Skip to main content
sharethis

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เผยผลสำรวจความคิดเห็นของนิสิต นักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่เรียนอยู่ในสถาบันอุดมศึกษาทั้งรัฐและเอกชนในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลจำนวน 1,185 คน พบว่า ส่วนใหญ่เมื่อเรียนจบแล้วอยากทำงานในหน่วยงานเอกชน (ร้อยละ 39.6) รองลงมา คือ ประกอบธุรกิจส่วนตัว (ร้อยละ 25.7) หน่วยงานราชการ (ร้อยละ 18.2) และ รัฐวิสาหกิจ (ร้อยละ 16.5) ตามลำดับ ทั้งนี้นิสิตนักศึกษาร้อยละ 41.9 ไม่แน่ใจในนโยบายของรัฐบาล นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ที่ให้ผู้ทำงานวุฒิปริญญาตรีมีรายได้ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 15,000 บาท ว่าจะสามารถทำได้จริงหรือไม่ ในขณะที่ ร้อยละ 29.5 เชื่อว่าทำได้ และ ร้อยละ 28.6 เชื่อว่าทำไม่ได้ อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่เห็นด้วยกับแนวทางที่รัฐบาลจะดำเนินนโยบายดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการให้เริ่มมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2555 เป็นต้นไป (เห็นด้วยร้อยละ 61.7) การใช้คุณภาพของบัณฑิตเป็นตัวชี้วัดว่าใครควรจะได้ค่าจ้างเดือนละ 15,000 บาท (เห็นด้วยร้อยละ 57.1) และ สำหรับผู้มีวุฒิปริญญาตรีขึ้นไปแต่รายได้ยังต่ำกว่า 15,000 บาทใช้วิธีเพิ่มค่าครองชีพ เพื่อให้ได้รับเงินเดือนรวมแล้วเป็น 15,000 บาท ต่อเดือน (เห็นด้วยร้อยละ 56.9) นิสิตนักศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่า หากนโยบายข้างต้นมีผลบังคับใช้จริงจะส่งผลกระทบต่อการหางานเมื่อจบการศึกษาถึง ร้อยละ 69.4 (ได้แก่ อาจทำให้หางานยากขึ้น และเกณฑ์ในการรับสมัครน่าจะเข้มขึ้น ฯลฯ) ขณะที่ร้อยละ 30.6 ระบุว่าไม่ส่งผลกระทบ (โดยให้เหตุผลว่า เรียนในสาขาที่มีงานรองรับอยู่แล้ว มีสถานประกอบการเยอะ และตั้งใจจะเรียนต่อปริญญาโท ฯลฯ) สำหรับความกังวลต่อนโยบายดังกล่าวคือกังวลว่าบริษัทเอกชนจะเปิดรับผู้ที่จบปริญญาตรีเข้าทำงานลดลงร้อยละ 30.0 รองลงมาคือกลัวจะถูกเลิกจ้างเมื่อทำงานไปได้ระยะหนึ่งเพราะหน่วยงานแบกรับภาระเรื่องค่าจ้างไม่ไหวร้อยละ 18.5 และกลัวจะไม่มีงานทำและว่างงานร้อยละ 17.9 ส่วนเรื่องที่อยากฝากบอกรัฐบาล นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มากที่สุดคือ ให้เร่งทำทุกนโยบายให้เป็นจริงตามที่ได้หาเสียงไว้ร้อยละ 33.0 รองลงมาคือ ให้ประเทศพัฒนายิ่งขึ้น และนึกถึงประโยชน์ของประชาชนมาก่อนร้อยละ 12.0 และให้ตั้งใจทำงานให้เต็มที่ร้อยละ 10.4 ดังรายละเอียดในตารางต่อไปนี้ 1. หน่วยงานที่นิสิตนักศึกษาอยากจะทำงานเมื่อเรียนจบแล้ว คือ เอกชน ร้อยละ 39.6 ประกอบธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 25.7 ราชการ ร้อยละ 18.2 รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 16.5 2. ความเชื่อมั่นที่มีต่อนโยบายของรัฐบาล นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ที่ให้ผู้ทำงานวุฒิปริญญาตรีมีรายได้ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 15,000 บาท คือ เชื่อว่าทำได้ ร้อยละ 29.5 เชื่อว่าทำไม่ได้ ร้อยละ 28.6 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 41.9 3. ความคิดเห็นต่อแนวทางของรัฐบาลที่จะดำเนินนโยบายจ่ายค่าตอบแทนแก่ผู้ที่จบปริญญาตรีเดือนละ 15,000 บาท มีดังนี้ แนวทาง เห็นด้วย (ร้อยละ) ไม่เห็นด้วย (ร้อยละ) ไม่แน่ใจ (ร้อยละ) ให้เริ่มมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2555 เป็นต้นไป 61.7 9.8 28.5 ใช้คุณภาพของบัณฑิตเป็นตัวชี้วัดว่าใครควรจะได้เงินค่าจ้าง 15,000 บาท 57.1 16.3 26.6 สำหรับผู้มีวุฒิปริญญาตรีขึ้นไปแต่รายได้ยังต่ำกว่า 15,000 บาทใช้วิธีเพิ่มค่าครองชีพ เพื่อให้ได้รับค่าจ้างรวมแล้วเป็น 15,000 บาท ต่อเดือน 56.9 13.7 29.4 4. ผลกระทบต่อการหางานเมื่อจบการศึกษาหากนโยบายข้างต้นมีผลบังคับใช้จริง คือ เชื่อว่าจะส่งผลกระทบ ร้อยละ 69.4 (ได้แก่ หางานยากขึ้น มีการแข่งขันแย่งงานกันมากขึ้น และเกณฑ์ในการรับสมัครอาจจะเข้มขึ้น ฯลฯ) เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบ ร้อยละ 30.6 (โดยระบุว่า เรียนในสาขาที่มีงานรองรับอยู่แล้ว มีสถานประกอบการเยอะ มีธุรกิจส่วนตัว และตั้งใจจะเรียนต่อปริญญาโท ฯลฯ ) 5. เรื่องที่นิสิตนักศึกษากังวลมากที่สุดหากรัฐบาลจะดำเนินนโยบายดังกล่าว คือ กังวลว่าบริษัทเอกชนจะเปิดรับผู้ที่จบปริญญาตรีเข้าทำงานลดลง ร้อยละ 30.0 กลัวจะถูกเลิกจ้างเมื่อทำงานไปได้ระยะหนึ่งเพราะหน่วยงาน ร้อยละ 18.5 แบกรับภาระเรื่องค่าจ้างไม่ไหว กลัวจะไม่มีงานทำ / ว่างงาน ร้อยละ 17.9 เกิดการแข่งขันเพื่อเข้าทำงานราชการมากขึ้น ร้อยละ 13.9 กังวลว่าต้องสมัครงานในวุฒิที่ต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 3.6 อื่นๆ อาทิ กลัวเรื่องเงินเฟ้อ ของแพงขึ้น เป็นหนี้ เป็นต้น ร้อยละ 3.2 ไม่กังวล ร้อยละ 12.9 6. เรื่องที่อยากฝากบอกรัฐบาล นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มากที่สุด 5 อันดับแรก คือ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง) ให้เร่งทำทุกนโยบายให้เป็นจริงตามที่ได้หาเสียงไว้ ร้อยละ 33.0 ให้ประเทศพัฒนายิ่งขึ้น และนึกถึงประโยชน์ของประชาชนมาก่อน ร้อยละ 12.0 ให้ตั้งใจทำงานให้เต็มที่ ร้อยละ 10.4 ให้ทำงานอย่างสุจริต ไม่โกงกิน ร้อยละ 7.9 ให้ทำนโยบายค่าตอบแทนปริญญาตรีเดือนละ 15,000 ให้สำเร็จ ร้อยละ 7.5

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net