Skip to main content
sharethis

พบผู้มีงานทำ 38.06 ล้านคน ผู้ว่างงาน 2.56 แสนคน ภาคกลางว่างงานสูงที่สุด อัตราส่วนสถานประกอบการทุก 100,000 แห่ง จะมีสหภาพแรงงานเพียง 398–399 แห่ง สำนักวิจัยต่างประเทศชี้ไทยอยู่ใน 9 ประเทศที่มีอัตราการว่างงานต่ำที่สุดในโลก

ภาวะการมีงานทำ

จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2555 พบผู้ที่อยู่ในวัยกำลังแรงงาน มีจำนวนทั้งสิ้น 38.80 ล้านคน ประกอบด้วย ผู้มีงานทำ 38.06 ล้านคน ผู้ว่างงาน 2.56 แสนคน และผู้ที่รอฤดูกาล 4.84 แสนคน ทั้งนี้ ผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงานมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันกับปี 2554 จำนวน 7.2 แสนคน (จาก 38.08 ล้านคน เป็น 38.80 ล้านคน)

โดยผู้มีงานทำ 38.06 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันกับปี 2554 จำนวน 5.1 แสนคน (จาก 37.55 ล้านคน เป็น 38.06 ล้านคน) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 ซึ่งมีผู้ทำงานเพิ่มขึ้นและลดลงในสาขาต่าง ๆ ได้ดังนี้

ผู้ทำงานเพิ่มขึ้น ได้แก่ ผู้ทำงานในสาขาการเกษตร เพิ่มขึ้น 5.2 แสนคน (จาก 12.93 ล้านคน เป็น 13.45 ล้านคน) สาขาการผลิต เพิ่มขึ้น 5.6 แสนคน (จาก 5.42 ล้านคน เป็น 5.98 ล้านคน) สาขาการบริหารราชการ การป้องกันประเทศ และการประกันสังคมภาคบังคับเพิ่มขึ้น 6.0 หมื่นคน (จาก 1.62 ล้านคน เป็น 1.68 ล้านคน) สาขากิจกรรมทางการเงิน และการประกันภัยเพิ่มขึ้น 5.0 หมื่นคน (จาก 0.38 ล้านคน เป็น 0.43 ล้านคน) ตามลำดับ

ส่วน ผู้ทำงานลดลง ได้แก่ ผู้ทำงานในสาขาการก่อสร้าง ลดลง 1.80 แสนคน (จาก 2.72 ล้านคน เป็น 2.54 ล้านคน) สาขาที่พักแรมและการบริการด้านอาหาร 1.50 แสนคน (จาก 2.51 ล้านคน เป็น 2.36 ล้านคน) สาขาการศึกษา 1.1 แสนคน (จาก 1.39 ล้านคน เป็น 1.28 ล้านคน) สาขาการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมยานยนต์ และรถจักรยานยนต์ 8.0 หมื่นคน (จาก 6.19 ล้านคน เป็น 6.11 ล้านคน) สาขากิจกรรมบริการด้านอื่น ๆ เช่น กิจกรรมบริการเพื่อสร้างเสริมสุขภาพร่างกายการดูแลสัตว์เลี้ยง การบริการซักรีดและซักแห้ง เป็นต้น 3.0 หมื่นคน (จาก 1.75 ล้านคน เป็น 0.72 ล้านคน) สาขาการขนส่ง และสถานที่เก็บสินค้า 2.0 หมื่นคน (จาก 1.07 ล้านคน เป็น 1.05 ล้านคน) สาขากิจกรรมด้านสุขภาพและงานสังคมสงเคราะห์ 2.0 หมื่นคน (จาก 0.66 ล้านคน เป็น 0.64 ล้านคน) และสาขากิจกรรมอสังหาริมทรัพย์ 1.0 หมื่นคน (จาก 0.11 ล้านคน เป็น 0.10 ล้านคน) ตามลำดับ

สำหรับผู้ว่างงานทั่วประเทศมีจำนวน 2.56 แสนคน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 0.7 ของกำลังแรงงานรวม (ลดลง 1.2 หมื่นคน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปี 2554) ประกอบด้วยผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อนจำนวน 8.3 หมื่นคน อีกส่วนหนึ่งเป็นผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อนจำนวน 1.73 แสนคน โดยเป็นผู้ว่างงานที่มาจากภาคการบริการและการค้า 8.0 หมื่นคน ภาคการผลิต 6.3 หมื่นคน และภาคเกษตรกรรม 3.0 หมื่นคน

โดยผู้ว่างงานที่มีการศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษา จำนวน 8.8 หมื่นคน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 6.8 หมื่นคน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 4.8 หมื่นคน ระดับประถมศึกษา 3.1 หมื่นคน และไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษา 2.1 หมื่นคน ตามลำดับ

ทั้งนี้ผู้ว่างงานส่วนใหญ่อยู่ในภาคกลาง 7.2 หมื่นคน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 6.8 หมื่นคน ภาคเหนือ 5.3 หมื่นคน กรุงเทพมหานคร 3.3 หมื่นคน และภาคใต้ 3.0 หมื่นคน หากคิดเป็นอัตราการว่างงานกรุงเทพมหานครมีอัตราการว่างงานสูงสุด ร้อยละ 0.8 ส่วนภาคที่มีอัตราการว่างงานต่ำสุดเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 0.5

คนงานในอุตสาหกรรม

จากข้อมูลของกระทรวงแรงงานพบว่าอัตราการจ้างงานจำแนกตามอาชีพ 5 อันดับแรก ปี 2554 ภาคเกษตร 13,793,927 คน ภาคบริการ 7,536,882 คน ผู้ปฏิบัติงานด้านความสามารถทางฝีมือ 4,499,637 คน อาชีพพื้นฐานต่างๆ 4,181,230 และผู้ปฏิบัติการโรงงานและเครื่องจักร 3,081,625 คน

ส่วนผู้มีงานทำจำแนกตามประเภทอุตสาหกรรมนอกภาคเกษตรกรรม 5 อันดับแรก ได้แก่ ภาคการบริหารราชการ 1.55 ล้านคน (ร้อยละ 6.62) ภาคการก่อสร้าง 2.31 ล้านคน (ร้อยละ 9.85) ภาคกิจการโรงแรม 2.61 ล้านคน (ร้อยละ 11.13) ภาคการผลิต 5.32 ล้านคน (ร้อยละ 22.65) ภาคการขายส่ง 5.99 ล้านคน (ร้อยละ 25.51)

องค์กรแรงงาน

จากข้อมูลของกระทรวงแรงงาน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 จำนวนองค์กรแรงงาน มีทั้งสิ้น 1,766 แห่ง จากสถานประกอบกิจการทั้ง หมด 344,578 แห่ง ลูกจ้าง 7,514,875 คน มีองค์กรลูกจ้าง 1,406 แห่ง ประกอบด้วย สภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ 44 แห่ง สภาพแรงงานในกิจการเอกชน 1,329 แห่ง สหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ 1 แห่ง สหพันธ์แรงงาน 19 แห่ง สภาองค์กรลูกจ้าง 13 แห่ง

โดยที่อัตราสหภาพแรงงานต่อสถานประกอบกิจการ 100,000 แห่ง อยู่ที่ 398.46 อัตรา เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.52 จากปี 2553 เฉลี่ยแล้วสถานประกอบการทุก 100,000 แห่ง จะมีสหภาพแรงงาน 398–399 สหภาพ

ส่วนอัตราสหพันธ์แรงงานต่อสหภาพแรงงานทั้งหมดอยู่ที่ร้อยละ 1.38 อัตราการเปลี่ยนแปลงลดลงจากปี 2553 ร้อยละ 9.50 แสดงว่าทุกสหภาพแรงงาน 100 สหภาพ จะมีการรวมตัวกันขึ้นมาเป็นสหพันธ์แรงงาน 1–2 สหพันธ์แรงงาน

ส่วนอัตราการเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน (ในสถานประกอบกิจการที่มีสหภาพแรงงาน) ต่อจำนวนลูกจ้างทั้งหมดอยู่ที่ร้อยละ 7.42 เป็นอัตราเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นจากปี 2553 ร้อยละ 11.13 แสดงว่าลูกจ้างทุกๆ 100 คนจะเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน 11–12 คน

ปัญหาด้านแรงงานสัมพันธ์

กรณีปัญหาแรงงานสัมพันธ์มีระดับปัญหาจำแนกไว้ 2 ระดับ ได้แก่ ข้อขัดแย้ง และ ข้อพิพาทแรงงาน ทั้งนี้ข้อขัดแย้งหมายถึง ความขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างที่ไม่ถือว่าเป็นข้อพิพาท สำหรับข้อพิพาทแรงงาน หมายถึงปัญหาอันเกิดขึ้นจากการขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างในเรื่องผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งมีการแจ้งข้อเรียกร้อง และมีการเจรจากันแล้วแต่ตกลงกันไม่ได้ หรือไม่มีการเจรจากันภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด (3 วัน) และฝ่ายที่แจ้ง ข้อเรียกร้องได้แจ้งให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานทราบ

จากข้อมูลของกระทรวงแรงงานพบว่า อัตราการเกิดปัญหาแรงงานสัมพันธ์ต่อสถานประกอบกิจการ 100,000 แห่ง ในปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 69.07 อัตราเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 1 2.4 0 แสดงว่าสถานประกอบการทุก 100,000 แห่ง จะเกิดปัญหาแรงงานสัมพันธ์ 69 – 70 แห่ง หากจำแนกเฉพาะข้อพิพาทแรงงานพบว่ามีอัตราการเกิด ข้อพิพาทต่อสถานประกอบกิจการ 100,000 แห่ง อยู่ที่ 22.93 ซึ่งคิดเป็นอัตราเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 28.63 แสดงว่าสถานประกอบการทุก 100,000 แห่ง จะเกิดข้อพิพาท 22–23 แห่ง

สำหรับข้อขัดแย้ง พบว่ามีอัตราการเกิดข้อขัดแย้งต่อสถานประกอบกิจการ 100,000 แห่ง อยู่ที่ 46.14 เพิ่มขึ้นจากปี 2553 ร้อยละ 5.77 แสดงว่าสถานประกอบการทุก 100,000 แห่ง จะเกิดข้อขัดแย้ง 46 – 47 แห่ง

ตัวเลขอื่นๆ ที่น่าสนใจ color:#0000CC">

ค่าแรงขั้นต่ำในเขตอุตสาหกรรมสำคัญๆ ของไทย (ก่อนและหลังการนโยบายขึ้นค่าแรง 40%)



เขตอุตสาหกรรม


ก่อนนโยบายขึ้นค่าแรง 40%


หลังนโยบายขึ้นค่าแรง 40%


ลำพูน


169


236


ระยอง


189


264


อยุธยา


190


265


สระบุรี


193


269


ฉะเชิงเทรา


193


269


ชลบุรี


196


273


ปทุมธานี 


215


300


สมุทรปราการ


215


300


กรุงเทพมหานคร 


215


300

ค่าจ้างตามวุฒิการศึกษาในอุตสาหกรรมต่างๆ 

จากข้อมูลของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมกับคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ที่ร่วมกันทำโครงการสำรวจค่าจ้างและสวัสดิการ ประจำปี 2553/2554 โดยการสำรวจค่าจ้างและสวัสดิการในครั้งนี้ทางคณะทำงานรวบรวมข้อมูลจากสถานประกอบการ 302 แห่งมีทั้งสถานประกอบการไทย ต่างชาติและร่วมทุน และเป็นทั้งธุรกิจขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก กระจายไปในกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรม 26 กลุ่ม ทุกพื้นที่ของประเทศ ได้รายละเอียดดังนี้

ค่าจ้างขั้นต้นสำหรับผู้ไม่มีประสบการณ์ มีค่าเฉลี่ย ดังนี้

-วุฒิปวช.          6,590 บาท
-ปวส.               7,697 บาท
-ปริญญาตรี      11,518 บาท
-ปริญญาโท      16,868 บาท
-ปริญญาเอก     24,691 บาท

ค่าจ้างขั้นต้นสูงที่สุด จำแนกตามสาขาวิชาระดับ ปวช.และปวส. ผู้ที่จบมาจากช่างเทคนิคค่าจ้างขั้นต้นสูงที่สุดคือ  6,694 บาทและ 7,903 บาท ส่วนต่ำที่สุดคือด้านคหกรรมศาสตร์ สำหรับปวช. และปวส.อยู่ที่ 6,196.- และ 7,169 บาท ระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก วิศวกรรมศาสตร์ ได้ค่าจ้าง 15,056 บาท 19,670 บาท และ 37,840 บาท ตามลำดับ 

จำแนกตามกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมกลุ่มอุตสาหกรรมที่ให้ค่าจ้างขั้นต้นแก่ผู้ไม่มีประสบการณ์ระดับปวช. และปวส. สูงที่สุด คือ กลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าโดยมีค่าจ้าง 9,500 บาท 12,369 บาท ระดับปริญญาตรี อุตสาหกรรมที่ให้ค่าจ้างขั้นต้น  สูงสุดเป็นผู้ผลิตไฟฟ้า ให้ที่  17,774 บาท กลุ่มปิโตรเคมี ก๊าซและพลังงานทดแทนให้ค่าจ้างขั้นต้น 14,147 บาท ระดับปริญญาโท อุตสาหกรรมยานยนต์จ่ายค่าจ้างขั้นต้นให้สูงที่สุดคือ 21,074 บาท ส่วนปริญญาเอก อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางให้ค่าจ้างขั้นต้น 30,000 บาท

ค่าแรง ‘คอปกขาว’ ในอุตสาหกรรมต่างๆ (ก่อนนโยบายขึ้นค่าแรง 40%)

จากการสำรวจ Thailand Salary Guide 2012 โดย Adecco Group Thailand สำรวจตัวอย่างคนทำงานในแผนกต่างๆ พบฐานเงินค่าตอบแทนต่ำสุดและสูงสุดของพนักงานใหม่หรือทำงานน้อยกว่า 5 ปี ได้ดังนี้



ลักษณะงาน


ค่าตอบแทนต่ำสุด (บาท)


ค่าตอบแทนสูงสุด (บาท)


ฝ่ายกฎหมาย


10,000


50,000


ฝ่ายจัดการ


10,000


60,000


ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์


10,000


60,000


ฝ่ายบัญชี


10,000


80,000


ฝ่ายขาย


10,000


80,000


ฝ่ายการตลาดและประชาสัมพันธ์


10,000


80,000


ฝ่ายไอที


10,000


100,000


ฝ่ายเทคนิคอุตสาหกรรม


12,000


40,000


ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์


12,000


45,000


ฝ่ายการเงิน


13,000


45,000


ฝ่ายวิจัย


15,000


25,000


วิศวกร


15,000


60,000


ฝ่ายซัพพลายเชน


15,000


60,000


ฝ่ายลอจิสติกส์


18,000


30,000

สำนักวิจัยต่างประเทศชี้ไทยอยู่ใน 9 ประเทศที่มีอัตราการว่างงานต่ำที่สุดในโลก

สำนักวิจัยต่างประเทศอย่าง Gallup รายงานผลการสำรวจอัตราการว่างงานประจำปี ค.ศ. 2011 (2011 global unemployment report) ซึ่งสำรวจใน 148 ประเทศและเขตปกครองพิเศษทั่วโลก พบว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 9 ประเทศทั่วโลก ที่มีอัตราการว่างงานต่ำที่สุด หรือต่ำกว่าร้อยละ 5 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศในปีที่ผ่านมา ถือเป็นสิ่งบ่งชี้ว่า ไทยเป็นแดนสวรรค์ในด้านแรงงาน

โดย 9 ประเทศที่มีอัตราการว่างงานต่ำที่สุดในโลก ประกอบไปด้วย 4 ประเทศในยุโรป คือ ออสเตรีย เบลารุส มอนเตเนโกร และยูเครน, และอีก 5 ประเทศในเอเชีย ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน เวียดนาม และประเทศไทย



1. Austria

> Unemployment: 5%

> GDP: $351.4 billion (35th highest, out of 225)

> GDP per capita (PPP): $41,700 (18th highest, out of 226)

> Pct. working full-time for an employer: 50%+


2. Belarus

> Unemployment: 5%

> GDP: $141.2 billion (60th highest, out of 225)

> GDP per capita (PPP): $14,900 (85th highest, out of 226)

> Pct. working full-time for an employer: 50%+


3. China

> Unemployment: 5%

> GDP: $11.3 trillion (2nd highest, out of 225)

> GDP per capita (PPP): $8,400 (119th highest, out of 226)

> Pct. working full-time for an employer: 30% – 39%


4. Japan

> Unemployment: 5%

> GDP: $4.4 trillion (4th highest, out of 225)

> GDP per capita (PPP): $34,300 (37th highest, out of 226)

> Pct. working full-time for an employer: 50%+


5. Montenegro

> Unemployment: 5%

> GDP: $7.0 billion (152nd highest, out of 225)

> GDP per capita (PPP): $11,200 (104th highest, out of 226)

> Pct. working full-time for an employer: 50%+


6. Taiwan

> Unemployment: 5%

> GDP: $885.3 billion (19th highest, out of 225)

> GDP per capita (PPP): $37,900 (28th highest, out of 226)

> Pct. working full-time for an employer: 50%+


7. Thailand

> Unemployment: 5%

> GDP: $601.4 billion (24th highest, out of 225)

> GDP per capita (PPP): $9,700 (112th highest, out of 226)

> Pct. working full-time for an employer: 20% – 29%


8. Ukraine

> Unemployment: 5%

> GDP: $329.0 billion (38th highest, out of 225)

> GDP per capita (PPP): $7,200 (132nd highest, out of 226)

> Pct. working full-time for an employer: 50%+


9. Vietnam

> Unemployment: 5%

> GDP: $299.2 (42nd highest, out of 225)

> GDP per capita (PPP): $3,300 (167th highest, out of 226)

> Pct. working full-time for an employer: 20% – 29%

ตารางแสดง 9 ประเทศที่มีอัตราการว่างงานต่ำที่สุด หรือต่ำกว่าร้อยละ 5 จากการสำรวจ 2011 global unemployment report ของ Gallup

ในรายงานระบุว่า ประเทศไทยซึ่งมีรายได้เฉลี่ยต่อตัวของประชากรราว 9,700 ดอลลาร์สหรัฐฯ (299,479 บาท) ต่อคนต่อปีนั้น และการที่ประเทศไทยมีอัตราการว่างงานต่ำ ก็เนื่องจากเศรษฐกิจของไทยมีการพัฒนาอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา อีกทั้งยังมีตัวขับเคลื่อนสำคัญ คือ รายได้จากการส่งออก ที่มีสัดส่วนครอบคลุมมากกว่าครึ่งหนึ่งของรายได้ประชาชาติของไทย รวมถึงเม็ดเงินลงทุนจำนวนมหาศาลจากต่างประเทศ

ทั้งนี้จากข้อมูลของธนาคารโลกก็ระบุว่า อัตราการว่างงานเฉลี่ยของไทยตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา มีเพียงแค่ร้อยละ 2 ของประชากรเท่านั้น

 

ที่มา:

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
หนังสือพิมพ์สยามธุรกิจ
กระทรวงแรงงาน
สำนักงานสถิติแห่งชาติ
Adecco Group Thailand
http://www.foxbusiness.com color:#0000CC">

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net