Skip to main content
sharethis

การหยุดงานประท้วงที่โรงงานฮอนด้าในจีนเมื่อปี 2010 (ที่มาภาพ: talkingunion.wordpress.com) 19 ก.ย. 54 - สหพันธ์แรงงานจีน (ACFTU) เปิดเผยว่ามีแผนการจะจัดตั้งสหภาพแรงงานในสถานประกอบการณ์บรรษัทข้ามชาติที่มาลงทุนในจีนให้ได้ 65% ภายในปีนี้ และเพิ่มขึ้นเป็น 78% และ 90% ในปี ค.ศ. 2012 และ 2013 ตามลำดับ ด้านนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนกลับมองว่าการเคลื่อนไหวครั้งนี้ของ ACFTU (ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐบาลจีน) เกิดจากความหวั่นเกรงที่จะมีสหภาพแรงและขบวนการเคลื่อนไหวที่เป็นอิสระจากพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อเสถียรภาพด้านการเมืองในอนาคต ทั้งนี้สหภาพแรงงานที่เป็นอิสระและนักเคลื่อนไหวด้านแรงงานมีบทบทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในอียิปต์ ตูนีเซีย และในปีที่แล้วเช่นกันที่คนงานจีนได้ทำการ “หยุดงาน-ผละงาน” ประท้วงในอุตสาหกรรมยานยนต์ของบรรษัทต่างชาติบ่อยครั้งขึ้นด้วย เมื่อปีที่แล้ว ACFTU ยังเปิดเผยรายงานจากการรวบรวมข้อมูลตาม 10 หัวเมืองใหญ่ตั้งแต่เดือน มี.ค. ถึงเดือน พ.ค. ปี 2010 พบว่าแรงงานหนุ่มสาวที่อพยพเข้ามาหางานทำในเมืองใหญ่รวมตัวกันมากขึ้น เรียกร้องความชอบธรรมทันทีเมื่อถูกละเมิดสิทธิต่างจากแรงงานยุคก่อน หลังเกิดเหตุประท้วงครั้งใหญ่ที่โรงงานผลิตรถยนต์ โตโยต้าและโรงงานฮอนด้า ในรายงานระบุว่า แรงงานอพยพรุ่นใหม่นี้อายุระหว่าง 16-30 ปี มีราว 100 ล้านคน เฉลี่ยอายุ 23 ปี ความรู้ระดับมัธยมศึกษา 80% ยังคงเป็นโสด เทียบสัดส่วนเกือบ 2 ใน 3 ของแรงงานย้ายถิ่นในประเทศ 150 ล้านคน และเกือบครึ่งของแรงงานทั่วประเทศ 230 ล้านคน เป็นแรงงานรุ่นใหม่ที่รู้จักกันดีว่า \รุ่นหลัง 80’s\" คนงานหนุ่มสาวเหล่านี้เป็นหัวหอกสำคัญในการร้องเรียนเรื่องสวัสดิภาพ สิทธิผลประโยชน์มากขึ้น มีเทคนิคการต่อรองมากกว่าคนรุ่นเก่า เพราะสนใจศึกษาหาความรู้เรื่องสิทธิและความเท่าเทียม คาดหวังสูงขึ้นกับการได้รับความเท่าเทียมการได้งานทำ สวัสดิการสังคม การศึกษา และการบริการขั้นพื้นฐาน ทั้งนี้ค่าแรงที่สูงขึ้นของจีนนั้นนอกเหนือจากกฎหมายแรงงานฉบับใหม่และการประท้วงของแรงงานหนุ่มสาวเหล่านี้แล้ว ก็ยังเกิดจากการปรับให้เหมาะสมกับฝีมือแรงงานและประสิทธิภาพที่สูงขึ้น ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาค่าแรงในจีนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเริ่มสูงกว่าค่าแรงโดยเฉลี่ยของประเทศผู้ผลิตใหม่ในเอเชีย จากการสำรวจของ JETRO พบว่าในปี ค.ศ. 2009 ค่าแรงเฉลี่ยของคนงานในโรงงานญี่ปุ่นในจีน อยู่ที่ 4

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net