Skip to main content
sharethis

ส.ปลัดสำนักนายกฯ แจ้งส่งข้อเรียกร้อง เร่ง-ขยายกรอบเยียวยา เร่งค้นหาความจริง ปรับปรุงงบกองทัพและแก้ ม.112 ของนักกิจกรรมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแล้ว วานนี้ (28 ม.ค.55) ตัวแทนเครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตยและกลุ่มประกายไฟ เปิดเผยว่าได้รับจดหมายจากสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีว่า ได้ส่งข้อเรียกร้องของทางเครือข่ายฯ กรณีให้รัฐบาลเร่งและขยายกรอบการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงทางการเมืองและโดยรัฐ เร่งสืบหาข้อเท็จจริงในเหตุการณ์สลายการชุมนุม ปรับปรุงงบประมาณของกองทัพและนำเอาข้อเสนอเรื่องแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ของนักวิชาการ โดยสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีระบุว่า ได้ส่งเรื่องดังกล่าวให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาแล้ว โดยจดหมายดังกล่าวมีเนื้อหาถึงนายเทวฤทธิ์ มณีฉาย ลงวันที่ว่า 23 ม.ค.55 ความว่า ตามที่ท่านได้มีหนังสือกราบเรียนนายกรัฐมนตรี เรียกร้องให้รัฐบาลเร่งและขยายกรอบการเยียวยา เร่งสืบหาข้อเท็จจริงในเหตุการณ์สลายการชุมนุม ปรับปรุงงบประมาณของกองทัพกรณีการใช้งบประมาณเพื่อจัดซื้ออาวุธของกองทัพให้มีความเหมาะสม และนำเอาข้อเสนอเรื่องแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ของนักวิชาการมาพิจารณา และอื่นๆ ความแจ้งแล้วนั้น สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีขอเรียนว่า ได้ประสานงานเพื่อส่งเรื่องดังกล่าวให้กระทรวงกลาโหม กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงยุติธรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติและกรมสอบสวนคดีพิเศษ รวมทั้งรองนายกรัฐมนตรี (นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ) ในฐานะประธานกรรมการประสานและติดตามผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (ปคอป.) รับทราบเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาในส่วนที่เกี่ยวข้องแล้ว จดหมายเรียนเพื่อทราบจากส.ปลัดนายกฯฉบับดังกล่าว โดยเมื่อวันที่ 17 ม.ค.55 ที่ผ่านมา ตัวแทนเครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตยและกลุ่มประกายไฟ ได้เข้ายื่นหนังสือเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งและขยายกรอบการเยียวยา เร่งสืบหาข้อเท็จจริงในเหตุการณ์แต่ละกรณีการสลายการชุมนุม ลดงบประมาณกองทัพและนำเอาข้อเสนอเรื่องแก้ ม.112 ของ คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) และคณะนิติราษฎร์มาพิจารณา ซึ่งเป็นเวลาไม่กี่นาทีหลังจากที่ทางเครือข่ายพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดินหรือกลุ่มเสื้อหลากสี ที่นำโดย นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ ได้เข้ายื่นค้านจ่ายชดเชยผู้เสียชีวิตเหตุสลายชุมนุม ซึ่งทางเครือข่ายนักกิจกรรมฯและกลุ่มประกายไฟ ได้เดินสลับการหมอบกราบกลุ่มของ นพ.ตุลย์ เป็นระยะทางประมาณ 100 เมตร พร้อมชูป้าย \ไม่อยากให้จ่ายเยียวยา? แล้วยุให้ \"ฆ่า\" กันทำไม?\" \"ไม่มีใครสมควรตายเพราะคิดต่างทางการเมือง\" “เสื้อหลากสีได้แต่อย่าให้ใจดำ” จากนั้นมีการล้มตัวลงนอนราบไปกับพื้นเพื่อแสดงการคัดค้านการยื่นหนังสือของกลุ่ม นพ.ตุลย์ ดังกล่าว ทั้งนี้ไม่มีการกระทบกระทั่งกันเกิดขึ้น มีเพียงการตะโกนด่าจากกลุ่มผู้สนับสนุน นพ.ตุลย์ เช่น \"น่าอนาถ\" \"น่าสมเพช\" \"พวกเผาบ้านเผาเมือง\" โดยใช้เวลาไม่นานทั้งสองฝ่ายก็ได้ยุติการชุมนุม เครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตย กลุ่มประกายไฟ 17 มกราคม 2555 เรื่อง เรียกร้องให้รัฐบาลเร่งและขยายกรอบการเยียวยา เร่งสืบหาข้อเท็จจริงในเหตุการณ์แต่ละกรณีการสลายการชุมนุม ลดงบประมาณกองทัพและนำเอาข้อเสนอเรื่องแก้ ม.112 ของ คอป.และนิติราษฎร์มาพิจารณา เรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เนื่องด้วยเมื่อวันที่ 10 ม.ค.ที่ผ่านมา ได้มติคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้มีการจ่ายเงินชดเชยผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงหรือความขัดแย้งทางการเมือง ตั้งแต่ก่อนรัฐประหาร 19 ก.ย.2549 ถึงเมษา-พฤษภาปี 2553 โดยการชดเชยเยียวยาให้ครอบคลุมถึงคนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง ทุกเหตุการณ์ นับแต่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมาชุมนุมขับไล่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เหตุรัฐประหาร 19 ก.ย.2549 เหตุการณ์กลุ่มพันธมิตรฯชุมนุมขับไล่รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เหตุการณ์ชุมนุมของคนเสื้อแดง ทั้งปี 2552 มาจนถึงเหตุความรุนแรงเมษา-พฤษภาปี 2553 รวมวงเงิน 2 พันล้านบาท โดยไม่รวมถึงความเสียหายจากเหตุการณ์อื่นๆ อาทิ กรณีตากใบหรือกรือเซะ นั้น ทางเครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตยและกลุ่มประกายไฟเห็นว่าเป็นเรื่องที่น่ายกย่อง เนื่องจากจะเป็นการยกระดับมาตรฐานการให้คุณค่าของชีวิตมนุษย์ในสังคมนี้ และเป็นบทเรียนแก่ผู้กุมอำนาจและสังคมที่จะไม่ปล่อยให้มีการเข่นฆ่าประชาชนเกิดขึ้นอีกต่อไป จริงอยู่ที่เงินเพืยงไม่กี่แสนหรือล้านจะไม่สามารถชดเชยคุณค่าความเป็นมนุษย์ได้ทั้งหมด แต่มติ ครม.นี้ก็เป็นเรื่องที่จำเป็นที่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้เสียชีวิตและผู้บาด เจ็บจะต้องได้รับการเยียวยาเป็นการเบื้องต้นจากความสูญเสียที่ไม่ควรที่จะ เกิดขึ้นนี้ โดยมาตรฐานเหล่านี้ถือได้ว่าจะเป็นคุณูปการของประชาชนในสังคมไทยในอนาคตอีกด้วย ในขณะเดียวกันเมื่อวันที่ 30 ธ.ค.54 ที่ผ่านมาคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ(คอป.)ได้เสนอแนะรัฐบาล ว่าควรผลักดันการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เช่นเดียวกับคณะนิติราษฎร์ที่เสนอให้มีการปรับแก้กฎหมายมาตรานี้ ถือเป็นสิ่งที่รัฐบาลไม่ควรเพิกเฉยควรนำมาพิจารณา พร้อมทั้งเปิดให้สังคมได้มีการแลกเปลี่ยนถกเถียงประชาพิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง ดังนั้น ทางเครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตยและกลุ่มประกายไฟ จึงขอเรียกร้องต่อรัฐบาล ดังนี้ เร่งเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงหรือความขัดแย้งทางการเมือง ตั้งแต่ก่อนรัฐประหาร 19 ก.ย.2549 ถึงเมษา-พฤษภาปี 2553 ตามมติ คณะรัฐมนตรี เมื่อ 10 ม.ค.ที่ผ่านมา ขยายวงเงินในการเยียวยาในกรณีต่างๆ ปล่อยนักโทษทางการเมืองในทุกกรณี หรืออย่างน้อยให้สิทธิในการประกันตัวเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการต่อสู้คดี พร้อมทั้งเยียวยากลุ่มคนเหล่านั้น รวมทั้งคู่กรณีที่เป็นคดีความกับรัฐทุกกรณีต้องได้รับสิทธิการประกันตัวเพื่อสู้คดีโดยกรมการคุ้มครองสิทธิเเละเสรีภาพ ขยายกรอบการเยียวยาให้ครอบคลุมกรณีผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงโดยรัฐอื่นๆด้วย เช่น กรณีความเสียหายที่เกิดจากเจ้าหน้าที่รัฐ และผู้เสียหายจากกระบวนการตาม พรก. ฉุกเฉิน ในจังหวัดชายแดนใต้ กรณีความรุนแรงทางการเมืองในอดีตอย่าง พ.ค.35

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net