Skip to main content
sharethis

นักวิทยาศาสตร์ของ CERN ประกาศพบอนุภาคอะตอมย่อย ที่เดินทางได้เร็วกว่าแสง โดยใช้เวลาที่น้อยกว่าแสงอยู่ 60 นาโนวินาที พ.ศ.2448 (1905) อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ได้เขียนทฤษฎีสัมพัทธภาพอันโด่งดังขึ้นมา โดยใจความหนึ่งของทฤษฎีระบุว่า ความเร็วแสงเป็นความเร็วสูงสุด ไม่มีสิ่งใดสามารถเดินทางได้เร็วกว่านี้อีกแล้ว ซึ่งนี่ถือแนวคิดสำคัญที่ทำให้เกิดการวางรากฐานฟิสิกส์ยุคใหม่ จนเกิดทฤษฎีต่างๆ ออกมามากมายเช่น ทฤษฎีควอนตัม ทฤษฎีสตริง ไปจนถึงทฤษฎีแห่งสรรพสิ่ง ล่าสุด (22 ก.ย.54) นักวิทยาศาสตร์ของ CERN ที่กรุงเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ ได้ออกมาประกาศว่า มีการตรวจพบอนุภาคอะตอมย่อย (subatomic particle: อนุภาคที่เล็กกว่าอะตอม เช่น ควาร์ก อิเล็กตรอน นิวตริโน โบซอน) ที่เดินทางได้เร็วกว่าแสง โดยสังเกตจากนิวตริโนที่ถูกยิงออกจากเครื่องเร่งอนุภาคใกล้กรุงเจนีวา ได้เดินทางไปถึงห้องทดลองในอิตาลีที่ห่างออกไป 730 กิโลเมตร โดยใช้เวลาที่น้อยกว่าแสงอยู่ 60 นาโนวินาที จากที่แสงควรจะทำได้ในเวลา 2.4 มิลลิวินาที ขณะนี้ นักวิทยาศาสตร์ที่กรุงเจนีวากำลังขอให้มีการทดลองซ้ำจากสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง ----------------------------------------------- ที่มา: ความเชื่อสั่นคลอน! นักวิทยาศาสตร์พบอนุภาคที่เดินทางได้เร็วกว่าแสง, โดย neizod, http://jusci.net สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์ เวอร์ชัน 3.0

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net