Skip to main content
sharethis

สศช.ชง ครม.ไฟเขียวงบรัฐวิสาหกิจปี 55 แรงงานเสนอเร่งปลดล็อกขึ้นค่าจ้าง 5% ผู้สื่อข่าวรายงานจากทำเนียบรัฐบาลว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ (27 ก.ย.) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอให้พิจารณากรอบและงบประมาณรัฐวิสาห-กิจประจำปีงบ 2555 โดยมีรัฐวิสาหกิจ 54 แห่ง ภายใต้สังกัด 16 กระทรวง วงเงินดำเนินการรวม 613,717 ล้านบาท และวงเงินเบิกจ่ายลงทุน 319,732 ล้านบาท คาดจะมีกำไรสุทธิ 83,262 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.1% จากปี 2554 ซึ่งในจำนวนนี้ไม่รวมบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เพราะวงเงินลงทุนเบื้องต้นต้องรอผ่านความเห็นชอบจากการประชุมผู้ถือหุ้นก่อน ขณะที่กระทรวงแรงงานเสนอให้ ครม.พิจารณาทบทวนมติ ครม. เรื่องการปรับค่าจ้างของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ เมื่อวันที่ 28 มี.ค.54 โดยให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ โดยมติ ครม.ดังกล่าวระบุให้ปรับอัตราค่าจ้างของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจเพิ่มไม่เกิน 5% หรือไม่เกิน 50,000 บาท มีผลตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.54 ซึ่งการทบทวนครั้งนี้ให้ตัดเพดานที่กำหนดไว้ที่ไม่เกิน 50,000 บาทออกไป นอกจากนี้ กระทรวงการคลังจะเสนอให้พิจารณาให้ความเห็นชอบการเสนอขอรับเงินอุดหนุนของ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ประจำปีงบ 2555 จำนวน 2,350 ล้านบาท และ 1,263 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอให้ ครม.อนุมัติขยายเวลาการชำระคืนเงินยืมกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร โครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในการจัดหาปุ๋ยปีเพาะปลูก 2546/2547 โดยยังมีสถาบันเกษตรกรค้างชำระอยู่ 9 แห่ง วงเงิน 1.43 ล้านบาท. (ไทยรัฐ, 27-9-2554) ก.แรงงานจ่อสร้างงานเพิ่มรายได้หลังน้ำลด นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ถึงการให้ความช่วยเหลือเรื่องน้ำท่วม โดยระบุว่า นายกรัฐมนตรีได้สั่งการไปโดยทั่วกันแล้ว ให้รัฐมนตรี และ ส.ส. ของพรรค ช่วยกันลงพื้นที่ เพื่อแบ่งเบาปัญหาประชาชน ซึ่งจะดูแลกันไปตามพื้นที่ต่างๆ ของตนเอง แต่ส่วนใครที่เป็นรัฐมนตรีอยู่ ให้หาทางบูรณาการแก้ปัญหาร่วมกันให้ได้ ซึ่งในส่วนของกระทรวงแรงงานนอกเหนือจากการช่วยเหลือในปัจจุบันแล้ว ได้ทำแผนสำหรับการให้ความช่วยเหลือหลังน้ำลดไว้ด้วย โดยเฉพาะการสร้างงานสร้างรายได้ ซึ่งกระทรวงแรงงานฯ มีช่างฝีมือแรงงานอยู่ ก็จะให้ลงพื้นที่ในแต่ละจังหวัด พร้อมกับงบประมาณส่วนหนึ่ง ที่จะใช้จ้างงานคนในพื้นที่ ในการร่วมกันซ่อมสร้างสถานที่ อาคารบ้านเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ โดยจะมีการกำหนดอัตราจ้าง จำนวนที่สามารถว่าจ้างได้ ในแต่ละงาน ซึ่งเชื่อว่าโครงการนี้จะสามารถช่วยสร้างรายได้ให้เกิดกับประชาชนในพื้นที่ ประสบภัยภายหลังน้ำลด ได้มีรายได้เข้ามาบ้างก่อน ในเบื้องต้น (ไอเอ็นเอ็น, 27-9-2554) สภานายจ้าง ยื่นเงื่อนไข 5 ข้อ ก่อนขยับค่าจ้าง 300 บาท ก.แรงงาน 26 ก.ย.- นางศิริวรรณ ร่วมฉัตรทอง ประธานสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สมาชิกได้จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยได้ข้อสรุป 5 ประเด็น พร้อมกับนำเสนอต่อ นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เพื่อให้เสนอต่อรัฐบาลให้นำไปพิจารณาในการหาทางออกเกี่ยวกับนโยบายปรับอัตรา ค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อไป โดยข้อเสนอ 5 แนวทาง คือ 1. ให้รัฐบาลจัดวาระเร่งด่วนในการปรับปรุงกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับค่าจ้าง เช่น ความหมายของนายจ้าง การระบุให้ค่าจ้างขั้นต่ำ คือเงินที่ได้รายวันรวมถึงเงินได้อื่นๆ เช่น ค่าล่วงเวลา ค่ากะ ค่าครองชีพ และต้องกำหนดว่าจะไม่ปรับค่าจ้างขึ้นอีกเป็นเวลา 3 ปี พร้อมเสนอให้มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำออกเป็น 2 ระดับ โดยแรงงานเข้าใหม่ แรงงานอายุ 15-18 ปี ตลอดจนแรงงานต่างด้าวซึ่งเป็นแรงงานไร้ฝีมือ ให้รับค่าจ้างในอัตราร้อยละ 75 ของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นเวลา 6 เดือน พร้อมกับให้นำระบบค่าจ้างรายชั่วโมง (Hourly wage) มาใช้ 2. ให้รัฐบาลรับภาระค่าใช้จ่ายแทนนายจ้างและลูกจ้าง โดยการลด หรืองด การเก็บเงินสมทบประกันสังคมเป็นเวลา 1 ปี 3.ใช้มาตรการด้านภาษี และส่งเสริมการลงทุน เช่น ให้ เอสเอ็มอี บันทึกค่าจ้างพนักงานได้เป็น 3 เท่า ของที่จ่าย เป็นเวลา 3 ปี ขอให้ยกเว้นการเก็บภาษีนิติบุคคล 3 ล้านบาทแรก ให้กับ เอสเอ็มอีขอให้ขยายสิทธิประโยชน์ของโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน เดิมออกไปอีก 3 ปี รวมทั้งขอให้ขยายเวลายื่นโครงการตามประกาศของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ฉบับที่1/2553 เรื่องนโยบายส่งเสริมการลงทุนแก่เอสเอ็มอี จากเดิมที่จะหมดเขตใน 31 ธ.ค.2554 ให้ขยายออกไปเป็น 31 ธ.ค.2556 และขอให้ขยายวงเงินการซื้อเครื่องจักรเก่าต่อเครื่องจักรใหม่จาก 10 ล้านบาท เป็น 20 ล้านบาท 4. ขอให้รัฐบาลหาแหล่งเงินกู้และการสนับสนุนทางการเงิน โดยให้มีแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำแก่ เอสเอ็มอี และ 5.ข้อเสนอแนะด้านอื่น ๆ เช่น การปรับค่าจ้างควรเป็นไปตามพื้นที่ จนกว่ารัฐจะจัดระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานได้เท่าเทียมกันทั้งประเทศ ลดข้อจำกัดของกฎหมายที่ไม่เอื้อต่อการลงทุนในเทคโนโลยี รวมทั้งการจัดทำแผนระยะยาวระดับประเทศให้เป็นรูปธรรม การลดกฎระเบียบให้เกิดความยืดหยุ่นในการใช้แรงงานต่างด้าว การคัดเลือกคณะกรรมการค่าจ้างตามหลักความสามารถ หรือประสบการณ์จริง ทั้งนี้ ขอให้รัฐบาลประกาศมาตรการการให้ความช่วยเหลือต่าง ๆ ให้มีความชัดเจนแก่ภาคเอกชน เช่น การลดภาษี หรือการส่งเสริมการลงทุนภายในเดือน ต.