น้ำท่วม น้ำตา มารยาหญิง โสเภณี ความเป็นหญิง ความเป็นชาย และอคติทางเพศ

ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ

วิกฤตน้ำท่วมครั้งนี้ ทำให้เห็นวิกฤตของอคติทางเพศที่มีอยู่อย่างลึกซึ้งในสังคมไทย บางคนบอกว่า “เพราะมีผู้นำเป็นผู้หญิง เลยทำให้น้ำท่วม” ต่อมามีคนบอกว่า “น้ำท่วมไม่เท่าไร แต่นายกร้องไห้นี่แหละ ที่ทำให้พ่ายแพ้” วาทกรรมว่าด้วยเพศ (Gender) ในกระแสวิวาทะเรื่องน้ำท่วม แสดงให้เห็นถึงอคติทางเพศในสังคมไทยอย่างไร การเอาวาทกรรมว่าด้วยเพศมาใช้เป็นเครื่องมือต่อสู้ทางการเมือง สร้างความเข้าใจเรื่องคุณค่าของความเป็นเพศหญิงอย่างไร? น้ำตานายกหญิง “น้ำตานายก” กลายประเด็นที่ถูกพูดถึงไม่จบสิ้น คำวิจารณ์ว่า “น้ำตานายก” เท่ากับการขาดภาวะผู้นำ มารยาหญิง (ศิริวรรณ ปราศจากศัตรู สส. ปชป.) “การทำภาพพจน์ของผู้หญิงเสียหาย” (คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช สส.ปชป.) “ข้ออ้างเพื่อหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ” (นางสาวสุพัชรี ธรรมเพชร ส.ส. ปชป.) ก่อนหน้านี้ดาราชายชื่อดังพูดผ่านเฟซบุ๊คว่า \ให้ไปร้องไห้ให้ควายดูเหอะ บ้านเมืองไม่ใช่ของเล่นที่ทำพังแล้วร้องไห้ขออันใหม่\" ส่วนดารานักร้องหญิงชื่อดังอีกคนวิจารณ์ผ่านเฟซบุ๊คซึ่งถูกเผยแพร่ต่อในสื่อว่า “เธอ (นายกยิ่งลักษณ์) ออกมาพูดด้วยน้ำเสียงที่ไม่เคยแข็งแรง ด้วยคำพูดที่ไม่เคยเข้มแข็ง และด้วยข้อความที่ไม่เคยชัดเจน นอกจากนั้นเธอยังไม่เคยแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการคิดเองได้เลย เธอทำให้เห็นเลยว่า ความละมุนของเธอนั้น จริงๆ แล้วมาจากความอ่อนแอ คุณยิ่งลักษณ์ตอกย้ำทุกวันว่าผู้หญิงอ่อนแอ ว่าผู้หญิงพูดจาเป็นงานเป็นการไม่รู้เรื่อง ว่าผู้หญิงคุมลูกน้องไม่ได้ ว่าผู้หญิงตัดสินใจไม่เป็น ว่าผู้หญิงเป็นผู้นำไม่ได้ สิ่งที่คุณยิ่งลักษณ์ทำ หรือทำไม่ได้ ตอกย้ำว่าผู้หญิงทำงานใหญ่ไม่ได้ ว่าผู้หญิงสุดท้ายก็เป็นได้แค่ผู้หญิงวันยังค่ำ ที่ได้แต่แต่งตัวสวยไปวันๆโดยที่ทำอะไรไม่เป็น” นักวิชาการชื่อดังกล่าวทางทีพีบีเอสว่า “ผู้หญิงมีธรรมชาติที่อ่อนไหว และถูกหล่อหลอมมาจากวัฒนธรรมให้อ่อนไหว นายกปูได้เปรียบ เพราะไม่มีใครว่าอะไรกับการร้องไห้ของเธอ แต่นายกร้องไห้บ่อยๆ มันเฝือ จะมีพื้นที่ของเหตุผลที่ไหนมาแก้ปัญหา” นักวิชาการท่านนี้เรียกร้องให้นายกปูแสดงภาวะผู้นำ และเกณฑ์ที่เขาใช้ตัดสิน “ภาวะผู้นำ” คือความสามารถในการกั้นน้ำไม่ให้ท่วมกรุงเทพสำเร็จหรือไม่ และการกล้าประกาศใช้พรก.ฉุกเฉินเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมหรือไม่ ความร้อนแรงของวิวาทะเรื่องน้ำตานายก ทำให้สวนดุสิตโพลหยิบเอาประเด็นนี้ไปสำรวจประชามติเชื่อมโยงกับประเด็น “ประสิทธิภาพในการบริหาร” แล้วสรุปว่า “ภาพที่นายกรัฐมนตรีร้องไห้นั้น ประชาชนร้อยละ 59.38 เห็นว่า ไม่ได้แสดงออกว่านายกรัฐมนตรีอ่อนแอ แต่ร้อยละ 40.62 เห็นว่า เป็นการแสดงออกถึงความอ่อนแอ” อย่างไรก็ดี “ประชาชนร้อยละ 64.51 มองว่า การร้องไห้ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ความเป็นผู้นำของนายกรัฐมนตรี ดังนั้นนายกรัฐมนตรีจึงควรควบคุมอารมณ์ให้ดีกว่านี้” ถอดรหัสกระแสวิพากษ์น้ำตานายกหญิง กระแสวิพากษ์ “น้ำตานายก” ข้างต้นนี้ต้องการสื่อว่า การร้องไห้ของผู้นำหญิงเป็นการทำลายเกียรติ คุณค่าและความน่าเชื่อถือที่มีต่อเพศหญิง สิ่งที่น่าสนใจคือการวิพากษ์ได้พุ่งเป้าไปที่ “ความเป็นเพศหญิง” ของนายก และส่วนใหญ่เป็นการวิจารณ์ “โดยผู้หญิง” ที่จัดเต็ม “เพื่อผู้หญิง” ด้วยกันเอง ทั้งจากผู้หญิงที่อ้างตัวว่า “เป็นกลาง” ทางการเมือง และจากผู้หญิงที่สังกัดฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง ผู้วิจารณ์เหล่านี้ใช้กรอบความคิดอะไรตัดสินคุณค่าของพฤติกรรมผู้หญิง กรอบความคิดและความคาดหวังแบบใดที่สังคมไทยใช้เป็นบรรทัดฐานตัดสินคุณค่าพฤติกรรมของเพศหญิง? เป็นความเชื่อที่ยอมรับกันโดยทั่วไปโดยไม่ได้ตั้งคำถามว่า “น้ำตา” คือสัญญะที่สื่อความหมายถึงอารมณ์สะเทือนใจ ความอ่อนไหว ความเสียใจ ความอ่อนแอ ซึ่งเป็นลักษณะทางธรรมชาติที่พบในเพศหญิง เมื่อน้ำตาถูกนำมาเชื่อมโยงกับผู้นำหญิง “น้ำตานายกหญิง” จึงถูกให้ความหมายว่าเป็นความอ่อนไหว ความอ่อนแอ ความอ่อนหัด ความไร้วุฒิภาวะ ความไร้ฝีมือ ฯลฯ เป็นลักษณะทางธรรมชาติของผู้นำเพศหญิง ตรงกันข้ามกับลักษณะทางธรรมชาติของผู้นำเพศชาย ที่เชื่อกันว่าเข้มแข็ง อดทน อดกลั้นต่อสิ่งยั่วยุ ควบคุมกิเลสได้ มีวุฒิภาวะ ให้ความสำคัญกับเหตุผลมากกว่าอารมณ์ ฯลฯ การอธิบายความเป็นเพศหญิงและความเป็นเพศชาย ด้วยการสร้างความหมายขั้วตรงข้าม เช่น ธรรมชาติ vs วัฒนธรรม

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท