สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 18 - 24 มี.ค. 2555

ประกันสังคมเผยป่วยฉุกเฉิน 1 เม.ย. รักษาได้ทุก รพ. / เผดิมชัย เจรจาทูตอิสราเอล ตัดวงจรเรียกค่าบริการแรงงานไทยแพง เผยต้นทุนแค่ 7 หมื่น / ส.ส.ภูมิใจไทยยื่นแก้ พ.ร.บ.แรงงานเพิ่มอำนาจต่อรอง / รมว.แรงงาน ยืนยันชัดเจน ไม่สามารถนำค่าเซอร์วิสชาร์จไปรวมเป็นค่าจ้างได้ 

 ประกันสังคมเผยป่วยฉุกเฉิน เม.ย. รักษาได้ทุก รพ. 

ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการกองทุนประกันสังคม เผยข้อสรุปเรื่องการรักษาพยาบาลกรณีฉุกเฉินแล้ว โดยจะให้บริการเป็นระบบเดียวกัน คือหากมีการเจ็บป่วยฉุกเฉิน สามารถเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลใดก็ได้ ไม่จำกัดว่าจะอยู่ในระบบการรักษาใด และสามารถรับการรักษาได้จนสิ้นสุดการรักษานั้น ๆ 

โดยปกติแล้ว ผู้ประกันตนสามารถรักษากรณีฉุกเฉินในโรงพยาบาลนอกบัตรรับรองสิทธ์ได้เพียง แค่ 72 ชั่วโมง และต้องแจ้งโรงพยาบาลตามบัตรมารับการรักษาต่อ แต่ถ้าหากเริ่มระบบร่วมกันทั้ง ระบบ 

ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องจากโรงพยาบาลนั้น    โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ซึ่งทางประกันสังคม จะเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องค่าใช้จ่าย ตามระบบความรุนแรงของโรค (DRG) 

สำหรับเรื่องค่าใช้จ่ายพยาบาลนั้น จะปรับเป็นอัตราเดียวกันที่ไม่เกิน 10,500 บาทต่อคนต่อวัน โดยเริ่มต้น 1เมษายนนี้ จากเดิมผู้ป่วยจะต้องจ่ายในอัตราที่แตกต่างกันตามระบบ คือ กองทุนประกันสังคม 15,000 บาทต่อคนต่อวัน กองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจ่ายให้ 8,000 บาทต่อคนต่อวัน 

ในเรื่องของโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง ได้แก่ โรคเอดส์ ไตวาย เบาหวาน ความดันโลหิตสูง รวมไปถึงโรคที่ต้องยาราคาแพง และกรณีรักษาที่มีความเสี่ยงสูง เช่น การผ่าตัดหัวใจ สามารถดำเนินการได้ทันทีหลังจากที่แพทย์วินิจฉัย โดยไม่ต้องสำรองจ่าย หรือทำเรื่องของอนุมัติหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 

ทางกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าวางหลักเกณฑ์ไว้ ข้อ ที่จะไม่สามารถอนุมัติการรักษาให้แก่ผู้ป่วย ได้แก่ การรักษาเพื่อความสวยงาม การรักษาที่เกินความจำเป็น หรือเป็นการทดลองทางการแพทย์ การรักษาการมีบุตรยาก และเป็นการรักษาที่ไม่เป็นไปตามแพทย์ระบุ 

(ข่าว MSN, 18-3-2555)

ยืนยัน เซอร์วิสชาร์จคิดรวมเป็นค่าจ้างขั้นต่ำได้หากเก็บผ่านใบเสร็จ 

นายแพทย์สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ได้หารือกับผู้ประกอบการโรงแรมและการท่องเที่ยวเมื่อเร็วๆ นี้ เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่าค่าเซอร์วิสชาร์จจะนำมารวมเป็นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ซึ่งจะเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ เมษายนนี้หรือไม่ ว่า การหารือได้ข้อสรุปหากลูกค้าของโรงแรมจ่ายค่าเซอร์วิสชาร์จแก่ลูกจ้างโดยตรง จะไม่สามารถนำมาคิดรวมเป็นค่าจ้างขั้นต่ำได้ อย่างไรก็ตาม หากเป็นการเรียกเก็บค่าเซอร์วิสชาร์จผ่านใบเสร็จค่าบริการ และนำมาเป็นรายได้ของโรงแรมแล้วจึงนำมาจ่ายเป็นรายได้ของพนักงานในภายหลังก็ สามารถนำมาคิดรวมเป็นค่าจ้างขั้นต่ำได้ ซึ่งจะทำให้ฐานเงินเดือนสูงขึ้น มีผลต่อเนื่องในการคำนวนการจ่ายโบนัส ค่าล่วงเวลา และการปรับขึ้นเงินเดือนตามไปด้วย ทั้งนี้ ในช่วงโลว์ซีซั่นลูกค้าน้อยและไม่มีรายได้จากค่าเซอร์วิสชาร์จ ผู้ประกอบการยังคงต้องจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด โดยเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการต้องบริหารจัดการการเงินเอง 

อย่างไรก็ตาม หากผู้ประกอบการจะจ่ายแต่เฉพาะค่าจ้างขั้นต่ำ และงดจ่ายค่าเซอร์วิสชาร์จก็เป็นสิทธิที่ทำได้ กฎหมายไม่ได้เขียนบังคับไว้ในเรื่องนี้ แต่ผู้ประกอบการก็ต้องคำนึงถึงความรู้สึกของพนักงาน เพราะแต่เดิมเคยได้ค่าเซอร์วิสชาร์จเป็นรายได้ แต่พอปรับค่าจ้างขั้นต่ำแล้วกลับไม่ได้รับ ลูกจ้างจะเสียขวัญและกำลังใจในการทำงาน ดังนั้นนายจ้างต้องพิจารณาให้ดีว่าคุ้มหรือไม่กับผลกระทบที่ตามมา 

(สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 19-3-2555)

เผดิมชัย เจรจาทูตอิสราเอล ตัดวงจรเรียกค่าบริการแรงงานไทยแพง เผยต้นทุนแค่ หมื่น 

นายเผดิมชัย  สะสมทรัพย์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน  ต้อนรับนายอิตซ์ฮัก โชฮัม (Itzhak Shoham)เอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทย  โดยมีการปรึกษาเรื่องการลดค่าใช้จ่ายแรงงานไทยไปทำงานยังประเทศอิสราเอลให้ มีความชัดเจนขึ้น ทั้งนี้ยังไม่ได้ยกเลิกการจัดส่งในระบบคู่ค้าระหว่างบริษัทจัดหางานแต่อย่าง ใด เพียงตั้งข้อสังเกตว่ามีค่าใช้จ่ายของแรงงานไทยสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด   
           
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า เอกอัครราชทูตอิสราเอลเข้าพบครั้งนี้ หลังจากที่ตนมีหนังสือสอบถามเพื่อขอความชัดเจนว่าแรงงานไทยต้องมีค่าใช้จ่าย ในการเดินทางไปทำงานเท่าไร ซึ่งก็ได้รับคำตอบยืนยันแล้วว่ารายละไม่เกิน 70,000 บาท เป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัวของแรงงานเอง โดยทางไอโอเอ็มที่ร่วมคณะมาด้วยก็ยืนยันอัตรานี้ เพื่อให้แรงงานไทยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแพงเกินจริง เมื่อไปทำงานแล้วจะได้ค่าตอบแทนเต็มเม็ดเต็มหน่วยคุ้มค่ากับที่ลงทุนไป และเห็นว่ากระบวนการเอารัดเอาเปรียบเก็บค่าหัวแพงต้องยุติให้ได้ ต้องเร่งดำเนินการตัดวงจรนี้ ให้แรงงานไทยมีที่พึ่งพา ได้รับการคุ้มครองอย่างเป็นธรรม 

ประเด็นหลักอยู่ที่ว่ากระทรวงแรงงานควรที่จะได้กำหนดกรอบการดำเนินการ ที่ชัดเจนเพื่อไม่ให้แรงงานไทยถูกหลอกลวงต่อไปอีก โดยจะต้องสร้างกลไกควบคุมอย่างเข้มแข็ง โดยอาสาสมัครแรงงานหรือ อสร.จะเข้ามาคอยดูแลสอดส่องและเป็นกลไกในการป้องกันการหลอกลวงแรงงานในระดับ พื้นที่ 

ส่วนในอนาคตทางบริษัทจัดหางานจะยังเป็นผู้จัดส่งแรงงานไทยไปยังบริษัท จัดหางานคู่ค้าในประเทศอิสราเอลได้ต่อไปหรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่าทางสถานทูตอิสราเอลในประเทศไทยจะออกวีซาผ่านบริษัทจัดหางาน ไทยหรือไม่ ถ้ายังออกให้ก็สามารถจัดส่งได้ แต่ถ้าไม่ออกให้ก็ต้องเป็นระบบจัดส่งแบบรัฐต่อรัฐโดยมีไอโอเอ็มเป็นผู้ดูแล เท่านั้น 

ด้านเอกอัครราชทูตอิสราเอลให้สัมภาษณ์ว่า การจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานยังประเทศอิสราเอล เป็นไปตามกรอบข้อตกลงร่วมกันระหว่างกระทรวงแรงงานกับไอโอเอ็ม หรือ องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน ซึ่งอิสราเอลใช้เป็นช่องทางการลดค่าใช้จ่ายในการรับคนงานไปทำงาน  ที่แรงงานไทยจะเสียค่าใช้จ่ายเพียงรายละไม่เกิน 70,000 บาทเท่านั้น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัว เช่นค่าตั๋วเครื่องบิน ค่าวีซาในการเดินทาง ค่าตรวจสุขภาพ  เป็นต้น โดยขณะนี้มีแรงงานไทยกว่า 6,000 คน สมัครเข้าสู่กรอบข้อตกลงนี้เป็นลอตแรก และทางไอโอเอ็มจะเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกแรงงานไทยให้ได้จำนวนประมาณ 200 คน ตามที่นายจ้างในอิสราเอลต้องการ แต่จะใช้คอมพิวเตอร์ในการแรนดอมหรือสุ่มเลือกเท่านั้น เพื่อให้เกิดความเสมอภาคและเป็นธรรม และระบบนี้จะเริ่มใช้ในราวเดือนเมษายน 2555 ซึ่งตนก็คาดหวังว่าแรงงานไทยจะเสียค่าใช้จ่ายลดลงในที่สุด 

(มติชนออนไลน์, 19-3-2555)

ส.ส.ภูมิใจไทยยื่นแก้ พ.ร.บ.แรงงานเพิ่มอำนาจต่อรอง 

รัฐสภา 21 มี.ค. 55 - นายเรืองศักดิ์ งามสมภาค ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย พร้อม ส.ส.พรรคภูมิใจไทย ยื่นเสนอร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ (ฉบับที่ ....) พ.ศ......พร้อมบันทึกเหตุผล และบทสรุปวิเคราะห์ ที่มี ส.ส.ร่วมลงชื่อเสนอร่างดังกล่าวจำนวน 18 คน ต่อนายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้พิจารณาแก้ไขเพิ่มเติม เนื่องจากเห็นว่า พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 บังคับใช้มาเป็นเวลานาน มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่สอดคล้องกับการพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ รวมทั้งสถานการณ์ทางสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป สมควรให้มีการแก้ไขบทบัญญัติเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการเจรจาต่อ รอง การไกล่เกลี่ย การจัดทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ การคุ้มครองผู้จัดตั้งสหภาพแรงงาน การใช้สิทธิลาของคณะกรรมสหภาพแรงงาน ความไม่เป็นธรรม รวมถึงบทกำหนดโทษ จึงเสนอร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว เพื่อขอให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ดำเนินการพิจารณาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยต่อไป 

(สำนักข่าวไทย, 21-3-2555)

รมว.แรงงาน ยืนยันชัดเจน ไม่สามารถนำค่าเซอร์วิสชาร์จไปรวมเป็นค่าจ้างได้ 

นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงความชัดเจนกรณีที่ผู้ประกอบการภาคธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการ เรียกร้องให้นำค่าบริการที่เรียกเก็บในใบเสร็จ หรือ ค่าเซอร์วิสชาร์จ ไปรวมกับค่าจ้างขั้นต่ำ เนื่องจากในวันที่ เมษายนนี้ ผู้ประกอบการต้องจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างอัตราใหม่ที่ปรับเพิ่มอีกร้อยละ40 ว่า ในเรื่องนี้ต้องดูเป็นรายกรณีว่า ที่ผ่านมาสถานประกอบการนั้นๆ นำค่าเซอร์วิสชาร์จไปรวมกับค่าจ้างหรือไม่ หากที่ผ่านมาค่าเซอร์วิสชาร์จถือเป็นสวัสดิการ แต่นายจ้างต้องการเปลี่ยนนำมารวมกันเป็นค่าจ้างขั้นต่ำ ก็ต้องมีการเจรจาระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ตามมาตรา 13 พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างงาน หากไม่สามารถหาข้อยุติได้ก็สามารถยื่นคำร้องต่อพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน ให้เข้าไปเจรจาไกล่เกลี่ยหาข้อยุติ อย่างไรก็ตามในทางกฎหมายไม่สามารถนำค่าจ้างและค่าเซอร์วิสชาร์จมารวมกันได้ เพราะค่าจ้างเป็นค่าตอบแทนในการทำงานปกติ ไม่ได้มีไว้จ่ายเพื่อสวัสดิการ หรือสร้างแรงจูงใจในการทำงาน 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวอีกว่า ส่วนสถานประกอบการใดไม่ได้ระบุไว้ว่าเซอร์วิสชาร์จเป็นสวัสดิการ ก็สามารถนำมารวมกันเพื่อจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำอัตราใหม่ และนำมาเป็นฐานการคำนวณสวัสดิการอื่นๆ เช่น ค่าทำงานล่วงเวลา ค่าชดเชย ค่าการทำงานในวันหยุด และโบนัส เป็นต้น 

(สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 21-3-2555)

นิคมน้ำท่วมฟื้นผลิตเกือบครึ่ง เชื่อ Q2 ทุกโรงงานเดินเครื่อง เร่งส่งต่อแรงงานถูกลอยแพ 

นายสุภาพ คลี่ขจาย ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรมยังคงติดตามการฟื้นตัวของโรงงานอุตสาหกรรมใน พื้นที่อุตสาหกรรมอย่างใกล้ชิด และจัดความช่วยเหลือตามที่โรงงานต้องการ เช่น มาตรการทางภาษีของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน โครงการคลีนิคอุตสาหกรรม ทั้งนี้ จากการตรวจสอบจำนวนโรงงานทั้งหมด 838 โรง ล่าสุดเมื่อเดือนกุมภาพันธ์พบว่าเปิดดำเนินการแล้วประมาณ 44%หรือ 366 โรง แบ่งเป็นเปิดดำเนินการ 100% จำนวน 143 โรง และเปิดดำเนินการบางส่วน 223 โรง โดยคาดว่าในไตรมาส ปีนี้ โรงงานทุกแห่งจะสามารถเริ่มกลับมาผลิตได้อีกครั้ง 
  
นายสุภาพกล่าวว่า นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน มีโรงงานรวม 90 แห่ง ซึ่งเปิดดำเนินการรวม 45 โรง มีโรงงานที่ย้ายหรือปิดกิจการรวม โรง ทำให้แรงงานถูกเลิกจ้าง 3,965 คน จากแรงงานทั้งหมด 56,887 คน นิคมสหรัตนนคร มีโรงงานรวม 43 แห่ง เปิดดำเนินการรวม 13 โรง มีโรงงานที่ย้ายหรือปิดกิจการรวม โรง ทำให้แรงงานถูกเลิกจ้าง 212 คน จากแรงงานทั้งหมด 8,410 คน นิคมบ้านหว้า (ไฮเทค) มีโรงงานรวม 143 แห่ง เปิดดำเนินการรวม 48 โรง มีโรงงานที่ย้ายหรือปิดกิจการรวม 10 โรง ไม่ระบุแรงงานที่ถูกเลิกจ้าง 
  
สำหรับเขตประกอบการอุตสาหกรรมโรจนะ มีโรงงานรวม 198 แห่ง เปิดดำเนินการรวม 61 โรง มีโรงงานที่ย้ายหรือปิดกิจการรวม 21 โรง ทำให้แรงงานถูกเลิกจ้าง 16,164 คน จากแรงงานทั้งหมด 54,104 คน เขตประกอบการอุตสาหกรรมแฟคตอรี่แลนด์ มีโรงงานรวม 93 แห่ง เปิดดำเนินการ 100% จึงไม่มีการปลดคนงาน สวนอุตสาหกรรมนวนคร มีโรงงานรวม 227 แห่ง เปิดดำเนินการรวม 90 โรง มีโรงงานที่ย้ายหรือปิดกิจการรวม 3โรง ทำให้แรงงานถูกเลิกจ้าง 1,377 คน จากแรงงานทั้งหมด 128,000 คน และสวนอุตสาหกรรมบางกะดี มีโรงงานรวม 44 แห่ง เปิดดำเนินการรวม 16 โรง ไม่ระบุโรงงานที่ปิดกิจการและถูกเลิกจ้าง 
  
"ปัจจุบันกระทรวงแรงงานและกระทรวงอุตสาหกรรม อยู่ระหว่างประสานกับโรงงานอุตสาหกรรมที่ยังขาดคนงานอยู่ เช่น โรงงานในเขตภาคตะวันออก เพื่อกระจายแรงงานไปสู่โรงงานดังกล่าว" นายสุภาพกล่าว 
  
นายนราพจน์ ทิวถนอม รองผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวภายหลังร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดสายการผลิต บริษัท ทีเอส เทค (ประเทศไทย) จำกัด ว่าบริษัท ทีเอส เทค เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ประเภทเบาะ และแผงประตูรถยนต์รายใหญ่ในนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ได้เริ่มกลับมาผลิตชิ้นส่วนป้อนบริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด อีกครั้ง หลังจากประสบกับภาวะน้ำท่วมช่วงปลายปีที่ผ่านมา เมื่อรวมกับผู้ประกอบการรายอื่นในนิคมสหรัตนนคร ที่กลับมาผลิตอีกครั้งจะรวมเป็น 24 ราย คิดเป็น52% จากจำนวนโรงงานทั้งหมด 46 ราย สถานภาพการจ้างงานที่มีแรงงานกลับมาทำงานแล้วประมาณ 9,373คน จากจำนวนแรงงานทั้งหมด 12,176 คน และคาดว่าจะกลับมาผลิตได้ครบ 100% ภายในเดือนมิถุนายนนี้แน่นอน 
  
จากการตรวจสอบนักลงทุนในนิคมสหรัตนนครพบว่า นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศที่อยู่ในพื้นที่ไม่ย้ายฐานการผลิตไปยังพื้นที่ อื่นๆ แม้แผนบริหารจัดการน้ำท่วมอาจมีความล่าช้าไปบ้าง แต่ผู้ประกอบการยังคงเชื่อมั่นแผนบริหารจัดการน้ำของรัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ หากแนวคันดินป้องกันน้ำท่วมสร้างเสร็จตามแผนงานก็เชื่อว่าจะรับมือกับปริมาณ น้ำหลากในช่วงเดือนสิงหาคมได้อย่างแน่นอน” นายนราพจน์กล่าว 

(มติชนออนไลน์, 21-3-2555)

ก.พาณิชย์ยันขึ้นค่าแรง 300 บาท กระทบราคาสินค้าน้อยมาก 

22 มี.ค. -นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าการปรับขึ้นค่าแรง 300 บาทต่อวันตามนโยบายของรัฐบาลมีผลดีต่อประชาชนและเศรษฐกิจโดยรวม ยืนยันส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าเพียงเล็กน้อย 

นางวัชรี วิมุกตายน อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละไม่น้อยกว่า300 บาทตามนโยบายของรัฐบาลที่จะเริ่มในวันที่ เมษายน 2555 กรมการค้าภายในได้ศึกษาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับราคาสินค้า พบว่าโครงสร้างของต้นทุนและราคาสินค้า ประกอบด้วย ต้นทุนวัตถุดิบ ต้นทุนค่าแรงงาน ค่าใช้จ่ายการผลิตและการจำหน่าย ซึ่งต้นทุนวัตถุดิบเป็นสัดส่วนหลักประมาณร้อยละ 70-90 และมีต้นทุนค่าแรงงานเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 1 - 5 เท่านั้น ดังนั้น ผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงจะมีผลกระทบต่อต้นทุนสินค้าบางรายการที่กระบวนการ ผลิตใช้แรงงานเป็นหลัก อาทิ สินค้าเครื่องแบบนักเรียน เยื่อกระดาษ ไม้อัดสลับชั้น เป็นต้น 

