จับตาเลือกตั้งผู้นำฝรั่งเศส : มารู้จักผู้สมัครเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส 2012

ทำความรู้จักกับผู้สมัครเลือกตั้งที่กำลังขับเคี่ยวคะแนน ใน 4 อันดับแรก ซึ่งพากันประชันนโยบายและสโลแกนเข้มๆ อาทิ ฝรั่งเศสเข้มแข็ง ของซาร์โกซี หรือ เปลี่ยนแปลง เดี๋ยวนี้ ของฟร็องซัวส์ ฮอลลองด์, ความเป็นมนุษย์ต้องมาก่อน ของ ชอง - ลุก เมลังชง

จับตาเลือกตั้งผู้นำฝรั่งเศส : มารู้จักผู้สมัครเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส 2012

ประชาธิปไตยไม่ใช่การเลือกตั้ง แต่ประชาธิปไตยก็ขาดการเลือกตั้งไม่ได้ การเลือกตั้งจึงเป็นสิ่งสำคัญกับประชาชนในประเทศโดยเฉพาะในประเทศที่มีความเป็นประชาธิปไตยสูงอย่างฝรั่งเศสประชาชนทุกคนไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ต่างกระตือรือร้นในการใช้สิทธิใช้เสียงเสมือนเป็นส่วนหนึ่งผู้ได้รับประโยชน์จากการเลือกตั้ง รวมถึงสื่อต่างๆไม่ว่าข่าวคราวในหน้าหนังสือพิมพ์ทุกฉบับในช่วงสองสามเดือนนี้ และรายการโทรทัศน์ในฝรั่งเศสต้องมีพื้นที่ไว้ให้แคมเปญผู้สมัครแต่ละคนออกมาดีเบตทางความคิดและโฆษณานโยบายของแต่ละผู้สมัคร ส่วนผู้สมัครเองก็ต้องทำงานอย่างหนักตระเวนออกไปหาเสียงเคาะประตูถึงบ้าน ในทุกๆเขตของHexagon หรือตามหมู่เกาะนอกอาณาเขตของฝรั่งเศส DOM, TOM เพราะทุกคะแนนเสียงมีค่าและไม่ได้มาจากมือที่มองไม่เห็นหรือราชรถมาเสยถึงบ้าน

การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศสเป็นการเลือกตั้งสองรอบ โดยประชาชนมีสิทธิในการโหวตคนละหนึ่งคะแนนเสียง ซึ่งภายในรอบแรกจะเลือกตั้งในวันที่ 22เมษายนที่จะถึงนี้ เมื่อผลที่ได้มาแล้วจะนำเอาเฉพาะผู้สมัครสองคนที่ได้เสียงมากสุด มาทำการเลือกตั้งครั้งที่สองในวันที่ 6พฤษภาคม ซึ่งในขณะนี้ทางการฝรั่งเศสได้เริ่มเปิดโอกาสให้ประชาชนฝรั่งเศสที่อาศัยอยู่ต่างประเทศมาเลือกตั้งได้แล้ว การเลือกตั้งก็ไม่ได้ยุ่งยากอย่างบ้านเรา ปีนี้ทางการเปิดโอกาสให้โหวตเสียงผ่านทางอินเตอร์เนตเป็นครั้งแรก หรือสามารถไปคูหาเลือกตั้งที่มีอยู่783แห่ง โดยนำเอกสารแสดงตัวตนไปอย่างใดอย่างหนึ่งเช่น พาสปอร์ต บัตรประชาชน เป็นต้น โดยไม่ต้องทำหนังสือแจ้งความจำนงกับทางการว่าจะเลือกตั้งก่อนแต่อย่างใด

การเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้สมัครทั้งสิ้นสิบคน โดยแต่ละคนผ่านการเลือกตั้งภายในพรรคแล้วเพื่อตัดสินว่าจะส่งใครลงสมัคร จากรูปภาพด้านบนซ้ายไปขวา

  • คนแรกคือ M. François HOLLANDE จากพรรคฝ่ายซ้าย Parti Socialiste,
  • M. Jean-Luc MÉLENCHON จากพรรคฝ่ายซ้าย Front de gauche ซึ่งมีความเป็นซ้ายมากกว่า Parti Socialiste,
  • M. Jacques CHEMINADE จากพรรค Solidarité et Progrès (S&P),
  • M. Nicolas SARKOZY จากพรรคฝ่ายขวา Union pour un mouvement populaire (UMP)
  • Mme Marine LE PEN จากพรรคฝ่ายขวาจัด Front national.,
  • Mme Nathalie ARTHAUD จากพรรคกรรมกรฝ่ายซ้ายจัด Lutte ouvrière (LO),
  • M. Philippe POUTOU จากพรรคฝ่ายซ้ายจัด Nouveau Parti anticapitaliste,
  • M. François BAYROUจากพรรคกลาง Mouvement démocrate (MoDem),
  • Mme Eva JOLY จากพรรคกรีน Primaire présidentielle écologiste de 2011.
  • และ M. Nicolas DUPONT-AIGNAN จากพรรคนิยมชาร์ล เดอ โกล Debout La République (DLR)

นอกจากผู้สมัครสิบคนนี้ แล้วยังมีผู้สมัครอีก 29 คนที่ไม่มีคุณสมบัติพอเพราะไม่สามารถล่ารายชื่อผู้สนับสนุนได้เกิน 500 ชื่อ

 

 
color:black">BVA
color:black">CSA
color:black">Harris
color:black">Ipsos
color:black">TNS Sofres
color:black">Ifop  color:red">R
color:black">LH2
color:black">BVA
color:black">CSA
color:black">Opinion- Way
color:black">Harris
color:black">Ifop
color:black">Ipsos
 
color:black">18-19 avril
color:black">18-19 avril
color:black">18-19 avril
color:black">18-19 avril
color:black">18-19 avril
color:black">16-19 avril
color:black">17-18 avril
color:black">16-17 avril
color:black">16-17 avril
color:black">16-17 avril
color:black">12-16 avril
color:black">12-15 avril
color:black">13-14 avril
Nathalie Arthaud
color:black">0
color:black">1
color:black">0,5
color:black">0
color:black">0
color:black">0,5
color:black">1
color:black">0
color:black">0,5
color:black">0,5
color:black">0,5
color:black">0,5
color:black">1
Philippe Poutou
color:black">1,5
color:black">1,5
color:black">1,5
color:black">1,5
color:black">1
color:black">1
color:black">1
color:black">1
color:black">1
color:black">2
color:black">1
color:black">1
color:black">1
Jean-Luc Mélenchon
color:black">14
color:black">14,5
color:black">12
color:black">14
color:black">13
color:black">13,5
color:black">15
color:black">13
color:black">15
color:black">13
color:black">12
color:black">14,5
color:black">14,5
François Hollande
color:black">30
color:black">28
color:black">27,5
color:black">29
color:black">27
color:black">26
color:black">27
color:black">29,5
color:black">29
color:black">27,5
color:black">27
color:black">28
color:black">27
Eva Joly
color:black">2
color:black">2
color:black">3
color:black">2
color:black">3
color:black">2,5
color:black">2,5
color:black">2
color:black">2
color:black">2
color:black">2
color:black">3
color:black">2,5
François Bayrou
color:black">10
color:black">10,5
color:black">11
color:black">10
color:black">10
color:black">11
color:black">10
color:black">12
color:black">10
color:black">10
color:black">11
color:black">9,5
color:black">10
Nicolas Sarkozy
color:black">26,5
color:black">25
color:black">26,5
color:black">25,5
color:black">27
color:black">28
color:black">26,5
color:black">27,5
color:black">24
color:black">27,5
color:black">28
color:black">27
color:black">27
Nicolas Dupont-Aignan
color:black">2
color:black">1,5
color:black">2
color:black">1,5
color:black">2
color:black">1,5
color:black">1,5
color:black">1
color:black">1,5
color:black">1,5
color:black">1,5
color:black">1
color:black">1
Marine Le Pen
color:black">14
color:black">16
color:black">16
color:black">16
color:black">17
color:black">16
color:black">15,5
color:black">14
color:black">17
color:black">16
color:black">17
color:black">15,5
color:black">15,5
Jacques Cheminade
color:black">0
color:black">0
color:black">0
color:black">0,5
color:black">0
color:black">0
color:black">0
color:black">0
color:black">0
color:black">0
color:black">0
color:black">0
color:black">0,5
 

