Skip to main content
sharethis

 เมื่อวันที่ 12 เม.ย. 55 ที่ผ่านมา ชมรม สสร. 2550 ทำหนังสือลงรายชื่อ 96 คนถึงประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน สอบ "ครม.-ส.ส.-ส.ว."  จงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และกฎหมาย ฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ..

สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน

12  เมษายน  2555

เรื่อง ขอเสนอข้อมูลการปฏิบัติของผู้ดำรงตำแหน่งคณะรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา จงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และกฎหมาย ฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง  

เรียน ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน

ข้าพเจ้าผู้ลงนามไว้ท้ายหนังสือนี้ เป็นคนไทย  ถือสัญชาติไทย มีสิทธิและเสรีภาพ  ตามที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ ถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ จึงจำเป็นยื่นคำร้องนี้ต่อท่านเป็นเบื้องต้น เพื่อดำเนินการต่อไปตามกฎหมาย ดังต่อไปนี้ 

ด้วยคณะรัฐมนตรีและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคพลังประชาชน พรรคเพื่อแผ่นดิ พรรคมัชฌิมาธิปไตย  พรรคประชาราช   และสมาชิกวุฒิสภา จำนวนหนึ่ง ได้เสนอขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550  มาตรา 291 โดยมีหลักการว่า กำหนดให้รัฐสภาประชุมร่วมกันเพื่อให้ความเห็นชอบสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญซึ่งมาจากการคัดเลือก และให้ความเห็นชอบญัตติให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และให้สภาร่างรัฐธรรมนูญทำหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และกำหนดกระบวนการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และกำหนดให้มีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เมื่อรัฐธรรมนูญนี้มีผลใช้บังคับ  เหตุผลที่มีหลักการดังกล่าวเพราะเป็นการสมควรกำหนดให้มีวิธิการจัดทำรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ทั้งฉบับเพื่อเป็นพื้นฐานสำคัญในการปฏิรูปการเมือง 

สำหรับรัฐธรรมนูญที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้น มีหลักเกณฑ์และวิธีการการจัดให้ความเห็นชอบตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และให้ความเห็นชอบสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เมื่อสภาร่างรัฐธรรมนูญได้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วให้นำเสนอต่อประธานรัฐสภา แล้วให้ส่งร่างรัฐธรรมนูญไปยังคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อให้การจัดให้มีการออกเสียงประชามติของประชาชนว่าจะเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญนั้นหรือไม่ หากคณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศรับรองผลการออกเสียงประชามติ ให้ประธานรัฐสภานำร่างรัฐธรรมนูญทูลเกล้าฯ และให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ถ้าในกรณี  ไม่ผ่านประชามติร่างรัฐธรรมนูญเป็นอันตกไป หรือจัดทำร่างรัฐธรรมนูญไม่แล้วเสร็จภายในกำหนด ให้ผู้เสนอญัตติเสนอญัตติได้ใหม่โดยมีหลักการให้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ  และให้สภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่   เหตุผลในการขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพราะเป็นพื้นฐานในการปฏิรูปการเมือง  

คณะรัฐมนตรีและสมาชิกรัฐสภาดังกล่าวได้เสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญดังกล่าวต่อประธานรัฐสภา และประธานรัฐสภาได้บรรจุเข้าระบียบวาระการประชุม  บัดนี้ได้ประชุมรัฐสภาพิจารณาการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนั้นในวาระที่ 1 แล้ว และรัฐสภาได้มีมติรับหลักการ   ชณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการในวาระที่ 2 – 3 

การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ได้มีบทบัญญัติกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการไว้ในมาตรา 291 ซึ่งผู้เสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจะต้องปฏิบัติตาม รวมทั้งต้องปฏิบัติตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ.2553  หมวด 7 ว่าด้วยการเสนอและการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม  อีกทั้งยังต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญส่วนที่ว่าด้วยการตราพระราชบัญญัติด้วย เพราะรัฐธรรมนูญก็เป็นกฎหมายอย่างหนึ่ง นอกจากนั้นจะต้องเสนอร่างรัฐธรรมนูญที่แก้ไขเพิ่มเติมเปิด เผยให้ประชาชนทราบ และให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลรายละเอียดของร่างรัฐธรรมนูญนั้นได้

ข้าพเจ้าเห็นว่าข้อเสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญดังกล่าว ไม่ได้เป็นไปหลักเกณฑ์และวิธีการตามมาตรา 291 แห่งรัฐธรรมนูญ รวมทั้งไม่ได้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ส่วนที่ 7 ว่าด้วยการตราพระราชบัญญัติ ซึ่งจะต้องปฏิบัติด้วย เพราะรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายอย่างหนึ่ง  นอกจากนั้น จะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ.2553 หมวด 7 ว่าด้วยการเสนอและการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม

โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อเสนอที่คณะรัฐมนตรีและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคพลังประชาชน พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรคมัชฌิมาธิปไตย  พรรคประชาราช   และสมาชิกวุฒิสภา จำนวนหนึ่ง ได้เสนอขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยมีหลักการให้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญหรือ  ส.ส.ร.  และให้ ส.ส.ร. เป็นองค์กรในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ไม่ใช่กรณีที่จะทำได้โดยถือว่าเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 291

แต่เป็นกรณีอื่น  ซึ่งไม่ใช่การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ และถือว่าเป็นกรณีขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไปไม่ได้เลย   แต่เป็นกรณีอื่น กล่าวคือ เป็นกรณีให้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ล้มล้างไป แล้วออกรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แทน ซึ่ง กล่าวอีกนัย คือเป็นกรณีรัฐธรรมนูญถูกล้มล้างโดยแท้จริง

กรณีที่เกิดขึ้นเช่นที่กล่าวข้างต้น ถือว่ารัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550   ถูกล้มล้างไปแล้ว   มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาแทนที่ ซึ่งการที่ล้มล้างรัฐธรรมนูญ จะมีผลทำให้การรับรองสิทธิเสรีภาพหมดไป องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ได้แก่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง  ผู้ตรวจการแผ่นดิน  คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ    คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน     ตลอดจนองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ   ก็จะเป็นองค์กรอิสระและองค์กรที่ปราศจากการรับรองของรัฐ

กรณีคณะรัฐมนตรีและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคพลังประชาชน พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรคมัชฌิมาธิปไตย  พรรคประชาราช   และสมาชิกวุฒิสภา จำนวนหนึ่ง ขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไม่ได้ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและข้อบังคับการประชุมรัฐสภาดังกล่าว กล่าวคือ ประการแรก ในส่วนหลักการและเหตุผล  ผู้เสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไม่ได้ฃี้แจงแสดงเหตุให้เป็นที่ทราบว่า รัฐธรรมนูญเดิมส่วนใดมีข้อบกพร่องและบกพร่องอย่างไร  และจะแก้ไขเพิ่มเติมใหม่เป็นอย่างไร  อาศัยเหตุผลอะไรที่จะแก้ไขใหม่เช่นนั้น ที่สำคัญคือช้อบังคับการประชุมรัฐสภากำหนดให้ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมต้องแบ่งเป็นมาตรา   แต่ผู้เสนอก็หาได้ปฏิบัติไม่ โดยไม่ได้เสนอเลยแม้แต่ส่วนเดียว เป็นต้นว่า หมวด 2 พระมหากษัตริย์ ซึ่งผู้เสนอไม่น่าจะแก้ไข แต่ผู้เสนอก็ไม่ได้นำมาเขียนไว้เป็นรายมาตรา   ซึ่งรัฐธรรมนูญที่จะขอแก้ไขใหม่ว่ามีความอย่างไรบ้าง ซึ่งกินความถึงว่า ผู้เสนอไม่ได้เปิดเผยให้ประชาชนทราบและสามารถเข้าถึงข้อมูลรายละเอียดว่าร่างใหม่นั้นมีอย่างไร ได้โดยสะดวก การปฏิบัติของผู้เสนอจึงเป็นการจงใจฝ่าฝืนกฎหมายอย่างแจ้งชัด กล่าวอีกนัย ผู้เสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจงใจล้มล้างเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน โดยปกปิดประฃาชนไม่ให้ทราบ ว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีความว่าอย่างไร สิทธิ เสรีภาพของประชาชนในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่ามีรับรองไว้หรือไม่อย่างไร       

