Skip to main content
sharethis

สหภาพแรงงานในกรีซ อังกฤษ และโปรตุเกสประท้วงมาตรการรัดเข็มขัดของรัฐบาล ซึ่งนำไปสู่การตัดสวัสดิการต่างๆ รวมถึงทำให้คนตกงานเพิ่มขึ้น ด้านสายการบินแควนตัสและแอร์ฟรานซ์กำลังมีปัญหาระหว่างผู้บริหารและสหภาพแรงงานทำให้ต้องมีการประกาศหยุดบิน สหภาพแรงงานโปรตุเกสประท้วงมาตรการรัดเข็มขัดของรัฐบาล 2 ต.ค. 54 - สหภาพแรงงาน CGTP ซึ่งเป็นสหภาพแรงงานใหญ่ที่สุดของประเทศโปรตุเกส จัดการชุมนุมประท้วงครั้งใหญ่ในเมืองปอร์โต โดยมีผู้เข้าร่วมประท้วงราว 130,000 คน ขณะที่แกนนำสหภาพแรงงานใหญ่สุดของโปรตุเกสประกาศด้วยว่า จะจัดการชุมนุมประท้วงใหญ่อีกครั้งในสัปดาห์ระหว่างวันที่ 20-27 ตุลาคมนี้ โดยการประท้วงครั้งนี้มีขึ้นในช่วงเวลาเดียวกับที่รัฐบาลภายใต้การนำของพรรคสังคมประชาธิปไตยสายกลาง-ขวา ขึ้นภาษีก๊าซและไฟฟ้าอีกร้อยละ 23 จากเดิมที่ร้อยละ 6 โดยเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันนี้ ทั้งนี้ รัฐบาลโปรตุเกสต้องขึ้นภาษีดังกล่าวตามเงื่อนไขของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ ในการรับการช่วยกู้ภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ ซึ่งรัฐบาลต้องใช้มาตรการรัดเข็มขัด ซึ่งรวมถึงการขึ้นภาษี เพื่อแก้ปัญหาเงินงบประมาณขาดดุลด้วย สมาชิกสหภาพแรงงานอังกฤษหลายหมื่นคน รวมตัวประท้วงแผนการรัดเข็มขัดของภาครัฐ 3 ต.ค. 54 - สมาชิกสหภาพแรงงานกลุ่มต่างๆ ในอังกฤษ รวมแล้วกว่า 35,000 คน ร่วมกันชุมนุมประท้วงแผนการรัดเข็มขัดของภาครัฐ ระหว่างการเปิดประชุมประจำปีพรรคอนุรักษ์นิยมของนายกรัฐมนตรีเดวิด แคเมอรอน ที่เมืองแมนเชสเตอร์ เมื่อวานนี้ โดยสหภาพแรงงานทียูซี ซึ่งเป็นหัวเรือใหญ่จัดการชุมนุมหนนี้ ระบุว่าการประท้วงมีขึ้นเพราะพวกเขาต้องการแสดงพลังคัดค้านนโยบายแย่ ๆ ของรัฐที่กำลังจะนำพาประเทศไปสู่ความล้มจม ด้านนายมาร์ก เซอร์วอตกา หัวหน้าสหภาพแรงงาน PCS ประกาศว่าพวกเขาจะเปิดฉากการผละงานประท้วงครั้งใหญ่ทั่วประเทศเพื่อตอกย้ำจุดยืนนี้อีกครั้งในวันที่ 30 เดือนหน้า ขณะที่นายวิลเลียม เฮก รัฐมนตรีต่างประเทศ กล่าวต่อที่ประชุมพรรคอนุรักษ์นิยม โดยแก้ตัวว่ารัฐบาลชุดนี้จำเป็นต้องปรับลดงบประมาณเพื่อรับมือกับความผันผวนทางเศรษฐกิจที่เป็นผลมาจากการบริหารงานที่ผิดพลาดของรัฐบาลชุดก่อน ทั้งนี้ ทางการอังกฤษ ตั้งเป้าจะบริหารงบประมาณให้กลับสู่ภาวะสมดุลให้ได้ภายในปี 2558 นี้ ครม.กรีซ​ไฟ​เขียว​แผนปลดข้าราช​การ มุ่งลดขาดดุลงบประมาณตามข้อตกลง IMF/EU 3 ต.ค. 54 - คณะรัฐมนตรีกรีซอนุมัติมาตร​การปลดพนักงาน​ในภาครัฐรอบ​แรก ​โดยมี​เป้าหมายที่จะลดยอดขาดดุลงบประมาณ​และ​แก้​ไขวิกฤตหนี้สาธารณะ​โดย​เร็ว หลังจากกระทรวง​การคลังกรีซระบุว่า กรีซอาจจะ​ไม่สามารถบรรลุ​เป้าหมาย​การลดยอดขาดดุลงบประมาณปี 2554-2555 ตามที่​ได้ตกลง​ไว้กับกองทุน​การ​เงินระหว่างประ​เทศ (​ไอเอ็มเอฟ) ​และสหภาพยุ​โรป (อียู) แถลง​การณ์ภายหลัง​การประชุมคณะรัฐมนตรี​ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีจอร์จ ปาปัน​เดรอู ​เป็นประธานนั้น มีมติว่า ภาย​ในสิ้นปี 2554 นี้ ข้าราช​การ 30,000 คนที่อยู่​ในบัญชีรายชื่อแรงงานสำรอง จะ​ได้รับ​เงิน​เดือน​เพียง 60% ของอัตรา​เงิน​เดือน​ในปัจจุบัน​เป็น​เวลา 12 ​เดือน ก่อนที่จะถูกปลดออกจากตำ​แหน่ง ​โดยมาตร​การดังกล่าวมี​เป้าหมายที่จะลดตำ​แหน่งพนักงานที่​เป็นภาระต่องบประมาณของประ​เทศ ​และ​เพื่อ​ให้รัฐบาลสามารถบรรลุ​เป้าหมาย​การลดยอดขาดดุลงบประมาณตามที่​ได้ตกลง​ไว้กับ​ไอ​เอ็ม​เอฟ​และอียู นายอี​เลียส มอส​เซียลอส ​โฆษกรัฐบาลกรีซ กล่าวภายหลัง​การประชุมคณะรัฐมนตรี​ในวันนี้ว่า \​การลดจำนวนข้าราช​การอาจจะส่งผลกระทบทางสังคมบ้าง ​แต่รัฐบาลจำ​เป็นต้อง​ทำ​เพื่อ​ให้บรรลุ​เป้าหมาย​การลดยอดขาดดุลตามที่ตกลง​ไว้กับ​ไอ​เอ็ม​เอฟ​และอียู พร้อมกับย้ำว่า มาตร​การปลดข้าราช​การรอบ​แรก​ในครั้งนี้จะช่วย​ให้รัฐบาลประหยัดงบประมาณ​ได้​ถึง 300 ล้านยู​โร (401.64 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ​การตัดสิน​ใจครั้งล่าสุดของคณะรัฐมนตรีกรีซ​ได้สร้าง​ความ​ไม่พอ​ใจ​ให้กับประชาชนที่มารวมตัวประท้วงบริ​เวณด้านหน้าอาคารรัฐสภา ขณะที่สหภาพ​แรงงานหลาย​แห่งวาง​แผนประท้วงผละงานทั่วประ​เทศ​ในวันที่ 5 ต.ค.นี้ ​โดยระบุว่ามาตร​การปลดข้าราช​การรอบ​แรกจะนำ​ไปสู่​การปลดข้าราช​การออกจากงานอีก​เป็นจำนวนมาก​ในวันข้างหน้า กระทรวง​การคลังกรีซยอมรับว่า กรีซอาจจะ​ไม่สามารถบรรลุ​เป้าหมาย​การลดยอดขาดดุลงบประมาณ 2554-2555 ตามที่​ได้ตกลง​ไว้กับ​ไอ​เอ็ม​เอฟ​และอียู ​โดยคาดว่ายอดขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลกรีซอาจมีอยู่​ถึง 8.5% ของจีดีพี​ในปี 2554 ​ซึ่งสูงกว่า​เป้าหมายที่กำหนด​ไว้ที่ 7.6% ของจีดีพี ​และคาดว่ายอดขาดดุลงบประมาณปี 2555 จะลดลงมาอยู่ที่ระดับ 6.8% ของจีดีพี ​แต่​ก็ยังสูงกว่า​เป้าหมายที่วาง​ไว้ที่ 6.5% ของจีดีพี ​และสวนทางกับที่คาด​การณ์​ไว้ว่ารัฐบาลจะมียอด​เกินดุลงบประมาณ 1.5% ของจีดีพี เผยอินเดียใช้แรงงานเด็กสูงสุด 4 ต.