เปิดพรมแดนของตัวเอง และร่วมกันนิยามประชาธิปไตยแบบไทยๆ กันใหม่เถิด

ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ

เราไม่ได้อยู่ในยุคที่ควรจะ \มุ่ง\" ถามคำถามว่า \"อะไร\" (what) เช่น ระบอบการปกครองอะไรดีที่สุด (หรืออาจไปไกลถึง อะไรคือความจริงสูงสุด) เพราะเราอาจไม่มีวันได้รู้ เพราะคำถามแบบนี้มันตัดโลกความเป็นจริงทิ้งไป มันเป็นคำถามแบบลอยๆ เป็นไอเดีย จินตนาการล้วน เป็นอุดมการณ์ล้วนๆ แต่เราอยู่ในยุคที่ควร \"มุ่ง\" ถามว่า \"อย่างไร\" (how) ก็คือ เราจะอยู่อย่างไรในโลกสภาวะอย่างในปัจจุบันนี้ ซึ่งนี่เป็นคำถามที่คำนึงถึงโลกความจริง คำนึงถึงบริบท คำถามถึงโลกที่แวดล้อมตัวเราอยู่ ซึ่งผมเข้าใจว่ามัน realistic มากๆ ในสภาวะที่ความแตกต่างหลากหลายของผู้คนมัน \"ปรากฏ\" อย่างเด่นชัด (เมื่อก่อนยังไม่ปรากฏหรือถ้าปรากฏก็ยังไม่เด่นชัดเพราะเรายังไม่มีเทคโนโลยีอย่างเช่นอินเตอร์เนทหรืออื่นๆ) เมื่อผู้คนมีความแตกต่างกันมากขึ้น สิ่งที่ควรนำมาเป็นกติกาพื้นฐานมันก็คิอสิทธิ์เสรีภาพพื้นฐานอันพึงควรจะมี สมัยก่อน คำว่า สิทธิเสรีภาพ ยังไม่มีใช้ (จริงๆอยากใช้คำว่า ยังไม่ฮิตติดลมบนแบบวันนี้) เพราะคนยังไม่เห็นความแตกต่างหลากหลายใน \"วงกว้าง\" เหมือนทุกวันนี้ คนยังไม่มี่ความรุ้มากกว่าที่ตัวเองรู้ (พูดง่ายๆกะลายังครอบเราไว้) คนยังไม่เห็นโลกๆอื่น ยังไม่รู้จักวัฒนธรรมอื่น รู้เฉพาะวัฒนธรรมของตนเอง ความแตกต่างจึงยังน้อย เพราะทุกคนเชื่อเหมือนกันหมด ปัญหาเรื่องสิทธิเสรีภาพอันแตกต่างจึงยังไม่มี (ก็อีกนั่นแหละ สมัยนั้นยังไม่มีอินเตอร์เนทซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเปิดกะลา) ในปัจจุบัน เมื่อความแตกต่างมันชัดเจน เราจึงต้องหาอะไรบางอย่างมาเป็นพื็นฐานในการอยุ่ร่วมกันท่ามกลางความแตกต่าง และหลักประกันพื้นฐานนั่นก็คือ สิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคเท่าเทียม ไม่ใช่ว่าจะใช้หลักประกันโดยให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งมาครอบงำกำหนดให้ต้องเป็นเหมือนกันหมด เพราะมนุษย์มันไม่ได้เหมือนกันอีกต่อไปแล้ว และกติกาพื้นฐานแบบประชาธิปไตยมันก็สอดรับกับบริบทโลกปัจจุบัน เอากันตรงๆ เราไม่รู้หรอกว่า ประชาธิปไตยมันดีหรือไม่ดีในแง่ความคิดลอยๆ(เพราะโดย หลักการทฤษฏีเพียวๆ ก็ยังเถียงกันไม่จบสิ้น) แต่เราก็ควรเชื่อว่ามันดีและใช้ได้เหมาะสมกับสภาวะ ปัจจุบัน เพราะมันรับประกันสิทธิเสรีภาพในความแตกต่างหลากหลายได้ดีที่สุด

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท