Skip to main content
sharethis

แรงงานล็อบบี้คลังของบหนุน จูงใจนายจ้างจ่าย 300 ทั่ว ปท. นโยบายประชานิยมปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท กำลังประสบปัญหา และมีแนวโน้มสูงว่าอาจจะไม่สามารถผลักดันสู่การปฏิบัติได้จริง ตามที่ให้คำมั่นไว้ในช่วงหาเสียงเลือกตั้งได้เต็ม 100% นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 16 ก.ย.ที่ผ่านมา กระทรวงแรงงานได้หารือร่วมกับกระทรวงการคลังและกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อหามาตรการสนับสนุนหรือลดภาระให้กับนายจ้างหลังขึ้นค่าแรงเป็นวันละ 300 บาทต้นปีหน้า \ส่วนกรณีที่ตัวแทนจากนายจ้างไม่เห็นด้วยกับนโยบายรัฐบาลที่จะให้มีการ ปรับขึ้นค่าแรงนั้น ผมยังไม่ได้มีการหารือกับตัวแทนฝ่ายนายจ้างเลย แต่ยืนยันว่าการดำเนินการจะต้องเป็นไปตามระบบไตรภาคี ซึ่งตอนนี้มีแต่ one ภาคีเท่านั้น สำหรับมาตรการด้านการเงินการคลังที่จะมาสนับสนุนจะมีอะไรบ้างต้องไปถาม กระทรวงการคลัง\" ด้านนายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า วัตถุประสงค์ของการหารือรัฐบาลต้องการให้ทางกระทรวงการคลังหามาตรการทางด้าน การเงินการคลังมา สนับสนุนผู้ประกอบการที่ปรับขึ้นค่าแรงเป็น 300 บาทต่อวัน นอกจากการปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 30% เหลือ 23% เพื่อดูแลต้นทุนแล้ว รัฐบาลจะมีมาตรการทางด้านการคลังมาบรรเทาภาระต้นทุนให้กับนายจ้างด้วย ส่วนกระทรวงอุตสาหกรรมจะคิดแผนการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การปรับเปลี่ยนเครื่องจักร ทักษะฝีมือแรงงานให้กับลูกจ้างเป็นแพ็กเกจเสริม แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า มาตรการทางด้านการคลังที่มีการหารือกันเป็นเรื่องของการเพิ่มประสิทธิภาพการ ผลิตให้กับนายจ้าง และเพิ่มทักษะให้กับลูกจ้าง โดยกระทรวงการคลังจะต้องจัดโครงการ สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำหรือ \"ซอฟต์โลน\" มาปล่อยกู้ให้กับผู้ประกอบการที่ปรับขึ้นค่าแรงตามนโยบายรัฐบาล เพื่อนำเงินไปปรับเปลี่ยนเครื่องจักรใหม่หรือจัดการฝึกอบรมฝีมือให้กับแรง งาน ในส่วนของการปรับเปลี่ยนเครื่องจักร คงใช้ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอีแบงก์) เป็นกลไกหลักในการปล่อยกู้ ส่วนสินเชื่อที่จะนำไปใช้ในการฝึกอบรมจะเป็นหน้าที่ของธนาคารออมสิน โดยรัฐบาลอาจต้องจัดงบประมาณชดเชยดอกเบี้ยให้กับสถาบันการเงินเฉพาะกิจของ รัฐที่เข้าร่วมโครงการด้วย สำหรับการปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท จะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ โดยระยะแรกจะปรับฐานค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศเพิ่มขึ้น 40% เพราะต้องการขยับฐานค่าจ้างให้ใกล้กับเพดานอัตราค่าจ้าง 300 บาทต่อวัน 7 จังหวัดนำร่อง คือ กรุงเทพ มหานคร (กทม.) นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม และภูเก็ตนั้น จะได้รับอานิสสงส์จากการปรับฐานค่าจ้าง เพิ่มขึ้น 40% ทำให้ได้รับค่าจ้าง 300 บาทต่อวันไปโดยปริยาย เนื่องจากทั้ง 7 จังหวัดมีอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำสูงสุดใกล้เคียงกับอัตราค่าจ้าง 300 บาทต่อวันอยู่แล้ว ส่วนระยะสองจะมีการผลักดันให้อีก 70 จังหวัดที่ค่าจ้างขั้นต่ำยังไม่ถึง 300 บาทต่อวัน ขยับขึ้นเป็น 300 บาทต่อวันเท่ากันทุกจังหวัด ซึ่งการดำเนินการทั้ง 2 ระยะจะทำให้ได้ภายในปี 2555 ทั้งนี้ เมื่อมีการปรับค่าจ้างเป็น 300 บาทต่อวันครบทุกจังหวัดแล้ว จะไม่มีการปรับเพิ่มค่าจ้างเป็นเวลา 3 ปี ทำให้การปรับค่าจ้างเป็น 300 บาทต่อวัน มีระยะเวลาสั้นลงกว่าที่ผู้ประกอบการเสนอไว้เป็นขั้นบันได 4 ปี นายอรรถยุทธ ลียะวณิช กรรมการค่าจ้างกลางฝ่ายนายจ้าง เปิดเผยว่า ในการประชุมบอร์ดค่าจ้างกลาง หรือไตรภาคี เมื่อวันที่ 14 กันยายนที่ผ่านมา ที่ประชุมมีมติให้ตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการปรับขึ้น ค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท อย่างไรก็ตาม ฝ่ายนายจ้างเห็นว่าควรปรับขึ้นค่าจ้างให้เป็นไปตามกรอบการพิจารณา ของคณะกรรมการไตรภาคี โดยเป็นอิสระจากการแทรกแซงของฝ่ายการเมือง หลักเกณฑ์ในการพิจารณา ได้แก่ความจำเป็นของลูกจ้าง เช่น ค่าครองชีพ คิดเป็น 40% และความสามารถในการจ่ายของนายจ้างอีก 40% อีก 20% พิจารณาจากผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และภาวะเศรษฐกิจของประเทศและของโลก การปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาทต่อวัน ฝ่ายนายจ้างอยากให้ทยอยปรับแบบ ขั้นบันไดภายใน 4 ปี ทั้งนี้ หากจะมีการปรับขึ้นทันที รัฐบาลจะต้องจัดหางบประมาณมาชดเชยในส่วนต่างที่ปรับเพิ่มขึ้นมาให้แก่ ลูกจ้าง โดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ธุรกิจสิ่งทอ ท่องเที่ยว ภาคบริการ พนักงานรักษาความปลอดภัย แม่บ้าน ที่มีต้นทุนด้านค่าแรงถึง 80% ขณะที่นายสุรเดช ชูมณี กรรมการค่าจ้างกลางฝ่ายลูกจ้าง กล่าวว่า ในที่ประชุม นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้างกลาง ได้ให้แต่ละฝ่ายไปหาแนวทางในการนำร่องปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาทต่อวันใน 7 จังหวัด และนำอัตราที่เพิ่มขึ้น 40% ไปบวกเพิ่มให้กับจังหวัดอื่น ๆ เพื่อปรับฐานค่าจ้างให้สูงขึ้นก่อนดำเนินการให้มีค่าจ้าง ขั้นต่ำ 300 บาทเท่ากันทั่วประเทศ ทั้งนี้ หากการประชุมครั้งหน้า ที่ประชุมไม่เห็นด้วยกับการนำร่องปรับค่าจ้าง 7 จังหวัด ทางฝ่ายลูกจ้างก็จะเสนอให้มีการปรับขึ้นค่าจ้างเพิ่มจากฐานเดิม 40% ในทุกจังหวัด ส่วนนางอำมร เชาวลิต ที่ปรึกษาวิชาการแรงงาน สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ที่ประชุมได้มอบให้ฝ่ายรัฐบาล นายจ้าง และลูกจ้าง ไปรวบรวมมาตรการเพื่อรองรับการปรับขึ้นค่าจ้างเป็น 300 บาทต่อวัน เพื่อให้เกิดความชัดเจนในเรื่องมาตรการรองรับของแต่ละฝ่าย โดยให้นำมาเสนอในการประชุม ซึ่งจะมีขึ้นในอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้า ช่วงต้นเดือนตุลาคมนี้ แหล่งข่าวจากกระทรวงแรงงานเปิดเผยเพิ่มเติมว่า แม้ผลประชุมบอร์ด ค่าจ้างกลางวันที่ 14 ก.ย.ที่ผ่านมาจะยัง ข้อสรุปไม่ได้ จนมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำครั้งนี้น่าจะส่อแววล้ม เพราะคณะกรรมการค่าจ้างกลางไม่เห็นด้วย แต่มั่นใจว่าไม่น่าล้ม และจะประสบความสำเร็จในที่สุด (มติชน

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net