อย่างไรก็ตาม เมื่อมองภาพรวมต้นทุนการผลิตอาจจะไม่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากการเพิ่มค่าแรงงานจะทำให้ประชาชนมีกำลังซื้อเพิ่มมากขึ้น มีการจับจ่ายซื้อสินค้าเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ปริมาณการจำหน่ายสินค้าเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยก็จะลดลง นอกจากนี้ นโยบายของรัฐบาลในการสนับสนุนผู้ประกอบการ เช่น การลดภาษีเงินได้นิติบุคคลจะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตลดลงด้วย 

ส่วนการศึกษาผลกระทบจากการปรับราคาสูงขึ้นของน้ำมันเชื้อเพลิงต่อต้นทุน ภาคการผลิตนั้น พบว่าสินค้า บางประเภทแทบไม่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนสินค้า หรือหากมีผลกระทบจะมีเพียงร้อยละ 0.62 เท่านั้น เนื่องจากต้นทุนการผลิตมีค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงเพียงร้อยละ 0-5 แต่บางสินค้าที่อาจส่งผลกระทบในพวกกลุ่มสินค้าวัสดุก่อสร้างใช้ค่าเชื้อ เพลิงร้อยละ อย่างไรก็ตาม การปรับตัวสูงขึ้นของราคาพลังงาน ส่งผลกระทบทางอ้อมต่อต้นทุนสินค้าในด้านการขนส่งสินค้า จากการศึกษาพบว่าค่าขนส่งมีผลต่อโครงสร้างราคาจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค ประมาณร้อยละ 15 ปัจจุบันก๊าซเอ็นจีวี ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 และดีเซลเพิ่มขึ้นร้อยละ แต่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนสินค้าภาคการขนส่งเพียงเล็กน้อยประมาณร้อยละ 0.44 ดังนั้น ราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้น จึงไม่ใช่สาเหตุหลักที่ผู้ผลิตสินค้าจะนำมาเป็นข้ออ้างในการขอปรับขึ้นราคา สินค้า ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์คาดว่าในปี 2555 ดัชนีราคาผู้บริโภคจะขยายตัวเพียงร้อยละ 3.30-3.80. 

(สำนักข่าวไทย, 22-3-2555)

ปลัดแรงงานยันขึ้นค่าจ้าง 300 บาท เม.ย.นี้แน่นอนใน จังหวัด 

นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน (รง.) และประธานคณะกรรมการค่าจ้างกลางกล่าวถึงกรณีศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาเบื้อง ต้นไม่คุ้มครองฉุกเฉินการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ หลังจากที่ผู้ประกอบการ42 แห่งยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง เพื่อขอให้ศาลพิจารณาไต่สวนฉุกเฉิน และมีคำสั่งคุ้มครองฉุกเฉินในการบังคับใช้การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 40% ซึ่งจะมีผลทำให้ค่าจ้างขั้นต่ำใน จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ ภูเก็ต สมุทรปราการ สมุทรสาคร ปทุมธานี นครปฐม และ นนทบุรี ปรับเพิ่มเป็นวันละ 300 บาทในวันที่ เม.ย.นี้ 

นพ.สมเกียรติ กล่าวอีกว่า สำหรับคำพิพากษาของศาลที่ออกมานั้นเป็นเพียงมีคำพิพากษาเบื้องต้นเท่านั้น ยังไม่ใช้คำพิพากษาที่ถึงที่สุด ดังนั้น เรื่องนี้ศาลจะมีการพิจารณาต่อไป อย่างไรก็ตาม เมื่อคำพิพากษาเบื้องต้นออกมาเช่นนี้ ก็จะมีผลทำให้การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ เม.ย.นี้เช่นเดิมตามประกาศของคณะกรรมการค่าจ้างกลางไปจนกว่าศาลจะมีคำ พิพากษาถึงที่สุด หลังจากนี้ ศาลคงจะเรียกผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทั้งในส่วนของคณะกรรมการค่าจ้างและผู้ ประกอบการเข้าไปชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการวินิจฉัย ซึ่งในส่วนของตนในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้างกลางก็จะเตรียมข้อมูลต่างๆ ไว้เพื่อชี้แจงต่อศาล
       
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการพิจารณาข้อเท็จจริงในชั้นไต่สวนของศาลปกครองกลาง พบว่า การพิจารณาของคณะกรรมการค่าจ้างเป็นไปตามขั้นตอนและวิธีการ โดยพิจารณาตามกรอบของมาตรา 87 พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ซึ่งได้มีการศึกษาและพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอัตราค่าจ้าง โดยคำนึงถึงดัชนีค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ มาตรฐานการครองชีพ ต้นทุนการผลิต ราคาของสินค้าและบริการ ความสามารถของธุรกิจ ผลิตภาพแรงงาน ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ และสภาพทางเศรษฐกิจและสังคม โดยเป็นการพิจารณาทั้งข้อมูลที่ได้จากคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้น ต่ำของทุกจังหวัด ซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนฝ่ายรัฐบาล ผู้แทนนายจ้าง ลูกจ้าง ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากคณะอนุกรรมการวิชาการและกลั่นกรอง 
       
