การปกครองส่วนท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมเปรียบเทียบไทย-ฝรั่งเศส 4: การปรึกษาหารือกับประชาชนเกี่ยวกับกิจกรรมของท้องถิ่น(La consultation des citoyens)

ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ

การปรึกษาหารือในระบอบประชาธิปไตยนั้นเปรียบได้กับวจนะของอีสปที่ได้กล่าวว่าของบางอย่างอาจจะเป็นสิ่งที่ดีหรือแย่นั้นขึ้นอยู่กับการนำไปใช้(la pire ou la meilleur des chose) การปรึกษาหารือในรบอบประชาธิปไตยท้องถิ่นก็เช่นกัน [1] หาการปรึกษาหารือนั้นถูกนำไปเป็นการประกันผลของคำสั่งต่างๆขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็จะเป็นการใช้ไปในทางที่แย่แต่หากเป็นการใช้ไปเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชากรนั้นย่อมเป็นสิ่งที่ดี

หนังสือเวียนลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 1989 ที่ออกโดยนายกรัฐมนตรีได้มีข้อความหนึ่งระบุว่า เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องรับฟังความเห็นของผู้ใช้บริการสาธารณะเพื่อนำมาใช้ปรับปรุงการจัดทำบริการ เราต้องออกจากทางสองแพร่ระหว่างผู้ใช้บริการที่ไม่กระตือรือล้นและผู้ใช้บริการที่ให้ความเห็น ผู้ใช้บริการควรจะเป็นส่วนหนึ่งที่ให้ความเห็นหรือข้อเสนอต่างๆ

 

เครื่องมือเกี่ยวกับการปรึกษาหารือ

 

 

1.การจัดทำประชามติท้องถิ่น

1.1 ข้อห้ามของหลักประชาธิปไตยทางตรง(ในการจัดทำประชามติ)ในท้องถิ่น

หลักการจัดทำประชามติแบบขอคำปรึกษา(le référendum consultatif)และหลักการจัดทำประชามติแบบตัดสินใจ(le référendum décisoire) มีความแตกต่างกันอย่างหนึ่งคือ การจัดทำประชามติแบบตัดสินใจนั้นไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดให้การรับรองหรือบัญญัติไว้ ในบรรดาประเทศต่างๆทั่วโลกบางประเทศมีระบบการทำประชามติที่ค่อนข้างก้าวหน้ากวาประเทศฝรั่งเศสเช่น ในเยอรมนีมีการใช้ประชามติแบบตัดสินใจค่อนข้างมากในแลนเดอร์ ในอิตาลีหากเป็นการจัดทำประชามติแบบปรึกษาหารือนั้นเปิดโอกาสให้มีการริเริ่มทำประชามติโดยประชาชนได้เป็นต้น

รัฐธรรมนูญฝรั่งเศสนั้นไม่อนุญาตให้มีการใช้อำนาจแบบประชาธิปไตยทางตรงในระดับท้องถิ่นได้อย่างไรก็ตามคณะกรรมการตุลาการรัฐธรรมนูญของฝรั่งเศสเองไม่เคยมีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่นส่วนของสภาแห่งรัฐนั้นได้เคยมีคำวินิจฉัยทำนองนี้มาแล้วดังปรากฎในคดี Commune d'Aigre 7 avril 1905 และในคดี Commune de Brugneur 15 janvier 1909 แต่สำหรับการใช้อำนาจประชาธิปไตยทางตรงในระดับชาตินั้นรัฐธรรมนูญกลับรับรองไว้ซึ่งความปรากฎในมาตรา 2 ว่าอำนาจอธิปไตยของชาติเป็นของประชาชนซึ่งใช้อำนาจนั้นผ่านทางผู้แทนของตนและการออกเสียงลงประชามติ ซึ่งตรงข้ามกับในระดับทองถิ่นทีกำหนดว่าผู้แทนของท้องถิ่นหรือฝ่ายบริหารท้องถิ่นไม่สามารถดำเนินการให้มีการใช้ประชาธิปไตยทางตรงในระดับท้องถิ่นได้ซึ่งได้มีการตีความมาตรา72วรรค2ของรัฐธรรมนูญในเรื่องหลักความเป็นอิสระในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอิสระในการดำเนินกิจกรรมต่างๆภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมาย ซึ่งอำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รัฐธรรมนูญับรองไว้นี้ไม่สามารถถ่ายโอนไปให้ประชาชนเข้ามาใช้ได้โดยตรง

