Skip to main content
sharethis

(2 พ.ย.54) คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) โดยชาลี ลอยสูง ประธาน คสรท. แถลงข่าวข้อเสนอมาตรการช่วยเหลือแรงงาน โดยให้ข้อมูลว่า จากสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 20 จังหวัด ทำให้ผู้ใช้แรงงานได้รับผลกระทบ 752,439 คน สถานประกอบการโรงงานได้รับความเสียหาย 19,251 แห่ง นิคมอุตสาหกรรมน้ำท่วม 7 แห่ง ได้แก่ นิคมสหรัตนนคร จ.อยุธยา นิคมโรจนะ จ.อยุธยา นิคมไฮเทค จ.อยุธยา นิคมบางปะอิน จ.อยุธยา นิคมแฟคตอรี่แลนด์ จ.อยุธยา นิคมนวนคร จ.ปทุมธานี นิคมบางกะดี จ.ปทุมธานี ชาลีระบุว่า วิกฤตการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นนี้จะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย การวางมาตรการในการแก้ไขปัญหาผู้ใช้แรงงานในภาคอุตสาหกรรมแรงงานนอกระบบ เกษตรกร คนจนเมือง จะต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ ผู้ใช้แรงงานและองค์กรแรงงานควรมีส่วนร่วมในทุกระดับ ครอบคลุมแรงงานในทุกภาคส่วน มีผลบังคับใช้ต่อนายจ้างที่เป็นผู้ประกอบการโดยตรง และนายจ้างรับเหมาค่าแรง โดย คสรท. มีข้อเสนอต่อการกำหนดนโยบายและมาตรการผลกระทบจากน้ำท่วม ดังต่อไปนี้ 1. ข้อเสนอต่อมาตรการของกระทรวงแรงงาน สำนักงานประกันสังคม และสภาอุตสาหกรรม มาตรการ สภาพปัญหา ข้อเสนอ 1.1 การช่วยเหลือผู้ใช้แรงงานในสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย เดือนละ 3,000 บาท (กระทรวงแรงงาน) 1. ผู้ใช้แรงงานขาดหลักประกันการว่างงาน 2. ผู้ใช้แรงงานขาดหลักประกันในอัตราค่าจ้าง 1. ผู้ใช้แรงงานต้องได้รับค่าจ้างเต็ม 2. นายจ้างจะต้องไม่เลิกจ้างในช่วงประสบภัย 1.2 โครงการเพื่อนช่วยเพื่อน (กระทรวงแรงงาน) 1. สถานประกอบการแห่งใหม่มีสิทธิประโยชน์และสภาพการจ้างไม่ช้ดเจน 2. สถานประกอบการแห่งใหม่บางแห่งมีเงื่อนไขบังคับให้ลาออกจากที่เดิม 3. สถานประกอบการแห่งใหม่ไม่มีที่พัก เดินทางไกล ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 1. ผู้ใช้แรงงานที่เข้าร่วมโครงการต้องได้รับค่าจ้าง และสิทธิประโยชน์ต่างๆ เท่าเดิม 1.3 เงินกู้เพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัยของผู้ประกันตนที่ถูกน้ำท่วม 50,000 บาท (สำนักงานประกันสังคม) 1. หลักเกณฑ์เงินกู้จำกัดเฉพาะเรื่องการซ่อมแซมอยู่อาศัย 1. ควรขยายหลักเกณฑ์การกู้ยืม สำหรับค่ายานพาหนะ ทรัพย์สินอื่นๆ ไม่จำกัดเฉพาะที่อยู่อาศัย 1.4 มาตรการการประกันว่างงาน (สำนักงานประกันสังคม) 1. ผู้ใช้แรงงานเกิดความสับสน อาจทำให้เสียสิทธิประโยชน์ในการประกันการว่างงาน และอาจทำให้คนงานตกงาน 1. สปส. และหน่วยราชการกระทรวงแรงงาน ต้องชี้แจงและประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนให้ชัดเจน 1.5 นโยบายงดส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคม 1 ปี (ข้อเสนอสภาอุตสาหกรรม) 1. ระยะเวลายาวนานเกินไป 2. หลักเกณฑ์การบังคับใช้ครอบคลุมสถานประกอบการที่ไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมหรือไม่ 1. หลักเกณฑ์การบังคับใช้ครอบคลุมโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบและโรงงานที่เป็นอุตสาหกรรมเกี่ยวเนี่อง 2. ตั้งคณะกรรมการไตรภาคีระดับชาติกรณีภัยพิบัติน้ำท่วม โดยมีตัวแทนแรงงานที่ได้รับผลกระทบเป็นกรรมการ 3. งดส่งเงินสมทบ 3 เดือน 1.6 นโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท เลื่อนไปปี 2556 (ข้อเสนอจากฝ่ายนายจ้าง) 1. ผู้ใช้แรงงานมีรายได้น้อย 1. รัฐบาลต้องทำตามนโยบายที่ได้หาเสียงไว้ คือ ค่าแรง 300 บาท เท่ากันทั่วประเทศ 2. ข้อเสนอแรงงานในระบบ มาตรการ สภาพปัญหา ข้อเสนอ 2.1 สภาพการจ้าง และความมั่นคงในการทำงาน ลูกจ้างขาดความมั่นคงในการทำงาน 1. สถานประกอบการที่ขอรับมาตรการสนับสนุนของรัฐบาล อาทิ การงดส่งเงินสมทบการประกันสังคม ความช่วยเหลือด้านสินเชื่อ ต้องทำสัญญากับภาครัฐในการไม่เลิกจ้างผู้ใช้แรงงาน 2.2 การควบคุมราคาสินค้า ค่าครองชีพสูง ราคาสินค้า 1. มาตรการควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคอย่างจริงจัง 2. มีมาตรการพิเศษสำหรับผู้มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท อาทิ การมีคูปองส่วนลดสินค้า 2.3 หนี้สินคนงานที่ได้รับผลกระทบ คนงานมีหนี้สินมาก 1. ให้รัฐกำหนดนโยบายและมาตรการพักชำระหนี้สำหรับคนงานที่ได้รับผลกระทบ 6 เดือน ครอบคลุมธนาคารของรัฐ ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินอื่น(บัตรเครดิต) รวมทั้งหนี้นอกระบบ 2.4 เงินกู้ยืมแก่ผู้ใช้แรงงาน 50,000 บาท 1. ผู้ใช้แรงงานได้รับความเสียหายทางทรัพย์สิน และการสูญเสียรายได้ ที่เกิดขึ้นจากอุทกภัย 1. รัฐต้องหาแหล่งเงินกู้ปลอดดอกเบี้ยแก่ผู้ใช้แรงงาน 2. ไม่ควรมีผู้ค้ำประกัน 3. หลักเกณฑ์การกู้เงินสำหรับผู้ที่ได้รับความเสียหายทางทรัพย์สิน และสูญเสียรายได้ 2.5 การงดจ่ายเงินสมทบประกันสังคม 3 เดือน งดจ่ายเงินสมทบประกันสังคม 3 เดือน ในพื้นที่น้ำท่วม เมื่อจ่ายเงินแล้วให้คงสิทธิประโยชน์เดิม 2.6 การรักษาพยาบาลของผู้ประกันตน การเดินทางกลับต่างจังหวัด เป็นจำนวนมาก ผู้ประกันตนเข้ารักษาพยาบาลได้ทุกโรงพยาบาล 2.7 กองทุนประกันความเสี่ยง การเลิกจ้างแล้วไม่ยอมจ่ายเงินชดเชยตามกฎหมาย กองทุนประกันความเสี่ยง โดยหักจากนายจ้างและรัฐร่วมสมทบ 2.8 การทำงานในสถานประกอบการ ผู้ใช้แรงงานไม่สามารถทำงานในสถานประกอบการเพราะน้ำท่วม จึงไปทำงานในสถานประกอบการอื่นชั้วคราว ให้รัฐผ่อนผันการทำงานในสถานประกอบการอื่น และยังคงสภาพการจ้างงานเดิม 2.9 การมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและการวางมาตรการช่วยเหลือ องค์กรด้านนโยบายที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้แรงงานไม่มีกระบวนการรับฟังความเห็นจากแรงงาน นโยบายภาครัฐในการแก้ไขปัญหาจะต้องมีผู้ใช้แรงงานและองค์กรแรงงานมีส่วนร่วม 3. ข้อเสนอแรงงานนอกระบบ มาตรการ สภาพปัญหา ข้อเสนอ 3.1. หนี้สินในระบบ แรงงานนอกระบบไม่สามารถประกอบอาชีพตามปกติ เช่น เย็บผ้า ซาเล้ง แท็กซี่ 1. พักชำระหนี้สินในระบบ 3 ปี 2. ให้แรงงานนอกระบบเข้าถึงแหล่งทุนตามนโยบายของรัฐ และการส่งเสริมการประกอบอาชีพ 3.2. เงินทุนฟื้นฟูอาชีพปลอดดอกเบี้ย ไม่มีรายได้ดูแลครอบครัว กู้ยืมหนี้ในระบบและหนี้นอกระบบมา ประกอบอาชีพและดำรงชีพได้ 1. เงินทุนฟื้นฟูอาชีพปลอดดอกเบี้ย เพื่อใช้ชำระหนี้สินนอกระบบและเป็นเงินหมุนเวียนในการประกอบอาชีพ 3.3. กองทุนจัดการความเสี่ยง สำหรับแรงงานนอกระบบ 1. จัดตั้งกองทุนช่วยเหลือในการจัดการความเสี่ยง สำหรับแรงงานนอกระบบที่ประสบภัย 4. ข้อเสนอแรงงานข้ามชาติ มาตรการ สภาพปัญหา ข้อเสนอ 4.1 สิทธิแรงงานข้ามชาติ ไม่ได้รับความช่วยเหลือ ถูกเลือกปฏิบัติ ถูกส่งกลับ การเข้าถึงสิทธิแรงงาน การให้ความช่วยเหลือ ถุงยังชีพ การเข้าถึงข้อมูลมีข้อจำกัด รัฐควรให้ข้อมูลข่าวสารอย่างทั่วถึง การเดินทางออกนอกพื้นที่ถูกจับกุม และถูกเจ้าหน้าที่รีดไถ รัฐต้องออกประกาศรับรองการเดินทางออกนอกพื้นที่อย่างปลอดภัย ไม่เรียกเก็บเงิน ความชัดเจนในการเข้าไปอยู่ในศูนย์พักพิง 1. รัฐต้องให้ข้อมูลและเคารพในการอยู่ที่พักพิง 2. รัฐต้องออกประกาศให้ชัดเจนในกรณีการนำแรงงานไปทำงานต่างจังหวัด ต้องได้รับสิทธิแรงงานทางกฎหมาย 4.2 เอกสารสำคัญ และค่าจ้างค้างจ่าย นายจ้างยึดบัตรเอกสารสำคัญ และไม่จ่ายค่าจ้างค้างจ่าย 1. รัฐควรมีมาตรการให้นายจ้างคืนบัตร เอกสารสำคัญให้คนงาน เพื่อเข้าถึงการช่วยเหลือ และหางาน 2. รัฐควรมีมาตรการให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างค้างจ่ายให้แรงงานข้ามชาติ 4.3 การเดินทางกลับภูมิลำเนา แรงงานข้ามชาติเดินทางกลับจำนวนมาก รัฐต้องเปิดลงทะเบียนแรงงานข้ามชาติที่กลับบ้าน เมื่อน้ำลดสามารถกลับมาได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ชาลี กล่าวด้วยว่า รัฐบาลภายใต้การนำของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ควรวางมาตรการช่วยเหลือผู้ใช้แรงงานด้วยความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติช่วยเหลือเพียงผู้ประกอบการโรงงาน แต่ปล่อยให้ลูกจ้างถูกลอยแพจากการเลิกจ้าง และขอเรียกร้องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานแสดงบทบาทในการช่วยเหลือเยียวยาแรงงานเฉพาะหน้า และการวางมาตรการเชิงนโยบายในระยะยาวดังที่พรรคเพื่อไทยได้เคยหาเสียงไว้กับประชาชน นอกจากนี้ ประธาน คสรท. แสดงความกังวลเรื่องการย้ายฐานการผลิตที่อาจเกิดขึ้นอันอาจทำให้คนงานตกงาน จำนวนมาก โดยย้ำว่า รัฐต้องสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนว่าจะไม่เกิดปัญหาขึ้นอีก โดยเตรียมการป้องกันด้านอุทกภัยและวาตภัย เพื่อแสดงให้เห็นว่ามีความปลอดภัยด้วย บัณฑิต แป้นวิเศษ ผู้ประสานงาน \เครือข่ายช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติผู้ประสบภัยน้ำท่วม\" กล่าวว่า แรงงานข้ามชาติเกือบสองแสนคนในสามจังหวัดย่านอุตสาหกรรม ขณะนี้ ประสบปัญหาการเข้าถึงถุงยังชีพ เพราะต้องแสดงเอกสารสำคัญ ซึ่งบางส่วนถูกยึดนายจ้างยึดไว้ บางส่วนจมหายไปกับน้ำ อยากเรียกร้องว่าไม่ว่าจะมีบัตรหรือไม่ พวกเขาควรต้องได้รับถุงยังชีพ โดยอาจใช้วิธีให้ลงทะเบียนเข้าชื่อไว้ บัณฑิต เรียกร้องว่า การให้ข้อมูลการออกจากพื้นที่ประสบภัยแก่แรงงานข้ามชาติต้องทำให้ชัดเจน การจะส่งกลับต้องเป็นไปโดยสมัครใจ เพราะแรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่ยังไม่อยากกลับประเทศ ต้องการเพียงพักพิงชั่วคราวเท่านั้น การให้ข้อมูลไม่ชัดเจนหรือส่งกลับกึ่งบังคับ ทำให้มีแรงงานบางส่วนเริ่มหลบหนีจากศูนย์พักพิงแล้ว ซึ่งอาจประสบปัญหาการค้ามนุษย์ตามมาได้ นอกจากนี้ ขอให้องค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือไอแอลโอ ให้การสนับสนุนองค์กรแรงงานที่มีหน่วยประสานงานในพื้นที่อยู่แล้วเพื่อทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการ"

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net