 

ผลสำรวจความนิยม (Poll)สำหรับการเลือกตั้งรอบแรก François Holland 30%, Nicolas Sarkozy 26,5%, Marine Le Pen 14%, Jean-Luc Mélenchon 14%, François Beyrou 10%

และในผลสำรวจความนิยม (Poll)ในการเลือกตั้งรอบที่สอง François Hollande มีคะแนนนำ Sarkozy 57% ต่อ 43%

คราวนี้เรามาทำความรูจักกับผู้สมัครที่ได้คะแนนมากสุดสี่อันดับแรกกัน

ฟร็องซัวส์ ฮอลลองด์ (François Hollande) เกิดเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 1954 ที่ Rouen พ่อของเขาเป็นหมอและมีแนวคิดขวาจัดถึงขนาดที่ว่าตอนฝรั่งเศสมีข้อพิพาทกับแอลจีเรียเรื่องที่แอลจีเรียจะแยกเป็นเอกเทศ พ่อของเขาขายคลีนิคและที่อยู่เพื่อไปสนับสนุน OAS กองกำลังติดอาวุธลับเพื่อต่อต้านการแยกประเทศแอลจีเรีย ในขณะที่แม่กลับมีความคิดฝ่ายซ้าย เขาจบการศึกษาจากคณะกฎหมายมหาวิทยาลัยปารีส และ École des hautes études commerciales de Paris (HEC Paris) และ École Nationale d'Administration และ Institut d'Etudes politiques de Paris หรือ Science Po. ในปัจจุบัน

ด้านการเมืองเขาเริ่มชีวิตการเมืองตั้งแต่เป็นนักศึกษา โดยทำงานให้กับแคมเปญของ มิตเตรองด์ (ฟรังซัว มิตเตรองด์ - Francoise Mitterrand) และสมัครเป็นสมาชิก Parti Socialiste ซึ่งเนื่องจากทำงานได้เข้าตาจึงถูก Jacques Attali ที่ปรึกษาของมิตเตรองด์ ชักชวนให้ลงสมัคร ส.ส. ที่เขต Corrèze เมื่อปี1981 แต่แพ้ให้กับ Jacques Chirac แต่ต่อมาได้ชัยชนะและเป็น สส ในเขตนี้ตั้งแต่ 1988 ถึง 1993 นอกจากนี้เขาเป็นนายกเทศมนตรี เมือง Tulle ตั้งแต่ 2001 ถึง 2008 และเป็นเลขาธิการพรรค Parti Socialiste ตั้งแต่ 1997 ถึง 2008

สำหรับการเลือกตั้งประธานาธิบดี ฮอลลองด์ ต้องแข่งขันกับ โดมินิค สเตราส์ คานห์ (Dominic Strauss Kahn) และ Martine Aubry เพื่อจะได้เป็นตัวแทนพรรคในการเลือกตั้งประธานาธิบดี สโลแกนการหาเสียงเลือกตั้งครั้งนี้ คือ Le changement, c’est maintenant (เปลี่ยนแปลง เดี๋ยวนี้)

จับตาเลือกตั้งผู้นำฝรั่งเศส : มารู้จักผู้สมัครเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส 2012

นโยบายหาเสียงที่สำคัญ เช่น การเปิดการเจรจารอบใหม่ระหว่างฝรั่งเศสและเยอรมัน เรื่องปัญหากรีซและยูโรโซน, การหาแนวทางเพื่อปกป้องบริการสาธารณะในยุโรป, การลดใช้พลังงานไฟฟ้าจากนิวเคลียร์ 50% และใช้พลังานชนิดใหม่ทดแทน, หารปฏิรูประบบเก็บภาษีใหม่, การเก็บภาษีคนรวย 75%ของรายได้ ลดเงินเดือนของประธานาธิบดีและข้าราชการที่มีเงินเดือนสูง, สนับสนุน SME, ด้านสังคม เพิ่มการสร้างบ้านอีก 500 000 หลังต่อปีโดยนำเงินจากท้องถิ่น รัฐ, เพิ่มจำนวนตำรวจ และผ้พิพากษา, และเพิ่มการจ้างงานให้กับเด็กจบใหม่

ฮอลลองด์ เป็นที่คาดหมายว่าจะได้เป็นประธานาธิบดีคนต่อไปเฉือนซาโกซี เพราะปัญหาการบริหารของรัฐบาลที่แล้วทั้งด้านการเงินของกรีซ และยูโร ปละปัญหาทางสังคม ฮอลลองด์ ได้รับการสนับสนุนจากอดีตนักการเมืองชั้นนำหลายคน รวมถึง ฌากส์ ชีรัก (Jacques Chirac) ซึ่งประกาศการสนับสนุนอย่างเป็นทางการว่า “ผมจะโหวตให้ฮอลลองด์”

นิโคลัส ซาโกซี (Nicolas Sarkozy) ประธานาธิบดีฝรั่งเศสคนปัจจุบัน เกิดเมื่อ 28 มกราคม 1955 ปารีส มีเชื้อสายฮังการี และยิว จบการศึกษากฎหมายเอกชนที่มหาลัยปารีสนองแตร์ เมื่อปี1978 สองปีต่อมาผ่านการสอบตั๋วทนายด้วยคะแนนฉิวเฉียด สิบเต็มยี่สิบ และ DEA สาขารัฐศาสตร์ ปี1979ถึง1981ได้เข้าเรียนที่ SciencesPo. แต่ไม่ประสบความสำเร็จเพราะสอบไม่ผ่านภาษาอังกฤษ

เขาประกอบอาชีพเป็นทนาย ส่วนด้านการเมืองเริ่มเคลื่อนไหวตั้งแต่เป็นนักศึกษาโดยสังกัดปีกขวาของคณะ ปี1975ได้เป็นตัวแทนเด็กรุ่นใหม่ของพรรคUDR และปี1980 ได้เป็นประธานกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่สนับสนุน ฌากส์ ชีรัก ปี1983ได้รับการเลือกตั้งเป็นเทศมนตรี Neuilly-sur-seine ปี1993ได้เป็นรัฐมนตรีการคลังและโฆษกรัฐบาล ปี2002ถึง007เป็นตัวจักรสำคัญในการช่วยให้ ฌากส์ ชีรัก เป็นประธานาธิบดี และได้รับผลตอบแทนคือ ดำรงตำแหน่งอาทิเช่น รัฐมนตรีมหาดไท รัฐมนตรีเศรษฐกิจ หลังจากนั้นปี 2005ได้เป็นหัวหน้าพรรค UMP และประกาศเป็นผู้สมัคประธานาธิบดี2007ซึ่งได้ชัยชนะตามมาเฉือนชนะ Ségolène Royal จากพรรค socialiste ในการเลือกตั้งรอบสอง

สำหรับแคมเปญการเลือกตั้งครั้งนี้ ซาโกซีมาด้วยสโลแกน La France Forte (ฝรั่งเศสเข้มแข็ง) ซึ่งป้ายหาเสียงของเขาถูกดัดแปลงล้อเลียนหลายรูปแบบ ซาโกซีใช้แทคติกโดยการประกาศตัวเป็นผู้สมัครชิงประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการช้าที่สุดเมื่อ 12 มกราคมที่ผ่านมา ในขณะหาเสียงก็ต้องเจอปัญหาต่างๆเช่น ปัญหาทหารฝรั่งเศสตายในอัฟกานิสถาน ปัญหามุสลิมฆ่าเด็กและทหารในตูลูสเจ็ดคน และคดีคอรัปชัน Woerth-Bettoncourt

จับตาเลือกตั้งผู้นำฝรั่งเศส : มารู้จักผู้สมัครเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส 2012

จับตาเลือกตั้งผู้นำฝรั่งเศส : มารู้จักผู้สมัครเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส 2012

นโยบายที่สำคัญได้แก่ เช่น การฝึกงานให้ผู้ที่ตกงาน และต้องให้ผู้ที่ตกงานทำงานที่รัฐจัดหาให้ คนตกงานต้องทำงานถึงจะได้ค่าตอบแทนโดยมิใช่รอความช่วยเหลือทางรัฐฝ่ายเดียว นอกจากนี้มีนโยบายให้ผู้ที่อพยพพลัดถิ่นเข้ามาอาศัยในฝรั่งเศสได้ยากขึ้น ปฏิรูประบบบำนาญการเกษียณอายุ รักษาเสถียรภาพการคลัง กระตุ้นงานด้านการเกษตร เปลี่ยนระบบสวัสดิการการจัดจ้างงานระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง เป็นต้น

ชอง - ลุก เมลังชง Jean Luc Mélenchon เกิด19 สิงหาคม 1951 ที่โมรอคโค จบการศึกษาด้านปรัชญาและทำอาชีพครูก่อนเข้าสู่วงการการเมือง เป็นผู้สนับสนุนฝ่ายซ้าย Mitterrand และสังกัดพรรค parti socialiste ก่อนจะแยกตัวมาสังกัดพรรค Front de Gauche

สำหรับเลือกตั้งครั้งนี้ เขามาด้วยสโลแกน L’humain d’abord (ความเป็นมนุษย์ต้องมาก่อน) ซึ่งเป็นการตีแสกหน้าสโลแกนของ Jean Marin Le Pen จาก พรรคFNเมื่อการเลือกตั้งปี2002 คือ Le français d’abord (ชาวฝรั่งเศสต้องมาก่อน)

จับตาเลือกตั้งผู้นำฝรั่งเศส : มารู้จักผู้สมัครเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส 2012

เขาอธิบายนโยบายของเขาโดยเปรียบเทียบกับ Hollande เพื่อให้เห็นว่าถึงแม้ฝ่ายซ้ายก็มีนโยบายที่ต่างกัน ไม่ได้ไปมนทางเดียวกันเสมอ นโยบายที่สำคัญได้แก่ เช่น การยกเลิกกฎหมายหมิ่นประมุขของรัฐ การเพิ่มเงินเดือนขั้นต่ำใน35ชั่วโมงหลังรับตำแหน่ง เปลี่ยนเกณฑ์การเกษียณอายุเป็น 60ปีเช่นเดิม เปลี่ยนระบบสัญญาเพื่อความเป็นธรรมกับลูกจ้าง สร้างที่พักเพิ่มสองแสนแห่งให้ผู้ไร้ที่พัก เก็บภาษีคนรวยและนายธนาคาร ปฏิรูปการคลัง ลดการใช้พลังงานนิวเคลียร์ ไม่กีดกันผู้อพยพ สร้างสาธารณรัฐที่หก เป็นต้น