แม้ว่ารัฐธรรมนูญจะห้ามการใช้ประชาธิปไตยทางตรงในระดับท้องถิ่นไว้แต่ก็มีข้อยกเว้นสองประการแต่ไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นกิจกรรมของท้องถิ่นหากแต่เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่นเท่านั้น กรณีแรกได้แก่กรณีของคณะกรรมการสหภาพที่เกี่ยวข้องกับสิทธิประโยชน์และทรัพย์สินของเทศบาลยังไม่ได้ถูกจัดตั้งขึ้น ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถเรียกร้องให้มีการจัดการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อทรัพย์สินนั้นได้ กรณีที่สองได้แก่กรณีที่เปรเฟต์หรือสมาชิกสภาเทศบาลมากกว่ากึ่งหนึ่งสามารถขอความเห็นจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยวิธีการออกเสียงประชามติได้ในกรณีที่เกี่ยวข้องกับโครงการในการรวมเทศบาล

1.2 ประชามติแบบขอคำปรึกษา

ประชามติแบบขอคำปรึกษาถูกบัญญัติไว้ในมาตรา L2411-16 ของประมวลกฎหมายว่าด้วยการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยที่ประชามติแบบขอคำปรึกษานั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการพัฒนาในเทศบาลโดยมีจุดเริ่มต้นจากกรณีของสิ่งแวดล้อมและกรณีของการรวมตัวกันของเทศบาล รัฐบัญญัติลงวันที่ 16 กรกฎาคม 1971 เกี่ยวข้องกับการรวมเทศบาลได้กำหนดให้ประชามติเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายปกครอง ในระหว่างปี 1971-1984 มีการทำประชามติแบบขอคำปรึกษาทั้งสิ้นประมาน73ครั้ง

ตามรัฐบัญญัติ Joxe-Marchand ประชามติแบบขอคำปรึกษาในระดับเทศบาลนั้นถือเป็นเครื่องมือในการแสดงออกของประชาชนแม้ว่าจะเป็นการริเริ่มแบบขวยเขินก็ตาม มาตรา10ของรัฐบัญญัติฉบับนี้ได้กล่าวว่าสิทธิในการับรู้ข้อมูลข่าวสารและสิทธิในการจัดทำการปรึกษาหารือนั้นเป็นส่วนหนึ่งของหลักว่าด้วยความเป็นอิสระขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

การออกเสียงประชามติแบบขอคำปรึกษานั้นสวงนไว้ให้เฉพาะผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเทศบาลหรือสมาชิกของเทศบาลที่มารวมกันเป็นองค์กรความร่วมมือระหว่างเทศบาลเท่านั้นซึ่งผู้มีสิทธิเลือกตั้งในที่นี้คือประชาชนที่มีอายุตั้งแต่18ปีขึ้นไปและมีภูมิลำเนาอยู่ในท้องถิ่นนั้นๆ การขอคำปรึกษานั้นในบางครั้งอาจเกิดขึ้นได้ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับที่เล็กกว่าเทศบาลก็ได้ขึ้นอยู่กับสภาพความเหมาะสม ผลของประชามติแบบขอคำปรึกษานั้นไม่มีรูปแบบตายตัวและที่สำคัญคือไม่ผูกพันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ทำตามผลของประชามตินั้น

ความเป็นประชาธิปไตยนั้นจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับการมีส่วนร่วมของประชาชนว่ามากหรือน้อยเพียงใดและรวมถึงสิทธิของประชาชนในการเป็นผู้ริเร่มทำประชามติอีกด้วย

1.3 การริเริ่มจัดทำประชามติแบบขอคำปรึกษา

นายกเทศมนตรีนั้นไม่มีข้อผูกมัดใดๆกับประชาชนในการจัดให้มีกระบวนการปรึกษาหารือการริเริ่มในการจัดให้มีการขอคำปรึกษานั้นเป็นสิทธิเฉพาะตัวของนายกเทศมนตรีหรือสมาชิกสภาเทศบาลจำนวนกว่ากึ่งหนึ่งขึ้นไปสำหรับเทศบาลที่มีประชากรไม่เกิน3500คนและสมาชิกสภาเทศบาลจำนวนหนึ่งในสามสำหรับเทศบาลที่มีประชากรตั้งแต่3500คนขึ้นไปเท่านั้นการขอให้จัดกระบวนการปรึกษาหารือนั้นจะไม่มีการริเริ่มโดยประชาชนยกเว้นกรณีที่กำหนดไว้โดยรัฐบัญญัติPasquaที่ได้อนุญาตไว้เป็นกรณีเฉพาะกล่าวคือกรณีของการการจัดการรูปแบบท้องถิ่นซึ่งสามารถทำได้โดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนหนึ่งในห้าและมีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งอาจร้องขอต่อสภาท้องถิ่นว่าขอให้มีการจัดทำประชามติแบบขอคำปรึกษาได้แต่สภาท้อถิ่นไม่มีหน้าที่ผูกพันตามคำร้องขอนั้น สำหรับองค์กรความร่วมมือระหว่างเทศบาลนั้นการริเริ่จัดทำประชามติแบบขอคำปรึกษานั้นสามารถริเริ่มโดยนายกเทศมนตรีที่เป็นสมาชิกขององค์กรความร่วมมือนั้นหรือโดยสมาชอกของสภาแห่งองค์กรความร่วมมือจำนวนเกินกว่ากึ่งหนึ่งหรือผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนหนึ่งในห้าและมีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งกรณีของการริเริ่มโดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งนั้นยังไม่เคยเกิดขึ้นจนกระทั่งปัจจุบัน

กระบวนการในการจัดทำประชามตินั้นค่อนข้างที่จะพิเศษภายใต้เหตุผลที่ว่าสมาชิกสภาเทศบาลไม่ต้องการให้นายกเทศมนตรีมีสภาพเป็นนโปเลียนน้อยเพราะจะทำให้การจัดทำประชามตินั้นมีสภาพเป็นการรับรองการกระทำของตนให้ชอบด้วยกฎหมายและใช้ในการกำจดปฏิปักษ์ทางการเมือง การจัดทำประชามตินั้นอาจขอให้มีการจัดทำหลายเรื่องได้ภายในปีเดียวกันแต่ถ้าหากเป็นการขอให้จัดทำประชามติที่มีเนื้อหาเดิมหรือคล้ายกันนั้นจะต้องรอเวลาอย่างน้อยสองปีหลังจากการจัดทำประชามติฉบับแรกจบสิ้นลง การจัดทำประชามตินั้นจะไม่สามารถจัดทำได้ในขณะที่สภาท้องถิ่นหมดวาระหรือขณะที่อยู่ในช่วงของการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล

1.4 วัตถุประสงค์ของประชามติแบบปรึกษาหารือ

การจัดประชามติในระดับท้องถิ่นนั้นสิ่งที่สำคัญคือเรื่องที่จะดำเนินการจัดทำประชามติจะต้องเป็นเรื่องที่อยู่ในเขตอำนาจของเทศบาลหรือเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจดการองค์กรความร่วมมือระหว่างเทศบาล ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถออกเสียงประชามติแบบปรึกษาหารือได้ในเฉพาะเรื่องที่อยู่ในอำนาจของสภาเทศบาลหรืออยู่ในอำนาจของนายกเทศมนตรีส่วนอำนาจในการตัดสินใจนั้นยังคงสงวนไว้ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ตัดสินใจในขั้นสุดท้าย สิทธิของผู้มีสิทธิเลือกตั้งนั้นถูกจำกัดเพียงแค่การให้ความเห็นในร่างข้อบัญัติท้องถิ่นแต่ไม่ได้หมายความว่าการทำประชามตินี้จะเป็นการรับรองร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นฉบับนั้นนอกจากนั้นการปรึกษาหารือในกิจกรรมของท้องถิ่นที่มีผลประโยชน์ในระดัชาติย่อมไม่อาจทำได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่นในกรณีของเทศบาลเมืองChamonix เมือง Servoz และเมือง Les Ouches ที่ได้จัดให้มีการทำประชามติเพื่อสอบถามเกี่ยวกับการเจาะอุโมงค์ลอดใต้ภูเขาMont blanc ว่าเหมาะสมหรือไม่และจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเศรษฐกิจและสุขภาพหรือไม่ อย่างไรก็ตามศาลปกครองแห่งเมืองGrenoble ได้ทำการเพกถอนการทำประชามตินี้แต่รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมกลับยอมรับผลของการปรึกษาหารือนี้และนำไปเป็นส่วนหนึ่งของถาระกิจที่ต้องดำเนินการในระดับชาติ

 

2. องค์กรเกี่ยวกับการปรึกษาหารือ

ในระดับท้องถิ่นการปรึกษาหารือนั้นมีสามรูปแบบด้วยกันโดยที่ทั้งสามรูปแบบนี้ต่างเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของท้องถิ่นทั้งสิ้น โดยที่รูปแบบของการปรึกษาหารือนั้นได้แก่ 1.การปรึกษาหารือในเรื่องเกี่ยวกับประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม 2.การปรึกษาหารือกับประชาชนในฐานะที่เป็นผู้ใช้บริการสาธารณะ 3.การปรึกษาหารือกับประชาชนในฐานะที่เป็นพลเมือง

2.1 การปรึกษาหารือในเรื่องเกี่ยวกับประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม

ทันทีที่มีการจัดตั้งองค์กรมหาชนระดับภาคองค์กรเกี่ยวกับการปรึกษาหารือได้ถูกจัดตั้งขึ้นในเวลาที่ไล่เลี่ยกัน คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมที่ถูกพัฒนามาจากคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจประจำภาค นั้นถือเป็นตัวแทนขององค์กรวิชาชีพและสังคมที่มีอำนาจในการจัดให้มีการปรึกษาหารือกับประชาชนภายใต้กิจกรรมที่ถูกกำหนดโดยกฎมาย หลังจากปี1982 คณะกรรมาการเศรษฐกิจและสังคมประจำภาคนั้นประกอบไปด้วยสมาชิกที่มาจากสี่กลุ่มด้วยกันได้แก่ตัวแทนของบริษัทเอกชนและกลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ

ผู้แทนของกลุ่มสหภาพผู้ทำงาน ผู้แทนขององค์กรความร่วมมือในการมีส่วนร่วมระดับภาค(กลุ่มผู้บริโภค มหาวิทยาลัย) แลุะผู้ทรงคุณวุฒิ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการชุดนี้สามารถจำแนกได้เป็นสามประเภทได้แก่ ประเภทแรกคือการจัดให้มีการปรึกษาหารือเกี่ยวกับการจัดทำแผนพัฒนาภาค ประเภทที่สองได้แก่การทำสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาภาคและการงบประมานประเภทที่สามได้แก่กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับอำนาจของประธานสภาภาคในส่วที่เกี่ยวข้องการเศรษฐกิจและสังคม

รัฐบัญญัติ Voynet ลงวันที่ 25 มิถุนายน1999 ได้จัดตั้งคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมระดับภาคขึ้นเพื่อเป็นการช่วยเหลือและพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถ่นระดับภาค สมาชิกสภาภาคมีหน้าที่ผูกพันในการต้องหารือกับคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมประจำภาคในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรมของภาคและคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมประจำภาคต้องจัดทำรายงานอย่างน้อยหนึ่งครั้งต่อปีเพื่อชี้แจงถึงโครงการที่ตนเองเข้าไปเกี่ยวข้อง

2.2 การปรึกษาหารือกับประชาชนในฐานะผู้ใช้บริการสาธารณะ

ภาระกิจที่สำคัญประการหนึ่งขององค์กรปกรองส่วนท้องถิ่นคือการจัดทำบริการสาธารณะในระดับท้องถิ่นเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน การปรึกษาหารือกับผู้ใช้บริการนั้นเกิดขึ้นค่อนข้างบ่อยซึ่งการปรึกษาหารือนั้นเป็นการปรึกษาหารือเกี่ยวกับผลผลิตหรือการให้บริการของบริการสาธารณะประเภทต่างอาจถือได้ว่าผู้ใช้บริการนั้นเป็นผู้เล่นคนนึงในองค์กรผู้จัดทำบริการสาธารณะ

รัฐบัญญัติลงวันที่ 6กุมภาพันธ์ 1992 ได้กำหนดให้เทศบาลที่มีประชากรมากกว่า3500คน ต้องจัดตั้งองค์กรที่ปรึกษาเกี่ยวกับการจัดทำบริการสาธารณะที่ได้จัดทำโดยเทศบาลนั้นๆนอกจากนั้นรัฐบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับ la démocratie de proximité ไดทำให้ข้อผูกพันตามกฎหมายวันที่ 6กุมภาพันธ์ 1992 นั้นใช้ได้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับจังหวัดและภาคด้วยนอกจากนั้นยังรวมไปถึงองค์กรความร่วมมือระหว่างเทศบาลอีกด้วย องค์กรนี้จะประกอบไปด้วยสมาชิกขององค์กรผู้ใช้บริการสาธารณะในประเภทที่เกี่ยวข้องโดยมีนายกเทศมนตรีเป็นประธาน

กฎหมายได้กำหนดขอบอำนาจขององค์กรที่ปรึกษาเกี่ยวกับการจัดทำบริการสาธารณะไว้วาให้มีหน้าที่ในการเข้าไปจัดทำความเห็นเกี่ยวกับการมอบหมายให้จัดทำบริการสาธารณะรวมถึงโครงการที่จัดทำโดยนิติบุคคลภายใต้การสนับสนุนทางการเงินจากหน่วยงานของรัฐ นอกจากนั้นยังมีภาระกิจประจำปีได้แก่ การจัดทำรายงานเกี่ยวกับการมอบหมายให้เอกชนเข้ามาจัดทำบริการสาธารณะ การจัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับราคาและคุณภาพของบรการด้านการประปาการสุขาภิบาลและการจัดเก็บขยะ และการจัดทำรายงานเกี่ยวกับงบดุลของโครงการที่จัดทำโดยนิติบุคคลภายใต้การสนับสนุนทางการเงินจากหน่วยงานของรัฐ

2.3 การปรึกษาหารือกับประชาชนในฐานะที่เป็นพลเมือง

การปรึกษาหารือกับพลเมืองนั้นอาจกล่าวได้ว่าเป็นส่วนเติมเต็มของประชาธิปไตยแบบผู้แทนเนื่องจากในบางครั้งระบบผู้แทนอาจมีปัญหาในเรื่องของความเชื่อมโยงกับประชาชนและไม่อาจตอบสนองความต้องการได้เต็มที่จึงกล่าวได้วาการปรึกษาหารือนั้นมีประโยชน์อยางมากกับะบบผู้แทน

2.3.1 การปรึกษากับพลเมืองแบบผู้แทน

รัฐบัญญัติ PLM(Paris Lyon Marseille) ในปี1982 ได้ขยายขอบเขตในการปรึกษากับประชาชนในสามเมืองใหญ่ว่าให้สภาเขต(conseil d'arrondissement) มีหน้าที่ผูกพันในการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่กระทบต่อทางภูมิศาสตร์ในเขตและรวมถึงเรื่องเกี่ยวกับการเงิน ขอบเขตที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นยังถูกทบทวนและนำไปใช้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีประชากรตั้งแต่100,000คนขึ้นไปโดยให้มีการตั้งสภาที่ปรึกษาขึ้นโดยจำนวนสมาชิกองค์กรที่ปรึกษานั้นขึ้นอยู่กับเกณฑ์ประชากรของเทศบาลโดยใช้เกณฑ์เดียวกับสมาชิกสภาเทศบาลนอกจากนั้นสมาชิกสภาที่ปรึกษายังมาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนโดยการเลือกตั้งนั้นจะต้องเป็นวันเดียวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลและอยู่ภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน

2.3.2 การปรึกษากับพลเมืองแบบมีส่วนร่วม

รัฐบัญญัติลงวันที่ 6กุมภาพันธ์ 1992 ได้กำหยดให้สภาเทศบาลแต่ละแห่งสามารถจัดตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาขึ้นได้ในทุกๆปัญหาที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของเทศบาลสภาที่ปรึกษานี้ประกอบไปด้สยสมาชิกที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสภาเทศบาลอย่างไรก็ตามประธานของสภาที่ปรึกษานี้จะต้องเป็นสมาชิกสภาเทศบาลที่ได้รับการแต่งตั้งโดยนายกเทศมนตรี สภที่ปรึกษานี้มหน้าที่เกี่ยวกับทุกเรื่องที่เป็นผลประโชน์ของท้องถิ่นและสามารถรับฟังปัญหาของประชากรในย่านต่างๆได้รวมถึงรับฟังปัญหาจากกลุ่มของประชากรได้ สภาที่ปรึกษานี้มีสถานะที่แตกต่างจากคณะกรรมการท้องถิ่นอื่นๆที่ได้ถูกจัดตั้งขึ้นโดยสภาเทศบาล องค์กรความร่วมมือระหว่างเทศบาลก็สามารถจัดตั้งองค์กรที่ปรึกษาได้เช่นกันภายใต้หลักการเดียวกันกับของเทศบาล

อย่างไรก็ตามสภาที่ปรึกษานี้มีอำนาจเพียงแค่ให้ความเห็นเท่านั้นไม่ได้มีอำนาจนการตัดสินใจนอกจากนั้นความเห็นของสภาที่ปรึกษานี้ยังไม่ผูกพันสภาเทศบาลในการนำไปใช้บังคับด้วยเช่นกัน

  1. RASERA Michel, La démocratie local, L.G.D.J., Paris, 2002, 115 p

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท