Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

คาถามนี้ถูกตั้งเชิงจุดประเด็นถกเถียงขึ้นมาโดยคนกลุ่มหนึ่งซึ่งมีนัยว่า “นักสตรีนิยมไทย” ไปอยู่ที่ไหน ทาอะไรกันหมดจึงไม่ออกมาปกป้องศักดิ์ศรีของนายกฯ หญิงยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งเท่ากับบอกว่า นายกฯ ยิ่งลักษณ์คือ ตัวแทนหญิงไทย การไม่ออกมาปกป้องจึงเป็นความผิดของนักสตรีนิยม นักวิชาการบางคนไปไกลถึงขนาดเสนอให้ยุบหลักสูตรสตรีศึกษาในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่มีหลักสูตรนี้ไปเลย .....ทาให้ผมอดคิดไม่ได้ว่า อะไรกันถึงขนาดนั้นทีเดียวหรือ? ถ้าเป็นอย่างนั้น หากมีใครวิพากษ์วิจารณ์ว่า “การศึกษาไทยล้มเหลว” มิต้องออกมาเสนอว่า “ปิดมหาวิทยาลัยทุกแห่ง” เสียเลยดีไหม?

ที่จริงนักสตรีนิยมไทย ซึ่งประกอบด้วยทั้งนักเขียน นักหนังสือพิมพ์ นักวิชาการสาขาต่าง ๆ นักกิจกรรม และผู้สนใจทั้งที่มีเพศ/เพศภาวะเป็นหญิง ชาย และไม่ใช่หญิง ไม่ใช่ชาย ก็ได้ออกมาชี้แจง หรือแสดงจุดยืนไปแล้ว สาหรับผมเอง อดไม่ได้ที่จะแสดงความคิดเห็นออกมาโดยพยายามที่จะมองจากมิติของ “สตรีนิยม” ที่ในตัวของมันเองมีความแตกต่างหลากหลาย ซับซ้อน เคลื่อนไหวและขัดแย้งกันอยู่ในตัว จึงเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลยที่จะเหมารวมว่า “นักสตรีนิยม” จะต้องคิดและทาอะไรเหมือน ๆ กันเป็นขบวนการเดียวกัน ดังนั้นในที่นี้ผมขอเสนอความเห็นเป็นประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

สตรีนิยม (Feminism) เป็นวิธีคิดที่หลากหลายแตกต่าง

ประเด็นนี้สตรีนิยมก็อยู่ในลักษณะเดียวกันกับ สังคมนิยม (Socialism) เสรีนิยม (Liberalism) และลัทธิอานาจนิยม (Authoritarianism) ศักดินานิยม (Feudalism) ลัทธิทหารนิยม (Militarism) และอะไรต่าง ๆ ที่ลงท้ายด้วย “-ism” ทั้งหลายอีกมากมายที่เราอาจไม่เคยได้ยิน เช่น สุญนิยม (nihilism) บุรุษศูนย์กลางนิยม (androcentrism) เป็นต้น เมื่อสตรีนิยมเป็นวิธีคิดแล้วสตรีนิยมจึงไม่ใช่เป็นวิธีคิดที่มีแนวเดียวหรือวิธีเดียว หากเป็นหลากหลายวิธีคิดที่แตกต่างขัดแย้งซับซ้อนและเคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่ง ดังนั้นทัศนะในการมองเหตุการณ์ที่นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ไปปรากฏตัวที่โรงแรมโฟร์ซีซั่นตลอดจนเหตุการณ์ต่อเนื่องที่มีคนและกลุ่มคน รวมทั้งคนของพรรคประชาธิปัตย์ออกมาตั้งคาถาม วิพากษ์วิจารณ์ในแนวทางต่าง ๆ ที่บางแนวก็ส่อไปในทางเกี่ยวข้องกับเรื่องทางเพศหรือเพศวิถี จึงย่อมมีความแตกต่างกันในหมู่นักสตรีนิยม บ้างก็ประณามคนที่วิพากษ์วิจารณ์ไปในแนวประเด็นเรื่องเพศวิถีนี้ว่าเป็นการกระทาในทางการเมืองที่สกปรก บ้างก็เห็นว่าเพศวิถีของผู้คนเป็นเรื่องส่วนตัว ถึงจะมีอะไรในแนวเรื่องเพศก็ไม่เห็นเสียหายเพราะผู้หญิงสมัยนี้เป็นผลผลิตของสิ่งที่เรียกว่า “การปฏิวัติทางเพศ” หรือ “sexual revolution” ฉะนั้นพฤติกรรมของนายกฯ ยิ่งลักษณ์ หากจะเป็นอย่างนั้นจริงก็ไม่เห็นเสียหาย กลับดีเสียอีกเป็นการแสดงให้เห็นถึง “เสรีภาพ” ที่สาคัญของผู้หญิง แต่ก็อีกนั่นแหละนักสตรีนิยมบางคนบางกลุ่มก็มีความคิดที่วิพากษ์ต่อเรื่อง “การปฏิวัติทางเพศ” ส่วนนักสตรีนิยมบางส่วนก็ตั้งคาถามว่า “จะเป็นเรื่องเสรีภาพหรือไม่ต้องดูว่าเรื่องเพศ/เพศวิถีหรือพฤติกรรมทางเพศนั้นเกิดขึ้นในบริบทไหน ถ้าเกิดกับผู้หญิงธรรมดากับผู้หญิงที่เป็นนายกรัฐมนตรีในเวลาที่ควรไปประชุมสภาฯ แล้ว การยกเรื่องเสรีภาพก็ดี เรื่องส่วนตัวก็ดีขึ้นมาอธิบายก็ฟังไม่ค่อยขึ้น รวมทั้งนายกรัฐมนตรีที่มีเพศ/เพศภาวะชายหรือบุคคลสาธารณะทั้งหลาย หากทาอย่างนั้นจริงก็จะต้องถูกวิพากษ์วิจารณ์ หรือถึงขั้นถูกประณามเช่นกัน ดังนั้นการที่นักสตรีนิยมบางกลุ่มหรือส่วนใหญ่ไม่ได้ออกมาปกป้อง “ศักดิ์ศรี” ของนายกฯ ยิ่งลักษณ์ หรือ “ศักดิ์ศรีของผู้หญิงไทย” (ซึ่งออกจะเป็นการตีขลุมเหมารวมเลยเถิดไปว่านายกรัฐมนตรีหญิงเป็นตัวแทนผู้หญิงไทยทั้งหมด) จึงเป็นเรื่องที่ผมคิดว่าเข้าใจได้ เช่นเดียวกับผู้หญิงบางกลุ่มออกมาประณามผู้ที่ไม่ออกมาประณามก็เข้าใจได้เช่นกันว่า พวกเธอมีวิธีคิดอีกแบบหนึ่ง ซึ่งผมก็ไม่รู้ว่าเบื้องหลังและเบื้องลึกคืออะไร ตรงนี้นาเราไปสู่ประเด็นสาคัญถัดมาคือเรื่อง “ความไม่รู้” “ความไม่โปร่งใส”

ความ (ไม่) รู้เรื่องการเมืองในระบอบประชาธิปไตยในทัศนะสตรีนิยม

ที่จริงผมอยากจะเขียนถึงความไม่รู้เรื่อง “ประชาธิปไตย” ที่ทุกฝ่ายต่างก็ใช้กันคล่องปากวันละหลาย ๆ ครั้ง แต่ผมก็พบว่าผมเองก็ไม่ค่อยรู้เท่าไร ยังจะต้องค้นคว้าเพิ่มอีกมาก แต่การที่ผมบังอาจเขียนถึงทัศนะสตรีนิยมต่อระบบการเมืองประชาธิปไตยก็ไม่ได้หมายความว่าผมรู้ เพียงแต่ผมต้องการชี้ให้นักสตรีนิยมที่ถกเถียงกันอยู่ในเรื่องเกี่ยวกับผู้หญิง รวมถึงเรื่อง “กองทุนพัฒนาสตรี” ด้วยนั้น นาเอาฐานความรู้เกี่ยวกับ “การเมือง” ในทัศนะนักสตรีนิยมมาใช้ ไม่ใช่ “การเมือง” ตามแบบที่เข้าใจและใช้กันอยู่ ซึ่งอาจไม่อยู่ในกรอบคิดที่เรียกว่า “สตรีนิยม” ก็ได้ ผลที่ตามมาคือ จากที่พอจะพูดกันรู้เรื่องอยู่บ้างก็จะกลายเป็นไม่รู้เรื่อง หรือ “พูดคนละเรื่องเดียวกัน” ไปเลย น่าเสียดายเวลาและพลังงานที่ใช้ไป

มิติมุมมอง “การเมือง” ที่หลากหลายของสตรีนิยม

ผมเปิดหนังสือของ Chris Corrin ชื่อ Feminist Perspectives on Politics (1998) ดูบทที่หนึ่ง หน้า 1 เลยพบว่าผู้เขียนเตือนไว้ก่อนว่า สตรีนิยมเป็นพหูพจน์นะ ต้องตระหนักให้ดีว่า ย่อมไม่มีสตรีนิยมที่เป็นแนวเดียวกัน แต่น่าจะมีมิติมุมมองแนวสตรีนิยมที่หลากหลายซึ่งมุ่งหมายที่จะรวมวิธีคิดและปฏิบัติการต่าง ๆ ที่จะนาไปสู่การเปลี่ยนแปลงสังคม ซึ่งน่าจะมีลักษณะดังนี้ (ตามความเข้าใจของผม)

  • มิติมุมมองสตรีนิยมที่หลากหลาย (ควร) พิจารณาว่า วิธีคิดที่แตกต่างสามารถมีผลกระทบต่ออะไรที่เราเห็น อะไรที่เรา “รู้” และทาให้เราพิจารณาความคิดต่าง ๆ (ideas) เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสังคมและการเมืองอย่างไร ซึ่งนาไปสู่
  • แนวความคิดต่าง ๆ ว่าด้วย ความแตกต่าง (difference) ควรถูกนามาศึกษาและถกเถียงอย่างเชื่อมโยงหรือสัมพันธ์กันระหว่างความแตกต่างกับ อัตลักษณ์ ตรงนี้ถือว่าสาคัญในการตั้งคาถามเกี่ยวกับว่าอะไรคือสิ่งที่ผู้หญิงทั้งหลายมีร่วมกัน ซึ่งนาไปสู่
  • คาต่าง ๆ (terms) เช่น การประกอบสร้างทางสังคม (social construction) สารัตถะนิยม (essentialism) และเพศภาวะ (gender) ควรได้รับการพิจารณาอย่างสัมพันธ์กับแนวความคิดเรื่อง ลักษณะที่เป็นผู้หญิง (femininity) และลักษณะที่เป็นผู้ชาย (masculinity) ซึ่งนาไปสู่
  • การตรวจสอบของนักสตรีนิยมต่อการวิเคราะห์การเมืองที่มีหลายแนวกับกิจกรรมนิยม (activism) (โดยควร) ตั้งคาถามต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการกดขี่ (oppression) และ การต่อต้าน (resistance) ภายในความสัมพันธ์เชิงอานาจ ทั้งนี้จะต้องให้ความสาคัญหรือต้องคานึงถึงการเอาชนะหรือก้าวข้ามวิธีคิดแบบแบ่งเป็นสองขั้วตรงข้าม (binary divisions) ให้ได้ด้วย (Corrin, 1999,:1)

“การบ้าน” ที่ผมมอบให้ “นักสตรีนิยม” ที่ถกเถียงและเคลื่อนไหวกันอยู่ในขณะนี้ ผมคิดว่ายากมากสาหรับผม ถ้าผมจะมีโอกาสเข้าใจ “มิติมุมมองสตรีนิยมต่อการเมือง” ที่หลากหลายได้บ้างบางส่วนนั้นผมต้องอ่านหนังสือเล่มนี้ทั้งเล่มและต้องอ่านให้แตกด้วย แต่เล่มเดียวก็อาจไม่พอ คงต้องอ่านอีกหลาย ๆ เล่ม เช่น Bryson, V., 1992, 2003, Feminist Political Theory: An Introduction (Palgrave MacMillan) เล่มนี้ก็เป็นหนังสือระดับเบื้องต้นเท่านั้นนะ ผมเปิด ๆ ดูแล้วต้องเปิดปทานุกรม (เปิดดิก) เป็นว่าเล่น เปิดแล้วก็ยังไม่เข้าใจ ต้องเปิด Feminist Dictionary หรือไม่ก็ Encyclopedia of Feminist Theories ก็พอจะช่วยได้บ้าง

เมื่อมาถึงจุดนี้คงมีคนตั้งคาถามว่า “แล้วไง?”

ผมก็คงแค่ตอบได้ว่า ใครมีภารกิจอะไรก็ทาไป แต่ช่วยกันศึกษาหาความรู้กันหน่อยได้ไหม? อย่าใช้ “ลัทธิเจนจัด” (ศัพท์ฝ่ายซ้ายสมัย 30-40 ปีมาแล้ว) หรือ “ต่อยอดไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีราก” สตรีศึกษา สตรีนิยม เป็นอะไรที่ช่วยให้เกิดวิธีคิดใหม่ ๆ ที่วิพากษ์และที่สาคัญนาไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้ อย่าเพิ่งเสนอให้ยุบเลย แทนที่จะยุบทิ้ง ลองเข้ามาศึกษาค้นคว้ากันจะไม่ดีกว่าหรือ?

ต่อประเด็นนายกฯ ยิ่งลักษณ์กับโรงแรมโฟร์ซีซั่น ผมมีความเห็นว่าในที่สุดแล้วเราไม่มีโอกาสรู้เลยว่า จริง ๆ แล้วมันเกิดอะไรขึ้น ฉะนั้นการจะออกมาปกป้องใครโดยไม่มีความรู้จึงเป็นการปกป้องที่ไม่มีพลังอานาจ!

หนทางหนึ่งที่จะทาให้เกิดความรู้ได้คือเราต้องมีข้อมูลว่า นายกฯ หญิงของเราเธอไปทาอะไรกันแน่? ไปตกลงทางธุรกิจหรือเปล่า? .....ตรงนี้สิ่งที่สาคัญคือ “ความโปร่งใส” ไม่ใช่ออกมาปกป้องและปกปิดให้เป็น “ความลับ”!

อนึ่งในการปรับใช้ “มิติมุมมองการเมือง” ในแนวสตรีนิยมที่ผมยกมาจากข้อเสนอของ Corrin กับปรากฏการณ์ยิ่งลักษณ์ในโฟร์ซีซั่นนั้นผมคิดว่า น่าจะช่วยให้การมองและเคลื่อนไหวทางการเมืองของนักสตรีนิยมในเรื่องนี้และเรื่องอื่น ๆ ด้วยเช่น “กองทุนพัฒนาสตรี” มีความเป็น “สตรีนิยม” ขึ้นกล่าวคือ

1. เนื่องจากนักสตรีนิยมมี “วิธีคิด” ที่แตกต่างหลากหลาย วิธีคิดที่ต่างกันเหล่านั้นทาให้เรามองเห็น “อะไร” เรามองเห็นว่า “เพียงแค่เธอไปปรากฏตัวที่โรงแรมโฟร์ซีซั่นแค่นั้นก็เอามาโจมตีกันแล้ว” หรือทาให้เรามองเห็นว่า ปรากฏการณ์นี้คืออะไรกันแน่ ทาไมต้องมีการทาลายกล้องวงจรปิดและอื่น ๆ ถ้าไม่ใช่เรื่องเพศแล้วมันเรื่องอะไรล่ะ? อยากรู้จะได้ทาตัวถูก แต่ที่ไม่อนุญาตให้เรารู้อะไรเลย แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า เราจะร่วมกันเปลี่ยนแปลงสังคมได้อย่างไร

2. ที่เราว่าเรามีความแตกต่างกันนั้น “ความแตกต่าง” ในความหมายของนักสตรีนิยมคืออะไร ในทัศนะย่อ ๆ ของ Corrin เมื่อนักสตรีนิยมพูดถึงความแตกต่าง (difference) เธอเสนอให้สนใจต่อประเด็นว่าคนกลุ่มไหนถูกมองว่าแตกต่างใครเป็นคนตัดสินว่าต่างและทาไมจึงตัดสินอย่างนั้น เรื่องนี้จาเป็นต้องชัดเจนว่าผู้หญิงกลุ่มไหนพวกไหนกาลังถูกตัดสินโดยใครไม่ใช่เฉพาะผู้ชาย แต่ผู้หญิงด้วย และการตัดสินนั้นกระทาในระดับไหนของการมีส่วนร่วมทางการเมืองและกิจกรรมนิยม (หมายถึงกิจกรรมของพวกนักเคลื่อนไหว-ผู้เขียน) ที่จริงก็เห็นกันอยู่ชัด ๆ ว่าเวลาพูดว่า “ผู้หญิง” มักเป็นการพูดแบบเหมารวมทั้ง ๆ ที่ความแตกต่างทั้งหลายทั้งปวงในระหว่างผู้หญิงไม่ว่าจะด้านอายุ/ช่วงวัย ชนชั้น พิการ/ไม่พิการ ชาติพันธุ์ เชื้อชาติ ศาสนา เพศวิถี ความมั่งคั่งร่ารวย โอกาส วิถีการใช้ชีวิต (life style) แม้กระทั่งสวย/ไม่สวย แต่พวกนักวางแผนและวิเคราะห์นโยบายมักไม่นาความแตกต่างเหล่านั้นเข้ามาใส่ในนโยบาย ส่วนในวิธีคิดของหมู่นักสตรีนิยมสายวิชาการ การทาความเข้าใจความเชื่อมโยงระหว่างความแตกต่างกับอัตลักษณ์ควรจะถือว่ามีความสาคัญ กล่าวคือ “ผู้หญิง” ที่เรากาลังพูดถึงนั้นมีอัตลักษณ์ที่แตกต่างก็จริง แต่มีอะไรร่วมกันบ้าง ไม่เช่นนั้นแล้วก็จะเกิดการมองผู้หญิงที่แตกต่างจากเราเป็น “คนอื่น” (other) ไป เช่น “ผู้หญิงชาวเขา” “ผู้หญิงมุสลิม” “ผู้หญิงชั้นต่า” “ผู้หญิงไพร่” “ผู้หญิงสาส่อน” “หญิงพิการไม่มีประโยชน์” “พวกลักเพศ-พวกวิปริตผิดธรรมชาติ” “พวกหัวเก่า” และอื่น ๆ เป็นต้น ซึ่งเป็นการให้ความสาคัญกับเฉพาะ “พวกเรา” เช่น “พวกเราเสื้อเหลือง” VS. “พวกเราเสื้อแดง” “พวกเราเพื่อไทย” VS. “พวกมันประชาธิปัตย์” อะไรทานองนั้น ซึ่งนาไปสู่การเลือกปฏิบัติ และการกดขี่ผู้หญิงที่ถูกตัดสินว่าเป็น “คนอื่น” อย่างนี้ถือว่าเป็นวิธีคิดที่ไม่เป็นธรรมเอียงกระเท่เล่ เรื่องนี้สาคัญมิฉะนั้นแล้ว การต่อต้านขัดขืน (resistance) ของผู้หญิงแทนที่จะมุ่งไปที่การกดขี่ผู้หญิงโดยศักดินานิยม ทหารนิยม ทุนนิยม (ซึ่งผู้เขียนไม่แน่ใจว่ามีทุนนิยมก้าวหน้ากับทุนนิยมล้าหลัง) แต่นักสตรีนิยมเชื่อว่ามีทุนนิยมปิตาธิปไตย แน่ ๆ.....ก็จะเพี้ยนไปเป็นการต่อต้านผู้หญิงด้วยกันเอง

3. คา ศัพท์แสง มโนทัศน์ต่าง ๆ ที่นักสตรีนิยมถือว่าสาคัญก็เป็นสิ่งที่นักวิชาการสาขาอื่น ๆ เช่น รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมวิทยาและนักสตรีนิยมบางคน นักเคลื่อนไหวบางกลุ่มจะต้องให้ความสาคัญและพยายามทาความเข้าใจ เช่น การประกอบสร้างทางสังคม (social construction) สารัตถนิยม (essentialism) และเพศภาวะ (gender) ทั้งนี้จะต้องนาไปเชื่อมโยงกับ “ลักษณะประจาเพศของผู้หญิง” เช่น คาพูดว่า “ผู้หญิงโดยธรรมชาติแล้วอ่อนโยน อ่อนหวาน ใจอ่อน แต่ไม่ค่อยฉลาด เป็นผู้นาไม่ได้เพราะเป็นเพศที่ชอบใช้แต่อารมณ์ เหมาะสมที่จะเป็นน้องสาว เมียและแม่ เท่านั้น” ส่วนผู้ชายนั้น “เข้มแข็ง แข็งแรง กล้าหาญ อดทน สมกับเป็น “ชายชาติทหาร” ฉลาดเฉลียว มีลักษณะเป็นผู้นา มีเหตุมีผล” และอื่น ๆ เป็นต้น นักสตรีนิยมหรือคนที่จะทางานด้าน “พัฒนาสตรี” อย่างน้อยควรจะรู้ความหมายของคา/มโนทัศน์หรือแนวคิดเหล่านี้ ไม่เช่นนั้นแล้วก็จะไม่รู้ว่า “อคติทางเพศ/เพศภาวะ” “การเลือกปฏิบัติ” และ “ความไม่เสมอภาคระหว่างเพศ/เพศภาวะ” คืออะไรการจะแก้ปัญหาก็ไม่อาจเป็นไปได้เป็นต้น

4. จากการทาความเข้าใจวิธีคิดอย่างมีมิติสตรีนิยมดังกล่าวอย่างน้อยสามข้อข้างบนจะช่วยทาให้การวิเคราะห์การเมืองและกิจกรรมนิยมที่มีอยู่มากมายหลายแนวคิดดังเช่นที่ปรากฏอยู่ในนโยบายและปฏิบัติการจริงของรัฐในขณะนั้น ๆ ว่า อะไรบ้างที่เป็นการกดขี่ผู้หญิงโดยไม่รู้ตัว เช่น นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ผนวกเอา “การขายบริการทางเพศ” ของผู้หญิงอย่างเป็นส่วนหนึ่งที่ขาดไม่ได้ นโยบายการศึกษา สาธารณะสุข สิ่งแวดล้อม การสร้างงาน การกระจายรายได้ สังคมสงเคราะห์ ศิลปวัฒนธรรม นันทนาการ (กีฬาและบันเทิง) และอื่น ๆ มีอะไรที่เป็นการตอกย้าการเลือปฏิบัติการกดขี่ทางเพศ/เพศภาวะแฝงอยู่บ้าง นโยบายพัฒนาผู้หญิง เช่น “กองทุนพัฒนาสตรี” มีส่วนอย่างไรต่อการ “เสริมอานาจ” (empowerment) ให้กับผู้หญิง หรือว่าเป็นการสยบการต่อต้าน (resistance) ของผู้หญิงที่มีต่อศักดินานิยม ทหารนิยม ทุนนิยมปิตาธิปไตย ให้ผ่อนคลายลงเพราะถูกดึงเข้าสู่ ทุนนิยมปิตาธิปไตยอุปถัมภ์ โดยมีนายกรัฐมนตรีหญิงเป็นผู้นา

เหล่านี้คือ “การบ้าน” บางส่วนสาหรับนักสตรีนิยมและผู้ที่อ้างว่าทางานเพื่อผู้หญิง เพื่อนาไปตรวจสอบประชาธิปไตย ที่แตกต่างหลากหลาย ซับซ้อนและมีพลวัติ

(ยังมีต่อ)

9 มี.ค. 2555

__________________________________

  • * เป็นข้อเขียนและความคิดเห็นเฉพาะตัวของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน/สถาบันใด ๆ

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net