Skip to main content
sharethis

กรมการจัดหางาน เปิดรับชายไทยไปฝึกงานประเทศญี่ปุ่น ปี 2555 ครั้งที่ 1 ผ่านองค์กร IM นางสาวปัทมพร ผุดเพชรแก้ว จัดหางานจังหวัดราชบุรี เปิดเผยว่า กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจในการดำเนินการจัดส่งผู้ฝึกงาน ไปฝึกงานในสถานประกอบการของญี่ปุ่นปี 2555 เป็นครั้งที่ 1 ในตำแหน่งคนงานทั่วไป กำหนดระยะเวลาฝึกสูง 3 ปี (36 เดือน) ซึ่งผู้สมัครจะต้องคุณสมบัติ ดังนี้ 1. เพศชาย อายุ 20 – 30 ปี สำเร็จการศึกษาระดับชั้น ม.6 , ปวช. หรือ ปวส. สาขาเครื่องกล (ช่างยนต์) สาขาเครื่องกลและซ่อมบำรุง (ช่างกลโรงงาน) สาขาวิชาโลหะการ (ช่างเชื่อม) สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และสาขาวิชาการก่อสร้าง ยกเว้น สาขาสถาปัตยกรรม สาขาเคหะภัณฑ์ ช่างโยธา และสำรวจ) 2. มีความสูงไม่ต่ำกว่า 160 ซม. 3. พ้นภาระทางทหาร 4. ไม่เคยเป็นผู้ไปฝึกงานที่ประเทศญี่ปุ่นมาก่อน หรือไม่เคยเป็นผู้ถูกตัดสิทธิออกจากการฝึกอบรมก่อนเดินทางไปฝึกงานในประเทศ ญี่ปุ่น 5. ไม่มีรอยสักหรือความผิดปกติทางร่างกาย 6. มีสายตาปกติ และตาไม่บอดสี ทั้งนี้ ผู้ฝึกงานที่ผ่านการสอบจะต้องไปฝึกกับสถานประกอบการที่ทาง IM จัดให้เท่านั้น ในเดือนแรกจะได้รับเบี้ยเลี้ยงเดือนละ 80,000 เยน (ประมาณ 32,000 บาท) เดือนที่ 2 ถึงเดือนที่ 12 หรือ เดือนที่ 36 ผู้ฝึกงานเทคนิคจะอยู่ภายใต้กฎหมายแรงงานของประเทศญี่ปุ่น โดยจะต้องรับผิดชอบค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าสาธารณูปโภคต่าง ๆ และค่าประกันสังคม รวมทั้งค่าภาษีตามที่กฎหมายกำหนด สำหรับผู้ที่สำเร็จการฝึกงานครบตามหลักสูตร 1 ปี จะได้รับประกาศนียบัตรรับรองการฝึกงาน และเงินสนับสนุนการประกอบอาชีพอิสระ จำนวน 200,000 เยน (ประมาณ 80,000 บาท) ผู้ที่สำเร็จการฝึกงานครบตามหลักสูตร 3 ปี จะได้รับประกาศนียบัตรรับรองการฝึกงาน และเงินสนับสนุนการประกอบอาชีพอิสระ จำนวน 600,000 เยน (ประมาณ 240,000 บาท) ผู้สนใจสามารถสมัครด้วยตนเองได้ที่ ฝ่ายพิจารณาการไปทำงานตามระบบ IM ประเทศญี่ปุ่น สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ อาคารสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 3 ชั้น 10 กระทรวงแรงงาน สำนักจัดหางานกรุงเทพเขตพื้นที่ 1-10 หรือที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด ในระหว่างวันที่ 16 มกราคม – 3 กุมภาพันธ์ 2555 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานจัดหางานจังหวัดราชบุรี เลขที่ 1/56-57 ถนนสมบูรณ์กุล ซอย 3 ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ราชบุรี โทร. 0-3232-2261-2 ต่อ 113-114 ในวันและเวลาราชการ (29-1-2555, สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์) รง.