ถูกรังแกในที่ทำงาน ทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บและการตัดสินใจแย่ลง

งานวิจัยของสหรัฐฯ เผย การถูกรังแกในที่ทำงานนำไปสู่โรคเครียดและโรคภัยทั้งร่างกายและจิตใจต่างๆ นานา เช่นน้ำหนักตัวเพิ่มและโรคหัวใจ ขณะเดียวกันก็ทำให้มองไม่เห็นทางออกของปัญหา การตัดสินใจแย่ลง บางรายถึงขั้นฆ่าตัวตาย หากคุณใช้ชีวิตในที่ทำงานโดยต้องคอยหลีกเลี่ยงเจ้านายช่างเหยียดหยาม คอยย่องหลบเพื่อนร่วมงานที่นินทาคุณลับหลัง หรือต้องนั่งกินข้าวเที่ยงคนเดียวเพราะคุณถูกไสส่งจากเหล่า 'เพื่อนร่วมคอก' งานวิจัยชิ้นล่าสุดเปิดเผยว่าคุณไม่ได้เป็นคนเดียวที่โดนแบบนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณพยายามต่อสู้รับมือกับมัน งานวิจัยล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสารการจัดการกับความเครียด (International Journal of Stress Management) เปิดเผยว่า ลูกจ้างที่ถูกเจ้านายรังแกมักจะมีวิธีจัดการกับปัญหาในแบบที่ทำให้พวกเขารู้สึกแย่ลงโดยที่พวกเขาไมได้ตั้งใจ ซึ่งนี้ถือเป็นข่าวร้ายเนื่องจากงานวิจัยเผยอีกว่าการถูกรังแกในที่ทำงานมีส่วนเชื่อมโยงกับโรคเครียด และโรคเครียดก็นำไปสู่โรคภัยไข้เจ็บทั้งทางกายและทางใจอีกมากมาย รวมถึงน้ำหนักตัวเพิ่มและโรคหัวใจด้วย ในกรณีศึกษาชั้นรุนแรงรายหนึ่ง การถูกรังแกในที่ทำงานทำให้เกิดการฆ่าตัวตาย เช่นเดียวกับที่การถูกรังแกในโรงเรียนเป็นเหตุให้วัยรุ่นหลายรายคิดสั้น แกรี่ นามี นักจิตวิทยาสังคมผู้อำนวยการสถาบันป้องกันการถูกรังแกในสถานที่ทำงาน (WBI) ให้นิยามของการรังแก หรือ Bullying ว่า เป็นการกระทำกดขี่ข่มเหงที่ทำให้เกิดผลร้ายต่อสุขภาพตามมามากมาย ซึ่งเป็นสิ่งที่คนทั่วไปเรียกมันแยกมันจาก 'การบริหารอย่างเข้มงวด' หรือการกระทำอื่นๆ ที่อาจจะดูน่ารักน่าชัง ที่คนมักจะใช้เพื่อลดภาพความรุนแรงของมัน รับมือกับการถูกรังแก อย่างไรก็ตามนามี ไม่ได้ร่วมวิจัยงานชิ้นล่าสุด ที่มีการสำรวจลูกจ้าง 500 ราย เกี่ยวกับเรื่องวิธีการที่พวกเขาจัดการกับปัญหาที่เกิดจากพวกฝ่ายตรวจสอบจอมข่มเหงรังแก ดานา ยากิล จากมหาวิทยาลัยไฮฟา ประเทศอิสราเอล ผู้เขียนสรุปงานวิจัยเรื่องนี้กล่าวว่า คนที่ข่มเหงรังแกเป็นหัวหน้างานที่ดูหมิ่นเหยียดหยามลูกจ้างของพวกเขา ไม่เคยยอมให้พวกเขาลืมความผิดพลาด มีการผิดสัญญา และทำให้ลูกจ้างเหินห่างจากเพื่อนร่วมงานคนอื่นๆ ยากิล เปิดเผยว่ามีชาวสหรัฐฯ ร้อยละ 13-14 ที่ทำงานอยู่ภายใต้หัวหน้างานจอมข่มเหง งานวิจัยของเธอที่ทำการศึกษาคนงานชาวอิสราเอลพบว่าลูกจ้างมักจะจัดการกับปัญหานี้ด้วยการหลีกเลี่ยงการพบเจอเจ้านาย พยายามหาความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมงาน และพยายามปลอบใจตนเอง อาจจะฟังดูเป็นความคิดที่ดี แต่สิ่งเหล่านี้กลับจะทำให้พวกเขารู้สึกแย่ลงกว่าเดิม \เป็นเรื่องเข้าใจได้ว่าทำไมลูกจ้างถึงอยากหลีกเลี่ยงการพบหน้าเจ้านายผู้ข่มเหงให้น้อยที่สุด แต่วิธีการที่พวกเขาใช้นี้กลับยิ่งเป็นการเพิ่มความเครียดแทนที่จะลดความเครียดลง\" ยากิลกล่าว \"อาจเป็นเพราะว่าวิธีการเหล่านี้มีส่วนมาจากความรู้สึกอ่อนแอ และทำให้ลูกจ้างรู้สึกกลัวเจ้านายอยู่ตลอด\" เรื่องเศร้าของคนฆ่าตัวตายเพราะถูกรังแกในที่ทำงาน การหลีกเลี่ยงการถูกรังแกในที่ทำงานอาจฟังดูง่ายกว่าการหลีกเลี่ยงการถูกรังแกในโรงเรียน เพราะลูกจ้างสามารถลาออกจากงานได้ แต่นามีก็บอกว่าลูกจ้างจะถูกกักอยู่ภายใต้วงจรความเครียด การสำรวจล่าสุดของ WBI ที่มีการสำรวจลูกจ้างที่ถูกรังแกพบว่า พวกเขาทนถูกรังแกอยู่เป็นเวลาโดยเฉลี่ย 22 เดือน นามีบอกอีกว่า ความเครียดจากการถูกรังแกก็อาจนำไปสู่การตัดสินใจแบบผิดๆ ในงานวิจัยเมื่อปี 2009 จากวารสาร Science ค้นพบว่า สมองส่วน dorsomedial striatum ของหนูที่ถูกทำให้เครียดจะหดเล็กลงเมื่อเทียบกับสมองส่วนเดียวกันของหนูที่มีความผ่อนคลาย การค้นพบนี้ทำให้ทราบว่าความเครียดอาจเปลี่ยนระบบการทำงานในสมอง ทำให้ตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ได้แคบลง นามีบอกว่า กรณีนี้นำมาใช้อธิบายกับลูกจ้างที่ถูกรังแกได้เช่นกัน \"นี่คือเหตุผลที่ทำให้คนเราไม่สามารถตัดสินใจดีๆ ได้\" นามีกล่าว \"พวกเขาไม่สามารถแม้แต่จะมองหาทางเลือกใหม่ๆ เช่นเดียวกับสามีภรรยาที่ทะเลาะตบตีกัน พวกเขาไม่สามารถมองหาทางออกอื่นๆ ให้กับสถานการณ์ได้ในเวลาที่พวกเขาเครียด และซึมเศร้า และถูกทำร้าย\" บางครั้งเรื่องราวเช่นนี้ก็จบด้วยโศกนาฏกรรม นามีเป็นคนที่ทำงานในฐานะพยานผู้เชี่ยวชาญด้านกฏหมายในกรณีการถูกรังแก เขาเล่าว่ามีอยู่คดีหนึ่งที่มีลูกจ้างผู้หญิงต้องทนอยู่กับการตะโกนด่าทอของเจ้านายเธอทุกวันๆ มาเป็นเวลา 1 ปี จนกระทั่งเธอต้องทำงาน 18 ชั่วโมงต่อวัน พยายามช่วยปกป้องลูกจ้างรายอื่นๆ จากความเผด็จการของเจ้านาย เมื่อทนไม่ไหวเธอและเพื่อนร่วมงานก็ได้ยื่นหนังสือร้องทุกข์ยาว 25 หน้าให้กับฝ่ายบริหารงานบุคคล แต่ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้นจนกระทั่งเธอถูกผู้บริหารระดับสูงเรียกไปพบ เธอรู้ว่าเธอจะถูกไล่ออกเพราะทำหนังสือร้องทุกข์ \"แทนที่เธอจะยอมถูกกำจัด เธอก็นำปืนพกเข้ามาในที่ทำงาน เขียนจดหมายลาตาย 3 ฉบับ ก่อนที่จะปลิดชีพตัวเองในที่ทำงาน\" นามีเล่า \"สภาพเธอเหมือนหนูติดจั่น\" นามีกล่าว \"เธอมองไม่เห็นทางออกอื่นเลยในตอนนั้น\" การรังแกกันเกิดจากอะไร แซนดี้ เฮิร์ชโควิส ศาตราจารย์ด้านบริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัยมานิโตบา ผู้ศึกษาเรื่องความรุนแรงในที่ทำงานกล่าวว่า แม้ว่ากรณีการรังแกกันในที่ทำงานโดยทั่วไปจะไม่ได้ร้ายแรงมาก แต่ก็ดูจะเป็นปัญหาที่เกิดโดยทั่วไป เฮิร์ชโควิสเปิดเผยว่า ราวร้อยละ 70-80 ของชาวสหรัฐฯ บอกว่าตนถูกปฏิบัติอย่างหยาบคายและไร้อารยธรรมในที่ทำงาน อีกจำนวนหนึ่งที่น้อยกว่านี้ 'ถูกรังแกอย่างเป็นระบบ' แต่ค่าประมาณการที่ดีที่สุดคือตัวเลขสถิติของลูกจ้างสหรัฐฯ ราวร้อยละ 41 ที่บอกว่าตนถูกข่มเหงทางจิตใจในที่ทำงาน เฮิร์ชโควิสบอกว่าในองค์กรที่มีลำดับขั้นอย่างเช่นกองทัพมักจะมีอัตราการรังแกกันมากกว่า เช่นเดียวกับในองค์กรที่มีบรรยากาศการทำงานแบบแข่งขันสูง \"แน่นอนว่าบริบทขององค์กรมีส่วนในเรื่องนี้\" เฮิร์ชโควิสกล่าว ศจ. ด้านบริหารฯ บอกอีกว่ากุญแจสำคัญอย่างหนึ่งของคนที่ชอบข่มเหงคนอื่นมาจากบุคลิกของพวกเขา มีงานวิจัยบางชิ้นเปิดเผยว่าคนที่ชอบรังแกคนอื่นตั้งแต่เด็ก โตมาเป็นผู้ใหญ่ก็จะยังเป็นอันธพาล คนที่จะตกเป็นเป้าหมายถูกรังแกคือคนที่มีความวิตกกังวลในการเข้าสังคม มองเห็นคุณค่าในตัวเองต่ำ หรือมีบุคลิกภาพแบบหลงตัวเอง (narcissism) \"พวกเราไม่ได้อยากจะโทษเหยื่อ แต่พวกเรารู้เรื่องนี้มากขึ้นจากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคนรังแกกับคนถูกรังแก\" มีงานวิจัยไม่มากนักที่ค้นคว้าหาวิธีจัดการกับเจ้านายหรือเพื่อนร่วมงานจอมอันธพาล ยากิลบอกว่า ในกรณีเบาๆ ที่เจ้านายไม่รู้ตัวว่าการกระทำของตนเกินเลย การเผชิญหน้าโดยตรงอาจจะได้ผล ขณะที่เฮิร์ชโควิสบอกว่า มีโครงการสนับสนุนการมีอัธยาศัยที่ดี มีการเคารพกัน และรักษาคำมั่นสัญญากันในที่ทำงาน (Civility

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท