Skip to main content
sharethis

รมว.แรงงานสั่งการสำรวจปรับค่าจ้างขั้นต่ำ-เงินเดือน ป.ตรี นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้ปลัดกระทรวงแรงงาน เร่งสำรวจตัวเลขผู้ใช้แรงงาน พร้อมรายได้ของกำลังแรงงานอย่างละเอียดทุกจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อนำมาเป็นฐานข้อมูลในการผลักดันนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน และเงินเดือนผู้จบปริญญาตรี 15,000 บาท หลังพบว่า กระทรวงแรงงานไม่ได้จัดทำไว้ เพื่อนำมาใช้เดินหน้าขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวทันที หลังการแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภา ระหว่างวันที่ 23-24 สิงหาคมนี้ จากนั้นจะเรียกประชุมทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งนายจ้าง ลูกจ้าง และภาครัฐ เพื่อพูดคุยกันอย่างตรงไปตรงมา ถึงความจำเป็นในการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ รวมถึงปัญหาอุปสรรคของผู้ประกอบการที่ต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลือ พร้อมยืนยันว่าหากยังมีฝ่ายที่ไม่ เห็นด้วย ก็จะไม่ใช้วิธีการบังคับ แต่จะใช้วิธีพูดคุยด้วยเหตุผล สำหรับการเข้าทำงานที่กระทรวงฯ เป็นวันแรก ซึ่งเดิมกำหนดว่าจะเป็นวันที่ 15 สิงหาคมนี้นั้น เนื่องจากขณะนี้ยังอยู่ในช่วงของการจัดทำร่างนโยบายรัฐบาลที่จะแถลงต่อ รัฐสภาให้แล้วเสร็จ จึงเลื่อนการเข้ากระทรวงฯ ออกไป โดยไม่เกี่ยวกับฤกษ์ยาม เพราะตนเองถือฤกษ์สะดวก คาดว่าจะเป็นช่วงหลังการประชุมสภาฯ ในช่วงบ่ายของวันที่ 17 ส.ค.นี้ (กรุงเทพธุรกิจ, 14-8-2554) ก่อสร้างกระอัก ต้นทุนค่าแรงขึ้น 8% แต่คนงานขาด-ไซส์งานเปิดศึกชิงคน นางสาวศุภิชชา ชัยพิพัฒน์ ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ซีคอน จำกัด เปิดเผยว่า สถานการณ์ตลาดรับสร้างบ้านในช่วงครึ่งปีแรกอยู่ในภาวะชะลอตัว ส่วนหนึ่งเกิดจากความไม่เชื่อมั่นของผู้บริโภค เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวและอยู่ในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง ทำให้ชะลอการตัดสินใจสร้างบ้านออกไป เพื่อรอความชัดเจนของรัฐบาลใหม่ โดยรายได้ของกลุ่มซีคอน โฮม ซึ่งประกอบด้วย ซีคอน คอมแพค และบัดเจท โฮม ในช่วง7 เดือนที่ผ่านมามีรายได้ 650 ล้านบาท จากเป้าหมายทั้งปี 800 ล้านบาท โดยตลาดรับสร้างบ้านระดับบนแบรนด์ซีคอนยังพอไปได้ เนื่องจากกลุ่มลูกค้าไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ แต่สำหรับบ้านในระดับกลาง คอมแพคนั้นได้รับผลกระทบ เพราะลูกค้าส่วนใหญ่กู้เงินเพื่อสร้างบ้านกว่า 70% ทำให้เกิดความกังวลต่อรายได้ในอนาคต แต่สำหรับบ้านขนาดเล็กแบรนด์ บัดเจท โฮม ที่เปิดตัวในช่วงต้นปีที่ผ่านมามีกระแสตอบรับที่ดี เนื่องจากมีราคาถูก เริ่มต้น 9 แสน - 2 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งเป็นฐานลูกค้ากลุ่มใหญ่ในตลาด อย่างไรก็ตามเชื่อว่า ในช่วงครึ่งปีหลังสถานการณ์ตลาดรับสร้างบ้านจะปรับตัวดีขึ้นกว่าครึ่งปีแรก ทั้งจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น ความมั่นคงทางการเมือง นอกจากนี้ ยังมีการจัดงาน “ รับสร้างบ้าน 2011 ” ระหว่างวันที่ 25-28 สิงหาคมนี้ ที่จะสร้างความคึกคักให้แก่ธุรกิจรับสร้างบ้านรวมถึงยอดขายของบริษัทอีกด้วย สำหรับปัญหาของต้นทุนของธุรกิจก่อ สร้างนั้น มีอยู่อย่างเนื่อง โดยเฉพาะการปรับขึ้นของราคาวัสดุก่อสร้างและต้นทุนพลังงานตั้งแต่ปีที่ผ่าน มา ส่งผลให้ผู้ประกอบการรับสร้างบ้านได้ทยอยปรับขึ้นค่าก่อสร้างไปแล้วในช่วง ต้นปี อย่างไรก็ตามภาวะของต้นทุนก่อสร้างยังคงกดดันธุรกิจอย่างต่อเนื่อง แต่ผู้ประกอบการยังคงสามารถควบคุมได้ แต่เชื่อว่าภาวะต้นทุนจะกดดันต่อธุรกิจมากขึ้นโดยเฉพาะนโยบายปรับขึ้นค่าแรง ขั้นต่ำของรัฐบาล แม้ว่าในภาคการ ก่อสร้างจะมีแรงงานไร้ฝีมือเพียง 20% แต่การปรับขึ้นของค่าแรงขั้นต่ำจะไปดันให้ค่าแรง ระดับอื่นๆปรับขึ้นไปด้วย ซึ่งโดยรวมแล้วจะทำให้ต้นทุนของการก่อสร้างปรับขึ้นไม่น้อยกว่า 8% ในช่วงไตรมาส 4 หรือต้นปีหน้า ทั้งนี้ บริษัทได้วางนโยบายรับมือด้วยการขยายพื้นที่โรงงานพรีแฟบเพิ่มในช่วงก่อน หน้านี้ ผลิตชิ้นส่วนสำเร็จรูปมาใช้ในงานก่อสร้างมากขึ้น รวมถึงเครื่องมือในงานก่อสร้าง เช่น เครื่องพ่นฉาบปู เครื่องพ่นสี เป็นต้น โดยปัจจุบันโรงงานพรีแฟบมีกำลังการผลิตที่ 60 หลังต่อเดือน และสามารถขยายได้ถึง 90 หลังต่อเดือน “ที่ผ่านมา แม้ไม่มีปัญหาปรับค่าแรง 300 บาท ธุรกิจก่อสร้างก็ประสบกับปัญหาขาดแคลนแรงงาน ทำให้ไซน์งานก่อสร้างจำนวนมากปรับขึ้นค่าแรงเพื่อดึงดูดแรงงานให้เข้าทำงาน โดยในส่วนของบริษัทได้ปรับขึ้นให้แก่ผู้จ้างเหมาไปแล้ว 10% แต่ยังขาดแคลนแรงงานอยู่ประมาณ 15% หรือ 350 คน ทำให้งานก่อสร้างล่าช้าออกไปบ้าง ปัจจุบันกลุ่มบริษัทใช้แรงงานประมาณ 1,000 คน ซึ่งการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอาจทำให้มีแรงงานเพิ่มขึ้นบ้าง” (ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 14-8-2554) สส.เพื่อไทยหนุนประกันสังคมเป็นหน่วยงานอิสระ เมื่อวันที่ 14 ส.ค. นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย (พท.) และอดีตกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาแก้ไขร่าง พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 กล่าวถึงการผลักดันการแก้ไข พ.ร.บ.ประกันสังคมตามข้อเรียกร้องของผู้ใช้แรงงานว่า ขณะนี้ร่างกฎหมายที่ผ่านสภาผู้แทนราษฎรชุดที่แล้ว ได้ค้างอยู่ที่วุฒิสภาหากต้องการให้พิจารณาต่อ รมว.แรงงาน ต้องยืนยันในที่ประชุม ครม. เพื่อให้ทำเรื่องยืนยันต่อสภาภายใน 60 วัน หาก ครม. ไม่ยืนยันก็ตกไป นพ.ชลน่าน กล่าวต่อว่า เห็นด้วยที่จะให้สำนักงานประกันสังคม (สปส.) เป็นหน่วยงานอิสระ เพราะ สปส. ดูแลคนเกือบ 10 ล้านคน ทั้งด้านสุขภาพและชราภาพ จึงมีเงินเยอะ ดังนั้นต้องมีความสะดวกในการบริหารจัดการ หากยังอยู่ในภาครัฐ ก็รู้อยู่ว่าเป็นอย่างไร ไม่คล่องตัว การเปลี่ยนเป็นหน่วยงานอิสระจะทำให้การมีส่วนร่วมมากขึ้น และทำให้มีระบบการตรวจสอบเข้มแข็ง โดยตนจะนำเรื่องนี้เสนอต่อนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีต่อไป ด้าน น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) กล่าวว่า ในร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมที่ค้างอยู่ในวุฒิสภามีหลายประเด็นที่เป็นประโยชน์กับคน งาน เช่น การเพิ่มสิทธิประโยชน์ หรือบัตรเดียวใช้ได้ทุกโรงพยาบาล จึงควรมีการผลักดันต่อไป โดยรัฐบาลควรยืนยันในร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว ขณะเดียวกันเรื่องการให้ สปส.เป็นหน่วยงานอิสระด้านการบริหารนั้นก็เป็นประเด็นสำคัญที่คนงานต้องการ หากมีการแก้ไขได้ก็ควรรีบดำเนินการ \เรื่องความเป็นอิสระถือว่าเป็นหัวใจ สำคัญในการแก้ไข เราจะร่วมกันผลักดันต่อไป หากรัฐบาลไม่หยิบยกมาพิจารณา แรงงานก็คงต้องหารือกันและเคลื่อนไหวต่อไป ขณะนี้จำนวนผู้ประกันตนเพิ่มขึ้นทุกวัน แต่โรงพยาบาลคู่สัญญา สปส.กลับมีจำนวนจำกัด ทำให้ผู้ประกันตนจำนวนมากเข้าไม่ถึงการรักษาพยาบาล ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องมีการแก้ไขปัญหา\" น.ส.วิไลวรรณ กล่าว (เดลินิวส์

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net