การตั้ง รมต. ดร.นลินี ทวีสิน กับข้ออ้างทางจริยธรรม

ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ

เป็นที่ทราบกันดีในทางการเมืองในขณะนี้ว่า ในที่สุดกรณีการแต่งตั้ง ดร.นลินี ทวีสิน ซึ่งถูกหน่วยงานหนึ่งในกระทรวงการคลังของสหรัฐอเมริกาขึ้นบัญชีดำ ห้ามมิให้ทำธุรกิจกับพลเมืองสหรัฐ แม้จะมีการปฏิเสธจาก ดร.นลินี ว่าเป็นความเข้าใจผิดกรณีถูกกล่าวหาจากหน่วยงานดังกล่าวว่าทำธุรกิจกับภริยาของนายโรเบริ์ต บูกาเบ ประธานาธิปดีแห่งซิมบับเว ซึ่งไม่เป็นที่ชื่นชอบของรัฐบาลสหรัฐผู้กล่าวหานั้น กำลังนำไปสู่ปัญหาการเมืองได้ เมื่อมีความพยายามใช้เหตุจากการที่นายกรัฐมนตรีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แต่งตั้ง ดร.นลินี ทวีสิน ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้เป็นปัญหาทางการเมืองโดยเริ่มจากมี สส. ฝ่ายค้านตั้งกระทู้สอบถามนายกรัฐมนตรีขณะที่อยู่ระหว่างการเดินทางไปทำหน้าที่ในต่างประเทศ จนเกิดความวุ่นวายในการประชุมสภาผู้แทนราษฏร์ โดยที่พรรคฝ่ายค้านต้องการให้นายกรัฐมนตรีมาตอบกระทู้ด้วยตนเอง ขณะที่นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้รองนายกฯ ยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ ที่มีอีกหนึ่งฐานะคือตำแหน่งหัวหน้าพรรคเพื่อไทย โดยว่าได้รับรู้ถึงการเสนอชื่อ ดร.นลินี ทวีสิน มาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีตั้งแต่ต้นเพราะเป็นหัวหน้าพรรคมาตอบกระทู้แทน โดยอ้างเหตุจำเป็นว่านายกฯไม่สามารถตอบกระทู้ได้เพราะอยู่ระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ในต่างประเทศ แต่ท้ายที่สุดพรรคฝ่ายค้านไม่ยอมโดยยืนยันที่จะให้นายกรัฐมนตรีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มาตอบคำถามด้วยตัวเอง ในที่สุดจึงต้องเลื่อนวันตอบกระทู้ของนายกรัฐมนตรีต่อสภาฯออกไปในการประชุมครั้งต่อไป ทั้งที่โดยแม้ว่าจะยอมรับการแต่งตั้ง รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าว ว่ามีความถูกต้องตามกฎหมาย (รัฐธรรมนนูญ ฯ ปัจจุบัน) เพราะว่าผู้ถูกแต่งตั้งมีคุณสมบัติครบถ้วนและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามเงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญกำหนด แต่กระนั้นก็ตาม ผู้ตั้งกระทู้จากพรรคประชาธิปัตย์ยังชี้ว่าแม้การแต่งตั้งจะชอบด้วยรัฐธรรมนูญ แต่ก็เป็นการตั้งที่ขัดต่อจริยธรรม เช่นเดียวกันกับที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา แสดงความกระตือรือร้นในการเข้าไปตรวจสอบว่าการแต่งตั้ง ดร.