Skip to main content
sharethis

แรงงานชง พม.ตั้งอนุกรรมการส่งเสริมการจ้างงานในผู้สูงอายุ นางอำมร เชาวลิต ที่ปรึกษาวิชาการแรงงาน กระทรวง แรงงาน เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ คณะกรรมการสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติ ที่มีนายกีรศักดิ์ จันทรจรัสวัฒน์ อดีตรองปลัดกระทรวงพัฒนาการสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เป็นประธานได้แสดงความเป็นห่วงและเสนอแนวทางการดูแลสูงอายุให้มีงานทำที่มี อายุหลัง 60 ปีขึ้นไปแล้ว เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยมีผู้สูงอายุที่อายุ 60 ปีขึ้นไป 8 ล้านคน ขณะเดียวกัน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดการณ์ว่าในปี 2568 ประเทศไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ โดยมีประชากรที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปจำนวน 10.2 ล้านคน หรือคิดเป็นมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.4 นางอำมรกล่าวอีกว่า คณะกรรมการสภาที่ปรึกษาฯ ได้เสนอให้กระทรวงแรงงานไปจัดทำนโยบาย แผนงาน และการบริหารจัดการการอบรมวิชาชีพ รวมถึงการจ้างงานผู้สูงอายุ โดยมีการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภายในกระทรวงแรงงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น พม. กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการคุ้มครองในการฝึกอาชีพและประกอบอาชีพที่เหมาะสม ทั้งนี้ ตนจะนำข้อเสนอนี้ไปรายงานต่อนพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ต่อไป ที่ปรึกษาวิชาการ กระทรวงแรงงาน กล่าวด้วยว่า ขณะเดียวกันกระทรวงแรงงานได้เสนอรายชื่อคณะอนุกรรมการส่งเสริมการจ้างงาน สำหรับผู้สูงอายุ ซึ่ง คณะอนุกรรมการฯชุดนี้มีปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธาน และกรรมการที่มาจากหน่วยงานต่างๆ ในกระทรวงแรงงาน กระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเครือข่ายด้านผู้สูงอายุประมาณ 25 คน ไปยังปลัด พม.ที่ทำหน้าที่เป็นเลขานุการคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติเพื่อ พิจารณานำเสนอต่อคณะกรรมการผู้สูงอายุฯที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการฯมีหน้าที่จัดทำแผนส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีงานทำที่เหมาะสมกับ วัย และได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย โดยยึดตามแผนแม่บทด้านแรงงานปี 2555-2559 ที่ให้มีการส่งเสริมการมีงานทำและพัฒนาระบบการแนะแนวอาชีพที่สอดคล้องกับ ตลาดแรงงาน “ในส่วนของกระทรวงแรงงานก็สามารถแบ่งหน้าที่ในการดูแลการอบรมวิชาชีพและ การจ้างงานผู้สูงอายุ โดยกรมการจัดหางาน (กกจ.) ทำหน้าที่ให้ข้อมูลข่าวสาร และบริการจัดหางานให้แก่ผู้สูงอายุ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) จัดอบรมอาชีพ เช่น การเป็นวิทยากรอบรม ให้ความรู้ด้านช่างฝีมือ หรือตามความเชี่ยวชาญของผู้สูงอายุแต่ละคน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) ดูแลให้ผู้สูงอายุได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย และสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ดูแลให้ผู้สูงอายุที่อายุเกิน 55 ปี ได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ อย่างไรก็ตาม อยากให้ พม.ช่วยจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับผู้สูงอายุให้ชัดเจนว่าปัจจุบันมีจำนวนทั้งหมด เท่าไร อยู่ในพื้นที่ใดบ้าง และความเชี่ยวชาญด้านอาชีพ เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการจัดอบรมอาชีพและจัดหางานให้แก่ผู้สูงอายุ” นางอำมรกล่าว (ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 11-12-2554) วอนไม่นับวันลาหยุดช่วงน้ำท่วม น.ส.