ทั้งนี้ การพิจารณาข้างต้นเป็นไปตามขั้นตอน และการประชุมคณะกรรมการค่าจ้างกลางที่มีมติปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำก็เป็นไป อย่างครบองค์ประชุม จากนั้นจึงได้มีประกาศคณะกรรมการค่าจ้างกลางออกมา ส่วนการที่ศาลปกครองจะพิจารณาว่าประกาศดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น เป็นประเด็นที่ศาลปกครอง จะต้องพิจารณาพิพากษาต่อไป 

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 22-3-2555)

เครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานจัดเสวนาหน้าสภาฯ 

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 22 มี.ค. ที่บริเวณด้านหน้าสวนสัตว์ดุสิต ฝั่งตรงข้ามอาคารรัฐสภา กลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน ร่วม 100 คน ได้จัดวงเสวนาเพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อขอให้รัฐสภาเร่งพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่....) พ.ศ. ..... ฉบับที่ โดยมี น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะทำงานขับเคลื่อนและผลักดันร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ กับประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ที่รวมรายชื่อจำนวน14,264 คน ขอให้ออกกฎหมายดังกล่าวให้ทันการประชุมสมัยสามัญนิติบัญญัติสมัยสภาที่จะหมด ในวันที่ 18เม.ย.นี้ เพราะเป็นเรื่องที่ค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ เมื่อวันที่ 21 ธ.ค.54 จนบัดนี้สภาผู้แทนราษฎรยังไม่มีความชัดเจนว่าจะมีการพิจารณาร่างกฎหมายฉบับ ดังกล่าวในการประชุมครั้งใด โดยมี นายชาลี ลอยสูง คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย นายยงยุทธ เม่นตะเภา ประธานสหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย นายมนัส แป้นวิเศษ เครือข่ายปฏิบัติการเพื่อแรงงานข้ามชาติ และนายสุจิน รุ่งสว่าง เครือข่ายแรงงานนอกระบบ ร่วมวงเสวนา 

ต่อมาเวลา 10.45 น. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาฯ พร้อมคณะ ได้ออกมารับหนังสือร้องเรียนให้ช่วยผลักดันร่างกฎหมายดังกล่าว จากนายนคร มาฉิม ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ ที่เป็นตัวแทนของกลุ่มแรงงาน พร้อมกล่าวว่า เรื่องของการปรับปรุงระบบสวัสดิการและระบบประกันสังคม เป็นเรื่องที่พวกเราตั้งใจสนับสนุน ตนจำได้ว่ากฎหมายนี้ทำกันตั้งแต่สมัยรัฐบาลชุดที่แล้ว ตนเองก็ได้พยายามผลักดันแต่ยังไม่สำเร็จ และหลักการต่างๆ ได้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ถึงความเป็นอิสระของประกันสังคม ระบบธรรมาภิบาลที่ต้องเกิดขึ้น และการขายให้ครอบคลุมถึงพี่น้องประชาชนกว่า 20 ล้านคน ทั้งอาชีพอิสระนอกระบบ เพราะฉะนั้นถ้าทำอย่างนี้ได้น่าจะเกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้แรงงานและประกัน สังคม ตนจะพยายามกระตุ้นและเร่งรัดในเรื่องดังกล่าว เพราะเรื่องนี้เป็นโครงสร้างในการดูแลประชาชนเป็นระบบอย่างแท้จริง 

ส่วนนายนคร กล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลชุดนี้ยื่นต่อสภาฯ เพื่อให้สภาฯ รับรอง ตอนนี้อยู่ในลำดับที่ 15 ของวาระด่วน และจะดำเนินการในหลายทาง เช่น ทาง กมธ.แรงงาน ให้เร่งรัดด้วยและ ส.ส.ก็จะมีการหารือกันในเรื่องดังกล่าว 

ด้าน นางวิไลวรรณ ตัวแทนกลุ่มเครือข่ายแรงงานฯ กล่าวว่า ที่มาของคณะกรรมการองค์กรประกันสังคม ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นหัวใจของคนงาน จะเปลี่ยนแปลงเรื่องการมีส่วนร่วมไม่ว่าคุณสมบัติของที่มา โดยเฉพาะกระบวนการในการตรวจสอบ แต่ที่สำคัญจะขยายการคุ้มครองพี่น้องแรงงานนอกระบบ และพี่น้องที่เป็นหน่วยงานข้าราชการ ที่ไม่มีสวัสดิการเพื่อสร้างสวัสดิการที่ดี ตนจึงอยากฝากให้ช่วยเร่งดำเนินการ ในฐานะที่ท่านเป็นผู้นำฝ่ายค้าน ก็หวังว่าจะได้รับการเร่งดำเนินการให้กับพี่น้องคนยากคนจน เพื่อสร้างหลักความมั่นคงและหลักประกันให้กับพี่น้องผู้ประกันตนร่วมกัน 

จากนั้นในเวลา 11.00 น. กลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน ได้เดินเท้าจากลานพระบรมรูปทรงม้ากว่า500 คน โดยมีรถหกล้อติดเครื่องขยายเสียง พร้อมชูป้ายเรียกร้องความเป็นธรรมนานกว่าชั่วโมงจึงแยกย้ายจากหน้าสภาฯ. 

(ไทยรัฐ, 22-3-2555)

แรงงานไทยในระดับ ปวช.ปวส.และปริญญาตรี อ่อนภาษาและทักษะการทำงาน 

น.ส.สุวรรณา ตุลยวศินพงษ์ หัวหน้าโครงการศึกษาความพร้อมของกำลังคนเพื่อรองรับการเปิดเสรีด้านการค้า สินค้า สาขา ตามกรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า ในส่วนของประเทศไทย มีการคาดการณ์ว่า ในปี พ.ศ.2555-2558 สถาบันการศึกษาสามารถผลิตผู้ที่จบการศึกษาทุกระดับอยู่ที่ 1.5 ล้านคนต่อปี และมีความต้องการแรงงานทดแทนในแต่ละปีอยู่ที่ 1.2 ล้านคน แต่มีผู้ที่เข้าสู่ตลาดแรงงานเพียง 3.6 แสนคน และมีอัตราว่างงานไม่ถึงร้อยละ ซึ่งถือว่าเป็นอัตราที่น้อยมาก โดยในจำนวนนี้พบว่าจบปริญญาตรีร้อยละ 10 รองลงมาระดับ ปวส. ส่วนระดับ ปวช. นั้นตลาดแรงงานมีความต้องการมาก แต่กลับมีผู้เรียนน้อย อย่างไรก็ตาม จากการที่ได้ประชุมร่วมกับผู้ประกอบการ ต่างให้ข้อมูลว่า ผู้ที่จบการศึกษาระดับ ปวช. ปวส. และปริญญาตรี มีจุดอ่อนในเรื่องการขาดทักษะภาษาต่างประเทศ ทักษะฝีมือ และประสบการณ์ทำงาน โดยเฉพาะผู้ที่จบระดับ ปวช.และ ปวส. ทางผู้ประกอบการจะต้องนำมาฝึกอบรมและเรียนรู้งานนาน เดือน จึงจะปฏิบัติงานได้ดี 

นอกจากนี้ ตลาดแรงงานไทยยังมีปัญหาการขาดแคลนกำลังคน การใช้แรงงานต่างด้าวทั้งที่เข้ามาโดยถูกกฎหมายและผิดกฎหมายรวมแล้วกว่า 1.3 ล้านคน รวมถึงแรงงานในระบบมีอายุมากขึ้น โดยจากการคาดการณ์ พบว่าใน สาขาเร่งรัด ที่มีการเปิดเสรีการค้าในกลุ่มประเทศอาเซียนมีความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้นปี ละ32,732 คน ในขณะที่กำลังแรงงานใหม่เข้าสู่ตลาดอยู่ในระดับคงที่ 

(สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 22-3-2555)

ปคม.จับ ผู้ต้องหา รวมหัวตุ๋นแรงงาน ส่งไปประเทศพม่า มีเหยื่อหลงเชื่ออื้อ 

23 มีนาคม พล.ต.ต.ชวลิต แสวงพืชน์ ผบก.ปคม. พ.ต.อ.ณพวัฒน์ อารยางกูร ผกก.บก.ปคม.แถลงข่าวจับกุม นายฐานุพงศ์ โฆษิตธิติพันธ์ อายุ 63 ปี และนางสายพิน สุขประเสริฐ อายุ 56 ปี หลังจากทั้งสองเปิดรับสมัครงานในโครงการท่อก๊าซไทยพม่าโดยผิดกฎหมาย พล.ต.ต.ชวลิต กล่าวว่า เมื่อวันที่ 15 มีนาคมที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงาน เข้าร้องเรียนว่ามีผู้อ้างว่าได้รับอนุญาตจากระทรวงแรงงาน ให้จัดหาคนไปทำงานที่ประเทศพม่า โดยใช้บริษัท เคเอสพี จำกัด ซอยจตุโชติ 20 ถนนสุขาภิบาล แขวงออเงิน เขตสายไหม กทม.เป็นที่ฝึกอบรมคนงาน 

พล.ต.ต.ชวลิต กล่าวว่า ผู้ต้องหาหลอกคนงานว่าจะมีรายได้เดือนละ 72,000-120,000 บาท แต่มีค่าดำเนินการรายละ 30,000-70,000 บาท ตามตำแหน่งงาน แต่ภายหลังคนงานกว่า 300 คนหลงเชื่อและจ่ายเงินให้ กลับไม่ได้ไปทำงาน สอบสวนผู้ต้องหาให้การภาคเสธ โดยอ้างว่าเรียกเก็บเงินค่าสมัครโดยหักค่าหัวรายละ 2,000-2,500 บาท แต่ไม่ได้หลอกลวงผู้เสียหาย จึงแจ้งข้อหา ร่วมกันจัดหางานให้คนหางานไปทำงานต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนาย ทะเบียนจัดหางานกลาง และร่วมกันหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานหรือส่งไปฝึกงานในต่างประเทศ 

(แนวหน้า, 23-3-2555)

ก.แรงงานรื้อกฎกระทรวงจัดระเบียบส่งแรงงานไทยไปนอก 

23 มี.ค. 55 - นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตนได้ประชุมคณะกรรมการแก้ไขกฎกระทรวงและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจัดส่ง แรงงานไทยไปต่างประเทศตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2537 เนื่องจากกฎกระทรวงและระเบียบเหล่านี้ใช้มานานหลายปีแล้ว ทำให้เนื้อหาบางส่วนไม่ทันสมัย และมีช่องโหว่ให้บริษัทจัดหางานเอารัดเอาเปรียบแรงงานไทยโดยมีการเรียกเก็บ ค่าใช้จ่าย ค่าบริการในการเดินทางไปทำงานต่างประเทศสูงเกินกว่าความเป็นจริง 
       
อธิบดี กกจ.กล่าวอีกว่า ที่ประชุมได้สรุปประเด็นที่จะต้องแก้ไขกฎกระทรวงและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับ การจัดส่งแรงงานไทยไปต่างประเทศ ได้แก่ การกำหนดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปต่างประเทศ ซึ่งแยกได้เป็น 2กรณี ได้แก่ ประเทศที่มีค่าใช้จ่ายใกล้เคียงกัน ก็จะกำหนดค่าใช้จ่ายไว้ในอัตราที่เป็นมาตรฐานใกล้เคียงกัน 
       
ส่วนกรณีบางประเทศการกำหนดไว้อัตราโดยเฉพาะ ก็จะกำหนดค่าใช้จ่ายไว้เฉพาะประเทศนั้นๆ อีกทั้งสัญญาการจ้างงาน จะให้ระบุรายละเอียดมากขึ้น เช่น การเรียกเก็บค่าใช้จ่ายอื่นๆเพิ่มเติม เมื่อแรงงานไปทำงานอยู่ในประเทศนั้นๆ แล้ว ยกตัวอย่างไต้หวันมีการเก็บค่าล่าม รวมทั้งการคุ้มครองแรงงานที่ไปทำงานต่างประเทศ และจะต้องมีการจัดระเบียบในการจัดหางานให้คนไทยไปทำงานต่างประเทศด้วย 
       
กฎกระทรวงและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจัดส่งแรงงานไทยไปต่างประเทศ นั้น คาดว่า คณะกรรมการจะใช้เวลาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาประมาณ 4-5 เดือนหรืออย่างช้าไม่เกินเดือนสิงหาคมนี้ ก็จะประกาศบังคับใช้ได้” นายประวิทย์ กล่าว 
       
อธิบดี กกจ.กล่าวต่อไปว่า ส่วนการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานอิสราเอล ทาง กกจ.จะดำเนินการตามแนวทางผลการหารือระหว่างทูตอิสราเอลกับ นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (รมว.รง.) ขณะนี้ กกจ.ได้สั่งระงับการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานอิสราเอล โดยบริษัทจัดหางาน และ กกจ.จะจัดส่งแรงงานไทย 200 คน ไปทำงานในช่วงเดือนเมษายนนี้ ตามที่ทูตอิสราเอลได้แจ้งไว้ว่ามีตำแหน่งงานรองรับ200 อัตรา โดยผ่านระบบรัฐต่อรัฐตามข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลอิสราเอล เสียค่าใช้จ่ายรวมทั้งหมดประมาณ หมื่นบาทต่อคน โดยจะสุ่มเลือกจากแรงงานไทยประมาณ พัน ที่เคยมายื่นเรื่องไว้ก่อนหน้านี้ ในลักษณะจับคู่โดยจะต้องมีคุณสมบัติตรงกับตำแหน่งงานที่จะไปทำ 

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 23-3-2555)

จัดหางานนครปฐมเตือน! ระวังนายหน้าหัวหมอเก็บค่าหัวไปทำงานอิสราเอล 

นายสุวรรณ์ ดวงตา จัดหางานจังหวัดนครปฐม เปิดเผยว่า การจัดหาคนงานไปทำงานที่ประเทศอิสราเอลได้เปลี่ยนเป็นรูปแบบใหม่ โดยกรมการจัดหางานร่วมกับองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน หรือไอโอเอ็ม กำลังคัดเลือกบุคคลที่จะเดินทางไปทำงาน ล็อตแรกจำนวน 5,000 คน ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว 
       
แต่กระบวนการในการจัดส่งอยู่ระหว่างการตรวจสอบคุณสมบัติ และคาดว่ากลุ่มแรกกว่า 1,000 คน จะสามารถจัดส่งไปได้ในเร็ว ๆ นี้ เพื่อให้การจัดส่งแรงงานไทยเป็นไปอย่างโปร่งใส รวดเร็วเป็นธรรม และลดค่าใช้จ่ายของแรงงานไทย คนหางานที่สมัครเดินทางไปทำงานภาคเกษตรในประเทศ อิสราเอลภายใต้โครงการ TIC และผ่านการคัดเลือกแล้วจะเสียค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 80,000-- 90,000 บาท การจ่ายเงินค่าบริการ ต้องเดินทางมาจ่ายที่กรมการจัดหางาน เมื่อได้รับการยืนยันวันเดินทางกับนายจ้างที่ชัดเจนเท่านั้น 
       
จัดหางานนครปฐมกล่าวเพิ่มเติมว่าอย่าหลงเชื่อนายหน้าผู้หลอกลวง ชักชวนให้เสียเงินค่าหัว 300,000 บาท เพื่อเดินทางไปทำงานนอกโครงการเด็ดขาด 
       
อย่างไรก็ตาม หากพบกลุ่มมิจฉาชีพแอบอ้างว่าสามารถช่วยจัดส่งแรงงานไทยไปต่างประเทศได้ โดยเรียกเก็บค่าบริการต่าง ๆ ขอให้แจ้งมายังสายด่วน 1694 หากมีข้อสงสัยสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัด นครปฐม โทร 0-3425-0861 ต่อ 23 ในวันและเวลาราชการ 

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 24-3-2555)

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท