Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

ปัญหาเรื่อง “วิจารณ์เจ้า” ได้ –ไม่ได้ ยังสับสนอยู่ เช่นที่ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา แสดงความเห็นในรายการ \ตอบโจทย์\" ทำนองว่า บางคนวิจารณ์เจ้าแล้วโดน ม.112 บางคนไม่โดน อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ โดน แต่รอด อย่างคุณอานันท์ ปันยารชุน อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ ก็พูด หรือเขียนเกี่ยวกับเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์เหมือนกันแต่ไม่โดน แล้วก็มีการแสดงความเห็นต่อเนื่องของผู้ร่วมรายกายทำนองว่า “ถ้าวิจารณ์ด้วยเหตุด้วยผล ไม่เข้าข่าย ดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย 4 บุคคล ตามที่ระบุใน ม.112 ก็ถือว่าวิจารณ์ได้” หรือว่าวิจารณ์ได้โดยอ้างพระราชดำรัส “the king can do wrong” ความเห็นต่อเนื่องดังกล่าวนี้ เป็นความเข้าใจผิด เพราะการวิพากษ์วิจารณ์ “บุคคลสาธารณะ” ย่อมหมายถึง การพูดถึงข้อดี ข้อเสีย ชี้ถูก ชี้ผิดได้ และ/หรือเรียกร้องให้รับผิดชอบได้ ซึ่งต้องมีกฎหมายรับรองสิทธิที่จะทำได้เช่นนั้นด้วย ไม่ใช่จะทำได้ด้วยเพียงการอ้างพระราชดำรัสดังกล่าว เรามักเข้าใจผิดๆ ว่า อ.สุลักษณ์ อ.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล เป็นต้น “วิจารณ์เจ้า” ความจริงแล้วไม่ใช่เลย ยังไม่มีใครในประเทศนี้ที่วิจารณ์เจ้าในความหมายดังกล่าวได้จริงๆ จังๆ เพราะยังไม่มีกฎหมายรองรับให้ทำได้ ที่ อ.สุลักษณ์ อ.สมศักดิ์วิจารณ์นั้น เป็นการวิจารณ์กติกา โครงสร้างโดยรวม การปลูกฝังอุดมการณ์เกี่ยวกับสถานะ อำนาจ บทบาทของสถาบันกษัตริย์ว่า เป็นโครงสร้างที่ไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างไร และเสนอว่าควรแก้ไขกติกาอะไรบ้างเพื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้างเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ให้เป็นประชาธิปไตย (ดังข้อเสนอ 8 ข้อของ อ.สมศักดิ์ เป็นต้น) การวิจารณ์โครงสร้าง อุดมการณ์เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ และการเสนอว่า สถาบันกษัตริย์ต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ถูกวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบได้ เช่นข้อเสนอให้ยกเลิก ม.112 แก้รัฐธรรมนูญ ม.8 หรือข้อเสนอ 8 ข้อของ อ.สมศักดิ์ (หรือเป็นข้อเสนอของใครก็ตามทำนองนี้) ยังถือว่า เป็นการวิจารณ์ภายใน “ขอบเขต” ของ ม.112 หรือ ม.8 คือไม่ผิดกฎหมายสองมาตรานี้ ซึ่งหมายความว่าเป็นการวิจารณ์และการเสนอ “ข้อเสนอ” ที่เป็นไปตามสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ แต่ปัญหาของบ้านเราอยู่ที่ มันมีการ “บิดเบือน” การวิจารณ์กติกา โครงสร้าง อุดมการณ์เกี่ยวกับสถาบันในลักษณะดังกล่าวนั้นว่า เป็นการ “วิจารณ์เจ้า” และบิดเบือนข้อเสนอเพื่อปฏิรูปกติกา โครงสร้าง อุดมการณ์เกี่ยวกับสถาบันให้เป็นประชาธิปไตย โปร่งใสตรวจสอบได้ดังกล่าว ว่าเป็นการ “ล้มเจ้า” และภายใต้สถานการณ์ทางการเมือง 5 ปี มานี้ มีการใช้ ม.112 ไล่ล่าแบบเหวี่ยงแห ไม่มีมาตรฐานที่แน่นอน จึงทำให้คนจำนวนไม่น้อยที่เห็นด้วยกับ อ.สุลักษณ์ หรือ อ.สมศักดิ์ (ความเห็นสองท่านนี้มีรายละเอียดต่างกัน แต่จุดร่วมคือ “สถาบันกษัตริย์ต้องอยู่ใต้รัฐธรรมนูญและถูกวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบได้”) ไม่กล้าออกมาแสดงความเห็นสนับสนุนเท่าที่ควรจะเป็น อย่างไรก็ตาม หากการวิจารณ์และการเสนอแบบ อ.สุลักษณ์ และ อ.สมศักดิ์ ไม่ใช่เรื่องที่ผิดกฎหมาย แต่เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญ และหากเราเห็นว่าการปฏิรูปโครงสร้างเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ให้เป็นประชาธิปไตยเป็นเบื้องต้นก่อนเท่านั้น สังคมเราจึงจะได้ระบบประชาธิปไตยที่สถาบันกษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง ก็คงเป็นเรื่องที่เราจะปฏิเสธ “ความรับผิดชอบร่วมกัน” ไม่ได้ว่า เราต้องเอาชนะ “ความกลัว” เพื่อยืนยันสิทธิเสรีภาพทางการเมืองของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ โดย “แบบทดสอบ” แรกสุด คือต้องคิดเรื่อง “ปัญหา ม.112” ให้ทะลุ และมองให้เห็นความเชื่อมโยงกับ ม.8 หรือการแก้โครงสร้างเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์แบบเป็นแพ็กเกจอย่างที่ อ.สมศักดิ์เคยเสนอ เพื่อนำไปสู่การได้มาซึ่งระบอบประชาธิปไตยที่สถาบันกษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง อยากให้ลองพิจารณา “แบบทดสอบ” (เบื้องต้น) ของ อ.สมศักดิ์ ข้างล่างนี้ \"แบบทดสอบ\" หรือ test สำหรับ คนทีเสนอว่า 112 ให้ \"แก้-ลดโทษ\" จะ \"เป็นจริง\" (realistic) ได้มากกว่า จะเสนอให้ \"เลิก\" เลย และเป็น \"แบบทดสอบ\" สำหรับ บรรดา \"รอยัลลิสต์\" ที่ตอนนี้ ออกมาสนับสนุนการ \"แก้-ลดโทษ\" ด้วย (อานันท์

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net