ส่งศรี บุญบา รองปลัดกระทรวงแรงงาน และโฆษกกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติ ได้รายงานสถานการณ์ความช่วยเหลือของหน่วยงานในสังกัดตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.-7 ธ.ค. พบว่ามีสถานประกอบกิจการที่ประสบปัญหาน้ำท่วม 28,679 แห่ง ลูกจ้างได้รับผลกระทบ 993,944 คน โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ขอความร่วมมือสถานประกอบการอนุญาตให้ลูกจ้างมาทำงานสาย หยุดงาน โดยไม่ถือเป็นวันลา และจัดสวัสดิการเรื่องรถรับ-ส่ง ที่อยู่อาศัย มีสถานประกอบการให้ความร่วมมือแล้ว 27,934 แห่ง ลูกจ้างได้รับการดูแล 1,020,110 คน และประสานนายจ้างที่ไม่ถูกน้ำท่วม รับลูกจ้างไปทำงานชั่วคราว ตามโครงการเพื่อนช่วยเพื่อน มีสถานประกอบ การเข้าร่วม 108 แห่ง มีตำแหน่งงานรองรับกว่า 13,226 อัตรา ส่วนกรมการจัดหางาน ได้จัดหาตำแหน่งงานว่างรองรับ 152,862 อัตรา สำนักงานประกันสังคม จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ 164 ครั้ง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จัดฝึกอบรมพร้อมทำอาหารแจกจ่าย นอกจากนี้ ยังจัดเจ้าหน้าที่เข้าไปให้การช่วยเหลือซ่อมแซมเครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์ที่จำเป็น (ข่าวสด, 12-12-2554) โฮยายังยันเลิกจ้าง สหภาพฯ หวัง กมธ.แรงงานตัวกลางขึ้นโต๊ะเจรจาอีก เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. 54 ที่ผ่านมา สหภาพแรงงานอิเล็คทรอนิคส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าสัมพันธ์ (พนักงานบริษัทโฮย่า) เปิดเผยว่าในการเจรจาครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 54 ที่ผ่านมานั้น ผลจากการประชุมระหว่างตัวแทนพนักงาน นายวชิระ ศรีบัวชุม สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดลำพูน ร่วมกับด้วยนายเทเคมิ มิยาโมโต ประธานบริษัท นายโตชิอะกิ โยชิมูระ ผู้จัดการทั่วไป ที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดลำพูน ยังไม่สามารถหาข้อตกลงร่วมกันได้ โดยนายจ้างยังคงยืนยันที่จะให้มีการเลิกจ้างอยู่ ซึ่งเป็นข้อเสนอที่ทางสหภาพแรงงานมิอาจจะยอมรับได้ โดยทางสหภาพแรงงานฯ เห็นว่าถึงแม้จะปฏิบัติตามกฎหมาย แต่ข้ออ้างนั้นอาจจะไม่สมเหตุสมผล และอาจจะใช้เป็นบรรทัดฐานในการปลดคนงานในที่ต่างๆ แบบนี้ได้ (บริษัทฯ อ้างว่าขาดทุน แต่ยังขยายการดำเนินงานไปยังประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศเวียดนาม รวมถึงบริษัทฯ อ้างถึงสถานการณ์น้ำท่วมในประเทศไทย) ทั้งนี้ทางสหภาพแรงงานฯ ระบุว่าในขณะนี้ความหวังของคนงานก็คือต้องรอคณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร เข้ามาเป็นตัวกลางเพื่อให้เกิดการเปิดโต๊ะเจรจาระหว่างตัวแทนลูกจ้างกับนาย จ้างอีกครั้ง หลังจากที่สหภาพแรงงานฯ ได้ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีโดยผ่านนายสถาพร มณีรัตน์ กรรมาธิการแรงงาน ส.ส.พรรคเพื่อไทย ให้ติดตามและลงมาดูแลในกรณีนี้เมื่อวันที่ 4 ธ.ค.54 โดยทางสหภาพฯ คาดหวังว่าจะได้ความชัดเจนในเร็วๆ นี้ (ประชาไท, 12-12-2554) ลูกจ้างไดนามิคสะอื้นรับ 2,000 บาท บวกค่าแรงค้างจ่าย 215 บาท เมื่อวันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม ที่ผ่านมา คนงานจำนวนหนึ่งของบริษัท ไดนามิคโปรโมชั่น จำกัด รวมตัวกันที่หน้าโรงงาน ไดนามิค เพื่อรับฟังคำชี้แจงจากคณะกรรมการสหภาพแรงงานไดนามิคเรื่องค่าจ้างที่ค้าง จ่ายหลังจากที่บริษัทฯถูกน้ำท่วม นางสาวสมทรง บุญรักษา ประธานสหภาพแรงงาน ชี้แจงกับสมาชิกสหภาพแรงงานว่า \ทางคณะกรรมการสหภาพแรงงานได้มีการประชุมร่วมกับตัวแทนฝ่ายนายจ้าง ในวันที่ 8 ธันวาคม 2554 ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จังหวัดสมุทรสาคร โดยนายจ้างได้เสนอจ่ายเงินช่วยเหลือเป็นค่าครองชีพให้กับลูกจ้างในช่วงที่ ประสบอุทกภัยน้ำท่วมในโรงงานตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2554 จนกว่าบริษัทจะสามารถเปิดกิจการได้เป็นจำนวน 2

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net