Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

ผู้เขียนได้อ่านและได้ฟังเรื่องราวเกี่ยวกับการบูรณะซ่อมแซมวัดภายหลังน้ำท่วม ซึ่งฟังแล้ว เป็นเรื่องที่ดีและสมควรต้องเป็นเช่นนั้น แต่ปัญหาก็เกิดขึ้นเมื่อการบูรณะวัดในครั้งนี้ของชาวบ้าน ตำบลสายทอง อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง ไม่สอดคล้องไปกับแนวทางการอนุรักษ์โบราณสถาน ของรัฐบาลกลาง ตามแนวทางของกรมศิลปากร เรื่องราวอันเป็นต้นเหตุให้ชาวบ้านสายทองต้องถูกว่ากล่าวและถูกนำมาวิจารณ์ผ่านสื่อถึง พฤติกรรมในการบูรณวัดนี้เกิดขึ้นภายหลังจากชาวบ้านร่วมแรงรวมใจกันประชุมระดมความเห็น และมีมติที่จะบูรณะพระอุโบสถวัดพายทอง ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุมหาอุทกภัยเมื่อปลายปี 2554 ที่ผ่านมา โดยที่ประชุมมีมติที่จะดำเนินการบูรณะพระอุโบสถแห่งนี้ ด้วยการทาสีสันให้สวยงาม แต่เนื่องจากเกรงว่าพระอุโบสถจะเก่าไว จึงเลือกที่จะใช้แม่สีในการแต่งแต้มบูรณะพระอุโบสถ ทั้งหมด หลังจากมีมติก็ดำเนินการระดมเงินทุนทรัพย์ในการบูรณะวัดด้วยตนเองได้เงินมาทั้งสิ้น กว่า 40,000 บาท จากนั้นได้ร่วมแรงร่วมใจลงมือบูรณะปฏิสังขรณ์ด้วยการทาสีวัดใหม่ด้วยตนเอง พระภิกษุ กฤษณะ ธัมมสาโร อายุ 30 ปี พระลูกวัดผู้ดูแล และอาศัยอยู่ในพระอุโบสถ นี้ กล่าวว่า “พระอุโบสถนี้มีอายุเก่าแก่กว่า 100 ปี สร้างสมัยกรุงศรีอยุธยา และเมื่อครั้งที่ประสบ อุทกภัยที่ผ่านมา น้ำท่วมกำแพงและพื้นรอบพระอุโบสถ ทำมีสภาพเก่าแก่ทรุดโทรมมาก ขึ้น คณะกรรมการวัดและชาวบ้าน ร่วมบูรณะทาสีพระอุโบสถใหม่ โดยเรี่ยไรเงินและทาสีที่เป็น ลวดลายต่างๆ มีพระภิกษุในวัดและชาวบ้านต่างช่วยทาสีทาสีเอง สำหรับตัวพระอุโบสถ คณะกรรมการของวัดได้หาลือไว้แล้วว่าจะทาสีใหม่ แต่ ต้องรอให้มีปัจจัยเสียก่อน” ด้านพระราช สุธรรมา ภรณ์ เจ้าอาวาสวัดป่าโมกวรวิหาร เจ้าคณะอำเภอป่า โมก เผยว่า ชาวบ้านร่วมใจทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา [2] แต่การณ์กลับกลายเป็นว่า มติที่ชาวบ้านมี ร่วมกันในการบูรณะวัดเก่าให้แลดูใหม่ขึ้นด้วยการทา สีสันที่สดใสบริเวณกำแพงแก้ว ซุ้มประตูด้านนอกและ ด้านใน ใบเสมาบริเวณรอบวัด โดยใช้สีเหลือง แดง เขียว ขาว และชมพูนั้น กลับเป็นความผิดในความเห็นหรือทัศนะของนักอนุรักษ์อย่างกรมศิลปากร ที่มีแนวทางการอนุรักษ์วัดหรือโบราณสถานอันเก่าแก่ให้ คงสภาพเดิมให้มากที่สุด (แม้ยอดจะหัก กำแพงจะล้มก็ต้องรักษาสภาพนั้นเอาไว้ – ผู้เขียน) ทัศนะดังกล่าวสามารถสะท้อนให้เห็นได้จากคำให้สัมภาษณ์ของ นายพิชัย บุญแจ้ง หัวหน้า กลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน สำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา ที่กล่าวภายหลังไปตรวจสอบวัด พายทองที่ตกเป็นข่าวว่า “จากการสืบค้นการสร้างโบสถ์เบื้องต้น ทราบว่า วัดพายทองมีอายุไม่ต่ำ กว่า 104 ปี และเป็นวัดที่สร้างตามศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย ซึ่งน่าเสียดายมากที่มีการนำสีมาทา ใบเสมาซึ่งมีอายุเก่าแก่ จนสีน้ำซึมเข้าไปในเนื้อหินแล้ว” [3] จากข้างต้นสะท้อนให้เห็นถึงเหตุผลตามมุมมองของนักอนุรักษ์กรมศิลปากรซึ่งเป็น ความคิดกระแสหลักได้รับอิทธิพลจากแนวคิดของรัฐส่วนกลาง ที่มองประวัติศาสตร์ในแบบที่ ต่อเนื่องและเหมารวม [4] อันเป็นแนวคิดแบบชาตินิยม (nationalism) ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิดเพราะแนวคิด ดังกล่าวมีส่วนในการหลอมหลวมความแตกต่างหลากหลายเข้าด้วยกันกระทั่งเกิดเป็นรัฐชาติ ( nation-state) ได้ในปัจจุบัน กระนั้นการเปิดพื้นที่ให้กับความแตกต่างหลากหลายได้ดำรงความเป็น เอกลักษณ์ของตนก็เป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึงไม่แพ้กัน ทั้งนี้เพราะแท้จริงแล้ว การรวมชาติขึ้นมานั้น เป็นสิ่งที่กระทำอยู่บนความหลากหลายทางวัฒนธรรมการเชิดชูวัฒนธรรมเพียงหนึ่งเดียวขึ้นมาเพื่อ รองรับกับพัฒนาการของความเป็นชาติที่ต่อเนื่องมั่นคงเป็นปึกแผ่น ทำให้ต้องกดทับวัฒนธรรมอัน หลากหลายของท้องถิ่นต่างๆลงไปโดยปริยาย ความต่อเนื่องยาวนานของประวัติศาสตร์เป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้ชาวบ้านสายทองได้รับ การวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักที่ทำให้หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ที่แสดงให้เห็นความต่อเนื่อง ยาวนานของประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาอย่างวัดพายทองที่กรมศิลปากรประมาณอายุ ของโบราณสถานแห่งนี้ว่ามากถึง 104 ปี ต้องมีความผิดเพี้ยนไปจากประวัติศาสตร์แห่งชาติ เมื่อประวัติศาสตร์คือความเก่าแก่ คือความยาวนาน ความเก่าแก่ยาวนานนี้เองที่ทำให้ชาติมี ที่มาที่ไป และมีความเป็นอารยะเป็นพื้นฐานแห่งความชอบธรรม (legitimacy) และอำนาจในการ ปกครองในปัจจุบัน การทำลายความเก่าแก่ ก็คือการบั่นทอนความต่อเนื่องและลบเลือนหลักฐาน ทางประวัติศาสตร์ที่ส่งผลสะเทือนต่ออำนาจและความชอบธรรมในการปกครอง การอนุรักษ์ โบราณสถานด้วยการพยายามรักษาสภาพความเก่าเอาไว้ให้ได้มากที่สุดเพื่อให้สามารถสืบย้อนกลับ ไปยังประวัติศาสตร์แห่งชาติได้จึงเป็นงานสำคัญที่กรมศิลปากรจะต้องดำเนินการ ด้วยเหตุนี้ การบูรณะวัดพายทองของชาวบ้านสายทองในครั้งนี้ ในทัศนะของกรมศิลปากร จึงเป็นการทำลายโบราณสถานลงอย่างสิ้นเชิง ส่งผลให้มีสื่อหลายสำนักนำข่าวนี้ไปเผยแพร่และ กล่าวโจมตีในแง่ที่ว่าพฤติกรรมของชาวตำบลสายทองในครั้งนี้เป็นการกระทำที่ผิดไม่รู้จักกาลเทศะ ดังเช่น