Skip to main content
sharethis

สำนักบัณฑิตอาสาจัดงานเสวนาเชิงวิชาการ “จิตอาสาก้าวมาไกล แต่ไปไม่ถึงสำนึกพลเมือง” และได้เปิดให้ผู้คนที่สนใจร่วมแสดงความคิดเห็นในวันที่ 21 กันยายน 2454 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2554 สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดงานเสวนาทางวิชาการเรื่อง จิตอาสา..ก้าวมาไกลแต่ไม่ถึงสำนึกพลเมือง? ณ ห้องประชุมประกอบ หุตะสิงห์ ชั้น 3 อาคารอเนกประสงค์ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีวิทยากรรับเชิญโดย 1. วีรบูรณ์ วิสารทสกุล อาจารย์ประจำคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ 2.รศ.ดร.อรศรี งามวิทยาพงศ์ สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 3. ดร.สุรพล จรรยากูล คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร 4.นันทินี มาลานนท์ เครือข่ายจิตอาสา 5. ประกาศ เรืองดิษฐ์ คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) 6. อิทธิพล โคตะมี บัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และดำเนินการเสวนา โดย อาจารย์ ดร.สามชาย ศรีสันต์ อาจารย์ประจำสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นันทินี มาลานนท์ เครือข่ายจิตอาสา กล่าวว่า ก่อนที่จะมีจิตอาสาต้องย้อนกลับมาดูที่ตัวเราก่อนว่าเราช่วยเหลือตัวเองได้รึยังเพราะถ้าเราช่วยเหลือตัวเองยังไม่ได้ แล้วเราไปช่วยเหลือคนอื่นนั้นจะถือว่าเป็นจิตอาสาหรือไม่ อย่างเรื่องง่าย ๆ หรือเรื่องใกล้ตัวคือเรื่องของการเปิดน้ำทิ้งไว้ในขณะที่ยังทำภารกิจยังไม่เสร็จ เช่นเด็กจะเปิดน้ำทิ้งไว้ขณะล้างมือยังไม่เสร็จ คำถามคือทำไมเด็กถึงไม่เปิดแต่พอใช้ นั่นอาจเป็นเพราะผู้ใหญ่มักจะบอกเด็กว่า \การที่เปิดน้ำทิ้งไว้จะทำให้ค่าน้ำแพง\" เด็กจึงเข้าใจเช่นนั้นและทำให้เด็กไม่เกิดจิตสำนึกในการใช้ทรัพยากรน้ำ ในขณะเดียวกันผู้ใหญ่ควรจะอธิบายว่าการที่เปิดน้ำทิ้งไว้จะทำให้สิ้นเปลืองทรัพยากรน้ำโดยเปล่าประโยชน์\" มากกว่าการที่จะบอกว่าการที่เปิดน้ำทิ้งไว้จะทำให้ค่าน้ำแพง ซึ่งทำให้เด็กไม่เข้าใจถึงปัญหาและขาดจิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม \"เราจึงต้องหันกลับมาย้อนดูที่ตัวเองก่อนว่าเรามีจิตสำนักต่อสังคมรึยัง ซึ่งอาจจะมองจากเรื่องใกล้ตัวก่อน\" ด้านรศ.ดร.อรศรี กล่าวว่า \"การมีจิตอาสาคือการที่มีจิตใจที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีจิตสำนึกที่ดี อย่างการทำบุญ รู้จักการให้\" รศ.ดร.อรศรี ยังได้พูดถึงบทความ“จิตอาสา การทำความดี และสำนึกพลเมือง”ของอ.