พม่าส่งกำลังทหารเข้าประจำในรัฐฉาน 200 กองพัน

กลุ่มต่อต้านรัฐบาลทหารพม่าเผย กองทัพพม่าส่งกำลังเข้าประจำในรัฐฉานมากสุด มีมากกว่า 200 กองพัน ทั้งหน่วยทหารราบ ขีปนาวุธ ปืนใหญ่ รถถัง และหน่วยสื่อสาร นอกนั้นยังมีหน่วยป้องกันชายแดนจากกองกำลังที่ตั้งขึ้นจากกลุ่มชาติพันธุ์อีก แฟ้มภาพทหารกองทัพพม่า (Photo: mmmilitaty.blogspot.com) เมื่อเร็วๆ นี้ กลุ่มเครือข่ายเพื่อประชาธิปไตยและการพัฒนา (Network for Democracy and Development – NDD) ซึ่งเป็นกลุ่มต่อต้านรัฐบาลทหารพม่า ได้เผยแพร่หนังสือรายงานผลการวิจัยเกี่ยวกับการทหารกองทัพพม่ารวมถึงราย ละเอียดพรรคสหภาพเอกภาพและการพัฒนา USDP ที่อยู่ภายใต้การสนับสนุนของกองทัพและชนะการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์ เมื่อปลายปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ หนังสือรายงานฉบับดังกล่าว ซึ่งมีชื่อว่า “การบริหารด้านพลเรือนและกำลังทหารในพม่า” (Civil and Military Administrative Echelon) มีความหนา 450 หน้า ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับที่ตั้งกองทัพภาค ที่ตั้งกองพล และกองพัน รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกองทัพพม่าที่ประจำอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ เฉพาะในรัฐฉาน ซึ่งมีพรมแดนติดกับประเทศจีน ไทย และลาว มีกำลังทหารพม่าหน่วยต่างๆ เข้าประจำการมากกว่า 200 กองพัน และยังเป็นที่ตั้งกองบัญชาการกองทัพภาคถึง 4 กองทัพภาค ได้แก่ กองทัพภาคตะวันออก มีบก.อยู่ที่เมืองตองจี (รัฐฉานภาคใต้) กองทัพภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีบก.อยู่ที่เมืองล่าเสี้ยว (รัฐฉานภาคเหนือ) กองทัพภาคสามเหลี่ยม มีบก.อยู่ที่เมืองเชียงตุง (รัฐฉานภาคตะวันออก) และกองทัพภาคตะวันออกกลาง (เพิ่งตั้งใหม่) มีบก.อยู่ที่เมืองกาลิ โขหลำ (รัฐฉานตอนกลาง) โดยกองทัพภาคตะวันออก มีกำลังทหารในสังกัด 50 กองพัน แบ่งเป็นกองพันทหารราบ 19 กองพัน กองพันทหารราบเบา 31 กองพัน โดยประจำการอยู่ในรัฐคะยาห์ 10 กองพัน ที่เหลือ 40 กองพันอยู่ในรัฐฉาน ส่วนกองทัพภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีกำลังทหาร 47 กองพัน เป็นกองพันทหารราบ 27 กองพัน กองพันทหารราบเบา 20 กองพัน กองทัพภาคสามเหลี่ยม (เชียงตุง) มีกำลังทหาร 39 กองพัน แบ่งเป็นกองพันทหารราบ 14 กองพัน และกองพันทหารราบเบา 25 กองพัน ในส่วนของกองทัพภาคตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นกองทัพภาคตั้งขึ้นใหม่มีกำลังพลในสังกัด 26 กองพัน เป็นกองพันทหารราบ 16 กองพัน และกองพันทหารราบเบา 10 กองพัน โดยกำลังพลในแต่ละกองพันโดยเฉลี่ยมีประมาณ 200 นาย นอกจากนี้ ในรัฐฉานยังมีกำลังพลหน่วยต่างๆ ของกองทัพพม่าประจำอีกนับสิบกองพัน เช่น กองพันป้องกันภัยทางอากาศมี 8 กองพัน กองพันรถถัง 4 กองพัน กองพันยานยนต์หุ้มเกราะ 3 กองพัน กองพันทหารช่าง 5 กองพัน กองพันปืนใหญ่ 39 กองพัน กองพันขีปนาวุธ 2 กองพัน และกองพันสื่อสาร 5 กองพัน ซึ่งรวมกำลังพลแล้วมีมากถึง 217 กองพัน ทั้งนี้ ยังไม่นับรวมกำลังพลจากกองกำลังหน่วยพิทักษ์ชายแดน BGF ซึ่งเป็นกองกำลังจากกลุ่มชาติพันธุ์ที่รัฐบาลให้การสนับสนุนซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 5 กองพัน ทั้งนี้ รัฐฉานถือเป็นรัฐยุทธศาสตร์สำคัญของรัฐบาลทหารพม่า เนื่องจากเป็นรัฐมีพื้นที่ใหญ่สุดและมีกองกำลังติดอาวุธมากที่สุด ที่สำคัญมีพรมแดนติดกับประเทศไทย ลาว และจีน ที่เปรียบเสมือนพี่เลี้ยงใหญ่ของพม่า จากการที่มีกำลังทหารเข้าประจำการเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดปัญหาการละเมิดสิทธิประชาชน ทั้งการบังคับใช้แรงงาน เกณฑ์ลูกหาบ เกณฑ์ยานพาหนะ การบังคับโยกย้ายหมู่บ้าน ตลอดจนการปล้นสะดม รวมถึงการละเมิดทางเพศอย่างต่อเนื่อง ตามรายงานของมูลนิธิสิทธิมนุษยชนไทใหญ่ SHRF (Shan Human Rights Foundation) และกลุ่มเครือข่ายปฏิบัติงานเพื่อสตรีไทใหญ่ SWAN (Shan Woman's Action Network) ระบุว่า ระหว่างปี 2539-2544 เกิดเหตุทารุณกรรมทางเพศเด็กและสตรีในรัฐฉานจากการกระทำของทหารพม่าถึง 173 เหตุการณ์ มีสตรีตกเป็นเหยื่อ 625 คน ทั้งหมดถูกทารุณกรรมทางเพศโดยทหารพม่าทั้งระดับประทวนและชั้นสัญญาบัตร ขณะที่รายงานหนังสือ \ผู้ถูกช่วงชิง\" จากมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งรัฐฉาน SHRF ระบุ ระหว่างปี 2539 - 2540 กองทัพพม่าได้ใช้ยุทธการตัดสี่ (4 cuts) ต่อกลุ่มต่อต้าน โดยสั่งบังคับโยกย้ายหมู่บ้านกว่า 1

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท