Skip to main content
sharethis

เสวนารณรงค์ผู้ชายใช้สิทธิ์ลาคลอด 19 ก.พ. 55 - ที่ รร.รามาการ์เด้นส์ กรุงเทพฯ พญ.ยุพยง แห่งเชาวนิช เลขาธิการมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย ได้เป็นประธานกล่าวเปิดการจัดเสวนาเรื่อง “ถึงเวลาพ่อลาคลอด” ว่า ต้องการจุดประกายให้กับสังคมให้ความสำคัญกับบทบาทของพ่อที่ต้องช่วยแม่ เลี้ยงลูก ซึ่งครม.มีมติเมื่อวันที่ 8 ก.พ. 53 ให้ข้าราชการสามารถลาคลอดเพื่อช่วยภรรยาเลี้ยงลูกได้ไม่เกิน 15 วัน และเมื่อ 24 ม.ค. 2555 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาไปแล้ว แต่ยังไม่เป็นที่รับทราบแพร่หลาย ผศ.ดร.ปารีณา ศรีวนิชย์ ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า สภามหาวิทยาลัยจุฬาฯได้ตระหนักถึงบทบาทของพ่อที่มีส่วนสำคัญในการช่วยเลี้ยง ลูกจึงได้กำหนดเป็นระเบียบให้ผู้ชายใช้สิทธิลาคลอดได้ 10 วัน โดยเริ่มมา 2-3 ปีแล้ว อย่างไรก็ตามเมื่อระเบียบนี้ออกมาซึ่งมีผลเฉพาะข้าราชการเท่านั้น โดยเวลา 15 วันถือว่ามากพอสมควร แต่อย่างไรก็ตามทำอย่างไรจึงจะให้สังคมมีค่านิยมส่งเสริมบทบาทของพ่อในการ เลี้ยงลูกให้มากขึ้น และอยากให้มีการขยายผลไปยังภาคเอกชน เพราะกฎหมายคุ้มครองแรงงานยังไม่รวมสิทธิ์ดังกล่าวไว้ ที่สำคัญผู้บังคับบัญชาจะต้องเข้าใจ เพราะอย่างบางบริษัทคุณแม่ใช้เวลาแค่ไปปั๊มนมเพื่อไปป้อนลูกก็โดนไล่ออกจาก งาน นายสง่า ดามาพงษ์ ประธานคณะกรรมการโครงการสื่อสารฯศูนย์นมแม่ฯ กล่าวว่า เมื่อประกาศเป็นระบียบออกมาแล้วจะต้องรณรงค์ให้นำไปสู่การปฏิบัติได้อย่าง แท้จริง โดยรัฐบาลจะต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทำความเข้า ใจถึงสิทธิ์ลาคลอดดังกล่าว รวมทั้งผู้บังคับบัญชาหน่วยงาน และขยายผลให้ครอบคลุมไปยังภาคเอกชนด้วย โดยรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะต้องผลักดันให้เกิดขึ้นให้ได้ ทั้งนี้ส่วนตัวเห็นว่าระยะเวลาเพียง 15 วันน้อยไปอย่างน้อยควรเป็น 1 เดือน โดยจะต้องขับเคลื่อนให้สังคมยอมรับ น.ส.กิรกมล ฉายบัณดิษฐ์ มูลนิธิเพื่อนหญิง กล่าวว่า สิทธิ์ในการลาคลอดของคุณพ่อน่าจะให้ระยะเวลามากว่า 15 วัน รวมทั้งขยายผลและผลักดันให้ครอบคลุมทุกกลุ่มอาชีพ จากนี้คงได้ปรึกษาหารือกับเครือข่ายแนวร่วมองค์กรต่างๆ เพื่อรณรงค์ถึงสิทธิลาคลอด ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการเสวนาได้มีคุณพ่อคุณแม่อุ้มลูกน้อยกว่า 20 ครอบครัวเข้าร่วมกิจกรรมอย่างคึกคัก โดยนายชีวทัศน์ อาชีพรับราชการที่กรุงเทพฯ ได้แสดงความเห็นว่า เมื่อภรรยาคลอดลูกตนได้ขอใช้สิทธิ์ลาคลอดตามระเบียบดังกล่าว แต่ผู้บังคับบัญชากลับไม่อนุญาตพร้อมไม่รับรู้ถึงสิทธิ์ดังกล่าว แต่ตนเป็นห่วงภรรยาเพราะอยู่กันแค่ 2 คน จึงได้ใช้สิทธิ์ลาพักร้อน และขาดงานได้อีก 5 วัน หากประกาศในราชกิจจานุเบกษาเร็วกว่านี้ ตนคงจะนำไปยันกับผู้บังคับบัญชาที่งี่เง่าของตนได้ (เดลินิวส์, 19-2-2555) เผยข้อมูล 5 ปี มีแรงงานถูกหลอกไปทำงาน ตปท.กว่า 1.2 หมื่นคน นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กกจ.ได้รับเรื่องราวร้องทุกข์จากคนหางานในช่วง ต.ค.2553 - ก.ย.2554 รวมทั้งสิ้น 1,783 คน มูลค่าความเสียหายรวม 120,056,470 บาท โดยแยกเป็น 2 กรณี ได้แก่ 1.กรณีร้องเรียนบริษัทจัดหางาน เก็บเงินค่าบริการไปแล้วไม่สามารถจัดไปทำงานได้ เดินทางไปทำงานแล้ว แต่ไม่สามารถทำงานได้ และถูกนายจ้างในต่างประเทศเอาเปรียบไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้าง ซึ่งกรณีนี้มีคนหางานร้องเรียนทั้งหมด 485 คน มูลค่าความเสียหาย 32,897,752 บาท ส่วนกรณีที่ 2.ร้องเรียนสาย/นายหน้าจัดหางานเถื่อน เนื่องจากจ่ายค่าบริการไปแล้ว แต่ไม่ได้รับการจัดส่งไปทำงาน จัดส่งไปต่างประเทศแล้ว แต่ไม่สามารถเข้าประเทศปลายทางได้ ถูกส่งไปทำงานแบบลักลอบทำงานโดยกฎหมาย และส่งไปทำงานแล้วแต่ไม่มีงานให้ทำ และถูกปล่อยลอยแพในต่างประเทศ ซึ่งกรณีนี้มีผู้ร้องเรียน 1,323 คน มูลค่าความเสียหาย 87,118,718 บาท อธิบดี กกจ.กล่าวอีกว่า สำหรับจังหวัดที่มีคนหางานมาร้องทุกข์มากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1.กรุงเทพมหานคร 658 คน มูลค่าความเสียหาย 45,849,948 บาท 2.ชัยภูมิ 179 คน มูลค่า 12,939,720 บาท 3.นครราชสีมา 128 คน มูลค่า 7,752,120 บาท 4.ลำปาง 77 คน มูลค่า 3,115,700 บาท และ 5.อุดรธานี 70 คน มูลค่า 5,721,600 บาท ทั้งนี้ สถิติย้อนหลังในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา พบว่า มีแรงงานร้องถูกหลอกไปทำงานต่างประเทศกว่า 12,000 คน มูลค่าความเสียหายกว่า 755 ล้านบาท แบ่งเป็นปี 2550 มีคนหางานร้องทุกข์ 2,394 คน มูลค่าความเสียหาย 142,636,192 บาท ได้รับการช่วยเหลือ 2,677 คน ได้รับเงินคืน 68,240,048 บาท ปี 2551 มีคนหางานร้องทุกข์ 3,028 คน มูลค่าความเสียหาย 182,419,303 บาท ได้รับการช่วยเหลือ 3,033 คน ได้รับเงินคืน 59,006,281 บาท ปี 2552 มีคนหางานร้องทุกข์ 3,040 คน มูลค่าความเสียหาย 185,988,713 บาท ได้รับการช่วยเหลือ 3,002 คน ได้รับเงินคืน 54,046,578 บาท ปี 2553 มีคนหางานร้องทุกข์ 2,275 คน มูลค่าความเสียหาย 126,044,651 บาท ได้รับการช่วยเหลือ 2,273 คน ได้รับเงินคืน 37,916,130 บาท และปี 2554 มีคนหางานร้องทุกข์ 1,781 คน มูลค่าความเสียหาย 120,016,470 บาท ได้รับการช่วยเหลือ 1,792 คน ได้รับเงินคืน 23,200,280 บาท ทั้งนี้ จากข้อมูลดังกล่าว พบว่า ปี 2551 มีคนหางานร้องทุกข์มากที่สุด และได้รับเงินคืนมากที่สุด ส่วนปี 2552 มีมูลค่าความเสียหายมากที่สุด นายประวิทย์ กล่าวต่อไปว่า ในส่วนของกระทรวงแรงงานได้มีมาตรการคุ้มครองและป้องกันคนหางานที่จะไปทำงาน ต่างประเทศ ได้แก่ การปรับปรุงศูนย์ทะเบียนคนหางานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และจัดทำเว็บไซด์ตำแหน่งงานในต่างประเทศเพื่อเป็นแหล่งขัอมูลให้แก่คนหางาน และร่วมมือกับกรมการกงศุลเพื่อคุ้มครองและช่วยเหลือแรงงานไทยที่ไปทำงานต่าง ประเทศ นอกจากนี้ ยังจัดโครงการสินเชื่อเพื่อการไปทำงานต่างประเทศ ซึ่ง กกจ.ร่วมมือกับผู้รับใบอนุญาตจัดหางานและธนาคารภาครัฐ ซึ่งขณะนี้มี 3 ธนาคารเข้า่ร่วมโครงการ ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ การทำ Mou จัดส่งแรงงานไปต่างประเทศแบบรัฐต่อรัฐ ระบบจ้างตรงออนไลน์โดยไม่ผ่านสายนายหน้า รวมทั้งกำหนดให้บริษัทจัดหางานที่จะส่งแรงงานไทยไปต่่างประเทศต้องผ่าน กกจ.ก่อนทุกครั้งและควบคุมการแจ้งการเดินทางไปทำงานต่างประเทศด้วยตัวเองของ คนหางาน หากพบว่ามีการแอบแฝงการจัดส่งโดยบริษัทจัดหางาน สาย/นายหน้าเถื่อนจะดำเนินการตามกฎหมายทันที และมีโครงการเคาะประตูบ้านเพืื่อป้องกันปัญหาการหลอกลวงคนหางาน โดยให้ความรู้แก่ประชาชนและผู้นำชุมชนในพื้นที่ต่างๆ “ส่วนการปราบปราม กระทรวงแรงงานได้ตั้งศูนย์ปราบปรามแรงงานต่างด้าวผิดกฏหมายและขบวนการค้า มนุษย์ซึ่งมีในหลายจังหวัด ซึ่งในปี 2554 มีการจับสาย/นายหน้าเถื่อนไปแล้ว 497 คนและในช่วง 5 ปี ตั้งแต่ 2550-2554 มีการลงโทษทางทะเบียนแก่บริษัทจัดหางานที่ฝ่าฝืน พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 โดยเพิกถอนใบอนุญาต 5 แห่ง พักใช้ใบอนุญาต 15 แห่ง และหักเงินประกัน 26 แห่ง\อธิบดี กกจ.กล่าว อิเล็กทรอนิกส์-เครื่องใช้ไฟฟ้าปลดแรงงาน 3 หมื่น นายสมบูรณ์ หอตระกูล ผู้อำนวยการสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เปิดเผยภายหลังหารือกับผู้บริหารระดับซีอีโอในกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ว่า ขณะนี้โรงงานผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ประสบปัญหาน้ำท่วม ในช่วงปลายปี 54 กว่า 700 แห่งได้เลิกจ้างแรงงานแล้วไม่ต่ำกว่า 30

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net