กสทช. กับภารกิจอันใหญ่หลวง

ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ

ขอแสดงความยินดีกับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ทั้ง 11 ท่านในการเข้าสู่การทำงานให้กับประเทศชาติ ซึ่งทั้ง 11 ท่านเป็นผู้เสียสละมาทำงานให้กับประเทศชาติ ซึ่งงานของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่รอท่านอยู่เป็นงานที่หนักหนาสาหัญ เพราะปัญหาที่สะสมมานานทั้งในด้านกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม ซึ่งจะขอฝากประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องให้ทั้ง 11 ท่านในฐานะคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ให้ท่านช่วยดูแล แก้ไขปัญหา และพัฒนา ให้กับประเทศชาติ ประเด็นแรก อยู่ในส่วนของกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ ตั้งแต่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 2540 ทำให้เกิดปรากฏการณ์ใหม่ขึ้นในประเทศไทยคือ วิทยุชุมชน เคเบิ้ลทีวี และโทรทัศน์ดาวเทียม ขอเริ่มต้นที่กิจการกระจายเสียง ปัจจุบัน วิทยุชุมชนได้ก้าวเข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมากในฐานะสื่อชุมชนและสื่อมวลชน ที่สามารถเข้าถึงประชาชนได้อย่างกว้างขวาง และมีจำนวนไม่น้อยกว่า 10,000 สถานีทั่วประเทศ การทับซ้อนของสัญญาณวิทยุกระจายเสียง คุณภาพของสัญญาณ พื้นที่ในการส่งสัญญาณ การกำหนดเรื่องราวต่างๆนี้ จะต้องมีกฏระเบียบ และบทลงโทษที่ชัดเจน สิ่งสำคัญคือ จะทำอย่างไรให้วิทยุชุมชนนั้นเป็นสื่อของชุมชนเพื่อชุมชนอย่างแท้จริง ต่อด้วยเรื่องของกิจการโทรทัศน์ การเกิดขึ้นของเคเบิ้ลทีวี และโทรทัศน์ดาวเทียม ยังไม่รวมไปถึงทีวีออนไลน์ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปัจจุบันหน่วยงานของรัฐได้โดดเข้ามาเปิดสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมของหน่วยงานเอง ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ กรมประชาสัมพันธ์ ยังไม่รวมของเอกชน ในปัจจุบันมีเป็นสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมจำนวนมาก เคเบิ้ลทีวีในจังหวัดต่างๆและทีวีออนไลน์ แต่ผลกระทบที่ชัดเจนของปัญหาในด้านกิจการโทรทัศน์ คือ รายการที่มีเนื้อหาหลอกลวงประชาชนให้ซื้อสินค้าและบริการ จะควบคุมดูแลและลงโทษอย่างไร ในการจัดทำแผนแม่บทกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ อยากให้แยกการทำงานออกจากกันให้ให้ชัดเจนมากขึ้นในส่วนของกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ เพราะในรายละเอียดมีความแตกต่างกันค่อนข้างชัดเจน แล้วอย่าลืมว่าจะต้องส่งเสริมสิทธิเสรีภาพในการนำเสนอข่าวสาร และความรับผิดชอบต่อการนำเสนอข่าวสาร ของกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ ประเด็นที่สอง อยู่ในส่วนของกิจการโทรคมนาคม ซึ่งเรื่องนี้คงจะหนีไม่พ้นในเรื่องของ 3G ซึ่งจะทำอย่างไรให้โครงข่าย 3G เกิดขึ้นอย่างถูกต้องตามกฏหมาย อยากให้มองไปที่อนาคตว่าการใช้งานด้านอินเตอร์เน็ตไร้สายจะเพิ่มมากขึ้น จพวางแผนให้การใช้งานสามารถครอบคลุมได้ทั่วประเทศ ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงและสามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้อย่างเท่าเทียมกัน การใช้งานดาวเทียมของประเทศไทยจะทำอย่างไร จะทำอย่างไรให้การแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรมในกิจการโทรคมนาคม ซึ่งในการวางแผนแม่บทด้านกิจการโทรคมนาคม ขอให้ดูแลในด้านการคุ้มครองผู้บริโภคโดยการให้บริการของบริษัทนั้นมีความเป็นธรรมกับผู้ใช้งาน ว่าจะด้านคุณภาพและราคาที่เหมาะสม ไม่หลอกลวงประชาชนผู้ใช้บริการ ซึ่งงานทั้งหมดที่ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จะต้องดูแลนั้นจำเป็นจะต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม เพียงพอต่อการทำงาน การบริหารทรัพยากรบุคคลที่ทำให้การทำงานนั้นสามารถเดินไปข้างหน้า สุดท้ายในการจัดทำแผนแม่บททั้งกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม จะต้องให้ประชาชนและประเทศชาติได้รับผลประโยชน์สูงสุด และเกิดเสรีในการแข่งขัน ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญปี 2550 ในมาตรา 47 ที่ว่า คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคมเป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ เพราะคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ทั้ง 11 ท่าน ได้เกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญมาตรานี้เช่นกัน

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท