Skip to main content
sharethis

กลุ่มนักข่าวชายแดนใต้เดินทางไป‘อาเจะห์’ พบปะแลกเปลี่ยนกลุ่มองค์กรต่างๆ ทั้งสื่อมวลชน และองค์กรภาคประชาชน เจาะช่องความร่วมมือสร้างสื่อสันติภาพ ระหว่างวันที่ 1 – 4 ธันวาคม 2554 ผู้สื่อข่าวจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย นายสุพจ จริงจิตร บรรณาธิการโรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSJ) นายมูฮำหมัด ดือราแม ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวประชาไท ผู้ช่วยบรรณาธิการโรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ และนางสาวรวยริน เพชรสลับแก้ว นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรเอเชียตะวันออกแยงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้เดินทางไปยังเมืองบันดา อาเจะห์ ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับองค์กรด้านสื่อและองค์กรภาคประชาสังคมในจังหวัดอาเจะห์ ผู้บริหารและผู้สื่อข่าวของ The Atjeh Post วันที่ 1 ธันวาคม 2554 เดินทางไปยังสำนักข่าวของ The Atjeh Post ซึ่งเป็นสื่อท้องถิ่นของจังหวัดอาเจะห์ ภายในเมืองบันดาอาเจะห์ โดยมีผู้บริหารและผู้สื่อข่าวของ The Atjeh Post ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานของสื่อและร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยมีข้อตกลงเบื้องต้นว่าจะมีการแลกเปลี่ยนข่าวระหว่างกัน โดย The Atjeh Post ให้ความสนใจข่าวเกี่ยวกับสตรีและข่าวเกี่ยวกับผลกระทบจากปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย องค์กรด้านสิ่งแวดล้อม WALHI ประจำอาเจะห์ และนักข่าวสิ่งแวดล้อม The Globe Journal วันที่ 2 ธันวาคม 2554 เดินทางไปยังสำนักงานองค์กรฟื้นฟูและสันติภาพอาเจะห์ (Aceh reintegration and peace agency) เพื่อพบกับผู้สื่อข่าวอาวุโสรายหนึ่งของอาเจะห์ เพื่อรับฟังข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานของสื่อท่ามกลางสถานการณ์ความข้อแย้งและหลังจากการมีสันติภาพเกิดขึ้นในอาเจะห์ โดยมีข้อตกลงเบื้องต้นที่จะส่งผู้สื่อข่าวเข้าร่วมอบรมการทำข่าวสันติภาพและรับเชิญเป็นวิทยากรอบรมการทำข่าวสันติภาพในประเทศไทย ศูนย์อาเจะห์ข่าวของสำนักข่าว Serambi Indonesia หลังจากนั้นได้เดินทางไปเยี่ยมศูนย์ข่าวของสำนักข่าว Serambi Indonesia หนังสื่อพิมพ์ชื่อดังของอินโดนีเซียซึ่งได้รับความนิยมมากในอาเจะห์ จากนั้นในช่วงบ่ายวันเดียวกัน ได้เดินทางไปพบกับ นายSaifuddin Bantasam, S.H,M.A. ผู้อำนวยการศูนย์สันติศึกษาและแก้ปัญหาความขัดแย้ง มหาวิทยาลัย Syah Kuala เมืองบันดาอาเจะห์ เพื่อรับฟังข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการสร้างสันติภาพในอาเจะห์ และมุมมองความเข้าใจของคนต่างประเทศต่อปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จากการพูดคุยได้ข้อตกลงเบื้องต้นว่า นายSaifuddin Bantasam ขอให้ส่งข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้ศูนย์สันติศึกษาและแก้ปัญหาความขัดแย้ง มหาวิทยาลัย Syah Kuala ได้วิเคราะห์ถึงสาเหตุและแนวทางแก้ปัญหา รวมทั้งเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับชาวต่างชาติต่อปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องจากที่ผ่านมาพบว่า ชาวต่างชาติส่วนใหญ่เข้าใจว่า ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นความขัดแย้งทางศาสนา แต่ตนเชื่อว่าน่าจะมาจากหลายสาเหตุ ส่วนในช่วงคำวันเดียวกัน ได้พบปะกับแกนนำสตรีของอาเจะห์ ซึ่งมีบทบาทในด้านการช่วยเหลือกลุ่มสตรีที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาความขัดแย้งและการต่อสู้ระหว่างขบวนการกู้เอกราชอาเจะห์(GAM)กับกองกำลังของรัฐบาลอินโดนีเซีย รวมทั้งกลุ่มสตรีที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นสึนามิ วันที่ 3 ธันวาคม 2554 เดินทางไปยังสำนักงานขององค์กรด้านสิ่งแวดล้อม Wahana Lingkungan Hidop Indonesia หรือ WALHI ประจำอาเจะห์ เพื่อรับฟังข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมของอาเจะห์ โดยมี Ir.Teuku Muhammad Zulfikar, MP ผู้อำนวยการบริหารของ WALHI ประจำอาเจะห์พร้อมคณะ และนาย Firman Hidayat นักข่าวสิ่งแวดล้อม จากสำนักข่าว The Globe Journal ร่วมให้ข้อมูลและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น จากการพูดคุยมีข้อตกลงเบื้องต้นที่จะแลกเปลี่ยนการส่งอบรมนักข่าวด้านสิ่งแวดล้อม นายJunaidi Hanafiah (คนขวาสุด) ช่างภาพข่าวสันติภาพอาเจะห์ ในช่วงเย็นวันเดียวกันได้พบปะกับนายJunaidi Hanafiah ช่างภาพข่าวสันติภาพของอาเจะห์ สังกัดสำนักข่าวต่างประเทศหลายสำนัก ได้มีการแลกเปลี่ยนเรื่องการทำงานของนักข่าวและช่างภาพของอาเจะห์กับจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย มีข้อตกลงเบื้องต้นว่า นายJunaidi ขอให้ส่งข้อมูลสรุปสถานการณ์และปัญหาของการผลิตนักข่าวและการสื่อสารในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยเพื่อหาช่องทางในการช่วยเหลือในเรื่องการผลิตนักข่าวในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นต้น

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net