ดังนั้น การที่คณะรัฐมนตรีและสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร พรรคพลังประชาชน พรรคเพื่อแผ่นดิน  พรรคมัชฌิมาธิปไตย  พรรคประชาราช   และสมาชิกวุฒิสภา ได้เสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดยมีหลักการว่า กำหนดให้รัฐสภาเห็นชอบสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และให้ความเห็นชอบญัตติให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และให้สภาร่างรัฐธรรมนูญทำหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และกำหนดกระบวนการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และกำหนดให้มีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่ แต่ไม่มีรายละเอียดว่าด้วยสิทธิเสรีภาพ หรือว่าด้วยองค์กรอิสระและอง ค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญว่ามีอย่างไร ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งตามข้อบังคับการประชุม พ.ศ.2553หมวด 7 ว่าด้วยการเสนอและการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม  มีระบุไว้  รวมทั้ง  มีหลักการและเหตุผล กับบันทึกสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม  การปฏิบัติของ     คณะรัฐมนตรีและสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร พรรคพลังประชาชน พรรคเพื่อแผ่นดิน  พรรคมัชฌิมาธิปไตย  พรรคประชาราช   และสมาชิกวุฒิสภา    จึงเป็นการกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ  จ งใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ทั้งถือว่าฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ซึ่งวุฒิสภามีอำนาจถอนถอนผู้นั้นออกจากตำแหน่งได้ตามมาตรา  270

นอกจากนั้น ตามคำเสนอของผู้เสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญดังกล่าว  ปรากฏว่าเสนอให้รัฐสภาแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยเพิ่มบทที่ว่าด้วยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรรมนูญ หรือ ส.ส.ร. และให้ ส.ส.ร.เป็นผู้จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมาเพื่อแทนที่รัฐธรรมนูญฉบับเดิมเท่ากับขอแก้ไขรัฐธรรมนูญในบทที่ว่าด้วยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแทนที่รัฐธรรมนูญ 2550 ฉบับเดิม ในคำเสนอขอต่อรัฐสภาจึงไม่ได้ร้องขอแก้ไขในสาระสำคัญแห่งรัฐธรรมนูญ กรณีตามคำเสนอของคณะบุคคลดังกล่าว จึงเป็นการเสนอขอให้ตั้ง ส.ส.ร.มาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นเพื่อใช้นอกจากเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ การขอแก้ไขรัฐธรรมนูญของผู้เสนอจึงไม่ต้องด้วยเจตนารมณ์ของรัฐธรรมูญ

การขอให้ ส.ส.ร.ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้น เมื่อรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้รับความเห็นชอบแล้ว ก็ให้ใช้บังคับเป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เท่ากับว่าเมื่อรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ใช้บังคับแล้ว รัฐธรรมนูญ 2550 เป็นอันใช้บังคับไม่ได้ หรือถูกล้มล้างไปนั่นเอง ซึ่งแม้ไม่ได้มีการเขียนระบุไว้โดยตรงเช่นนั้นก็ตาม แต่ผู้อ่านญัตติก็เข้าใจได้ถึงเจตนาของผู้เสนอ

การที่ผู้เสนอมุ่งประสงค์ที่จะให้มีการออกรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ 2550 ไปโดยสิ้นเชิงเช่นนี้ ไม่อาจทำได้ตามรัฐธรรมนูญ 2550เพราะพิเคราะห์แล้ว กฎหมายไม่มีเจตนาให้ยกเลิกทั้งฉบับแล้วออกเป็นฉบับใหม่ ดังที่มาตรา 291 ระบุว่า “การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้กระทำได้ตาsหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้” ไม่ได้ใช้คำว่า “จะทำได้” ดังที่เคยใช้ จึงต้องตีความโดยเคร่งครัดตามตัวอักษร ว่าถ้าแก้ไขบางส่วนนั้นเท่านั้นที่ทำได้ ถ้าจะยกเลิกทั้งฉบับ แล้วทำฉบับใหม่แทนที่ ทำไม่ได้ การเสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของคณะบุคคลที่เสนอให้รัฐสภาพิจารณา ไม่ได้กระทำตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 291 การ กระทำของคณะบุคคลซึ่งเป็นคณะรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา จึงเป็นการจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมาย

น่าคลางแคลงใจว่า คณะบุคคลดังกล่าวได้มีเจตนามุ่งร้ายต่อประเทศชาติอย่างไรหรือไม่ โดยจะล้มล้างสถาบันที่ก่อตั้งขึ้น เพื่อควบคุมความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน และโดยจะล้มล้างสถาบันที่ได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริต การฉ้อราษฎร์บังหลวง และผู้มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ซึ่งสถาบันเหล่านี้ได้ก่อตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550

แต่เดิมไม่มีหน่วยงานดูแลป้องกันปราบปรามโดยเฉพาะ การที่คณะรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา กระทำการลักษณะฝ่าฝืนกฎหมายสื่อเจตนามุ่งร้ายไปในทางดังกล่าว อาจถือได้ว่าไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ซึ่งย่อมจะยังให้เกิดผลเสียแก่ประเทศชาติอย่างร้ายแรง

การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญสามารถทำได้โดยชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ แต่การที่มุ่งจะให้มี ส.ส.ร.ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมาแทนที่รัฐธรรมนูญ 2550 ในลักษณะล้มล้างรัฐธรรมนูญ 2550 และเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ 2550 ไปเป็นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ใช้มาตรา 291 แห่งรัฐธรรมนูญ 2550 เป็นเครื่องมือในการล้มล้างและเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ2550 ไม่ได้ใช้มาตรา 291 ในการดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยสุจริต และเพื่อความสงบเรียบร้อยและเจริญรุ่งเรืองของประเทศชาติ

การที่จะล้มล้างรัฐธรรมนูญโดยออกรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เปลี่ยนแปลงเนื้อความในฉบับเดิม พฤติการณ์แห่งกรณีเช่นนี้หาเรียกได้ว่า เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหรือเป็นการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญไม่ กรณีจัดว่าเป็นการกระทำในกรอบที่เรียกว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไม่ได้ และการที่จะปล่อยให้ดำเนินการไปจนบรรลุวาระที่ 3 แห่งญัตติดังกล่าว กรณีต้องถือว่ารัฐธรรมนูญใหม่ได้ตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ไม่อาจนำมาใช้บังคับได้

กรณีนี้น่าพิจารณาได้ไหมว่า ผู้ร่วมกันตรากฎหมายที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ได้กระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร เมื่อกฎหมายที่ตราขึ้นมีความเป็นมาโดยมิชอบก็ไม่อาจบังคับใช้ได้ ซึ่งผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบทุกฝ่าย มีหน้าที่ที่จะต้องจัดการให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยและสั่งให้ตกไปตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ในส่วนที่ว่าด้วยการควบคุมการตรากฎหมายที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ

ชมรม สสร. 2550 ได้พิจารณาการดำเนินการดังกล่าว ในความพยายามอย่างเร่งรีบ ดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ว่าเป็นการอันมิชอบ และมิได้เป็นไปตามขั้นตอน อันมีบัญญัติไว้ในมาตรา 291 ของรัฐธรรมนูญ 2550

จึงเรียนมาเพื่อขอให้ท่านผู้ตรวจการแผ่นดิน ดำเนินการสอบสวนโดยด่วน  และพิจารณาข้อเท็จจริงว่ามีการปฏิบัติตามกฎหมาย หรือปฏิบัตินอกเหนืออำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของคณะรัฐมนตรีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ตลอดจนประธานรัฐสภา รวมทั้งการดำเนินการเกี่ยวกับจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองด้วย ตามที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 244 ได้บัญญัติไว้ และแม้หากการที่ผู้เสนอ เสนอเข้ามา แม้รัฐสภาจะได้มีมติรับหลักการในวาระที่ 1 แล้วก็ตาม ก็จะเพิกถอนมตินั้น โดยถือว่าผู้เสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มิใช่ดำเนินการอย่างถูกต้อง ตามขั้นตอนของตัวบทกฎหมาย  และขัดแย้งต่อบทบัญญัติต่อรัฐธรรมนูญ หากปล่อยให้ดำเนินการไปจนเสร็จสิ้น ตามข้อเสนอของผู้เสนอขอแก้ไข จะมีผลอย่างกว้าขวาง ต่อประเทศชาติและประชาชน อันเกิดจากรัฐธรรมนูญใหม่ที่แก้ไขเพิ่มเติมนี้ 

อาศัยรัฐธรรมนูญมาตรา 212 ประกอบกับเจนนารมย์ ชมรม สสร.2550 ดังกราบเรียนมานี้ ชอบที่ท่านผู้ตรวจการแผ่นดิน จะเสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อมีคำวินิจฉัยว่า บทกฏหมาย คือ รัฐธรรมนูญ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ตามที่ผู้เสนอเข้ามา เป็นบทบัญญัติที่ขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญ และให้ตกไป

โปรดรับดำเนินการต่อไปด้วย จักขอบพระคุณยิ่ง

 

ขอแสดงความนับถืออย่างสูง

นายเกียรติชัย พงษ์พาณิชย์

ประธานชมรม สสร. 2550                              

 

รายชื่อสมาชิกชมรม สสร. 2550 ผู้ร่วมยื่นคำร้องนี้

 

1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์กนก โตสุรัตน์

2 คุณกรรณิการ์  บรรเทิงจิตร

3 คุณกฤษฏา ให้วัฒนานุกูล

4 คุณกล้าณรงค์ จันทิก

5 คุณการุณ   ใสงาม

6 รองศาสตราจารย์กิตติ   ตีเศรษฐ

7 ศาสตราจารย์เกริกเกียรติ  พิพัฒน์เสรีธรรม

8 คุณเกียรติชัย พงษ์พาณิชย์

9 คุณคมสัน โพธิ์คง

10 คุณจรัญ ภักดีธนากุล

11 ศาสตราจารย์จรัส สุวรรณมาลา

12 คุณจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี

13 ศาสตราจารย์เจริญศักดิ์  โรจนฤทธิ์พิเชษฐ์

14 รองศาสตราจารย์เจิมศักดิ์  ปิ่นทอง

15 คุณช.ชัยนาท ศรีเสมาเมือง

16 คุณชนินทร์ บัวประเสริฐ

17 คุณชวลิต หมื่นนุช

18 คุณชาติชาย เจียมศรีพงษ์

19 คุณชาติชาย แสงสุข

20 คุณชาลี กางอิ่ม

21 นายแพทย์ชูชัย ศุภวงศ์

22 คุณโชคชัย อักษรนันท์

23 ศาสตราจารย์ไชยยศ เหมะรัชตะ

24 รองศาสตราจารย์ดวงสุดา เดโชติรส

25 คุณเดโช สวนานนท์

26 คุณธนพิชญ์ มูลพฤกษ์

27 พลตำรวจโท ธรรมนิตย์ ปิตะนีละบุตร

28 คุณธวัช บวรนิชยกูร

29 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย

30 รองศาสตราจารย์นครินทร์ เมฆไตรรัตน์

31 รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร

32 คุณนิตย์ วังวิวัฒน์

33 คุณนุรักษ์ มาประณีต

34 คุณปกรณ์ ปรียากร

35 คุณประดิษฐ์ เหลืองอร่าม

36 คุณประพันธ์ นัยโกวิท

37 คุณประวิทย์ อัครชิโนเรศ

38 คุณประสงค์ พิทูรกิจจา

39 คุณปริญญา ศิริสารการ

40 ผู้ช่วยศาสตราจารย์พรรณราย แสงวิเชียร

41 คุณพวงเพชร สารคุณ

42 คุณพิเชียร อำนาจวรประเสริฐ

43 คุณโอรส วงษ์สิทธิ์

44 คุณวัชรา หงส์ประภัศร

45 คุณวิชัย รูปขำดี

46 คุณวิชัย เรืองเริงกุลฤทธิ์

47 คุณวิชัย ศรีขวัญ

48 ศาสตราจารย์พิเศษวิชา มหาคุณ

49 คุณวิทธยา บริบูรณ์ทรัพย์

50 คุณวิทยา คชเขื่อน

51 คุณวิทยา งานทวี

52 คุณวิทวัส บุญญสถิตย์

53 คุณวินัส ม่านมุงศิลป์

54 คุณวุฒิชาติ กัลยาณมิตร

55 รองศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย

56 ศาสตราจารย์ศรีราชา เจริญพานิช

57 คุณศักดิ์ชัย อุ่นจิตติกุล

58 คุณศิวะ แสงมณี

59 คุณเศวต ทินกูล

60 คุณสดศรี สัตยธรรม

61 คุณสนั่น อินทรประเสริฐ

62 คุณสมเกียรติ รอดเจริญ

63 ศาสตราจารย์สมคิด เลิศไพฑูรย์

64 คุณสมชัย ฤชุพันธุ์

65 คุณสมยศ สมวิวัฒน์ชัย

66 คุณสวัสดิ์ โชติพานิช

67 คุณสว่าง ภู่พัฒน์วิบูลย์

68 คุณสวิง ตันอุด

69 คุณสามขวัญ พนมขวัญ

70 คุณสุนทร จันทร์รังสี

71 คุณสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย

72 คุณสุรพล พงษ์ทัดศิริกุล

73 คุณเสริมเกียรติ วรดิษฐ์

74 คุณเสรี นิมะยุ

75 คุณเสรี สุวรรณภานนท์

76 คุณหลักชัย กิตติพล

77 คุณอนุศาสน์ สุวรรณมงคล

78 คุณอภิชาติ ดำดี

79 คุณอรรครัตน์ รัตนจันทร์

80 คุณอรัญ ธรรมโน

81 คุณอลิสา พันธุศักดิ์

82 คุณอัครวิทย์  สุมาวงศ์

83 คุณอังคณา นีละไพจิตร

84 คุณอาภา อรรถบูรณ์วงศ์

85 คุณอุทิศ ชูช่วย

86 คุณโอกาส เตพละกุล

87 คุณพิสิฐ   ลี้อาธรรม

88 พลเรือเอกพีรศักดิ์  วัชรมูล

89 คุณไพบูลย์  วราหะไพฑูรย์  

90 คุณไพโรจน์  พรหมสาส์น

91 คุณมนตรี  เพชรขุ้ม

92 คุณมนูญศรี  โชติเทวัญ

93 คุณมานิจ  สุขสมจิตร

94 พลตำรวจเอกมีชัย  นุกูลกิจ

95 คุณรัฐ  ชูกลิ่น  

96 รองศาสตราจารย์รุจิรา  เตขางกูร

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net