สิ่งทอทยอยย้ายฐาน หนีค่าแรงไทยแพงกว่าเพื่อนบ้าน 60 รายไปพม่า-ลาว-เขมร-เวียดนาม นายธนิต โสรัตน์ รองประธาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ผู้ประกอบการ อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น อาทิ อุตสาหกรรมรองเท้า, สิ่งทอ และเครื่องนุ่งห่มกว่า 60 บริษัท ได้ย้ายฐานการ ลงทุนไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่าง พม่า เวียดนาม ลาว และกัมพูชา เร็วขึ้น หลังไทยมีนโยบายปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้าน ค่าแรงต่ำกว่ามากราว 4-8 เท่าตัว ทั้งนี้ จากการสอบถามพบว่า ค่าจ้างแรงงานในไทยเฉลี่ยอยู่ที่เดือนละ 290 เหรียญสหรัฐ ขณะที่ค่าจ้างแรงงาน ในพม่าอยู่ที่ 33.4 เหรียญสหรัฐต่อเดือน ต่ำกว่าไทย 8.6 เท่า กัมพูชาอยู่ที่ 66 เหรียญสหรัฐต่อเดือน ต่ำกว่าไทย 4.75 เท่า เวียดนามอยู่ที่ 55-60 เหรียญสหรัฐต่อเดือน ต่ำกว่าไทย 4.8 เท่า และลาวอยู่ที่ 81 เหรียญสหรัฐต่อเดือน ต่ำกว่าไทย 3.53 เท่า \ภาครัฐควรจะให้การส่งเสริมให้ไทยมีการเข้าไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน มากขึ้น แทนที่จะมองเพียงการย้ายฐานการลงทุนเป็นเรื่องที่ไม่ดี เพราะการย้ายฐานลงทุนไปประเทศเพื่อนบ้านเพื่อหาแหล่งทรัพยากรและค่าแรงที่ ถูกกว่า เป็นเรื่องที่นักลงทุนทุกคนมองไว้อยู่แล้ว เพียงแต่พอมีเรื่องค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน เข้ามาเป็นตัวกระตุ้นให้ตัดสินใจได้เร็วขึ้นเท่านั้น\" นายธนิต กล่าว อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ภาคอุตสาหกรรมไทยยังเผชิญปัญหาการขาดแคลนแรงงานทุกส่วน โดยมีตัวเลข การว่างงานเพียงแค่ 0.7% เท่านั้น ส่วนที่พื้นที่เกษตรกรรมและทรัพยากรของไทยก็ลดน้อยลง ขณะที่ประเทศ เพื่อนบ้านอย่างพม่าที่เพิ่งเปิดประเทศก็มีตลาดที่ใหญ่ รวมทั้งยังได้รับสิทธิพิเศษ ทางภาษีศุลกากร (จีพีเอส) และยังไม่ถูกกีดกันทางการค้า ซึ่งจะช่วยเป็น แต้มต่อในการแข่งขันให้อุตสาหกรรมไทย เหมือนกับประเทศญี่ปุ่น และเกาหลีที่โตจากการลงทุนในต่างประเทศ ขณะที่ นายวัลลภ วิตนากร กรรมการ และที่ปรึกษาสมาคมอุตสาหกรรม เครื่องนุ่งห่มไทย ในฐานะประธาน เจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ไฮ-เทค กรุ๊ป กล่าวว่า จากสัญญาณที่สหรัฐ และยุโรปส่งสัญญาณจะยกเลิกการเข้าไปแทรกแซงประเทศพม่า ทำให้นักลงทุนมีความสนใจจะเข้าไปลงทุนในประเทศพม่ามากขึ้น เพราะประเมินว่าหลังจากนี้ระบบสาธารณูปโภคของพม่าจะได้รับการพัฒนาในทิศทาง ที่ดีขึ้น รวมทั้งพม่ายังมีการให้สิทธิประโยชน์เพื่อ จูงใจนักลงทุนโดยยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ต้นทุนด้านค่าจ้างงานค่อนข้างต่ำที่ 2

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net