มีรายการโทรทัศน์ช่องหนึ่งถึงกับลงทุนไปถ่ายภาพวัดและเน้นไปที่ก้นสิงห์ที่ถูกทาไว้ด้วยสีแดงซึ่งเจตนาจะสื่อไปยังผู้คนในสังคมว่าชาวบ้านนั้นช่างมีความคิดพิเรนทร์นอกลู่นอกทางไม่ เคารพสถานที่ ความพยายามในการถ่ายทอดการบูรณะวัดของชาวบ้านที่มีเจตนาดีในครั้งนี้กลับ กลายเป็นการทำลายวัฒนธรรมไทยลงอย่างไม่น่าให้อภัย ทั้งๆที่หากมองในแง่ของความเป็นจริงแล้วสิ่งที่เก่าแก่ ของที่เก่าจนแทบจะใช้การไม่ได้ หากเรายังจำเป็นต้องใช้การสิ่งนั้นอยู่และต้องการอยู่กับสิ่งนั้นไปนานๆก็คงไม่มีใครต้องการให้สิ่ง นั้นแลดูเก่า ไม่น่าใช้ และเสื่อมถอยไปตามกาลเวลาจริงหรือไหม (?) เมื่อพูดถึงสิ่งของเก่าๆก็มีแต่ คนอยากจะได้ของใหม่กันแทบทั้งนั้น แต่ในทางกลับกัน กรณีที่เป็นโบราณสถานกลับมีความคิดว่า ต้องอนุรักษ์ให้คงสภาพเดิมมากที่สุด ยิ่งเก่าเท่าไหร่ยิ่งดี ! อันนี้ผู้เขียนไม่ได้พาดพิงหลักวิชาการอนุรักษ์ว่าผิดพลาดแต่ประการใด เพียงแต่ต้องการ ชี้ให้เห็นว่าการอนุรักษ์ความเก่าไว้เช่นนั้นเป็นความคิดเชิงชาตินิยมที่ผู้มีอำนาจไม่อาจละทิ้งได้ เพราะอำนาจเกิดมาจากประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์คือสิ่งที่ผ่านมาแล้วหรือก็คือความเก่านั่นเอง สำหรับผู้ปกครองการไร้ซึ่งประวัติศาสตร์ก็คือการไร้ซึ่งอำนาจ ด้วยเหตุนี้ เราจึงเห็นได้ว่าไม่ว่าชาติ ใดก็จะพยายามธำรงรักษาความเก่าแก่ของสิ่งต่างๆเอาไว้ให้มากที่สุดภายใต้แนวคิดประวัติศาสตร์ แห่งชาติ ผ่านการจัดเก็บสิ่งของเก่าแก่ไว้ในพิพิธภัณฑ์หรือขึ้นทะเบียนไว้เป็นโบราณสถานแห่งชาติ (ที่มีมากมายจนกระทั่งกรมศิลป์เองก็อาจดูแลไม่ทั่วถึง –ผู้เขียน) ซึ่งนี่อาจจะเป็นเหตุผลอีกประการ แห่งการอนุรักษ์นอกเหนือจากการศึกษาพัฒนาการและความเป็นมาของชาติ เมื่อประวัติศาสตร์คือความชอบธรรมและคือที่มาของปัจจุบัน ในเมื่อความเก่าแก่คืออำนาจ การทำลายโบราณสถานลงด้วยการทำลายความเก่าแก่ และบูรณะให้เกิดความใหม่ขึ้นของชาวบ้าน สายทองจึงเป็นการบ่อนเซาะอำนาจแห่งประวัติศาสตร์ลงไปโดยไม่ตั้งใจ การหมดไร้ซึ่ง โบราณสถานคือการทำลายความเป็นหนึ่งเดียวกันของชาติลงตามทัศนะของประวัติศาสตร์ชาตินิยม การกระทำของชาวบ้านในครั้งนี้จึงไม่แน่แปลกใจที่ต้องได้รับการวิจารณ์จากคนหลายภาค ส่วนที่ร่วมรับรู้ประวัติศาสตร์แห่งชาติมาด้วยกัน ไม่ใช่เพียงแค่กรมศิลปากรเท่านั้น การที่ผู้คนใน สังคมรับเอาโบราณสถานอันเก่าแก่เป็นหลักฐานเชิงรูปธรรมแห่งประวัติศาสตร์อันมั่นคง ทำให้ พวกเขามองไม่ต่างไปจากกรมศิลปากรว่าของเก่าแก่ ก็ต้องเก่าแก่อยู่ร่ำไป ! เพราะนั่นบ่งบอกที่มา ของพวกตน ! ทั้งๆที่พวกเขาเองก็ไม่ได้มีโอกาสมาใช้หรือสัมผัสผูกผันกับสถานที่อันเก่าแก่แห่งนี้ หากสถานที่อันเก่าแก่หรือโบราณสถานนั้นๆ ได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นสถานที่ ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และได้รับการบูรณะขึ้นมาโดยเฉพาะเพื่อการเรียนรู้อย่างแท้จริง ดังเช่น โบราณสถานในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา หรือ ในจังหวัดสุโขทัย ลพบุรี และบุรีรัมย์ แล้ว ล่ะก็ การมีประวัติศาสตร์ร่วมกันภายใต้พื้นที่เช่นนั้น (พื้นที่ที่ได้รับการบูรณะขึ้นเฉพาะ) ก็เป็นสิ่ง ที่ยอมรับได้ เพราะไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของชาวสายทอง แต่ในกรณีของวัดพาย ทองแล้ว ยังเป็นพื้นที่ที่ชาวบ้านใช้สอยทำบุญประกอบพิธีกรรมในวันสำคัญทางศาสนาต่างๆอยู่ บริบทแห่งพื้นที่จึงแตกต่างกันออกไปกับโบราณสถานที่ได้รับการขึ้นทะเบียนไว้เพื่อเป็นสถานที่ ท่องเที่ยวโดยเฉพาะ ในแง่นี้ หากมองในมุมของผู้ใช้สถานที่อย่างชาวบ้านสายทองแล้ว ชาวบ้านย่อมมีสิทธิ เต็มที่ในการบริหารจัดการสาธารณะสมบัติหรือในที่นี้ก็คือ “วัด” ของพวกตน เพื่อให้พื้นที่นั้นยังคง สามารถใช้การได้ น่าอยู่น่าใช้ และอยู่กับพวกเขาไปได้นานๆ นี่เป็นประเด็นที่ควรฉุกคิดว่า ควรจะมีการจัดการเช่นไรกับโบราณสถานที่มีความเก่าแก่มี คุณค่าทางประวัติศาสตร์เช่นนี้ หากโบราณสถานนั้นยังคงเป็นพื้นที่ใช้สอยของชาวบ้านในชุมชน ไม่ได้เป็นพื้นที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่กรมศิลปากรกันพื้นที่ออกไปโดยเฉพาะ คำถามคือในกรณี เช่นนี้อำนาจการจัดการควรอยู่ที่ใคร (?) ดังเช่นที่ พ.ท.วิเชียร ผาไท ไวยาวัจกรวัดพายทอง กล่าวไว้ได้อย่างน่าสนใจว่า “ทางชาวบ้านได้เรี่ยไรเงินกันมาได้ 4 หมื่นกว่าบาท แล้วนำเงินจำนวนหนึ่งไปทาสี เจตนาคือเพื่ออนุรักษ์ ไม่ให้พระอุโบสถทรุดโทรม โดยไม่รู้ว่าสิ่งที่ทำลงไปนั้นไม่ถูกต้อง ซึ่งขณะนี้ชาวบ้านก็เข้าใจดีแล้ว และไม่ติดใจอะไรอีก แต่สำหรับเรื่องที่จะขึ้นทะเบียนวัดเป็นโบราณสถานนั้น ชาวบ้านไม่เห็นด้วย เพราะหากขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน กรมศิลปากรจะมีอำนาจเด็ดขาดในการเข้ามาทำงาน เข้ามา บูรณะซ่อมแซม ทำให้ชาวบ้านไม่สามารถดำเนินการดูแลวัดเองได้ เพราะจะถูกดำเนินคดีฐาน ทำลายโบราณสถาน” [5] คำถามจึงเกิดขึ้นว่า หากอำนาจในการจัดการ อยู่ที่รัฐส่วนกลางแล้ว ชาวบ้านพายทองจะยังมีสิทธิ เข้าไปใช้วัดพายทอง อันเป็นวัดเก่าแก่อยู่คู่กับชุมชน ของพวกเขามานานนับร้อยปีพอๆกับที่อยู่คู่ ประวัติศาสตร์ชาติไทย ในการประกอบกิจกรรมทาง ศาสนา งานบุญ งานบวช งานศพ เหมือนเดิมที่เคยทำ กันมาตั้งแต่รุ่นคุณทวดได้หรือไม่ หรือพวกเขาจะได้ เพียงแค่จ้องมองวัดพายทองในฐานะประวัติศาสตร์ที่ ไม่สามารถใช้การได้ กล่าวโดยสรุปได้ว่าความผิดของชาวบ้านสายทองในครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะ การบูรณะวัดพาย ทองของชาวบ้านด้วยความปรารถนาดีนั้น เป็นการทำลาย “ความเก่าแก่” ของโบราณสถานอัน ส่งผลต่อการบั่นทอน “ความเก่าแก่และยาวนาน” ของหลักฐานทางประวัติศาสตร์แห่งชาติ ที่จะ ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ทางอำนาจที่เชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ของรัฐนั่นเอง ซึ่งเรื่องนี้ นำไปสู่ประเด็นที่น่าสนใจ ในเรื่องสิทธิในการดูแลและจัดการตนเองของชาวบ้านที่พึงมีต่อวัดที่ พวกเขาใช้และผูกพันแต่ ในขณะเดียวกันเป็นโบราณสถานและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ แห่งชาติในสายตาคนอื่น ที่ควรต้องได้รับการพิจารณากันอีกครั้ง แต่นอกเหนือจากมุมมองด้านสิทธิและความหลากหลายแล้ว การดำเนินการของชาวบ้าน สายทองในการบูรณะวัดพายทองในครั้งนี้ ก็สะท้อนให้เห็นความเข้มแข็งของชาวบ้านสายทอง อย่างมาก เนื่องจากการบูรณะปรับปรุงวัดในครั้งนี้ของชาวบ้านสายทอง เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นริเริ่มมาจาก ชาวบ้านสายทองอย่างแท้จริงในการมุ่งพัฒนาชุมชนของตนให้มีความน่าอยู่ เป็นการแก้ไขปัญหา เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนด้วยตนเอง โดยไม่ได้ร้องขอความช่วยเหลือจากหน่วยงาน ใด อันเป็นลักษณะของพลเมืองที่สังคมเริ่มพูดถึงกันมากขึ้นในลักษณะชุมชนเข้มแข็งที่ไม่ได้เอาแต่ งอมืองอเท้ารอความช่วยเหลือจากรัฐบาล ไม่เพียงแต่คิดแต่ชาวบ้านสายทองลงมือปฏิบัติอย่างแท้จริงด้วย โดยภายหลังน้ำลด ชาวบ้านระดมความเห็นกันผ่านการประชุมประชาคมหมู่บ้าน และนำวาระเรื่องการบูรณะวัดพาย ทองเข้าพิจารณา โดยเปิดโอกาสให้แต่ละคนได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับการบูรณะวัดอย่างเต็มที่ จนกระทั่งได้มติที่ประชุมในการบูรณะวัดด้วยการทาสีวัดพายทองใหม่ด้วยสีสันที่สดใส โดยเน้น แม่สี เพื่อไม่ให้วัดเก่าไว และมีความสดใส น่านั่งน่าใช้ เพราะชาวบ้านต้องใช้วัดพายทองในการ ดำเนินกิจกรรมต่างๆไปอีกนาน อย่างไรก็ตาม มีผู้ที่ไม่เห็นด้วยในการทาสี วัดให้สดใสฉูดฉาดเช่นกัน โดยมองว่าเป็นสถานที่ ทางศาสนาไม่ควรทาสีสันที่ฉูดฉาด ดังที่มีผู้ให้ สัมภาษณ์ผ่านรายการเรื่องเล่าเช้านี้ว่า ตนไม่เห็น ด้วยที่จะให้ลงสีวัดด้วยสีสดๆเช่นนั้น แต่แพ้เสียง ส่วนใหญ่ ! เรื่องนี้ผู้เขียนจะไม่พิจารณาว่าใครผิดหรือถูกแต่จะ พิจารณาในแง่ของกระบวนการ (process) ในการดำเนินการ เพื่อบูรณะวัดพายทองครั้งนี้ของชาวบ้านว่า เป็นไปตาม กระบวนการประชาธิปไตยหรือไม่ ซึ่งจากเสียงสะท้อนของ ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการทาสีสันให้ฉูดฉาดข้างต้น สะท้อนให้เห็นว่า เวทีประชาคมหมู่บ้านในวันนั้น เป็นเวทีทีเปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้พูดได้คุยได้ถกเถียงกันอย่างแท้จริง ไม่ได้เป็นเพียงการหารือกัน อย่างลับๆของคณะกรรมการหมู่บ้านแค่ไม่กี่คนเท่านั้น แต่เป็นการเปิดโอกาสให้ทุกคนในหมู่บ้าน ได้แสดงความเห็นแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน โดยมติที่ได้มาจากเสียงส่วนใหญ่ของคนในหมู่บ้าน ซึ่งกระบวนการนี้เป็นไปตามหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างหนึ่ง เป็นหลักของ เสียงส่วนใหญ่ (majority vote) ซึ่งเป็นแนวทางที่สังคมส่วนใหญ่กำลังใช้อยู่ แม้ว่าประชาธิปไตยจะ มีอยู่หลายรูปแบบแต่เสียงส่วนใหญ่หรือการโหวตก็ยังเป็นเทคนิคที่หลายคนนิยมใช้เนื่องจาก สะดวกและเห็นผลชัดเจน ในที่นี้เราจะไม่ถกเถียงกันในประเด็นที่ว่าเสียงส่วนใหญ่ดีหรือไม่ แต่ ผู้เขียนต้องการชี้ให้เห็นกระบวนการประชาธิปไตยที่ชาวบ้านสายทองดำ เนินการตลอด กระบวนการก่อนที่จะได้มติในการบูรณะวัดออกมา จากข้างต้น จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าชาวบ้านสายทองมีความก้าวหน้ามีความสามารถในการ จัดการแก้ไขปัญหาด้วยตนเองตามแนวทางการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันเป็นแนวทางตาม ระบอบประชาธิปไตยที่รัฐไทยพยายามส่งเสริมให้ชาวบ้านเรียนรู้กันมาโดยตลอด ปัญหาจากการดำเนินการในครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อ การดำเนินการบูรณะวัดของชาวบ้ายสายทอง ในครั้งนี้ ตั้งอยู่บนความเชื่อความศรัทธาและภูมิปัญญาชาวบ้าน เป็นการบูรณะวัดให้สวยงามสดใส ตามแนวคิดของพวกเขาเพื่อรับใช้คนในชุมชน ไม่ได้ตั้งอยู่บนหลักวิชาการในการบูรณะวัดตาม แนวทางของกรมศิลปากร ที่ต้องการคงความเก่าแก่ของวัดเอาไว้ให้มากที่สุดเพื่อให้สอดรับกับ ประวัติศาสตร์แห่งชาติ การมุ่งวิจารณ์เรื่องนี้โดยปิดกั้นไม่ให้ ชาวบ้านได้แสดงความคิดเห็นถึงเหตุผลและ เจตนารมณ์ที่อยู่เบื้องหลัง จึงเป็นการปิดกั้นโอกาส ที่สังคมจะได้เรียนรู้มุมมองของชาวบ้านที่มีต่อการ บริหารจัดการชุมชนของตนเอง เป็นการปิดกั้น สิทธิในการได้รับข้อมูลข่าวสารของคนในสังคม ด้วยการประโคมข่าวสารทางเดียวในเรื่องของการ ทำลายโบรารณสถาน ไม่มีการวิเคราะห์ไปถึง ประเด็นต่างๆที่คลุมเครือ ทั้งในเรื่องของสิทธิใน การบริหารจัดการทรัพย์สินและทรัพยากรในชุมชน สิทธิในการคิด ในการตัดสินใจ สิทธิของรัฐใน การเข้าไปดำเนินการในพื้นที่ รวมไปถึงบทบาทหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดที่พึงมีต่อพื้นที่ของ ตนเอง ซึ่งอันที่จริงแล้ว ในฐานะที่เป็นรัฐชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดอาจเป็นกลไกที่สำคัญที่สุดเสีย ด้วยซ้ำ ที่จะทำให้ความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมและความเชื่อสอดคล้องและเป็นไปใน ทิศทางที่รัฐให้การรับรอง ผู้ว่าราชการจังหวัดพึงสอดส่องความเคลื่อนไหวและพัฒนาพื้นที่จังหวัด ของตนเอง และถือเป็นด่านหน้าที่สุดที่ควรจะต้องถูกตั้งคำถามว่า