Skip to main content
sharethis

กองเซ็นเซอร์พม่าสั่งลงโทษนิตยสาร \Messenger\" หลังพิมพ์ภาพ \"ออง ซาน ซูจี\" ขนาดใหญ่ลงหน้าปก โดยห้ามพิมพ์หน้าแทรกลงเล่มหน้า ขณะที่ก่อนหน้านี้เพิ่งมีมาตรการผ่อนปรนสื่อ โดยอนุญาตให้นิตยสาร \"The People's Era\" พิมพ์บทความของ \"ออง ซาน ซูจี\" เรื่องการเดินทางไปพุกาม เว็บไซต์ \"อิระวดี\" รายงานว่า คณะกรรมการเซ็นเซอร์สื่อพม่า ลงโทษนิตยสารฉบับหนึ่งในนครย่างกุ้ง ฐานละเมิดกฎหมายสื่อ หลังตีพิมพ์บทสัมภาษณ์ออง ซาน ซูจี ผู้นำฝ่ายค้านพม่า และลงรูปภาพออง ซาน ซูจี ขนาดใหญ่ที่หน้าแรก ทั้งนี้ ในช่วงต้นสัปดาห์นี้ นิตยสารรายสัปดาห์ \"Messenger\" เป็นนิตยสารฉบับแรกที่ได้รับอนุญาตให้ลงบทสัมภาษณ์ของออง ซาน ซูจี โดยนิตยสารปกที่มีบทสัมภาษณ์ออง ซาน ซูจีดังกล่าวถูกจำหน่ายหมดไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้จากข้อมูลของสื่อมวลชนในพม่า อย่างไรก็ตามเมื่อวานนี้ (8 ก.ย.) แผนกพิจารณาและลงทะเบียนสื่อ (PSRD) ของรัฐบาลพม่า ซึ่งทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการเซ็นเซอร์ ได้แจ้งบรรณาธิการนิตยสาร \"Messenger\" ว่า พวกเขาจะไม่ได้รับอนุญาตให้ตีพิมพ์หน้าแทรก (Supplement) ของนิตยสารในอาทิตย์หน้า เนื่องจากผู้จัดทำนิตยสารได้ละเมิดระเบียบการเซ็นเซอร์ แผนกพิจารณาและลงทะเบียนสื่อ (PSRD) ไม่ได้ระบุว่าผู้จัดทำนิตยสารทำผิดในระเบียบข้อใด แต่สื่อมวลชนในย่างกุ้งระบุว่าบทลงโทษนิตยสารดังกล่าวเกิดจากการตีพิมพ์ภาพ \"ออง ซาน ซูจี\" ขนาดใหญ่ลงที่หน้าปก ทั้งนี้หน้าแทรก ของนิตยสารในพม่า มักจะตีพิมพ์เรื่องราวล่าสุด ซึ่งใหม่กว่าส่วนที่เป็นตัวนิตยสาร ทั้งนี้หน้าแทรกเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้นิตยสารขายดีด้วย กรณีดังกล่าวเกิดขึ้นท่ามกลางบรรยากาศล่าสุดที่รัฐบาลพม่าผ่อนปรนการควบคุมสื่อในการรายงานเรื่องราวเกี่ยวกับนางออง ซาน ซูจี โดยรัฐบาลตัวแทนของกองทัพพม่าพยายามที่จะจูงใจฝ่ายค้านพม่า เพื่อสร้างความยอมรับในเวทีระหว่างประเทศ โดยในสัปดาห์นี้ แผนกพิจารณาและลงทะเบียนสื่อ (PSRD) ได้อนุญาตให้นิตยสาร \"The People's Era\" ตีพิมพ์บทความที่เขียนโดยนางออง ซาน ซูจี เกี่ยวกับการเดินทางของเธอไปยังเมืองพุกาม (Pagan) อดีตราชธานีของพม่า เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ขณะที่ผู้สื่อข่าวก็ได้รับอนุญาตให้เข้าสังเกตการณ์การประชุมรัฐสภาครั้งล่าสุดที่เนปยิดอว์ อย่างไรก็ตามก็มีเงื่อนไขว่าพวกเขาต้องหลีกเลี่ยงการรายงานข่าวในสิ่งที่จะทำลาย \"เกียรติของรัฐสภาและของรัฐ\" อิระวดีทิ้งท้ายว่า แม้ว่าจะมีสัญญาณจากรัฐบาลว่าจะเปิดกว้างให้สาธารณะตรวจสอบ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลพม่าก็ยังคงคุมขังผู้สื่อข่าวพม่าจำนวนมาก ในข้อกล่าวหาว่า ผู้สื่อข่าวเหล่านี้ทำงานให้กับสื่อมวลชนพลัดถิ่นภายนอกประเทศ ที่มา: แปลและเรียบเรียงจาก Journal Punished after Publishing Suu Kyi Interview Irrawaddy

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net