สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 15 - 21 ต.ค. 2554

ท่วมโรงงานกระทบลูกจ้าง 3.5 แสน นายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน(กสร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า จากข้อมูลของสำนักงานแรงงานจังหวัด ณ วันที่ 15 ต.ค.เวลา 12.00 น. พบว่า ภาพรวมใน 15 จังหวัดทั่วประเทศมีสถานประกอบการได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมกว่า 10,368 แห่งและมีลูกจ้างได้รับความเดือดร้อน 352,025 คน อย่างไรก็ตาม หากสถานการณ์น้ำท่วมยังยืดเยื้อคาดว่าจะทำให้แรงงานได้รับผลกระทบเสี่ยงต่อ การถูกเลิกจ้างประมาณ 1 แสนคน เนื่องจากสถานประกอบการไม่สามารถฟื้นฟูได้ทันและไม่สามารถทนแบกรับการจ่าย ค่าจ้างได้นาน ขณะที่ลูกจ้างก็ได้รับค่าจ้างไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยไม่เพียงพอค่าใช้จ่าย อาจจะต้องมีการเคลื่อนย้ายหางานใหม่ซึ่งบางส่วนอาจจะต้องตกงาน ทั้งนี้ ในจำนวนนี้ในส่วนของจ.พระนครศรีอยุธยามีสถานประกอบการถูกน้ำท่วม 616 แห่ง ลูกจ้างได้รับความเดือดร้อน 195,406 คนแยกเป็นนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนครมีสถานประกอบการ 49 แห่ง ลูกจ้าง 10,882 คน นิคมอุตสาหกรรมโรจนะมีสถานประกอบการ 236 แห่ง ลูกจ้าง 99,751 คน นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า(ไฮเทค)มีสถานประกอบการ 143 แห่ง ลูกจ้าง 51,168 คน นิคมอุตสาหกรรมบางปะอินมีสถานประกอบการ 89 แห่ง ลูกจ้าง 27,590 คน และนิคมอุตสาหกรรมแฟคตอรี่แลนด์ วังน้อยมีสถานประกอบการ 99 แห่ง ลูกจ้าง 6,015 คน “ส่วนนิคมอุตสาหกรรมที่ยังไม่ได้ถูกน้ำท่วม ยังไม่ได้หยุดกิจการและเป็นจุดเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังคือ ที่จ.ปทุมธานีได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมนวนครซึ่งมีสถานประกอบการ 227 แห่ง ลูกจ้าง 270,000 คน นิคมอุตสาหกรรมบางกระดีมีสถานประกอบการ 44 แห่ง ลูกจ้าง 12,000 คน รวมทั้งในกรุงเทพฯได้แก่ นิคมลาดกระบังมีสถานประกอบการ2,083 คน ลูกจ้าง 86,965 คน และนิคมอุตสาหกรรมบางชันมีสถานประกอบการ 2,081 แห่ง ลูกจ้าง 48,105 คน ทั้งนี้ ส่วนที่เกิดเหตุระเบิดภายในโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า(ไฮเทค) จ.พระนครศรีอยุธยานั้นมีลูกจ้างคนไทยได้รับบาดเจ็บ 1 ราย ขณะนี้อาการปลอดภัยและกลับบ้านแล้ว ” อธิบดีกสร. กล่าว นายอาทิตย์ กล่าวอีกว่า บ่ายวันนี้(15ต.ค.)ตนได้หารือกับตัวแทนนายจ้างและลูกจ้างจากจ.ชลบุรี สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยาและนครปฐมเกี่ยวกับการดำเนินโครงการเพื่อช่วยเพื่อนเพื่อ ช่วยเหลือลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในจังหวัดต่างๆโดยหาตำแหน่งรอง รับให้แก่ลูกจ้างที่เดือดร้อนซึ่งได้ข้อสรุปว่า มีสถานประกอบการ 22 แห่งจากใน 8 จังหวัดได้แก่ จ.ปทุมธานี เพชรบุรี ชลบุรี สระบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม และประจวบคีรีขันธ์มีตำแหน่งงานรองรับ 18,857 อัตรา ซึ่งกสร.จะนำรายละเอียดตำแหน่งงานในแต่ละจังหวัดใส่ลงเวบไซต์ www.labour.go.th ในวันที่ 17 ต.ค.นี้ “จากการหารือสรุปว่าจะมีการจ้างงานชั่วคราวเป็นเวลา 2-3 เดือน แต่นายจ้างเป็นห่วงเรื่องของประกันสังคมและระบบภาษี ซึ่งเป็นเรื่องรายละเอียดปลีกย่อย ผมได้บอกแก่นายจ้างว่าอะไรที่ช่วยผ่อนปรนได้ก็ขอให้ผ่อนปรนเพราะเป็นการจ้าง งานชั่วคราวและได้รับปากที่จะไปประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานประกันสังคม(สปส.) ส่วนลูกจ้างที่เข้าร่วมโครงการนั้นยังคงใช้สิทธิประกันสังคมได้เช่นเดิม และกรณีบาดเจ็บจากการทำงานสถานประกอบการในโครงการที่เป็นผู้จ้างงานต้องดูแล รับผิดชอบ” นายอาทิตย์ กล่าว อธิบดีกสร. กล่าวด้วยว่า กสร.เตรียมหามาตรการรองรับแรงงานที่อาจจะต้องถูกเลิกจ้างโดยเตรียมเสนอของบ ประมาณเพิ่มเติม 200 ล้านบาทจากรัฐบาลมาเพิ่มเติมในกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างซึ่งปัจจุบันมีเงิน อยู่แล้วประมาณ 230 ล้านบาท เพื่อเตรียมรับมือกับแรงงานที่อาจจะถูกเลิกจ้าง ทั้งนี้ ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างสามารถมายื่นคำร้องต่อสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จังหวัดทั่วประเทศหรือที่กระทรวงแรงงานเพื่อให้เจ้าหน้าที่ออกหนังสือคำสั่ง ให้จ่ายค่าชดเชย หากนายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย ทางกสร.จะนำเงินจากกองทุนมาจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในอัตราดังนี้ สำหรับลูกจ้างที่ทำงานตั้งแต่ 120 วันแต่ไม่เกิน 3 ปี จะได้รับค่าชดเชย 30 เท่าของค่าจ้างขั้นต่ำแต่ละพื้นที่ ลูกจ้างที่ทำงานตั้งแต่ 3 ปีแต่ไม่เกิน 10 ปี จะได้รับค่าชดเชย 60เท่า ของค่าจ้างขั้นต่ำแต่ละพื้นที่ และลูกจ้างที่ทำงานตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป จะได้รับค่าชดเชย 90เท่า ของค่าจ้างขั้นต่ำแต่ละพื้นที่ นอกจากนี้ ในกรณีที่นายจ้างค้างจ่ายค่าจ้างกองทุนสามารถช่วยเหลือในการจ่ายค่าจ้างไม่ เกิน 60เท่า ของค่าจ้างขั้นต่ำของแต่ละพื้นที่ซึ่งแต่ละบุคคลจะได้ไม่เท่ากัน นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน(กกจ.) กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า กกจ.ได้เตรียมแผนฟื้นฟูอาชีพให้แก่ประชาชนที่ประสบอุทกภัยโดยมาตรการแรกได้ มีโครงการจ้างงานเร่งด่วนซึ่งได้รับอนุมัติงบประมาณจากรัฐบาลแล้ว 236 ล้านบาทจากกรอบวงเงินดำเนินโครงการ 300 ล้านบาท ซึ่งเป็นการจ้างงานรายวันให้ค่าจ้างวันละ 150 บาทโดยจ้างงานไม่เกินคนละ 20 วัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นงานเกี่ยวกับการบูรณะฟื้นฟูอาคารบ้านเรือนและชุมชนของตนเอง นอกจากนี้ ภายหลังน้ำลดได้ให้มีการจัดงานนัดพบแรงงานเร่งด่วนกระจายไปตามจังหวัดที่ได้ รับผลกระทบโดยเน้นตำแหน่งงานที่ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท และภายในงานก็จะมีการเปิดลงทะเบียนแรงงานที่ต้องการไปทำงานต่างประเทศซึ่ง ขณะนี้ได้เจรจากับประเทศอิสราเอลที่สามารถส่งแรงงานไปทำงานในแบบรัฐต่อรัฐ โดยเสียค่าใช้จ่ายตามจริงซึ่งตามกฎหมายไว้ไม่เกินคนละ 7 หมื่นบาท อธิบดีกกจ. กล่าวอีกว่า ขณะนี้กกจ.ได้เตรียมตำแหน่งงานว่างไว้รองรับแรงงานที่ได้รับผลกระทบไว้จำนวน 86,341 อัตราไว้รองรับ ส่วนใหญ่เป็นงานด้านการบริการ สายการผลิตและสายช่าง รวมประมาณกว่า 57,000 อัตรา ที่เหลือเป็นงานด้านภาคการเกษตร และตำแหน่งงานส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดสมุทรสาคร สมุทรปราการ ระยอง ชลบุรี ปราจีนบุรี (คมชัดลึก, 15-10-2554) คาดแรงงานนิคมอยุธยา อาจตกงาน 3-10 เดือน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยระบุถึงปัญหาที่น่ากังวลหลังจากวิกฤตน้ำท่วม ผ่านพ้นไป คือจะมีแรงงานถึงหลักแสนคนในพื้นที่จังหวัดพระนครอยุธยาอาจต้องหยุดงานนาน 3 -10 เดือน ขึ้นอยู่กับระยะเวลาของแต่ละโรงงานที่ฟื้นฟูให้สายงานการผลิตกลับมาเป็นปกติ ทั้งนี้สภาอุตสาหกรรมระบุว่ากลุ่มแรงงานที่น่าห่วงมากที่สุด คือพนักงานรับเหมาช่วง ที่มีสัดส่วนกว่าร้อยละ 30 ของการจ้างงาน เพราะไม่มีสัญญาจ้างระยะยาว ด้านกระทรวงแรงงานระบุถึงการเตรียมงานไว้ 60 ประเภท เพื่อรองรับแรงงาน ซึ่งมีสถานประกอบการเกือบ 70 แห่ง ที่พร้อมรับแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีอัตราจ้างงานเกือบ 90,000 ตำแหน่ง ขณะที่การช่วยเหลือผู้ประกอบการกระทรวงอุตสาหกรรรมเตรียมเสนอมาตรการ เยียวยาระยะยาว โดยจะขอให้รัฐบาลพิจารณาผ่อนผันการเสียค่าสาธารณูปโภคของโรงงานที่ได้รับผล กระทบออกไปอีก 6 เดือน โดยไม่ต้องเสียค่าปรับ รวมถึงยกเว้นค่าธรรมเนียมต่อใบอนุญาตโรงงานและให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (TPBS, 15-10-2554) น้ำไหลเข้า\แฟคตอรี่แลนด์\"แล้วส่งผลเขตอุตสาหกรรม 5 แห่งในอยุธยาถูกน้ำท่วมหมด \"น้ำเข้าตอนเที่ยงคืนเมื่อคืนนี้ แต่ผู้ประกอบการรู้ตัวก่อน ก็ได้อพยพคนออกมาแล้ว ...ตอนนี้ถือว่า นิคมอุตสาหกรรมและเขตอุตสาหกรรมทั้ง 5 แห่ง ถูกน้ำท่วมหมดแล้ว \" นายประยูร กล่าว แฟคตอรี่แลนด์ เป็นเขตประกอบการอุตสาหกรรม ใน อ.วังน้อย มีเนื้อที่ราว 130 ไร่ มีโรงงานตั้งอยู่ จำนวน 93 แห่ง และมีแรงงาน ประมาณ 8.5 พันคน ส่วนใหญ่เป็นโรงงาน ขนาดเล็กที่ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และ อิเลคทรอนิกส์ ป้อนโรงงานขนาดใหญ่ในนิคมอุตสาหกรรม บ้านหว้า(ไฮเทค) และ สวนอุตสาหกรรมโรจนะ \"การที่แฟคตอรีแลนด์ถูกน้ำท่วม จะเป็นผลกระทบลูกโซ่ต่อปัญหา ซัพพลาย เชน เพราะพวกนี้เป็นโรงงานขนาดเล็กที่ป้อนชิ้นส่วนให้กับโรงงานขนาดใหญ่\" นายประยูร กล่าว ส่วนระดับน้ำสูงสุดในเขตอุตสาหกรรมแห่งนี้ เขากล่าวว่า ระดับน้ำสูงสุดอยู่บริเวณ ถนนส่วนกลางโครงการ มีความสูงประมาณ 1.20 เมตร และบางโรงงานน้ำยังไม่ไหลเข้าไป เนื่องจากมีการจัดทำคันกั้นน้ำไว้ก่อนหน้านี้แล้ว แต่ก็ได้หยุดการผลิตไว้ชั่วคราว ขณะนี้ถือว่า นิคมอุตสาหกรรมและเขตอุตสาหกรรม 5 แห่ง ใน จ.พระนครศรีอยุธยา ถูกน้ำท่วมครบทุกแห่งแล้ว เริ่มตั้งแต่ นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท