Skip to main content
sharethis

3 เม.ย.55 mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">สถาบันพระปกเกล้าออกแถลงการณ์ชี้แจงปมรายงานร้อน “ปรองดองแห่งชาติ” ยืนยันทำตามเสรีภาพวิชาการ เสนอสภาผู้แทนฯ ลงมติวันที่ 4 เม.ย.นี้เพียงรับทราบเบื้องต้น พร้อมขยายเวลาศึกษา จัดเวทีทุกระดับทั่วประเทศ ไม่เร่งรัดนำไปปฏิบัติ เพราะอาจเป็นปม “สงครามปองดอง” หากไม่ทำตามข้อเสนอ เจ้าของลิขสิทธิ์ขู่ดึงรายงานกลับ

mso-fareast-font-family:"Times New Roman""> 0000

mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">
สถาบันพระปกเกล้าออกแถลงการณ์ เรื่อง รายงานการวิจัย
mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">“การสร้างความปรองดองแห่งชาติ” 

mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">ตามที่มีการวิพากษ์วิจารณ์รายงานการวิจัยการสร้างความปรองดองแห่งชาติที่คณะผู้วิจัยได้เสนอต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษา แนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎรไปตามที่คณะกรรมาธิการดังกล่าวได้ขอให้ศึกษาแล้วนั้น

mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">สถาบันพระปกเกล้าขอแถลงข้อเท็จจริง และข้อเสนอแนะทางออกเพื่อร่วมกันสร้างบรรยากาศความปรองดองในชาติ ดังนี้ mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">

1. หน้าที่ทำการวิจัยที่คณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรขอ
mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">
โดยใช้เงินสถาบันพระปกเกล้าเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติสถาบันพระปกเกล้า พ.ศ.
mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">2541 ภายใต้กำกับดูแลของประธานรัฐสภา และมีหน้าที่ตามมาตรา 6(8) ซึ่งบัญญัติว่า ให้สถาบัน ส่งเสริมงานวิชาการของรัฐสภา

ดังนั้น เมื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ มีมติเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2554 ให้สถาบันทำการศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ โดยตั้งคำถามว่า อะไรคือปัจจัย หรือกระบวนการที่ทำให้การปรองดองแห่งชาติประสบความสำเร็จ สถาบันจึงนำเรื่องเสนอเสนอสภาสถาบันพระปกเกล้าเพื่อพิจารณาคำขอดังกล่าว สภาสถาบันได้มีมติอนุมัติให้ดำเนินการโดยใช้งบประมาณของสถาบันเอง

mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">การดำเนินการวิจัยดังกล่าวจึงเป็นการทำหน้าที่ส่งเสริมวิชาการรัฐสภาตามหน้าที่ของสถาบันในกฎหมาย โดยไม่มีการรับจ้างดังที่วิพากษ์วิจารณ์กันแต่อย่างใดดังนั้น ลิขสิทธิ์ของรายงานดังกล่าวจึงเป็นของสถาบันตามมาตรา 14 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537

2. การรับทำงานวิจัยได้พิจารณาโดยรอบคอบแล้วจากสภาสถาบันพระปกเกล้า

เนื่องจากการขอให้ทำงานวิจัยดังกล่าว สถาบันไม่ได้ตั้งงบประมาณไว้ และผลการวิจัยมีผลกระทบทางการเมือง สถาบัน จึงนำคำขอของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ เสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภาสถาบันในการประชุมสภาสถาบัน ครั้งที่
11 /2554 เมื่อ 30 พฤศจิกายน 2554 สภาสถาบันซึ่งประกอบด้วยประธานรัฐสภาเป็นประธานสภาสถาบัน ประธานวุฒิสภาเป็นรองประธาน กรรมการโดยตำแหน่ง คือ ผู้นำฝ่ายค้าน ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ประธานกรรมาธิการสามัญฯ ของสภาผู้แทนราษฎร 2 คน ประธานคณะกรรมาธิการสามัญวุฒิสภา 1 คน และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีก 11 คน โดยมีเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้าเป็นกรรมการและเลขานุการ ได้พิจารณาโดยรอบคอบแล้ว มีมติให้รับทำการศึกษาโดยมีข้อสังเกตหลายประการ อาทิ ให้ขยายเวลาจาก 30 วัน เป็น 120 วัน ให้ดำเนินการโดยอิสระ และมีเสรีภาพทางวิชาการอย่างแท้จริง มิให้ยกร่างกฎหมายเสนอคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ซึ่งสถาบันก็ได้ดำเนินการตามข้อสังเกตดังกล่าวทุกประการ

mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">3. รายงานการวิจัยเป็นเสรีภาพทางวิชาการ และความรับผิดชอบของคณะผู้วิจัย

mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">เมื่อรับทำการศึกษาแล้ว สถาบันก็แต่งตั้งคณะผู้วิจัยขึ้นตามกระบวนการปกติที่เคยปฏิบัติมาประกอบด้วย ผู้วิจัย mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">20 คน โดยมี รศ.วุฒิสาร ตันไชย เป็นหัวหน้าคณะได้ใช้เวลาศึกษา 120 วัน ตามกรอบเวลาที่คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ขอ เมื่อมีการทักท้วงและเสียงวิพากษ์วิจารณ์ สถาบันก็ได้ลงไปตรวจสอบทั้งระเบียบวิธีวิจัย (research methodology) และเนื้อหาสารัตถะ (content) ของงานวิจัย และข้อเสนอก็พบว่า กระบวนการดำเนินงานดังกล่าวมีความถูกต้องตามหลักวิชาการควรแก่กรณี mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">

แม้ว่าเลขาธิการจะขอให้คณะผู้วิจัยนำข้อท้วงติงของทุกฝ่ายมาพิจารณาประกอบแล้ว คณะผู้วิจัยก็ได้ปรับแก้บางส่วนแต่คงยืนยันผลการวิจัย โดยเฉพาะข้อที่ว่า ปัจจุบันบรรยากาศความปรองดองยังไม่เกิด เพราะทุกฝ่ายยังมีพฤติกรรมและท่าทีเหมือนเดิม คณะผู้วิจัยจึงเสนอให้มีการสร้างบรรยากาศความปรองดองทั้งระดับบน คือในฝ่ายการเมือง และระดับล่าง คือประชาชนทั้งประเทศ ด้วยการจัดพูดคุยหาทางออกร่วมกัน ( "Times New Roman"">dialogue) จนมีฉันทามติในระดับเหมาะสม โดยนำข้อเสนอที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิไปเป็นประเด็นในการพูดคุยหาทางออกร่วมกัน mso-fareast-font-family:"Times New Roman";color:#31859C;mso-themecolor:accent5;
mso-themeshade:191;mso-style-textfill-fill-color:#31859C;mso-style-textfill-fill-themecolor:
accent5;mso-style-textfill-fill-alpha:100.0%;mso-style-textfill-fill-colortransforms:
lumm=75000">คณะผู้วิจัยยืนยันว่า ข้อเสนอแนะดังกล่าวไม่ใช่ข้อสรุปที่ให้นำไปปฏิบัติทันทีแต่อย่างใด
mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">

ด้วยเหตุนี้ เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม คณะผู้วิจัยจึงได้ทำหนังสือแถลงจุดยืนต่อประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ เมื่อวันที่ mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">23 มีนาคม 2554 และได้เตือนไว้ในหนังสือดังกล่าวว่า การรวบรัดใช้เสียงข้างมาก โดยไม่ทำตามข้อเสนอของคณะผู้วิจัย จะนำไปสู่ความขัดแย้งและความรุนแรงรอบใหม่ได้ mso-fareast-font-family:"Times New Roman";color:#31859C;mso-themecolor:accent5;
mso-themeshade:191;mso-style-textfill-fill-color:#31859C;mso-style-textfill-fill-themecolor:
accent5;mso-style-textfill-fill-alpha:100.0%;mso-style-textfill-fill-colortransforms:
lumm=75000">

การยืนยันผลการวิจัยของคณะผู้วิจัยดังกล่าวจึงเป็นความอิสระและเสรีภาพทางวิชาการซึ่งมาตรา mso-fareast-font-family:"Times New Roman";color:#31859C;mso-themecolor:accent5;
mso-themeshade:191;mso-style-textfill-fill-color:#31859C;mso-style-textfill-fill-themecolor:
accent5;mso-style-textfill-fill-alpha:100.0%;mso-style-textfill-fill-colortransforms:
lumm=75000">50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยรับรองไว้ ที่สถาบันและผู้ใดก็มิอาจก้าวล่วงได้

mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">4. สถาบันไม่จำต้องเห็นพ้องด้วยกับงานวิจัย

ในฐานะผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานวิจัย สถาบันทรงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการให้ใช้ หรือของานวิจัยกลับคืนได้ตามกฎหมาย

mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">อย่างไรก็ตาม ความเห็นและข้อเสนอในรายงานการวิจัยหรืองานวิชาการอื่น ซึ่งสถาบันให้จัดทำทุกเรื่องตั้งแต่ก่อตั้งสถาบันมาจนถึงการวิจัยเรื่องนี้ย่อมเป็นความเห็นของผู้วิจัยเอง สถาบันไม่จำต้องเห็นพ้องด้วย แต่เมื่อลิขสิทธิ์เป็นของสถาบันตามมาตรา "Times New Roman"">14 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 สถาบันก็ทรงไว้ซึ่งอำนาจในการขอรายงานการวิจัยดังกล่าวกลับคืน และห้ามทำซ้ำ หรือดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณะชนได้ตามมาตรา 27 โดยเฉพาะเมื่อมีการเลือกนำรายงานบางส่วนไปใช้ประโยชน์ทางการเมือง และอาจจะเกิดความขัดแย้งและความรุนแรงขึ้น หรือมีการรวบรัดนำประเด็นซึ่งผู้วิจัยเสนอให้นำไปพูดคุยแสวงหาทางออกร่วมกันไปปฏิบัติทันที โดยไม่ได้นำไปพูดคุยให้กว้างขวางทั้งประเทศ mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">

5. ทางออก mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">

ทางออกเพื่อความปรองดองแห่งชาติอย่างแท้จริง สภาผู้แทนราษฎรพึงมีมติในวันที่ "Times New Roman"">4 เมษายน 2555

mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งรอบใหม่อันจะนำไปสู่ความรุนแรง และเพื่อสร้างบรรยากาศความปรองดองให้เกิดขึ้นในประเทศ สถาบันจึงเสนอให้ mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">

(1) คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ เสนอสภาผู้แทนราษฎร และสภาผู้แทนราษฎรโดยพรรคการเมืองเสียงข้างมากควรมีมติรับทราบรายงานของคณะ กรรมาธิการวิสามัญฯ ซึ่งอ้างอิงผลงานวิจัยของสถาบันพระปกเกล้าไว้ชั้นหนึ่งก่อน และขยายอายุคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ออกไปจนสิ้นสมัยประชุมสามัญสมัยหน้าเป็นอย่างน้อยและให้นำรายงานดังกล่าวไปจัดพูดคุยหาทางออกร่วมกัน ทั้งระดับพรรคการเมืองและในระดับประชาชนทั่วประเทศอย่างกว้างขวาง โดยไม่เร่งรีบรวบรัดเลือกนำข้อเสนอที่ตนหรือพรรคของตนได้ประโยชน์ไปปฏิบัติ ทั้งที่ข้อเสนอดังกล่าวเป็นเพียงประเด็นที่นักวิจัยเสนอให้นำไปพูดคุยหาทางออกจนได้ข้อยุติร่วมกันเท่านั้น

mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">(2) ขอร้องให้พรรคฝ่ายค้าน และคนไทยทุกกลุ่มที่ต้องการเห็นบ้านเมืองก้าวไปข้างหน้า ด้วยความปรองดอง โดยมีภราดรภาพต่อกัน ให้ความร่วมมือในการพูดคุยหาทางออกร่วมกันทำนอง สุนทรียสนทนา (appreciative dialogue) หรือการเสวนาที่สร้างสรรค์ (Constructive dialogue) เพื่อยุติข้อขัดแย้งที่ยืดเยื้อยาวนานนี้ลง

mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">(3) ขอร้องให้สื่อมวลชนรายงานข่าวให้ครบถ้วนเพื่อความปรองดองอย่างแท้จริง

mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">(4) ขอร้องให้ประชาชนอย่าเพิ่งเชื่อคำพูดของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจนกว่าจะได้อ่านรายงานการวิจัยฉบับย่อ และรายงานการวิจัยฉบับเต็มใน www.kpi.ac.th แล้ว จึงค่อยตัดสินตามหลักกาลามสูตร

mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">สถาบันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อเสนอดังกล่าวจะได้รับการพิจารณาอย่างแท้ จริง หากสภาผู้แทนราษฎรมีมติตามข้อเสนอในข้อ 1 สถาบันก็พร้อมจะให้ความร่วมมือกับคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ในการเปิดเวทีพูดคุยหาทางออกทั่วประเทศ โดยเฉพาะผ่านศูนย์การเมืองภาคพลเมืองของสถาบันซึ่งมี 48 จังหวัดทั่วประเทศ

mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">อย่างไรก็ตาม หากสภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบกับรายงาน และแจ้งคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป ดังข้อเสนอเดิมของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ อันจะนำไปสู่ความสับสนของประชาชน และนำไปสู่ mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">“สงครามความปรองดองอันเป็นการสถาปนา ความยุติธรรมของผู้ชนะขึ้น ทั้งยังจะเป็นเหตุแห่งความขัดแย้ง และความรุนแรงนั้น สถาบันก็มีความเสียใจที่จะต้องขอรายงานการวิจัยดังกล่าวกลับคืนมา และหากผู้ใดจะทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่งานดังกล่าวต่อสาธารณะชนจะต้องขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากสถาบันก่อน

mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">สถาบันเชื่อว่าประชาชนส่วนใหญ่ต้องการเห็นความสงบ และปรองดองในบ้านเมืองจึงขอเรียกร้องให้ผู้แทนปวงชนทุกฝ่าย ตอบสนองความต้องการของปวงชน โดยใช้วิจารณญาณที่รอบคอบ ปราศจากมานะทิฐิ และประโยชน์ส่วนตน หรือส่วนพรรคอย่างแท้จริง mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">

00000 mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net