ค. 54 - กระทรวงแรงงานสหรัฐเสนอรายงานว่าด้วยการใช้แรงงานเด็กทั่วโลกพบว่าอินเดีย บังกลาเทศ และฟิลิปปินส์ เป็นผู้นำของโลกในการผลิตสินค้าจากแรงงานเด็ก โดยมีสินค้าประมาณ 130 ชนิดมาจากการใช้แรงงานเด็กใน 71 ประเทศในทวีปแอฟริกา เอเชีย และลาตินอเมริกา รายงานของกระทรวงแรงงานสหรัฐจัดทำขึ้นในวาระครบรอบ 10 ปีว่าด้วยรูปแบบที่เลวร้ายของการใช้แรงงานเด็ก โดยเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเด็กที่ทำงานในสภาพที่เสี่ยงอันตราย ทั้งนี้ รายงานซึ่งอาศัยข้อมูลจากองค์การแรงงานสากลประเมินว่าปัจจุบันมีเด็กกว่า 215 ล้านคน เกี่ยวข้องกับการใช้แรงงานเด็ก และมีบางประเทศไม่ได้กำหนดอายุขั้นต่ำของเด็กในการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีอันตรายจากการทำงานสูง อินเดียเป็นประเทศที่ใช้แรงงานเด็กมากที่สุด โดยใช้เด็กผลิตสินค้าไม่น้อยกว่า 20 ชนิด เช่น อิฐก่อสร้าง ดอกไม้ไฟ รองเท้า กำไล ไม้ขีดไฟ ข้าว และสิ่งทอ เป็นต้น ส่วนที่บังกลาเทศมีการใช้เด็กผลิตสินค้า 14 ประเภท ส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุตสาหกรรม ขณะที่ฟิลิปปินส์ใช้แรงงานเด็กผลิตสินค้าเกษตร เช่น ทำงานในไร่กล้วย สวนมะพร้าว ไร่ข้าวโพด และเครื่องประดับ เป็นต้น การใช้แรงงานเด็กยังมีอยู่เป็นจำนวนมากในลาตินอเมริกา แต่มีสัญญาณว่าสถานการณ์เริ่มดีขึ้น โดยเฉพาะที่บราซิล ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายต่อสู้กับความยากจน ส่วนที่แอฟริกามีรายงานว่าใช้เด็กทำงานในเหมืองแร่ที่คองโก โดยเฉพาะเหมืองผลิตแร่ที่ใช้ในโทรศัพท์เคลื่อนที่ และแร่ใช้ในการทำเหล็กกล้าทังสเตน แรงงานมะกันร่วมม็อบนิวยอร์ก \"ยึดวอลสตรีท\" 6 ต.ค. 54 - ผู้ชุมนุมหลายพันคนรวมตัวประท้วงกลุ่มธุรกิจการเงินในย่านวอลสตรีท เพื่อแสดงความไม่พอใจต่อความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจในวันพุธ พร้อมแรงสนับสนุนจากสหภาพแรงงานทั่วสหรัฐ ขบวนการ \"ยึดวอลสตรีท\" มีผู้ชุมนุมราว 5

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net