นลินี ทวีสิน เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีว่าเป็นไปตามบทบัญญัติในหมวด ๑๓ ว่าด้วยจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๗๙ หรือไม่ ภายหลังจากมีบุคคลได้ร้องเรียนต่อสำนักงานผู้ตรวจการฯ คำถามหรือกระทู้ของ สส. พรรคฝ่ายค้านต่อนายกรัฐมนตรีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต่อการแต่งตั้งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ดร.นลินี ทวีสิน ว่าแม้ไม่ขัดรัฐธรรมนูญปัจจุบัน หรือพูดอีกนัยคือชอบด้วยรัฐธรรมนูญ แต่ก็ไม่เป็นไปตามจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตามความในมาตรา ๒๗๙ แห่งรัฐธรรมนูญปัจจุบัน ทำให้เกิดความเข้าใจได้เป็นสองนัยว่า ๑) ที่ว่าการแต่งตั้งชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ซึ่งตามที่ฝ่ายค้านผู้ตั้งกระทู้ยอมรับนั้นหมายถึงความชอบด้วยรัฐธรรมนูญฯทั้งฉบับ ซึ่งรวมถึงบทบัญญัติว่าด้วยจริยธรรม ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐในหมวด ๑๓ ด้วยหรือไม่กรณีหนึ่ง และ ๒) หากการแต่งตั้งชอบด้วยรัฐธรรมนูญปัจุบัน แต่ไม่ถูกต้อง ขัดหรือสวนทางกับหมวด ๑๓ ว่าด้วยจริยธรรม ตามที่กล่าวอ้าง เรื่องการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองว่าได้หรือไม่ได้ ชอบหรือไม่ชอบ จะต้องดูจากหมวดที่ ๑๓ เป็นหลักหรือไม่ ในประการสำคัญมีรัฐธรรมนูญปัจจุบันกำหนดหลักการไว้อย่างไร กรณีหลักเกณฑ์การแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองว่าขัดหรือสวนทางกับหมวดที่ ๑๓ แล้วให้ถือเอาหมวดที่ ๑๓ เป็นหลักในการวินิจฉัยการแต่งต้งผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองการหาคำตอบทั้งสองกรณีหากเราไม่ทำความเข้าใจ หรือ จำแนกแยกแยะไม่ได้ หรือไม่มีความเข้าใจสิ่งที่รัฐธรรมนูญรับรองกรณีจริยธรรม (Ethics) ก็จะเข้าใจไปในทิศทางที่สส.พรรคฝ่ายค้านตั้งกระทู้ถามนายกรัฐมนตรีคือ หนึ่ง. จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และเจ้าหน้าที่ของรัฐ เกิดจากการชี้นิ้วของบุคคลโดยเฉพาะผู้เป็น สส. หรือ นักการเมือง ที่สามารถใช้อัตวินิจฉัยส่วนตนที่ชี้กล่าวหาบุคคลอื่นได้หากเกิดความรู้สึกว่าไม่ถูกต้องตามจริยธรรม ทั้ง ๆ ที่เรื่องใดจะเป็นเรื่องทางจริยธรรมหรือไม่นั้นเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับบรรทัดฐานของสังคม (Social Norms) สังคมไม่ใช่ผู้สร้างบรรทัดฐาน การเกิดหรือการก่อตัวของจริยธรรม เกิดขึ้นเหมือนการบัญญัติหรือเขียนขึ้นเหมือนกฎหมายแต่เรียกต่างกัน หรือ กรณีเกิดจากการเลือกวินิจฉัยตีความเอาเองตามคำที่ปรากฎในรัฐธรรมนูญ อันเป็นความเข้าใจที่คาดเคลื่อนมาก ๆ สอง. การหล่อหลอมทางบรรทัดฐานของสังคมในเรื่องใด ๆ จนส่วนหนึ่งถูกยกระดับพัฒนาเป็นจริยธรรมนั้น ไม่ต้องพิจารณาถึงความจริง (The Master of Fact) ไม่ต้องสนใจว่าสิ่งนั้น ๆ อย่างน้อยที่สุดจะเกี่ยวข้องกับความถูกต้องตามกฎหมายของสังคม (Laws and Orders) หรือไม่ การที่สังคมเขียนหรือก่อกำเนิดจริยธรรมขึ้นซึ่งสะท้อนออกตาม ประมวลจริยธรรม (Code of Ethics) ในเรื่องใด ๆ นั้น ไม่เป็นความจริงก็ได้ ไม่ถูกต้องตามกฎหมายก็ได้ อย่างกรณีการแต่งตั้ง ดร.นลินี ทวีสิน โดยนายกรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อันปัญหาจากการที่มีการกล่าวหาทางการเมืองซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับ การเมืองและ ความจริง (Fact) ความชอบด้วยกฎหมายและนิติธรรมระหว่างประเทศ (International Rule of Laws) โดยปัญหาข้อเท็จจริงดังกรณีการแต่งตั้ง ดร.นลินี ฯ ยังไม่เคยมีบรรทัดฐานมาก่อนว่าอย่างนี้เป็นปัญหาทางจริยธรรม กรณีอาจจะอ้างว่าก็เอาเรื่องนี้เป็นกรณีสร้างบรรทัดฐาน แล้ว ความจริง ความถูกต้องจะว่าอย่างไร จริยธรรมถูกสร้างด้วยเงื่อนไขอย่างนี้จะถูกหรือ และ การเอาความต้องการทางการเมืองมาบังคับผู้อื่นให้ยอมจำนนด้วยข้ออ้างทางจริยธรรมตามมาตรฐานส่วนตนสิ่งนั้นกลายเป็นจริยธรรมเรื่องนั้นทันทีหรือ สาม. กระทู้ของพรรคฝ่ายค้านส่วนหนึ่ง อ้างยอมรับว่าการแต่งตั้งถูกต้องตามรัฐธรรมนูญปัจจุบัน แต่ไม่ถูกต้องตามจริยธรรม ตามรัฐธรรมนูญ ฯ มาตรา ๒๗๙ ในหมวด ๑๓ เลยไม่รู้ว่าหากชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญจริง แล้วทำไมต้องไม่ถูกต้องตามหมวด ๑๓ อีกหากจะต้องวินิจฉัยตามกระทู้ของ สส.พรรคฝ่ายค้านก็แสดงว่า บทบัญญัติในหมวด ๑๓ มีผลบังคับเหนือ (Over Rule) บทบัญญัติในหมวด ๙ เรื่องคณะรัฐมนตรี ในประการสำคัญโดยมองว่ากรณีจริยธรรมโดยนัยที่กำหนดไว้ตาม มาตรา ๒๗๙ หมวด ๑๓ นั้นมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายในระดับรัฐธรรมนูญ พูดอีกนัยคือ จริยธรรม กับ กฎหมายหรือรัฐธรรมนูญนั้น เป็นเรื่องเดียวกัน ใช้บังคับเหมือนกันก็เป็นความเข้าใจผิด เพราะจริยธรรมเป็นระบบความคุมทางสังคม (Social Control) ขณะที่กฎหมายเป็นระบบความคุมทางกฎหมาย (Legal Control) ซึ่งต่างกัน ความสับสนที่สะท้อนจากกระทู้ของ สส. พรรคฝ่ายค้าน และหรือ การกระตือรือร้นเข้าไปตรวจสอบของผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภาบางท่าน จากกรณีการที่นายกรัฐมนตรีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แต่งต้ง ดร.นลินี ทวีสิน ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า และ ทำการถวายสัตย์เข้าทำหน้าที่เป็นที่เรียบร้อยไปแล้วโดยว่าไม่ถูกต้องตามจริยธรรมตามรัฐธรรมนูญนั้น ไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะความเชื่อโดยบริสุทธ์ใจของผู้ตั้งกระทู้ หรือ ความเข้าใจจริง ๆ อย่างนั้นจริง ๆ หรือไม่ เป็นเรื่องที่สังคมการเมืองไทยต้องคอยติดตามการถามกระทู้ และ การตอบกระทู้จากนายกรัฐมนตรีในอนาคตอันไกล้นี้ ในฐานะที่เป็นกรณีปัญหาทางการเมืองหนึ่งที่ถูกจุดขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องทางการเมืองที่เกิดขึ้นมาแล้วก็ไป ไม่สำคัญอะไรนักสำหรับสังคมที่จะให้ค่ากับการเล่นการเมือง เพื่อการเมือง โดยการเมืองที่ไม่เคยแปรเปลี่ยนไปจากสังคมการเมืองไทย แต่กรณีนี้ผู้เขียนกลับมองเห็นเป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะเมื่อพิจารณาถึงโอกาสทางการเมืองไทยที่จะต้องพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อสิ่งสุดท้ายที่จะตกถึงมือประชาชน กอปรปัญหาวิกฤตการณ์การเมืองไทยที่ดำรงอยู่ในสังคมไทยในอดีตที่ผ่านมา ความยิ่งใหญ่และถือเป็นเรื่องมหัศจรรย์ใจในรอบปีใหม่เมื่อเห็นนักการเมืองหยิบยกเอาเรื่องจริยธรรม มาเป็นประเด็นสำคัญในการตรวจสอบกันในทาง “การเมือง” หากเป็นเช่นนั้นจริง ๆ การเมืองไทยคงพัฒนาและยกระดับสูงขึ้นและเป็นความหวังของประชาชนไทยที่ตั้งตารอคอยมาเป็นเวลานาน อย่าลืมและแกล้งไม่เข้าใจว่า จริยธรรม (Ethics) ที่บัญญัติไว้ในหมวด ๑๓ รัฐธรรมนูญปัจจุบันซึ่งกำลังถูกนำไปใช้ในข้อกล่าวหาด้านจริยธรรมนั้น ในตัวสาระแก่นสารในตัวของจริยธรรมเอง คุณค่าของจริยธรรมได้บอกตัวมันเองว่าผู้ยกเรื่องจริยธรรมมากล่าวหาผู้อื่น ต้องตั้งอยู่บนครองแห่งจริยธรรมด้วย หาไม่แล้วก็จะเป็นเพียงการจับแพะชนแกะ หรือการสร้างวาทะกรรมทางการเมืองเท่านั้น ผมไม่ปฏิเสธว่าจริยธรรมอาจมีได้ในหลาย ๆ ด้านเช่น จริยธรรมทางการเมือง จริยธรรมของนักวิทยาศาสตร์ จริยธรรมของนักธุรกิจ จริยธรรมของครูอาจารย์ หรือ จริยธรรมของบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งในทางการเมือง อันเป็นบรรทัดฐานร่วมกันของสังคมที่ก่อร่างสร้างขึ้นมา ซึ่งขึ้นอยู่กับความจริง ความถูกต้องตามกฎหมายที่ถูกต้อง และ นิติธรรมระหว่างประเทศที่ถูกต้องเทียบเคียงกับกรณีนายกรัฐมนตรีนางสาว ยิ่งลีกษณ์ ชินวัตร แต่งตั้ง ดร.นลินี ทวีสิน ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี หากจะต้องเป็นเรื่องปัญหาที่ต้องพิจารณาทางจริยธรรมต้องมีฐานที่มาของจริยธรรมในเรื่องนั้น ๆ ที่ถูกต้อง จริยธรรมไม่อาจงอกเงยขึ้นจากการชี้นิ้วของบุคคลใดอาชีพใดกล่าวหาคนอื่น โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์ใด ๆ กับบรรทัดฐานของสังคม หรือไม่จำแนกแยกแยะว่าจริยธรรมกับกฎหมายเป็นสิ่งเดียวกันระดับเดียวกันหรือไม่ หากเรื่องทั้งหมดเป็นเพียงต้องการใช้มันเพื่อต้องการบรรลุผลทางการเมืองเท่านั้น การผูกโยงจริยธรรมเพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมือง ผู้ถามหรือตั้งกระทู้จำเป็นต้องตรวจสอบตัวเองให้แน่ใจก่อนว่า... คำถามจริยธรรมไม่เป็นการทำลายจริยธรรมของผู้ถามเสียเอง....

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท