Skip to main content
sharethis

คณะกรรมการประสานงานคอป. มีมติแยก-ย้ายนักโทษที่เกี่ยวข้องกับคดีการเมืองไปอยู่เรือนจำชั่วคราวหลัก สี่ หวังสร้างบรรยากาศปรองดอง อธิบดีกรมราชทัณฑ์เผยปัจจุบันมีนักโทษการเมืองราว 100 คน รวมแกนนำเสื้อแดงและนักโทษคดีหมิ่น เช่น “อากง”, 'สุรชัย' และ 'สมยศ'

ผู้จัดการออนไลน์ รายงานว่า เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานและติดตามผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะของคณะ กรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (ปคอป.) กล่าวภายหลังการประชุมว่า การประชุมวันนี้มีหน่วยงานสำคัญหลายหน่วย เช่น กระทรวงยุติธรรม กรมสอบสวนคดีพิเศษ กรมราชทัณฑ์ สำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่งกระทรวงยุติธรรมมี 3 หน่วยงานหลักในการดำเนินการเรื่องนี้คิดว่างานด้านนี้ของรัฐบาล ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญอย่างหนึ่งจะผ่านด้วยดีจากความร่วมมือจากหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง

นายวีระวงค์ จิตต์มิตรภาพ โฆษก ปคอป.กล่าวว่า หน้าที่หลักของคณะกรรมการชุดนี้ คือ การนำมาตรการหรือข้อเสนอของ คอป.มาดำเนินการให้เป็นรูปธรรมโดยมีหน่วยงานรัฐบาลหลายส่วนที่เข้ามาเกี่ยว ข้อง ที่จะนำไปดำเนินการได้และครม.มีมติรับทราบการดำเนินงานของคณะกรรมการ ปคอป.แล้ว ซึ่งแผนงานจะมุ่งไปใน 3 มิติ คือ มาตรการเยียวยาทางอาญาซึ่งจะเกี่ยวข้องกับคดีการเมือง ซึ่งจะรวมถึงคดีหมิ่นสถาบันด้วย จากนั้นจะมีกระบวนการเยียวยาด้านแพ่งและจะหามาตรการที่เหมาะสมที่จะเยียวยา ในลักษณะอื่นๆ จากนั้นจะเป็นมาตรการในการสื่อสารกับสังคม เพื่อให้เข้าใจกระบวนการปรองดองที่จะเกิดขึ้น

นายวีระวงค์กล่าวว่า เรื่องสำคัญในการประชุม คือ ปคอป.ได้ประสานกระทรวงยุติธรรม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) กรมสอบสวนคดีพิเศษ และสำนักงานอัยการ เพื่อที่จะสรุปสถานะคดีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการเมืองว่าขณะนี้อยู่ที่ ไหนอย่างไรแล้ว ส่วนต่อไปที่จะต้องทำ คือ อนุกรรมการที่จะมีการแต่งตั้งขึ้น ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับอาญาและเรื่องแพ่งจะไปพิจารณาต่อไปว่าจะทำอย่างไรเบื้อง ต้นได้มีมาตรการสำคัญที่เยียวยาทางอาญาที่จะออกมาแล้ว คือ มีผู้ต้องขังในขณะนี้ ที่เกี่ยวข้องกับคดีทางการเมืองจำนวน 101 คนเข้าใจว่าจากการพระราชทานอภัยโทษจะลดลงประมาณ 20 คนส่วนที่เหลือจะมีการย้ายโดยกรมราชฑัณฑ์ไปไว้ที่โรงเรียนพลตำรวจบางเขน ซึ่งน่าจะทำได้ภายในวันที่ 21 ธ.ค.นี้

ส่วนมาตรการอื่นๆ ตามที่ คอป.เสนอมา จะมีคณะอนุกรรมการไปพิจารณาเพิ่มเติม เช่น จะมีการปล่อยผู้ต้องหาชั่วคราวได้มากกว่านี้หรือไม่ ด้วยวิธีอย่างไรจะมีการพิจารณาเรื่องการตั้งข้อหาและการดำเนินคดีกับคดีที่ ยังไม่สิ้นสุดในระยะต่อไป จะทำอย่างไรจะชะลอจนกว่ามีมาตรการเหมาะสมทางด้านอาญาหรือมีข้อมูลที่ชัดเจน มากกว่านี้หรือไม่ในวิธีการดังกล่าวจะเป็นระดับต่อไป คาดว่าจะใช้เวลา 1 เดือนในการตั้งคณะอนุฯ และใช้เวลาอีกระยะในการหามาตรการที่เหมาะสมและเสนอต่อ ปคอป. และปคอป.จะเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อสั่งการตามที่เห็นควรต่อไป

ตั้งคณะอนุกรรมการ 3 ชุดเล็งเยียวยา-ประชาสัมพันธ์

ด้าน นายเอนก เพิ่มวงศ์เสนีย์ เลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ในฐานะรองโฆษกกล่าวว่า การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ ที่ประชุมได้มอบหมายประธานเป็นผู้กำหนดบุคคลที่จะมาเป็นอนุกรรมการ โดยจะแบ่งออกเป็น 3 คณะ 1.เป็นอนุกรรมการด้านการเยียวยาโดยใช้มาตรฐานสากลมาดูว่าคดีความผิดทางการ เมืองไม่น่าจะเป็นโทษทางอาญาหรือไม่ การพิจารณาต้องดูเรื่องเหล่านี้ด้วย 2.คณอนุกรรมการเยียวยาทางแพ่งก็จะนำมาตรฐานสากลมาใช้เช่นกันเพื่อดูความสม เหตุสมผลของคดี เนื้อของคดี การกล่าวหาต่างๆ ว่าสมเหตุสมผลหรือไม่ 3.อนุกรรมการด้านการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เพื่อต้องการให้ประชาชนในประเทศรับ ทราบถึงการดำเนินการต่างๆปรัชญาการดำเนินคดีทางการเมืองเป็นอย่างไรบ้าง และระดับสากลทำอย่างไรจะต้องมีการประชาสัมพันธ์ นอกจากนี้ การดำเนินการต่างๆ ของเราเป็นที่เฝ้ามองของต่างประเทศ ซึ่งนายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ จะเป็นผู้นำผลการประชุมต่างๆ ชี้แจงต่อผู้สื่อข่าวต่างประเทศเนื่องจากมีผู้สื่อข่าวต่างประเทศและชาวต่าง ชาติเสียชีวิตด้วยในคดีที่เกี่ยวข้อง จึงต้องประชาสัมพันธ์ด้านต่างประเทศด้วย

ด้าน นายธานีกล่าวว่า จากการประชุมครั้งที่ผ่านมากระทรวงการต่างประเทศได้นำผลประชุมและมติครม.ทำ เอกสารเผยแพร่ภาษาอังกฤษส่งไปยังสถานเอกอัครราชทูตและกงสุลไทยทั่วโลกแล้ว และขึ้นเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ และสำนักนายกรัฐมนตรีด้วยเพื่อให้ชาวต่างชาติได้รับรู้ต่างประเทศได้ติดตาม เรื่องการปรองดองและการดำเนินการของคณะกรรมการอย่างใกล้ชิดซึ่งในการพบปะกับ ผู้นำต่างประเทศต่างๆ มักจะสอบถามเรื่องนี้และสนับสนุนกระบวนการปรองดองและพร้อมให้การสนับสนุนทาง วิชาการกับฝ่ายไทยด้วย

ผู้สื่อข่าวถามว่า ในเรื่องของรูปคดีมีบทสรุปแล้วหรือไม่ และเรื่องข้อกล่าวหาบางเรื่องมีการตั้งข้อกล่าวหาเกินกว่าเหตุมีการดูแล เรื่องนี้อย่างไรบ้าง นายวีระวงศ์กล่าวว่า ในขณะนี้จากข้อมูลกองงานที่เกี่ยวข้องได้เชิญสมาคมทนายความแห่งประเทศไทยมา ให้ข้อมูลเพิ่มเติม แต่ยังไม่ได้มีการลงในรายละเอียดของข้อกล่าวหาว่าการกล่าวหานี้เป็นอย่างไร เพราะว่าความจำเป็นเร่งด่วนในขณะนี้เป็นเรื่องของผู้ที่ถูกคุมขังเพราะตอน นี้มีผู้ที่ถูกคุมอยู่ 101 คนที่เราต้องหามาตรการเข้าไปดูแล เพื่อให้มีการย้ายออกมาที่โรงเรียนพลตำรวจ ซึ่งความหมายของ คอป.เป็นคดีที่เกี่ยวเนื่องกับการเมืองเป็นคดีที่ที่เกิดขึ้นก่อนและหลังรัฐ ประหารตั้งแต่วันที่ 19 ก.ย. 2549 ในมาตรการต่างๆ ที่ คอป.จะดูแลจะต้องให้เกิดความเป็นธรรมและเท่าเทียมในทุกภาคส่วนไม่ว่าจะอยู่ สีไหนก็แล้วแต่ รวมถึงทหาร ข้าราชการที่เกี่ยวข้องจะได้รับการดูแลในแบบเดียวกัน

นายอเนกกล่าวต่อว่า ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้สรุปสำนวนคดีที่เกี่ยวข้องว่ามีอะไรบ้างซึ่งคดี ที่เกิดก่อนปี 2549 ทางตำรวจก็กำลังดำเนินการอยู่ส่วนคดีทีเกิดหลังปี 2549 ทางตำรวจได้เก็บข้อมูลเกือบจะแล้วเสร็จทั้งนี้คดีที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2552-2553 กำลังดำเนินและจะแล้วเสร็จในเร็วๆ นี้ ทั้งนี้ ทางอัยการสูงสุดได้รายงานประเด็นต่าง ๆที่เกี่ยวข้องถึงประเด็นโทษว่ารุนแรงไปหรือไม่ซึ่งทางหน่วยงานที่เกี่ยว กำลังเข้าไปดูว่ามีคดีไหนบ้างมีสำนวนข้อกล่าวหาที่รุนแรงเกินกว่าเหตุซึ่ง อาจจะมีการพูดถึงเรื่องการชะลอการดำเนินคดีอาญาในเรื่องทางการเมืองตามข้อ เสนอของนายคณิต ณ นคร

เมื่อถามว่า เหตุผลในการย้ายผู้ต้องขังคดีทางการเมืองจากรมราชฑัณไปโรงเรียนพลตำรวจ บางเขนหรือการพิจารณาคดีอาญาไม่ให้เป็นคดีอาญา นายวีระวงศ์กล่าวว่า ในแนวคิดที่เป็นสากล ในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นคล้ายคลึงกับประเทศเกิดแนวคิดทางอาญาและทางแพ่งขึ้น 2 ประการคือมาตรการทางอาญาตามปกติที่มาตามประมวลกฎหมายหรือกฎหมายอื่นที่ เกี่ยวข้อง อาจจะไม่เหมาะสมสาเหตุเป็นเพราะมูลเหตุจูงใจทางด้านที่มีการลงโทษทางอาญา ปกตินั้นเป็นมูลเหตุลักษณะการเป็นผู้ร้ายแต่เมื่อไหร่ที่มีคดีมีการกระทำ ความผิดที่เกิดขึ้นเริ่มมีมูลเหตุจูงใจที่ไม่ใช่มูลเหตุดังเดิมอันเป็นที่มา ของกฎหมาย ผลต่างๆ จะนำมาใช้ได้อย่างไร และเพียงไร ซึ่งตอนนี้คำตอบยังไม่ทราบจนกว่าคณะกรรมการจะพิจารณาเรื่องนี้อย่างไร

นายวีระวงศ์กล่าวว่า ส่วนมาตรการทางแพ่ง หมายความว่าในเรื่องที่เกิดขึ้น คือ ผู้ที่กระทำและผู้ที่ถูกกระทำจึงจำเป็นที่จะต้องมาพิจารณาว่าผู้ถูกกระทำจะ ได้รับการเยียวยาอย่างไรซึ่งในมาตรการสากลที่เคยใช้และประสบความสำเร็จมา แล้วเกิดความคิดขึ้นว่าวิธีการเยียวยาทางแพ่งที่อยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์เกี่ยวกับเรื่องเยียวยาความเสียหายก็อาจจะไม่เหมาะสมโดยเฉพาะเมื่อ คำนึงสิทธิมนุษยชนจึงจำเป็นต้องมีคณะอนุกรรมการเพื่อมาศึกษาเรื่องนี้อย่าง เป็นระบบเพื่อเอาแนวคิดที่ประสบความสำเร็จในที่อื่นๆ มาใช้ในประเทศไทยเมื่อถามว่า ตัวเลขผู้ที่ถูกคุมขังทั้งก่อนปฎิวัติและหลังน่าจะมีจำนวนมากกว่า 101 คน นายวีระวงศ์ กล่าวว่าบางส่วนได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ได้รับการประกันตัว เพราะฉะนั้นในขณะนี้คือผู้ที่ลงคดีถึงที่สุดแล้วหรือว่าด้วยเหตุใดที่ไม่ได้ รับการประกันตัวก็ถูกคุมขังอยู่อย่างนั้น

อธิบดีกรมคุกเผยเตรียมย้าย “กี้” หากไม่ได้ประกัน

ในวันเดียวกัน หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เปิดเผยถึงกรณีการเคลื่อนย้ายนักโทษคดีการเมือง ไปคุมขังที่เรือนจำชั่วคราวหลักสี่ ว่า เนื่องจากมีข้อเสนอจากคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการ ปรองดองแห่งชาติ (คอป.) และมติคณะรัฐมนตรี เห็นควรให้แยกนักโทษคดีการเมืองออกจากนักโทษคดีอาชญากรรมทั่วไป ทางกรมราชทัณฑ์จึงจะดำเนินการย้ายนักโทษที่เข้าข่ายคดีการเมืองกว่า 100 คน ซึ่งรวม นายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง แกนนำ นปช. หากยังไม่ได้รับการประกันตัว ไปอยู่ยังเรือนจำชั่วคราวหลักสี่ ที่กำลังปรับปรุงอยู่ในขณะนี้ ในวันที่ 21 ธันวาคม ส่วนหลักเกณฑ์ในการพิจารณานักโทษการเมืองที่จะย้ายมาอยู่เรืองจำชั่วคราว หลักสี่นั้น ทาง คอป. จะเป็นผู้กำหนดทั้งหมด 

อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามถึงในส่วนของกรณี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี หากกลับมารับโทษนั้น จะถูกนำไปคุมขังอยู่ในเรือนจำใด ด้านอธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวเพียงสั้นๆ ว่า รอให้กลับมาก่อน ถึงจะพิจารณาอีกครั้ง ว่าจะดำเนินการอย่างใด

“ธิดา” เผยนักโทษคดีหมิ่นฯ ทั้ง “อากง”-สมยศ-สุรชัย ย้ายด้วย

เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (7 ธ.ค.) เดลินิวส์ยัง รายงานว่า นางธิดา  ถาวรเศรษฐ์  รักษาการประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.)  กล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินการขอให้ย้ายผู้ต้องขังคดีการเมืองไปคุมขัง ยังเรือนจำเฉพาะที่เรือนจำชั่วคราวหลักสี่หรือโรงเรียนพลตำรวจบางเขนว่า  หลังยื่นเรื่องดังกล่าวต่อพล.ต.อ.ประชา  พรหมนอก  รมว.ยุติธรรม  เพื่อให้ย้ายผู้ต้องขังคดีการเมืองมาคุมขังที่เรือนจำชั่วคราวหลักสี่  โดยผู้ต้องโทษกลุ่มแรกที่จะถูกย้ายตัวไปควบคุมมีจำนวน 32 คน ประกอบด้วยผู้ต้องขังจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯจำนวน 28 ราย , ทัณฑสถานหญิงกลาง 1 คน ,เรือนจำพิเศษธนบุรี 1 คน และเรือนจำจังหวัดนนทบุรี 2

“ตนทราบจากพ.ต.อ.สุชาติ  วงศ์อนันต์ชัย  อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ว่าจะให้มีการย้ายนักโทษให้เข้ามาอยู่ที่เรือนจำดังกล่าววันที่ 21 ธ.ค.นี้  เนื่องจากเรือนจำได้ทำการปรับปรุง  โดยในจำนวนนี้มี นายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ , นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข และนายอำพล ตั้งนพกุล หรืออากง  นักโทษต้องโทษคดีหมิ่นเบื้องสูงด้วย”นางธิดา กล่าว

สำหรับเรือนจำชั่วคราวหลักสี่ซึ่งอยู่ในโรงเรียนพลตำรวจบางเขน สังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล ได้มีการปรับปรุงเพื่อเตรียมรองรับการควบคุมตัวนักโทษคดีการเมืองและนักโทษ ต่างประเทศ ในยุคที่พล.ต.อ.เพรียวพันธ์  ดามาพงศ์ เป็นผบ.ตร. ได้มีคำสั่งให้มีการปรับปรุงอาคารเดิมความสูง 4 ชั้น โดยได้ทาสีรั้วใหม่เป็นสีเหลืองอ่อน  ส่วนตัวตึกมีทั้งสีขาว และสีส้ม  ด้านนอกอาคารติดเหล็กดัด ป้องกันการหลบหนี  ทั้งนี้เรือนจำดังกล่าวได้ถูกใช้เป็นที่คุมขัง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ในปี 2535 ในช่วงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬด้วย

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net