มารีน เลอ เปน (Marine Le Pen) เกิด 5 สิงหาคม 1968 ที่ Neuilly-sur-seine เป็นบุตรสาวคนเล็กของ Jean Marie Le Pen อดีตหัวหน้าพรรค Front National และ คู่แข่งของ Jacques Chirac ในการเลือกตั้งประธานาธิบดี 2002 เธอจบนิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฝ่ายขวา Paris II-Assasปี1990 และ DEA กฎหมายอาญา ปี1991 และสอบตั๋วทนายได้ปี 1992 และประกอบอาชีพทนาย

ด้านการเมือง เธอเป็นสมาชิกพรรค FN ตั้งแต่อายุ18 เคยดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาของเขต Regional du Nord-Pas-de-Calais ตั้งแต่ปี1997 และเป็นสมาชิกสภายูโรปตั้งแต่ปี2004

สำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้สโลแกนของเธอคือ Oui !La France (ใช่แล้ว ประเทศฝรั่งเศส)

จับตาเลือกตั้งผู้นำฝรั่งเศส : มารู้จักผู้สมัครเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส 2012

นโยบายที่สำคัญได้แก่ นโยบายสนับสนุนสินค้าที่ผลิตจากฝรั่งเศสเท่านั้น เปลี่ยนนโยบายการเกษตคอมมูนยูโรเปียนเป็น นโยบายเกษตรเพื่อฝรั่งเศส สนับสนุนSME และการฝึกงานให้เด็กอายุ14ปีขึ้นไป เปลี่ยนมาใช้สกุลเงินฟรังก์ ควบคุมราคาพลังงานและน้ำมัน ยกเลิกระบบผูกขาดธนาคาร สำหรับการจ้างงาน ให้ใบสมัครงานระบุเชื้อชาติผู้สมัคร ปฏิรูปการเกษียณ สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมมากขึ้น เพิ่มเงินเดือนข้าราชการชั้นผู้น้อย ในส่วนเอกชนให้นำกำไรจากเจ้าของมาแบ่งให้ลูกจ้าง เพิ่มภาษีนำเข้าสินค้า เพิ่มการเก็บภาษีผู้มีรายได้มากลดภาษีผู้มีรายได้น้อยและปานกลาง ด้านสังคม ลดปริมาณผู้อพยพเข้าประเทศ ส่งเสริมการศึกษาคณิตศาสตร์และภาษาฝรั่งเศส ทบทวนข้อตกลง Scengenในการเข้าออกเสรีระหว่างประเทศยุโรป ลดสวัสดิการการรักษาพยาบาล ด้านนโยบายต่างประเทศ ออกจากสมาชิกนาโต เพิ่มงบประมาณการป้องกัน เสนอข้อตกลงพันธมิตรระหว่างปารีส เบอร์ลิน และ มอสโค ออกจากการใช้เงินสกุลยูโรและใช้ฟรังก์ เป็นต้น

ข้อสังเกตจากการเลือกตั้งครั้งนี้คือ ไม่ว่าฝ่ายซ้ายหรือขวา ต่างมองว่าต้นเหตุของปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจการเงินในฝรั่งเศสและยุโรปมีรากเหง้ามาจากระบบธนาคารและการเงินที่มีความผูกขาดมากเกินไป นโยบายของผู้สมัครไม่ได้มุ่งเน้นไปที่การอุ้มธนาคารเหมือนตอนเกิดเหตุต้มยำกุ้งบ้านเราเมื่อปี 1997 และข้อสังเกตุประการที่สองคือ คะแนนความนิยมของพรรคฝ่ายขวาจัดอย่าง Le Pen เริ่มกระเตื้องขึ้นมาเรื่อยๆ สูงถึง 15% ในประเทศฝรั่งเศสซึ่งยึดถือความเสมอภาคและต่อต้านการเหยียดเชื้อชาติ หรือที่จริงแล้วความรู้สึกนี้ต่างซ่อนอยู่ลึกๆในคนฝรั่งเศส

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท