่งเสริมความร่วมมือและบทบาทคนรุ่นใหม่ในการผลิตและเผยแพร่สื่อภาพยนตร์ เพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชนคนชายขอบ ความเป็นมา แม้ปัจจุบันคำว่า “สิทธิมนุษยชน” จะเป็นที่กล่าวถึงโดยทั่วไปในสังคมไทย หากผู้คนจำนวนมากก็ยังมีความเข้าใจต่อคำดังกล่าวไม่ชัดเจน บ้างก็มองว่าสิทธิมนุษยชนเป็นแนวคิดตะวันตกที่แปลกแยก บ้างก็มองว่าสิทธิมนุษยชนคือเสรีภาพอันไร้ความรับผิดชอบ บ้างก็อ้างสิทธิมนุษยชนเมื่อเอ่ยถึงสิทธิของตน ในขณะที่ไม่ยอมรับในสิทธิของบุคคลหรือกลุ่มชนอื่น เป็นต้น หลักสำคัญประการหนึ่งที่ยังไม่ได้เป็นที่ยอมรับเข้าใจอย่างกว้างขวาง ก็คือ “สิทธิมนุษยชนทั้งมวลเป็นของบุคคลทุกคน” (All human rights for all) อันมีความหมายว่า มนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะมีเชื้อชาติ สัญชาติ เพศ ศาสนา หรือเป็นกลุ่มสังคมใด ก็ล้วนมีสิทธิมนุษยชนหรือสิทธิขั้นพื้นฐานทุก ๆ ประการที่จะทำให้ดำเนินชีวิตได้อย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การขาดความเข้าใจในสิทธิมนุษยชนยังส่งผลให้ปัญหาของผู้ที่ถูกผลักให้ไปอยู่ ชายขอบของสังคม เช่น คนยากไร้ ผู้พิการ สตรี ผู้ติดเชื้อเอชไอวี เพศที่สาม กลุ่มชาติพันธุ์ คนไร้สัญชาติ แรงงานอพยพ ผู้ลี้ภัย ฯลฯ มักมิได้รับการพิจารณาว่าเป็นปัญหาด้านสิทธิที่ต้องการการแก้ไขในเชิงโครง สร้าง หากเป็นเพียงเรื่องของชะตากรรมที่สมควรจะได้รับการช่วยเหลือเชิงสงเคราะห์ เท่านั้น ความเข้าใจในปัญหาและความต้องการของกลุ่มสังคมอันหลากหลายและความเข้าใจใน สิทธิมนุษยชน คือองค์ประกอบสำคัญที่จะนำสังคมไทยไปสู่สังคมประชาธิปไตยที่กลุ่มชนต่าง ๆจะอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ ซึ่งนอกจากการศึกษาทั้งในและนอกระบบแล้ว สังคมยังได้รับรู้เข้าใจตนเองผ่านสื่อเป็นหลัก สื่อทั้งด้านข่าว บันเทิง และศิลปะ ล้วนมีบทบาทในการสร้างความตระหนักหรือไม่ตระหนัก ให้ข้อมูลที่ถูกหรือผิด หรือกระทั่งมีอิทธิพลก่อให้เกิดทัศนคติเชิงบวกหรือลบต่อประเด็นหนึ่ง ๆ ได้ โดยสื่อภาพยนตร์นับว่ามีอิทธิพลต่อการรับรู้ของสังคมไม่น้อย ด้วยสามารถเข้าถึงเยาวชนและบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารจากแหล่ง อื่นมากนัก อย่างไรก็ดี ผู้ผลิตภาพยนตร์/รายการโทรทัศน์จำนวนหนึ่งก็ยังขาดความตระหนักในบทบาทและ อิทธิพลของตนต่อสิทธิมนุษยชน การนำเสนอของสื่อบางสื่อจึงมีนัยยะที่จะผลักประชากรบางกลุ่มไปอยู่ชายขอบมาก ขึ้น ทั้งนี้ ในขณะที่ผู้ผลิตภาพยนตร์ที่มีความสนใจประเด็นสิทธิมนุษยชนก็ยังขาดโอกาส ผลิตผลงาน หรือยังเข้าใจว่าภาพยนตร์ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นเหล่านี้จะต้องนำเสนอในขนบ ที่ตึงเครียด ไม่สามารถดึงดูดผู้ชมไทยได้ มูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดนซึ่งทำงานสื่อสารสาธารณะกับสื่อมวลชน ผลิตสื่อทางเลือก และสร้างศักยภาพสิทธิมนุษยชนและสื่อให้แก่ชุมชนท้องถิ่นด้วยความมุ่งหมายที่ จะส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย เห็นความสำคัญในการสร้างความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาด้านสื่อ สมาคมและองค์กรอิสระด้านสื่อ/สิทธิมนุษยชน และศิลปินหรือบุคคลากรสื่อมืออาชีพ ในการดำเนินโครงการสนับสนุนให้เยาวชนคนรุ่นใหม่และนักพัฒนาที่สนใจงาน ภาพยนตร์ และผู้ผลิตภาพยนตร์อิสระรุ่นใหม่ ได้มีโอกาสเรียนรู้และผลิตสื่อเพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของคนชายขอบ รวมทั้งมีเวทีเผยแพร่ผลงานสู่สาธารณชนในวงกว้าง เพื่อสร้างความตระหนักให้แก่สังคม และเพื่อส่งเสริมให้มีผู้สนใจใช้ศักยภาพของตนในการผลิตภาพยนตร์เพื่อสังคม สิทธิมนุษยชนที่สันติต่อไป สรุปย่อโครงการ ในปี 2553 มูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน ได้ร่วมงานกับคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ โครงการปิ๊งส์ภายใต้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และคุณพิมพกา โตวิระ บริษัทExtra Virgin ในการดำเนินโครงการ “เกี่ยวก้อย” ในปีแรก โดยมีเยาวชนเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ 30 คนและผลิตผลงานออกมา 6 โครงการ โครงการเกี่ยวก้อยในปีที่สอง (2554-2555) คือการขยายความร่วมมือระหว่างกลุ่มประชาสังคม สถาบันการศึกษาด้านสื่อ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) และศิลปินหรือบุคลากรสื่ออาชีพ ในการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ ส่งเสริม และสนับสนุนทั้งด้านข้อมูลและเทคนิค ให้เยาวชนและนักพัฒนาผู้มีความสนใจในการผลิตภาพยนตร์ และคนทำภาพยนตร์อิสระรุ่นใหม่ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ ให้มีความรู้ความเข้าใจในสิทธิมนุษยชนรวมทั้งประเด็นปัญหาของคนชายขอบ และผลิตผลงานในรูปแบบภาพยนตร์สั้นที่เป็นเรื่องแต่ง สารคดี กึ่งสารคดี มิวสิกวิดีโอ หรือสป็อตรณรงค์ ในความดูแลของพี่เลี้ยงมืออาชีพ เพื่อสื่อสารความคิดของตนต่อสิทธิมนุษยชน และสร้างความตระหนักหรือส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อประเด็นปัญหาสิทธิมนุษย ชนและคนชายขอบ โดยผลงานเหล่านี้จะได้รับการเผยแพร่ผ่านภาคีเครือข่ายผู้ร่วมดำเนินโครงการ และเทศกาลภาพยนตร์ของมูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน เพื่อสร้างความตระหนักให้แก่ผู้ได้ชม และส่งเสริมให้มีผู้สนใจใช้ศักยภาพของตนในการผลิตภาพยนตร์เพื่อสังคมสิทธิ มนุษยชนที่สันติต่อไป วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมบทบาทของเยาวชนและนักพัฒนาที่สนในการผลิตภาพยนตร์ และผู้ผลิตภาพยนตร์อิสระรุ่นใหม่ ในการใช้สื่อภาพยนตร์สื่อสารความคิดของตนต่อสิทธิมนุษยชน และสร้างความตระหนักหรือส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อประเด็นปัญหาสิทธิมนุษย ชนและคนชายขอบ 2. เพื่อส่งเสริมบทบาทและความร่วมมือระหว่างกลุ่มประชาสังคม สถาบันการศึกษาด้านสื่อ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) และศิลปินหรือบุคลากรสื่ออาชีพ ในการพัฒนาศักยภาพและเปิดเวทีให้แก่ผู้ผลิตภาพยนตร์รุ่นใหม่และงานภาพยนตร์ ที่ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย ระยะเวลาโครงการ 17 เมษายน 2554-16 เมษายน 2555 ภาคีร่วมดำเนินโครงการ 1. คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่ 2. คณะอนุกรรมการสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง 3. สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์แห่งประเทศไทย 4. ไทยพีบีเอส 5. มูลนิธิหนังไทย 6. หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ผู้มีส่วนร่วมกับโครงการ 1. ผู้เข้าร่วมอบรมและผลิตภาพยนตร์ 40 คน ซึ่งคัดเลือกจากผู้แสดงความจำนงสมัครร่วมโครงการ ได้แก่นักเรียน-นักศึกษาผู้สนใจทั่วไป และนักพัฒนา/นักสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้ คณะทำงานจะคัดเลือกผู้เข้าร่วมตามเงื่อนไขที่ตกลงกันระหว่างภาคีร่วมดำเนิน โครงการ โดยตามหลักการเบื้องต้น ผู้สมัครจะต้องเป็นผู้สนใจในตัวโครงการ และการคัดเลือกจะพิจารณาการกระจายโอกาสให้กลุ่มคนที่หลากหลายได้เข้าถึง 2. บุคลากรสื่อและผู้กำกับภาพยนตร์ที่มีส่วนร่วมเป็นวิทยากรและพี่เลี้ยงโครงการของผู้เข้าร่วม 15 คน 3. องค์กรเอกชน/กลุ่มประชาสังคม ที่มีส่วนร่วมเป็นวิทยากรและพาลงศึกษาพื้นที่ 4 องค์กร คณะกรรมการโครงการเกี่ยวก้อยปี2 1. นายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 2. คุณนฤมล วันทนีย์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ 3. คุณทวีวัฒน์ วันทา กรรมการสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย 4. คุณชลิดา เอื้อบำรุงจิต มูลนิธิหนังไทย 5. คุณนิติธร ทองธีรกุล เจ้าหน้าที่เครือข่ายทุนทางสังคมอาวุโส ฝ่ายเครือข่ายทุนทางสังคม องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย(Thai PBS) ที่มา: เกี่ยวก้อยปี 2 : Holding Hands Project"

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net