ในพื้นที่ที่มีวัดเก่าแก่ถึง 104 ปีอยู่ เช่นนั้น เหตุใดผู้ว่าราชการจังหวัดจึงไม่ให้ความสนใจ ทำความเข้าใจกับชาวบ้านหรือยื่นเรื่องไปยัง กรมศิลปากรเสียแต่เนิ่นๆ เพื่อให้กรมศิลปากรมาทำการบูรณะ หากไม่ต้องการให้ชาวบ้านบูรณะ วัดดังกล่าวบนพื้นฐานความรู้ที่พวกเขามีและเชื่อ หากผู้ว่าราชการจังหวัดตื่นตัวในเรื่องนี้ ชาวบ้าน สายทอง ก็อาจจะไม่ต้องถูกสังคมวิจารณ์กระทั่งหมดกำลังใจเช่นนี้ และที่สำคัญคือยังมีผู้เกี่ยวข้อง อีกหลายฝ่ายที่ควรถูกตั้งคำถามไม่ใช่เพียงชาวบ้านที่ลงขันกันเพื่อบูรณะวัดของตน วันนี้ชาวบ้านพายทองต้องตกเป็นจำเลยเพราะความไม่รู้เท่าทันต่อความคิดและทัศนคติของ รัฐส่วนกลาง ความคิดตามหลักวิชาการ ไม่รู้เท่าทันความสำคัญของประวัติศาสตร์แห่งชาติ พวกเขา ต้องตกเป็นจำเลยเพราะไปทำลายหลักฐานชิ้นหนึ่งทางประวัติศาสตร์ด้วยการทำให้ประวัติศาสตร์ “ใหม่ขึ้น” “สดใส” ขึ้น ต้องตกเป็นจำเลยเพราะความปรารถนาดี เพราะความเข้มแข็งของชุมชน ที่ไม่งอมืองอเท้ารอคำสั่งจากรัฐเพียงฝ่ายเดียว กระนั้นก็ไม่น่าแปลกใจเพราะสังคมเราถูกสอนกันมาว่าสมบัติของชาตินั้นเป็นสมบัติของ ส่วนรวม ! แต่ภายในความเป็นส่วนรวมนั้น ก็มีความเป็นเจ้าของของคนในพื้นที่ซ่อนอยู่ด้วย ในขณะที่เราอ้างว่าโบราณสถานต่างๆคือสมบัติของชาติ แต่เรากลับไม่เคยไปใช้ ไม่เคยไป เหลียวแลโบราณสถานเหล่านั้น เก็บไว้เป็นเพียงแค่ความทรงจำว่าเรามีที่มาที่ไป เก็บไว้ในความทรง จำในฐานะหลักฐานประวัติศาสตร์ของความเป็นชาติเท่านั้น ยิ่งหากเป็นโบราณสถานที่ไม่ได้มี ชื่อเสียงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวด้วยแล้ว แทบจะไม่มีเพื่อนร่วมชาติคนใดไปลำลึกถึงความเป็นมาของ ชาติ ณ โบราณสถานแห่งนั้นเลย ดังเช่น โบราณสถานวัดพายทองแห่งนี้ ที่มีชีวิตอยู่ได้ก็เพราะ ชาวบ้านเพราะคนในพื้นที่ยังคงเอาใจใส่ให้ความสนใจ ให้ความสำคัญ เข้ามาใช้สอย ดำเนิน กิจกรรมต่างๆ ในเมื่อไม่มีเพื่อนร่วมชาติคนใดสนใจเช่นนี้แล้ว ผู้อยู่ใกล้ก็ต้องดูแล จึงเป็นสิทธิของ ชาวบ้านแล้วไม่ใช่หรือที่จะบูรณะวัดแห่งนั้น คำสั่งของกรมศิลปากรที่ให้เปลี่ยนสีวัดเสียใหม่ให้กลับมาอยู่ในสภาพเดิมนั้น จึงไม่ได้เป็น เพียงแค่การล้างสีให้วัดกลับมาอยู่ในสภาพเดิมเท่านั้น แต่เป็นการทำลายความเชื่อมั่นในศักยภาพที่ จะจัดการตนเองของชาวบ้านให้มลายหายไปด้วย ซึ่งสวนทางกับอุดมการณ์ที่รัฐอ้างว่าต้องการเสริม ให้ชาวบ้านมีความเข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้ เพื่อลดภาระที่รัฐต้องรับผิดชอบลงไป หรือปัญหาอยู่ที่ เรายังไม่มีการกระจายอำนาจอย่างแท้จริง ! โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกระจายอำนาจทางด้านความคิด ไม่ใช่เพียงการกระจายงบประมาณ หรือภาระงานเท่านั้น หากรัฐส่วนกลางยังคงมุ่งวิจารณ์เป็นหลักรับฟังเป็นรอง ศักยภาพทางความคิด ความสามารถในการพึ่งพาตนเองของชาวบ้านบนฐานของภูมิปัญญาและทรัพยากรในท้องถิ่นก็จะ ถูกบั่นทอนให้ลดน้อยลง จนอาจแทบไม่เหลือเลย เพียงเพราะช่องว่างทางทัศนคติที่ไม่ตรงกัน ระหว่างรัฐส่วนกลางกับภูมิปัญญาชาวบ้าน จึงนำไปสู่การตัดสินผิดถูก การวิจารณ์และลงโทษ ต้องยอมรับว่า เราขับเคลื่อนเรื่องความเข้มแข็งของชุมชนและสิทธิชุมชนนี้กันมานาน กว่า จะออกดอกออกผล เปลี่ยนจากการเคลื่อนไหวบนท้องถนน ให้เข้ามาอยู่ในหมู่บ้านได้มากขึ้น แต่ ตอนนี้เรากำลังทำลายความเชื่อมั่นและศักยภาพเหล่านั้นของชุมชนลงเพียงเพราะเหตุผลที่ว่าสิ่งที่ ชาวบ้านคิดและทำนั้นไม่ตรงตามหลักวิชาการและไม่เป็นไปตามอุดมการณ์ของรัฐส่วนกลาง เท่านั้น การที่ชาวบ้านสายทองถูกวิจารณ์อย่างไม่มีทางแก้ตัว ต้องตกเป็นจำเลยของสังคม ต้องออกมารับผิดและขอโทษ อย่างไม่มีทางได้ชี้แจงเหตุผล ไม่มีทางได้แก้ตัวเช่นนี้ จึงอาจ เป็นเหตุการณ์เล็กๆที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาศักยภาพของ ชุมชนให้หมดลง เพียงเพราะต่อไปชาวบ้านอาจเกรงว่าสิ่งที่ ตนคิดและทำจะไม่สอดคล้องกับแนวคิดของทางการและอาจ ต้องได้รับการประณามจากสังคม หากเป็นเช่นนั้นจริงความ เข้มแข็งของภาคพลเมืองที่รัฐดูเหมือนจะอ้างว่าคาดหวังเอาไว้ จะเกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะอุดมการณ์กับการกระทำนั้นสวนทางกัน อ่านเพิ่มเติม: กรมศิลป์สั่งเปลี่ยนสีโบสถ์วัดพายทองกลับดังเดิม. http://hilight.kapook.com/view/68064 ตะลึง ! โบสถ์แฟนตาซี อายุกว่า 100 ปี วัดเมืองอ่างทอง มีหลากสีฉูดฉาด http://www.matichon.co.th/news_detail. php?newsid=1330251473&grpid=&catid=19&subcatid=1906 วัดเก่าแก่อายุกว่า 100 ปี ที่อ่างทอง ถูกทาสีวาดลชวดลายฉูดฉาด [26 ก.พ.2555] http://www.mcot. net /cfcustom/cache_page/335574.html อ้างดิง: นักวิชาการสำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า. ตะลึง ! โบสถ์แฟนตาซี อายุกว่า 100 ปี วัดเมืองอ่างทอง มีหลากสีฉูดฉาด http://www.matichon.co.th/news_detail. php?newsid=1330251473&grpid=&catid=19&subcatid=1906 กรมศิลป์สั่งเปลี่ยนสีโบสถ์วัดพายทองกลับดังเดิม. http://hilight.kapook.com/view/68064 ปัจจุบันมีงานวิชาการหลายชิ้นที่แสดงให้เห็นว่าประวัติศาสตร์ไม่ได้มีความต่อเนื่อง และ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นควร ได้รับการฟื้นฟูและให้ความศึกษาอย่างจริงจัง เช่นงานของ ศ.สายชล สัตยานุรักษ์, งานของ รศ.ดร.ธิดา สาระยา เป็นต้น กรมศิลป์สั่งเปลี่ยนสีโบสถ์วัดพายทองกลับดังเดิม. http://hilight.kapook.com/view/68064

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net