Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

การเลือกตั้งซ่อมในเดือนเมษายนที่เพิ่งผ่านไปนั้น เป็นอันว่าพรรคเอ็นแอลดีก็ได้ชัยชนะไปตามความคาดหมาย เหมือนอย่างที่หลายฝ่ายได้คาดการณ์เอาไว้ อีกด้านหนึ่งก็ตรงกันกับที่ชาวพม่าทั้งในและนอกประเทศได้ตั้งความหวังเอาไว้ ก็เรียกได้ว่ามีความพึงพอใจกันไปในระดับหนึ่ง ในเรื่องการเลือกตั้งกันทางการเมือง ถึงแม้ว่านางออง ซาน ซูจีและพรรคของเธอจะชนะ แต่ก็ยังเป็นแค่ชัยชนะในขั้นแรกเท่านั้น เพราะตั้งแต่นี้ต่อไป การแข่งขันกันทางการเมืองจะยิ่งน่าดูขึ้น นางซูจีและพรรคของเองจะได้พบกับปัญหาใหญ่ถึง 3 ขั้นดังนี้

หนึ่ง จะต้องต่อสู้ทางการเมืองกับกลุ่มทหารที่กุมอำนาจมาเนิ่นนาน กลุ่มทหารนี้ได้เห็นกันชัดเจนแล้วว่าจะไม่ยอมปล่อยมือจากอำนาจไปโดยง่าย จะต้องต่อสู้กันทางการเมืองทั้งในและนอกสภา จะต้องเฝ้าดูว่าใครจะแพ้ใครจะชนะ นางซูจีและพรรคของเธอจะแก้ไขปัญหาการเมืองภายในอย่างไรนั้นเรื่องนี้จะต้องใช้เวลาอีกนานทีเดียว

สอง สำหรับรัฐธรรมนูญปี 2008 ที่นักการเมืองฝ่ายทหารเขียนขึ้นเองฝ่ายเดียว และบังคับให้ประชาชนและกลุ่มชาติพันธ์รับรองนั้น เรียกได้ว่าเป็นธรรมและเอื้อประโยชน์ต่อกองทัพเท่านั้น ไม่เป็นธรรมต่อกลุ่มชาติพันธ์ในสหภาพเลย ในเรื่องนี้ทั้งกองทัพและนางซูจี เอ็นแอลดี ต้องทำใจให้กว้างๆ และยอมรับในข้อวิพากษ์วิจารณ์แต่ถ้าหากว่านางซูจี เต็งเส่ง และกลุ่มกองทัพของ พล.อ.มินอ่องแหล่งปฏิเสธข้อตกลง ที่มีอยู่ในสัญญาปางหลวงปี 1947 และในรัฐธรรมนูญปี 1948 แล้วไซร้ ก็หมายความว่าเส้นทางที่คิดว่าจะนำไปสู่ประชาธิปไตยนั้นยังคงมืดมนอยู่

สิ่งที่ประชาชนทุกชาติพันธ์ในสหภาพตั้งความหวังไว้นั้น ระยะทางมันก็ยังอีกยาวไกล ถ้าเหลียวมาดู ประเทศใกล้เคียงอาเซียน และโลกตะวันตก สิ่งที่เขาเหล่านั้นอยากเห็นคือ การที่สหภาพพม่ามีสันติภาพ แต่นั่นคงเป็นไปไม่ได้โดยง่าย ตามคำหาเสียงของนางซูจีที่กล่าวกับประชาชน เมื่อคราวไปหาเสียงเลือกตั้งซ่อม ที่รัฐไทยใหญ่และรัฐคะฉิ่นนั้น เธอได้หาเสียงไว้ว่า จะแก้ไขปัญหาทางการเมืองในสหภาพ โดยอ้างอิงจากข้อตกลงในสัญญาปางหลวงปี 1947 ตัวเต็งเส่งเองก็เคยได้กล่าวในการประชุมสภาว่า จะจัดการประชุมปางหลวงครั้งที่ 2 เพื่อแก้ไขปัญหาการเมืองในสหภาพ ถึงแม้จะมีการเปิดประเด็นอย่างนี้แล้วก็ตาม พวกเรากลุ่มชาติพันธ์ในสหภาพที่ไม่ใช่พม่า 7 ชาติ 7 รัฐ จะต้องเฝ้าดูว่า นางซูจี และเต็ง เส่ง จะทำตามคำพูดหรือไม่ ถ้าทำจะทำโดยวิธีใด

ซึ่งจริงๆ มีอยู่ 2 วิธีจะเป็นวิธีใหม่หรือเก่า ถ้าเป็นวิธีเก่าเหมือนข้อตกลงเมื่อปี 1947 นั้นแล้วไซร้ เราเชื่อมั่นว่าจะเป็นทางออกสำหรับการแก้ไขปัญหาทางการเมืองอย่างถูกต้อง แต่ถ้าหากจะทำโดยวิธีใหม่แล้วไม่เพียงแต่จะแก้ไขปัญหาบ้านเมืองไม่ได้ แต่จะยิ่งทำให้ปัญหามีความยุ่งยากมากไปกว่าเดิมไม่สิ้นสุด

อย่างไรก็ดี เราเชื่อมั่นว่านางซูจีผู้จะขึ้นมามีอำนาจในภายหน้ารวมทั้งเต็ง เส่ง จะอิงเอาสัญญาปางหลวงปี1947 เป็นกุญแจ สำหรับแก้ไขปัญหาการเมืองสืบต่อจากแผนการที่พ่อเธอทำไว้แต่ไม่เสร็จสมบูรณ์ ถึงแม้ว่าจะมีปัญหาบ้านเมืองที่ต้องแก้ไข โดยเฉพาะปัญหากลุ่มชาติพันธ์ที่เป็นปัญหาใหญ่ รวมทั้งปัญหาชนกลุ่มน้อยเองที่จะใช้โอกาสนี้ ขอสิทธิการปกครองตนเองต่อรัฐบาลใหม่ภายหลังการเลือกตั้งปี 2015 เหมือนกัน ซึ่งจริงๆ แล้วชนกลุ่มน้อยดังกล่าวเป็นเพียงกลุ่มคนที่ไร้ดินแดน อพยพย้ายอยู่ปะปนในรัฐต่างๆ อย่างกรณีรัฐไทใหญ่เคยมีชนกลุ่มน้อยหลายๆ กลุ่มที่ปะปนอยู่ เช่น ว้า ปะโอ ปะหล่อง เป็นต้น ซึ่งในที่สุดแต่ละกลุ่มก็จะขอสิทธิ์ดังกล่าว ซึ่งนอกจากจะมีความเป็นไปได้ยากบนความยินยอมของแต่ละฝ่ายแล้ว ยังจะเป็นต้นเหตุแห่งปัญหาอีกมากมาย

ผู้เขียนจึงอยากฝากถึงนางซูจี และ พรรคการเมืองหลายๆ พรรค อย่างเช่นเต็ง เส่ง และ มินอ่องแหล่ง ผบ.สส. ว่าถ้าอยากเห็นสหภาพสงบสุขจริงๆ พวกเราทุกฝ่ายทุกชนชาติในสหภาพทั้งหมด สมควรลดอัตตาโทสะ คือความเห็นแก่ตัวแล้วหันหน้าเข้าร่วมมือกัน สร้างความสามัคคีให้เกิดความมั่นคง สร้างเสรีภาพให้กับปวงชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ในด้านการปกครองทุกระดับต้องมีความเสมอภาค ไม่มีใครมากกว่าใครน้อยกว่าใครกำหนดให้มีแปดรัฐแปดชนชาติ พม่าก็เป็นชนชาติหนึ่ง รัฐหนึ่งร่วมกันกับอีกเจ็ดชนชาติเจ็ดรัฐ กลายเป็นแปดรัฐ ร่วมกันตั้งสหภาพให้มั่นคงยืนยาว ชื่อประเทศนั้นเป็นสหภาพ แต่จะใช้ชื่อสหภาพว่าอะไรนั้น เราทุกชนชาติต้องมาร่วมประชุมกัน และยึดเอาเสียงของประชาชนในการตัดสิน จึงค่อยกำหนดกันต่อไป เหมือนกับชื่อประเทศตอนนี้ ที่ชื่อว่าอาณาจักรพม่า ที่พึ่งเปลี่ยนเมื่อปี 1996 ก่อนจะเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน แต่ก่อนจะเปลี่ยนนั้นไม่ได้นำเอาความคิดของทุกชนชาติในสหภาพมาตัดสิน ดังนั้นจึงสมควรเปลี่ยน เพราะในความเป็นสหภาพนั้น ไม่ใช่มีแต่เพียงประเทศพม่าเท่านั้น ประชาชนทุกชนชาติในสหภาพเป็นเจ้าของแผนดิน ดังนั้นพม่าไม่ควรที่จะยึดถือว่าเป็นของตนแต่คนเดียวเมืองเดียว

ที่เรียกว่าเมืองสหภาพพม่าตามรัฐธรรมนูญปี 1958 นั้น ถ้ากลุ่มชาติพันธ์มีเจ็ดรัฐ ชาวพม่าก็จะต้องมีเจ็ดรัฐเหมือนกัน ข้อความที่ว่านี้ไม่ถูกต้อง เพราะชนชาติพม่ามีชนชาติเดียว ไม่ใช่หลายชนชาติ คนละกรณีกับเจ็ดรัฐเจ็ดชนชาติ เรื่องที่กล่าวมานี้สมควรที่จะปรับปรุงแก้ไขเพราะทำให้สิทธิในการปกครองไม่เท่าเทียมกัน ล่วงละเมิดดูถูกกัน ทั้งในหมู่ชนชาติต่อชนชาติ เมืองต่อเมือง เกิดการล่วงละเมิดต่อกัน เพราะผู้ปกคลองเองก็ไม่มีเมตตาธรรมไม่ยุติธรรม งมงายแต่ความมั่นคงในอำนาจแห่งชนชาติของตัวเอง ซึ่งถ้ายังจะใช้วิธีเก่าต่อไปแล้วละก็ ความปรารถนาที่อยากให้บ้านเมืองสงบร่มเย็นนั้น ก็เป็นเพียงแค่ความฝัน แต่เหตุการณ์จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรนั้น ก็เป็นการบ้านของผู้มีอำนาจที่จะต้องสืบทอดตามหน้าที่ของตน

ที่พูดมาทั้งหมดนี้ถ้าผู้เขียนมีโอกาสพบกับนางซู จี, เต็ง เส็ง, มินอ่องแหล่ง ข้อความเหล่านี้ผู้เขียนอยากถามแทนผู้ที่รักสันติภาพ ซึ่งอยากให้บ้านเมืองรุ่งเรือง อยากทราบว่าพวกเขาจะตอบปัญหาเหล่านี้อย่างไร

3. ปัญหาในพรรคเอ็นแอลดี และนโยบายการเมืองเนื่องจากบ้านเมืองวุ่นวายมายาวนานไม่สงบเสียที ปัญหาบ้านเมืองทุกวันนี้ต้องการคนเก่งมีความรู้เข้ามาแก้ไขโดยเร็ว ที่ยังแก้ไขไม่ได้และขนาดปัญหาก็ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ก็เพราะว่าที่ผ่านมาใช้วิธีการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองยังไม่ถูกต้องและก็ไม่ได้ตรงตามความต้องการของประชาชน ทำให้ประชาชนและบ้านเมืองตกระกำลำบากอยากจน และปัญหาการเมืองนี้เองที่ลุกลามไปในทุกๆ ด้านของสังคม อย่างปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาที่หมักหมมมาอย่างยาวนาน ไม่เคยแก้ไขได้สักที และยังมากมายกว่าเก่า เป็นปัญหาที่กระทบสังคมมายาวนาน รวมถึงต่างประเทศก็เข้าใจผิดต่อกลุ่มชาติพันธ์ในสหภาพ ซึ่งลุกขึ้นจับอาวุธต่อสู้ปกป้องชนชาติของตนเอง เพราะกองทัพพม่าใช้ปัญหายาเสพติดเป็นเครื่องมือทางการเมืองและเศรษฐกิจ โดยยัดเยียดความผิดดังกล่าวให้กลุ่มผู้รักชาติติดอาวุธ ที่สู้เพื่อสิทธิในการปกครองและปกป้องชนชาติของตนเองมาทุกยุคทุกสมัย

ต่อมาคือปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนกลุ่มชาติพันธ์ในสหภาพ ที่ไม่ใช่ชนชาติของตนเอง เรื่องการยึดเอาสมบัติไร่นาของประชาชน เจ้าหน้าที่บ้านเมืองที่มีอำนาจไม่เพียงแต่ใช้อำนาจเกินไปเท่านั้น ยังมีการคอรัปชั่น ตั้งแต่ชั้นผู้น้อยจนถึงชั้นผู้ใหญ่ ปัญหาเหล่านี้สร้างความกระทบต่อประเทศและประชาชนอย่างหนักจริงๆ ประชาชนทุกชนชาติไม่เคยพบกับความเป็นธรรมจากเผด็จการที่ปกครองประเทศเลย ดังนั้นความหวังที่อยากให้ประเทศเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยซึ่งประชาชนได้มีส่วนร่วมทางอำนาจเพื่อแก้ไขปัญหาบ้านเมือง ก็ยังคงเป็นความหวังที่ริบหรี่ อย่างไรก็ตามการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง จะต้องมาพร้อมกับบุคคลผู้มีความรู้ มีใจเมตตาธรรม มีความกล้าหาญ ซึ่งเข้ามาเพื่อแก้ไขปัญหาบ้านเมืองที่ค้างคามานานอย่างจริงจังโดยไม่หวังประโยชน์ส่วนตัว

สำหรับนางซูจี และพรรคของเธอที่ประชาชนฝากความหวังไว้นั้น จะแก้ไขปัญหาได้จริงหรือไม่นั้น ยังคงเป็นคำถามสำหรับผู้ที่ตกลงใจเลือกพรรคของเธอ ตัวเธอและพรรคจะต้องตอบประชาชนให้ได้ว่าทำได้หรือไม่ได้ ถ้าได้จะทำอย่างไรเมื่อไหร่ เพราะนั่นคือความหวังของผู้ที่เชื่อมั่นในพรรคของเธอ ถ้าปล่อยเวลาให้เนิ่นนานไป ผลงานไม่เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาประชาชนแล้วละก็ ความเชื่อมั่นของที่มีต่อเธอและพรรคก็อาจจะหมดลงไป และยังจะเป็นโอกาสสำหรับพรรครัฐบาลที่มีกองทัพหนุนหลัง เบียดแย่งเอาคะแนนเสียงคืนกลับมารับตำแหน่ง มีโอกาสได้ใช้อำนาจดังเดิมแล้วบ้านเมืองจะเป็นเช่นไร ด้วยเหตุนี้ข่าวการเมืองโด่งดังที่สร้างความฮือฮา ก็เป็นแค่การเคลื่อนไหวเล็กๆ น้อยๆชั่วคราวเท่านั้น ยังไม่ถือว่าเป็นความเปลี่ยนแปลงที่แน่นอน อันจะนำเอาอนาคตที่ดีมาสู่สหภาพได้ แท้จริงแล้วก็คือการเมืองเป็นเรื่องที่ฝ่ายใดก็ไม่อาจประมาทได้เพราะในหมู่การเมืองไม่มีมิตรแท้ และศัตรูที่ถาวร

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net