Skip to main content
sharethis

ศาลรัฐธรรมนูญผ่านพระราชกำหนดกู้เงิน 2 ฉบับ ยกเหตุรัฐบาลจำเป็นต้องใช้เงินฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม และการโอนหนี้เพื่อลดภาระงบประมาณในการจ่ายหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ เพื่อนำเงิน 6 หมื่นล้านมาใช้พัฒนาประเทศ ด้านโฆษกเพื่อไทยจี้ ปชป. รับผิดชอบ ศาลรัฐธรรมนูญมีมติผ่านกฎหมายกู้เงินทั้ง 2 ฉบับ สำนักข่าวแห่งชาติ รายงานวันนี้ (22 ก.พ.) ว่าศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเอกฉันท์วินิจฉัยว่า พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ.2555 และมีมติ 7 ต่อ 2 ให้พระราชกำหนดปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินพ.ศ. 2555 เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 184 วรรค 1และ 2 โดยส่วนของพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ ศาลมีความเห็นว่า ปัญหาอุทกภัย ปลายปี 2554 ได้สร้างความเสียหายถึง 2.6 ล้านครัวเรือน ธนาคารโลกประเมินความเสียหาย 1.14 ล้านล้านบาท จนต้องปรับลดการประมาณการณ์การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพียงร้อยละ 1.1 จากเดิมร้อยละ 4 จึงอยู่ในภาวะวิกฤติใหญ่หลวง รัฐบาลได้ดำเนินการแก้ปัญหา โดยมีมาตรการจ่ายเงินชดเชย สนับสนุนสินเชื่อ การลดหย่อนภาษี อนุมัติงบกลางภายใต้พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2555 จำนวน 1.2 แสนล้านบาท นอกจากนี้ รัฐบาลมีความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อฟื้นฟูประเทศและวางระบบบริหารจัดการน้ำ โดยจัดให้มีการลงทุนในระบบโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อฟื้นฟูผลของความเสียหายทางเศรษฐกิจที่ถดถอยและมีความเสี่ยงต่อความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งปัญหาอุทกภัยได้สร้างปัญหาต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศรุนแรง โดยเฉพาะผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบถึง 841 โรงงาน มีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของโลกเนื่องจากไทยเป็นฐานในการผลิต ดังนั้น หากรัฐบาลไม่มีมาตรการในการสร้างความเชื่อมั่น อาจส่งผลให้ผู้ประกอบการนิคมอุตสาหกรรมอาจตัดสินย้ายไปต่างประเทศจะกระทบต่อความเชื่อมั่น สำหรับพระราชกำหนดปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ฯ ศาลมีความเห็นว่า รัฐบาลมีความพยายามแก้ไขปัญหาหนี้สาธารณะเพราะกระทรวงคลังตั้งงบประมาณรายจ่ายเพื่อชำระหนี้ดังกล่าวมาตลอด 15 ปีเป็นเงินกว่า 6.7 แสนล้านบาท แต่ชำระเงินต้นได้เพียงร้อยละ 13 เหลือหนี้ 1.14 ล้านบาท และในปีงบประมาณ 2555 ได้ตั้งงบประมาณเพื่อชำระดอกเบี้ยไว้ 6.8 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้มีการลงทุนน้อยลง ศาลรัฐธรรมนูญ เห็นว่าเป็นการลดภาระงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลในการตั้งงบประมาณเพื่อชำระดอกเบี้ยเงินกู้ โดยที่สามารถนำงบประมาณดังกล่าวมาใช้พัฒนาประเทศโดยส่วนรวม และไม่เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ แต่ความจำเป็นดังกล่าวมาจากวิกฤติอุทกภัย และโดยในชั้นนี้ยังไม่มีมูลที่ชี้ให้เห็นว่าคณะรัฐมนตรีตราพระราชกำหนดโดยไม่สุจริตและบิดเบือนรัฐธรรมนูญ สำหรับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คน ประกอบด้วย นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่เหลือประกอบด้วยนายจรัญ ภักดีธนากุล นายจรูญ อินทจาร นายเฉลิมพล เอกอุรุ นายชัช ชลวร นายนุรักษ์ มาประณีต นายบุญส่ง กุลบุปผา นายสุพจน์ ไข่มุกด์ และนายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี อดีต รมว.คลัง ชี้ รบ.ไม่ประสบความสำเร็จในการแก้หนี้ ขณะที่วันนี้ มติชนออนไลน์ รายงานว่านายกรณ์ จาติกวณิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ได้เดินทางไปฟังคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ ขณะที่นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.แต่งตั้ง ก็เดินทางไปที่ศาลรัฐธรรมนูญเช่นกัน โดยผู้สื่อข่าวประชาไท รายงานว่า ก่อนหน้านี้เมื่อ 20 ก.พ. นายกรณ์โพสต์แสดงความเห็นผ่านแฟนเพจเฟซบุค \Korn Chatikavanij\" ว่า\"รัฐบาลยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรในโครงการแก้ปัญหาหนี้ภาคประชาชน ได้มีการตั้งโจทย์ผิดแต่แรก โจทย์ควรจะเป็นว่าทำอย่างไรให้คนยากจนไม่ต้องวิ่งกู้นอกระบบ และสามารถเข้าถึงแหล่งเงินได้โดยไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ แต่รัฐบาลมัวแต่จะมาพักหนี้ในระบบให้เขา และผมเห็นรายงานว่าวันพรุ่งนี้จะถลำลึกลงไปอีกด้วยการเสนอให้พักหนี้ให้กับลูกหนี้ธนาคารรัฐรวม 500

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net