ค.2554 นี้ เพื่อให้ภาคเอกชนมีแนวทางการทำงานที่ชัดเจน รวมทั้งสามารถวางแผนงานในปีถัดไป (สำนักข่าวไทย, 26-9-2554) นายจ้างกลุ่มไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์ ขอรวมค่าสวัสดิการกับค่าจ้าง 300 บ. (27 ก.ย.) ที่กระทรวงแรงงาน (รง.) กลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมนายจ้างอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ และสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เข้าร่วมหารือกับ นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เกี่ยวกับแนวทางปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท โดยจะมีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 40% ภายในวันที่ 1 ม.ค.2555 และปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท เท่ากันทั่วประเทศ ภายในวันที่ 1 ม.ค.2556 นายสัมพันธ์ ศิลปนาฎ นายกสมาคมสมาคมนายจ้างอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ กล่าวว่า สมาคมมี 47 บริษัท จากการที่ได้ประชุมสมาคมไม่ขัดข้องเรื่องนโยบาย แต่เรามองความเป็นอยู่เรื่องรายได้มากกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ อยากให้มองรวมถึงรายได้คงที่ที่เป็นตัวเงินที่ได้รับ เช่น ค่าครองชีพ ค่าเดินทาง ค่ากะกลางวัน-กลางคืน ค่าอาหาร และอื่นๆ อยู่บนพื้นฐานการทำงาน 8 ชม.ไม่รวมเบี้ยขยัน โอที ค่าทักษะทำงานยาก ซึ่งจะอยู่ที่ประมาณ 30-60 บาทต่อวัน แล้วแต่บริษัท หรือตกประมาณไม่เกิน 1,800 บาทต่อเดือน แล้วไปรวมกับเงินเดือนตามค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งบางบริษัทมีแค่ค่าจ้างขั้นต่ำรายวัน แต่ไม่มีค่าสวัสดิการใช้จ่ายเหล่านี้ให้กับแรงงาน จึงคิดว่าน่าจะนำรายได้เหล่านี้มาคำนวณรวมกับค่าจ้างขั้นต่ำ โดยครึ่งหนึ่งของกลุ่มธุรกิจไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์พร้อมทำได้เลยตาม เงื่อนไขนี้ ส่วนอีกครึ่งหนึ่งยังไม่มีพร้อมก็ให้ปรับเป็นขั้นบันได โดยค่อยๆปรับขึ้นในระยะเวลา 3 ปี เพราะการปรับครั้งนี้เป็นการปรับโครงสร้างของประเทศ ทำให้นายจ้างปรับต้นทุนการผลิตไม่ทัน “ทุกวันนี้แรงงานในกลุ่มธุรกิจไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์รับรายได้ทั้งหมด อยู่ที่ประมาณ 10,000-12,000 บาทต่อเดือน ถ้าไม่รวมโอทีจะอยู่ที่ประมาณ 8,000 บาท ซึ่งถ้ามีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท โดยไม่นำค่าสวัสดิการมาคิดรวมด้วยอาจจะเกิดการยกเลิกโอที ค่าประกันสุขภาพ เงินกองทุนสะสมที่ให้กัน 5-10% ที่ให้เมื่อตอนออกจากงาน ก็อาจจะต้องล่มสลายไป เพราะกลุ่มธุรกิจนี้เกือบทั้งหมดไม่ได้ประโยชน์จากการลดภาษีนิติบุคคลเพราะ ได้ใช้สิทธิ์บีโอไอ ซึ่งได้สิทธิ์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลอยู่แล้ว” นายสัมพันธ์ กล่าว นายสัมพันธ์ กล่าวอีกว่า คิดว่าคนน่าตกงานกันมากขึ้น เพราะบริษัทใหญ่ๆ มีทางที่จะปรับตัวเอง ใช้เครื่องจักรมากขึ้น คัดกรองคนงานมากขึ้น ส่วน SME คงจะย้ายฐานการผลิตมากขึ้น ถ้ามีการปรับขึ้นในส่วนของ 7 จังหวัด แรงงานจะเทมาที่ 7 จังหวัดที่ได้ 300 บาท ส่วนจะมาปรับ 300 ให้ครบทุกจังหวัดในปีต่อมา เชื่อว่าพนักงานก็อิ่มตัวแล้ว ไม่อยากเคลื่อนย้ายอีก ซึ่งผมมองว่าควรสนับสนุนเพิ่มค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานมากกว่า ส่วนเรื่องจะพัฒนาแรงงานฝีมือเป็นแรงงานฝีมือรวดเดียว 3 เดือน คิดว่าเป็นไปได้ยาก เพราะแค่ธุรกิจไฟฟ้าที่มีแรงงานกว่าแสนคน 80% เป็นแรงงานไร้ฝีมือ คิดว่าต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรในการพัฒนาฝีมือ นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า การเสนอสิ่งหนึ่งออกมาเป็นปกติที่ต้องมีบางกลุ่มที่ไม่เห็นด้วย แต่ผมต้องเคาะระฆัง เพื่อเป็นแนวทางเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง แต่ถ้ากลุ่มไหนมีผลกระทบ ผมก็จะประสานหลายๆ หน่วยงานให้ ซึ่งตอนนี้ถ้ามีปัญหาอะไรก็จะขอแลกเปลี่ยน ผมมองว่า ที่ทำตามนโยบายนี้ก็เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม ไม่ได้มีในเรื่องของผลประโยชน์หรือการทุจริต แต่เป็นการปรับรายได้ขั้นต่ำที่มีประโยชน์ต่อลูกจ้าง เพราะที่ผ่านมามีการปรับขึ้นเพียงไม่กี่บาท ซึ่งพอมีการปรับขึ้นแล้วเงินเฟ้อก็ตามทัน ซึ่งคิดว่านโยบายนี้จะช่วยแรงงานจริงๆ โดยในปีแรกอาจจะมีผลกระทบบ้างแต่ก็ต้องทำ “ข้อดีของการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 2 ระดับ เช่น มีเวลาให้นายจ้างปรับตัว มีเวลาให้แรงงานพัฒนาฝีมือแรงงาน และยังช่วยลดการกดดันของแรงงานที่คาดหวังในนโยบายนี้ โดยเห็นว่าการนำค่าสวัสดิการมารวมเป็นค่าจ้างขั้นต่ำนั้นขึ้นอยู่กับสัญญา ที่นายจ้างตกลงกับลูกจ้างซึ่งสามารถทำได้ และเชื่อว่าหากมีการไล่คนงานออกจะมีสถานประกอบการอื่นๆ รองรับ” ปลัดแรงงาน กล่าว นางกรพินฐ์ พนาสันติภาพ ผู้ประกอบการกลุ่มธุรกิจไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาประมาณ 10 ปี การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอยู่ที่ประมาณ 40 บาท แต่ตอนนี้ภายในปีเดียวจะต้องปรับขึ้นไปกว่า 80 บาท ซึ่งคิดว่ากระชากเกินไป แล้วแรงงานเดิมที่ทำงานอยู่ก็ต้องขยับปรับขึ้นไปอีก เพื่อความเป็นธรรม ส่วนการยกระดับผลิตภาพแรงงานคิดว่าไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะเราได้ทำอยู่แล้ว จากธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงทำให้ต้องมีการพัฒนาฝีมือแรงงานอยู่ตลอดเวลา ส่วนการใช้สิทธิ์การลดค่าใช้จ่ายสองเท่าจากการพัฒนาฝีมือแรงงานเราได้ใช้ สิทธิ์ตรงนี้อยู่แล้ว ส่วนเรื่องจะให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เราก็มีภาระตรงนี้อยู่แล้วเพราะไม่มีสินทรัพย์ไปให้กู้แล้ว ทั้งนี้มีการนำแนวทางเหล่านี้เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการค่าจ้างกลางอีกครั้งในวันที่ 5 ต.ค.นี้ (ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 27-9-2554) อีสานโพลเผยลูกจ้างอีสานยอมให้ทยอยปรับขึ้นค่าแรงหากไม่ส่งผลกระทบกับการจ้างงาน อาจารย์ประเสริฐ วิจิตรนพรัตน์ หัวหน้าโครงการสำรวจอีสานโพล ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน(ECBER) เปิดเผยผลสำรวจในประเด็น “ค่าแรง300บาทกับลูกจ้างอีสาน”จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างลูกจ้างรายวันจำนวน 400 รายในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นระหว่างวันที่ 20-23 ก.ย.ที่ผ่านมาพบว่า ลูกจ้างส่วนใหญ่ร้อยละ 39.7จะได้รับผลกระทบระดับปานกลางจากนโยบายดังกล่าวหากรัฐบาลไม่ดำเนินการใน ทันที รองลงมาร้อยละ 21.2 บอกว่าไม่ได้รับผลกระทบ ส่วนร้อยละ20 ระบุว่าจะได้รับผลกระทบมากและร้อยละ 13 บอกว่าจะได้รับผลกระทบมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 6ได้รับผลกระทบน้อย อย่างไรก็ตาม เมื่อถามความเห็นว่าหากนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท/วัน มีการดำเนินการในทันทีแล้วเกิดผลกระทบในด้านต่างๆ ลูกจ้างจะเห็นด้วยหรือไม่ พบว่า 1) หากส่งผลกระทบต่อสวัสดิการต่างๆ ที่เคยได้รับ ร้อยละ 65.5 ไม่เห็นด้วย 2) หากส่งผลให้นายจ้างลดจำนวนแรงงาน ส่วนใหญ่ร้อยละ 71.1 ไม่เห็นด้วย 3) หากส่งผลให้ชั่วโมงทำงานเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่ ร้อยละ 52.9 ไม่เห็นด้วย และ 4)หากค่าแรงเพิ่มแล้วส่งผลให้ราคาสินค้าทั่วไปปรับเพิ่มขึ้นตาม ร้อยละ 40.9 ไม่เห็นด้วย สำหรับอัตราค่าแรงที่ลูกจ้างรายวันได้รับในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ต่ำกว่า 180 บาท/วัน ร้อยละ 37.7 รองลงมาได้ค่าแรง 180-199 บาท/วัน ร้อยละ 28.1 ได้ค่าแรง 250 บาทขึ้นไป/วัน ร้อยละ 20.0 และได้แรง 200-249 บาท/วัน ร้อยละ 14.2 เมื่อสำรวจความคิดเห็นในส่วนของรูปแบบและระยะเวลาในการปรับขึ้นค่าแรง ขั้นต่ำ พบว่า ลูกจ้างส่วนใหญ่ร้อยละ 54.8 เห็นด้วยกับวิธีการทยอยขึ้นค่าแรง หากการทยอยขึ้นค่าแรงจะไม่ส่งกระทบกับตัวแรงงาน และอีกร้อยละ 45.2 ไม่เห็นด้วยกับการใช้วิธีทยอยปรับขึ้น ทั้งนี้ในส่วนของลูกจ้างที่เห็นด้วยกับการทยอยปรับขึ้นค่าแรงนั้น ได้เสนอความเห็นในเรื่องรูปแบบและระยะเวลาในการปรับขึ้นว่า อัตราที่ควรปรับเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือระหว่าง 50-99 บาท มากที่สุด ร้อยละ 42.3 รองลงมาควรปรับขึ้นในอัตราไม่เกิน 50 บาท ร้อยละ 38.9 และปรับขึ้นในอัตรา 100 บาทขึ้นไป ร้อยละ 18.8 ระยะเวลาในการปรับขึ้น ลูกจ้างเห็นว่าควรดำเนินการภายในระยะเวลา 1-3 เดือน มากที่สุดร้อยละ 87.1 รองลงมาควรดำเนินการภายใน 4-6 เดือน ร้อยละ 12.5 และภายใน 10-12 เดือน ร้อยละ 0.4 หากนายจ้างมีการปรับค่าจ้างเพิ่มขึ้น ลูกจ้างร้อยละ 26.1 มองว่าจะเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้จ่ายเป็นค่าอาหารได้เพิ่มขึ้น รองลงมาร้อยละ 23.8 จะใช้เก็บเป็นเงินออม ร้อยละ 20.3 จะนำไปเป็นค่าใช้จ่ายการศึกษาของบุตรหลาน อีกร้อยละ 17.0 จะนำไปใช้ซื้อสินค้าอุปโภคทั่วไป และเพื่อกิจกรรมอื่นๆ ร้อยละ 12.8 ส่วนมาตรการช่วยเหลือจากรัฐบาลที่ลูกจ้างรายวันต้องการเป็นลำดับแรก ได้แก่ มาตรการเรื่องค่าแรง มากที่สุด ร้อยละ 37.0 รองลงมา การควบคุมราคาสินค้าร้อยละ 35.0 การปราบยาเสพติด ร้อยละ 12.8 การป้องกันน้ำท่วมและจัดการน้ำ และอื่นๆ ตามลำดับ อาจารย์ประเสริฐกล่าวว่านโยบายการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300บาท/วัน เป็นมาตรการที่ละเอียดอ่อนทั้งในแง่เศรษฐกิจและความรู้สึกของทั้งฝ่ายผู้ ประกอบการและลูกจ้าง ทั้งสองฝ่ายควรมีการหารือเรื่องนี้ร่วมกันเพื่อให้เกิดความเข้าใจ และมีทางออกที่น่าพึงพอใจทั้งสองฝ่าย รวมไปถึงเริ่มปรับตัวก่อนการใช้นโยบายจริง นอกจากนั้น ในส่วนของรัฐบาลเองก็ควรศึกษาผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ประกอบการและ ประชาชนทั่วไปอย่างรอบคอบ กล้าตัดสินใจดำเนินนโยบายที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อสังคม และเตรียมมาตรการช่วยเหลือกับผู้ได้รับผลกระทบให้ตรงจุดอีกด้วย ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างที่ทำการสำรวจทั้งหมด 400 ราย ส่วนใหญ่เป็นลูกจ้างในโรงงาน จำนวน 232 ราย (ร้อยละ 60.7) ลูกจ้างทั่วไป จำนวน 124 ราย (ร้อยละ 32.5) โดยแบ่งเป็นลูกจ้างภาคการค้าร้อยละ 59.3 และภาคบริการร้อยละ 40.7 รับเหมาก่อสร้างจำนวน 24 ราย (ร้อยละ 6.3) และอื่นๆ จำนวน 2 ราย (ร้อยละ 0.5) ส่วนสวัสดิการที่เคยได้รับจากนายจ้าง ส่วนใหญ่เป็นประกันสังคม ร้อยละ 31.8 รองลงมาได้แก่ เสื้อผ้า ร้อยละ 21.0 รถรับ-ส่ง ร้อยละ 15.3 ค่าล่วงเวลา ร้อยละ 15.0 อาหาร 7.8 และอื่นๆ ร้อยละ 9.0 (ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 28-8-2554) \มอลลิเก้เฮลท์แคร์\" บุกรง.ร้องเลิกจ้าง17คนงานไม่เป็นธรรม วันนี้ (28 ก.ย.) เวลา 11.00 น. กลุ่มสหภาพแรงงานมอลลิเก้เฮลท์แคร์ซึ่งผลิตอุปกรณ์ด้านการแพทย์ อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการประมาณ 80 คนได้มายื่นหนังสือถึงนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รม ว.แรงงานเพื่อขอให้ช่วยเหลือแกนนำสหภาพแรงงานฯ 17 คน ซึ่งถูกบริษัทมอลลิเก้เฮลท์แคร์เลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรมได้กลับเข้าทำงาน ตามเดิมโดยนายสง่า ธนสงวนวงศ์ เลขานุการรมว.แรงงานได้เป็นตัวแทนรมว.แรงงานรับหนังสือร้องเรียนไว้ น.ส.ลักษณา บุณที เลขาธิการกลุ่มสหภาพแรงงานมอลลิเก้เฮลท์แคร์ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนส.ค.ที่ผ่านมาสหภาพแรงงานได้เรียกร้องให้บริษัทปรับ สภาพการจ้างงานโดยเพิ่มค่าครองชีพจากเดิมอยู่ที่ 1

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net