Skip to main content
sharethis

ชี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนปลัดกระทรวงแรงงานไม่รู้สึกหนักใจ เพราะการปรับค่่่าแรงทำตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานแล้ว ชี้หากศาลสั่งคุ้มครองชั่วคราว คนงานที่รอปรับค่าจ้างกว่า 5.4 ล้านคนจะได้รับผลระทบ

 
สำนักข่าวแห่งชาติ รายงานเมื่อ 15 มี.ค. ว่า นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน (รง.) ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้างกลาง กล่าวภายหลังเข้าชี้แจงศาลปกครอง กรณีบริษัท มูราตะ อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัดกับพวก 42 คน ได้ยื่นฟ้องคณะกรรมการค่าจ้างกลาง ในข้อหาการออกประกาศไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยเฉพาะมติให้ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มอีก 40% ทั่วประเทศ ส่งผลทำให้ใน 7 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ ภูเก็ต สมุทรปราการ สมุทรสาคร ปทุมธานี นครปฐม และ นนทบุรี ค่าจ้างเพิ่มเป็นวันละ 300 บาท ในวันที่ 1 เม.ย.นี้ ว่า ในวันนี้เป็นการไปเบิกความครั้งแรก ซึ่งในฐานะประธานบอร์ดค่าจ้างก็ได้ชี้แจงว่าการพิจารณาปรับขึ้นค่าจ้างเป็นไปตามมาตรา 87 พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541

โดย นพ.สมเกียรติ ให้สัมภาษณ์ว่า ไม่รู้สึกหนักใจแต่อย่างใด เพราะการพิจารณาปรับค่าจ้าง ได้ทำตามกฎหมาย ไม่มีฝ่ายการเมืองแทรกแซง โดยที่ก่อนจะมีมติเอกฉันท์ ก็ได้พิจารณาปัจจัยเกี่ยวข้องต่าง ๆ อย่างถี่ถ้วนแล้ว อาทิ ค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ ต้นทุน ฯ นอกจากนี้ ยังมีการตั้งคณะกรรมการเตรียมความพร้อมในการปรับขึ้นค่าจ้างเป็นการเฉพาะอีกด้วย ยิ่งตอกย้ำให้เห็นถึงความละเอียดของการตัดสินใจขึ้นค่าแรงเป็นอย่างดี  และถ้าหากศาลตัดสินให้มีการคุ้มครองชั่วคราวจริง ก็จะทำให้คนจำนวนกว่า 5.4 ล้านคน ที่เงินเดือนต่ำกว่า 9 พันบาท ไม่สามารถมีค่าจ้างเพิ่มขึ้นได้ ทั้ง ๆ ที่กำลังรอรับค่าจ้างใหม่อย่างมีความหวัง

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า บริษัทที่ยื่นฟ้องศาจำนวน 42 บริษัทประกอบด้วย 1.บริษัท มูราตะ อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 2.โรงงานพิพัฒน์เจริญ 3.บริษัท วังทองผลพืช จำกัด 4.บริษท พี.อี.เทคนิค จำกัด 5.บริษัท สตาร์โพลีเมอร์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด 6.บริษัท เคอร่าไทล์ เซรามิก จำกัด 7.บริษัท ธำมรงค์ จำกัด 8.บริษัท แอล แอนด์ อี แมนูแฟคเจอ จำกัด 9.บริษัท ไทยโตชิบา อุตสาหกรรม จำกัด 10.บริษัท ไทยคาเนตะ จำกัด

11.บริษัท กุลธรเคอร์บี้ จำกัด(มหาชน) 12. บริษัท กุลธรเมททัลโปรดักส์ จำกัด 13.บริษัท กุลธรสตีล จำกัด 14.บริษัท ราชาเซรามิค จำกัด 15.บริษัท ราชาปอร์ชเลน จำกัด 16.บริษัท ราชาโซล่าร์ แมททีเรียล จำกัด 17.บริษัท บางกอกแล็ป แอนด์ คอสเมติค จำกัด 18.บริษัท ราชาชูรส จำกัด 19.บริษัท เซ็นเตอร์ คอนเทนเนอร์ จำกัด 20.บริษัท เอ็ม เอ็ม พี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด

21.บริษัท ลักกี้แคนเนอรี่ จำกัด 22.บริษัท กรีนสเตย์ จำกัด 23.บริษัท ไทยเอ็นเนอร์ยี่คอนเซอร์เวชั่น จำกัด 24.บริษัท ปาริสา อินดัสตรีส์ จำกัด 25.บริษัท ทวีไทยอีเล็คโทรนิค พลาสติกและโมลด์ จำกัด 26.บริษัท ไทยฟอร์จจิ้งเอนจีเนียริ่ง จำกัด 27.บริษัท เอส.พี.บี. เอ็นจีเนียริ่ง จำกัด 28.บริษัท อินทริ-เพล็กซ์ (ประเทศไทย) จำกัด 29.บริษัท เอ็มเอ็มไอ พรีซีซั่น ฟอร์มิ่ง (ไทยแลนด์) จำกัด 30.บริษัท สเปเชียล บิซิเนส จำกัด

31.บริษัท เอส.พี.บี.เอ็นจีเนียริ่ง จำกัด 32.บริษัท นิปปอน ซุปเปอร์ พรีซิชั่น จำกัด 33.บริษัท เนเชอรัล ฟรุต จำกัด 34.บริษัท แวนด้าโฟรเซ่น จำกัด 35.บริษัท แวนด้าพรีเสิร์ฟฟู้ด จำกัด

36.บริษัท เอ็มบีพี เลเธอร์ อินดัสทรีส์ จำกัด 37.บริษัท อลูคอน จำกัด (มหาชน) 38.บริษัท กัลฟ์ โคชท คแร็บ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 39.บริษัท ตราดมั่นคงวัสดุก่อสร้าง(2552) จำกัด 40.บริษัท ทีบีเคเค (ประเทศไทย) จำกัด 41.ห้างหุ้นจำกัดปัตตานีคอมเมอร์เชียล และ 42.บริษัท โกลด์เด้น ซีฟู้ด อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด

ด้านนายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวว่า เป็นสิทธิของนายจ้างที่จะไปยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกรณีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท แต่แรงงานไม่เห็นด้วยที่นายจ้างจะมาฟ้องร้องในช่วงนี้ เพราะแรงงานกำลังลำบาก เนื่องจากค่าครองชีพและราคาสินค้าแพงขึ้นมาก ถ้าศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวระงับการปรับขึ้นค่าจ้างไว้ก่อน ทางแรงงานก็จะไปยื่นอุทธรณ์ต่อศาลขอยกเลิกการคุ้มครองชั่วคราวระงับการปรับขึ้นค่าจ้างไว้ก่อน เนื่องจากเรื่องนี้เป็นมติของคณะกรรมการค่าจ้างกลางและออกประกาศเป็นกฎหมายเรียบร้อยแล้ว

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net