วีรบูรณ์ วิสารทสกุล อาจารย์ประจำคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ว่า\"เราควรจะมองถึงวิธีการพัฒนาและการเรียนรู้จากจิตอาสาสู่สำนึกพลเมืองมากกว่าที่จะมามองแค่ผลลัพธ์ ว่าจิตอาสาต้องมาพร้อมกับสำนึกพลเมือง\" วีรบูรณ์ วิสารทสกุล ภาควิชาการพัฒนาชุมชน คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงบทความที่ตัวนำเสนอว่า คำและกระแสเรื่องจิตอาสา และการทำความดีถูกปลุกให้ลุกโชนอย่างรวดเร็วในหมู่เยาวชน คนหนุ่มสาว จากเครือข่ายสื่อสังคมออนไลน์ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ และเหตุการณ์ อื่นๆ ทางสังคมที่ทำให้เกิดการรวมตัวและช่วยเหลือกันอย่างรวดเร็ว รวมถึงการที่สถาบันการศึกษาในทุกระดับ ในทุกภูมิภาคก็ผลักดันเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพราะตระหนักว่าบ้านเมืองและสังคมยามนี้ต้องการบุคคลที่มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวมมากยิ่งขึ้นเหล่านี้ล้วนแต่เป็นเหตุผลที่ทำให้เรื่องจิตอาสากลายเป็นกระแสฟีเวอร์ในขณะนี้ แต่การวิเคราะห์เพื่อทำความเข้าใจเรื่องจิตอาสาที่เป็นอยู่ในขณะนี้ยังเป็นการวิเคราะห์ที่เพียงแต่ชี้ให้เห็นถึงรูปแบบและการจัดกิจกรรมอาสาสมัคร กล่าวอย่างไม่ผิดนักว่าเป็นการวิเคราะห์ในระดับปรากฏการณ์ที่ตาเห็น นั่นจึงทำให้มีการสรุปไว้ อย่างรวบรัดว่า จิตอาสาเป็นเรื่องของการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม เพื่อสังคม และเป็นจิตสำนึกพลเมืองในบทความนี้พยายามวิเคราะห์ แยกแยะและชี้ให้เห็นว่าจิตอาสาและจิตสำนึกพลเมืองเป็นเรื่องที่แตกต่างกันในระดับกรอบคิด (mental model) เพราะจิตอาสาแท้ที่จริงแล้วเป็นการทำงานเพื่อตอบประโยชน์ตัวเองเป็นหลัก และการจะพัฒนาให้ จิตอาสาเติบโตเป็นจิตสำนึกพลเมืองได้นั้น จำเป็นต้องเชื่อมโยงให้อาสาสมัครเห็นความสัมพันธ์ระหว่างส่วนตัวอาสาสมัครกับส่วนรวม และตระหนักว่าสาธารณะหรือส่วนรวม (หรือคนอื่น) สำคัญกว่าส่วนตัว อีกทั้งเมื่อส่วนรวมได้ประโยชน์ ส่วนตัวจึงจะได้ประโยชน์ตามมา. ประกาศ เรืองดิษฐ์ คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) กล่าวว่า เราต้องย้อนดูระบบของการศึกษาในไทยตั้งแต่ระดับประถมศึกษาคือมีการบอกให้เด็กทำความดี และเกรงกลัวต่อบาปแต่ไม่ได้อธิบายถึงว่าทำไมถึงต้องทำความดี ความดีคืออะไร แล้วอะไรคือบาป แต่ในการสอนนั้นกลับเป็นการเน้นการท่องจำมากกว่า เช่น ในบทเรียนของประถมจะมีบทบัญญัติ 10 ข้อของการทำความดี คือ 1.นับถือศาสนา 2. รักษาธรรมเนียมมั่น 3. เชื่อพ่อแม่ครูอาจารย์ 4.วาจานั้นต้องสุภาพอ่อนหวาน ...จนถึง 10 ข้อ และเด็กๆ จะได้ท่องกันเกือบทุกวันว่านี่คือบทบัญญัติ 10 ข้อในการทำความดี แต่ในขณะเดียวกันครูไม่ได้อธิบายว่า ข้อ 1 ศาสนาคืออะไร ทำไมต้องเคารพบันถือนับถือแล้วได้อะไร หรือแม้กระทั่งการที่ให้เด็กท่องบทสวดมนต์ทุกวันแต่แท้จริงเด็กกลับไม่รู้ว่าบทสวดมนต์นี้คืออะไร แปลว่าอะไร หรือทำเพื่ออะไร ซึ่งสิ่งเหล่านี้มันจะส่งผลกระทบถึงสภาวะในปัจจุบันได้คือทำให้ไม่เข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเอง ยกตัวอย่าง คำว่า \"จิตอาสา\" ผมมองว่ามันก้าวมาไกลแล้ว แต่คำว่าสำนึกพลเมือง เรายังไปไม่ถึงเพราะเรายังไม่เข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเอง ประกาศ เรืองดิษฐ์ กล่าว ทางด้านอิทธิพล โคตะมี บัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พูดถึงจิตอาสาว่า \"จิตอาสา\" มองได้ 2 แบบ คือ 1. จิตอาสาในทางปฏิบัติการทางการเมือง 2. จิตอาสาในทางที่สูงส่ง ซึ่งถ้ามอง \"จิตอาสาในทางปฏิบัติการทางการเมือง\" ดังเช่น ในกรณีการล้มเชียร์ (NO SOTUS) ของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม หรือ กรณีน้องเกด อาสาสมัครพยาบาลที่ถูกยิงเสียชีวิตในวัดปทุมเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 จากเหตุการณ์การสลายการชุมนุม ซึ่งจะเห็นได้ว่าในสองกรณีนี้ก็เป็นจิตอาสาแต่กลับถูกตราหน้าว่าเป็นผู้ก่อความวุ่นวายให้กับบ้านเมือง แต่ในขณะเดียวกันคำว่า กรณีที่มีการทำความสะอาดถนนหลังการสลายการชุมนุมปี 53 กลับถูกมองว่าเป็นจิตอาสาในทางที่สูงส่ง จิตอาสาจึงดันไปถูกคอกับโครงสร้างอำนาจนิยมจนกลายเป็นว่าจิตอาสาไม่ได้ประกอบไปด้วยความดีของมันเอง แต่กลับถูกประกอบสร้างความหมาย เพื่อยกชูสถานะที่สูงส่งละม้ายคล้ายคลึงกับคนดีมีคุณธรรม เพราะฉะนั้นองค์ประกาศก (Propher) จึงมีไม่กี่คนที่จะพูดเรื่องนี้ เช่น หมอประเวศ ว.วชิรเมธี และดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เราจะเห็นว่าหลังรัฐประหาร 19 กันยา 49 รัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ ได้ประกาศวาระแห่งชาติว่าด้วยการอาสาสมัครและมีงบประมาณอัดฉีดเข้าไปในกระทรวงพัฒนาสังคม ซึ่งมันไปผูกกับCorporate Social Responsibility (CSR ) ซึ่งมันไม่ได้ลงไปสู่ท้องถิ่นอย่างแท้จริง เช่นโครงการปลูกต้นไม้ แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีคนตัดต้นไม้อยู่ ซึ่งการอาสาสมัครนี้จึงละเลยมิติความเป็นธรรม จึงเห็นได้ว่ารัฐบาลยุคอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะหยิบยกเรื่องจิตอาสาขึ้นมาพูดราวกับว่ามันเป็นมรรควิธีหนึ่ง เพื่อนำไปสู่เป้าหมายสำนึกพลเมือง แต่ในความเป็นสำนึกพลเมืองอาจจะเกิดขึ้นได้โดยไม่จำเป็นต้องมีจิตอาสา เพราะว่าจิตอาสาในยุคที่ไม่เป็นประชาธิปไตยไม่ได้ตั้งอยู่บนความเท่าเทียมและเสรีภาพ \"เราไม่สามารถทำงานแบบจิตอาสาเพื่อประชาชนได้ ถ้าเราไม่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนอื่น\" นายอิทธิพล โคตะมี กล่าวทิ้งท้าย.... นอกจากนี้ภายในงานก็ได้เปิดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับ \"จิตอาสา\" ซึ่งมีผู้สนใจเข้าร่วมแลกเปลี่ยนหลากหลายองค์กร ทั้งนักศึกษา NGO อาสาสมัคร รวมถึงอาจารย์และนักวิชาการ"

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net