Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

 

บทคัดย่อ

บทความต่อไปนี้เป็นการเรียบเรียงเนื้อหาที่เกี่ยวเนื่องกันของบทความวิชาการก่อนหน้านี้สองบทความคือ “สืบค้นไท-ลาวภูคัง/ครัง/คลั่ง/ครั่งอีกครั้ง: ตำแหน่งแห่งที่, ประวัติศาสตร์ และ กระบวนวิธีวิทยา”ตีพิมพ์ในวารสารหน้าจั่วฉบับประวัติศาสตร์เล่ม8 และ บทความเรื่อง “ไท-ลาว ครั่ง-คัง: ชาติพันธุ์จินตกรรม”  ในการประชุมวิชาการ “ศิลปากรวิจัยและสร้างสรรค์ ครั้งที่ 5: บูรณาการศาสตร์และศิลป์”  โดยสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากรและเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่างสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)ในเดือนมกราคมปีพ.ศ.2555               

บทความถือเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเรื่อง”การศึกษาแบบองค์รวมของการปรับตัวในบริบทใหญ่ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทลาวในลุ่มน้ำภาคกลางประเทศไทย”  ซึ่งได้รับทุนอุดหนุนวิจัยศาสตราจารย์ดีเด่นประจำปีพ.ศ. 2552   จากหน่วยงานทั้งสามคือมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัยและ สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาแห่งชาติ ร่วมกันสนับสนุนทุนอุดหนุน สำหรับ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ อรศิริ ปาณินท์

แม้ว่าโครงการวิจัยนี้จะอยู่ในสาขาวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ทว่าการทบทวนเอกสารอย่างรอบคอบได้พบว่า การที่จะได้เลือกใช้มโนทัศน์กลุ่มชาติพันธุ์(ethnic group)กลุ่มลาวครั่งเป็นฐานคติในการศึกษายังมีสภาพของความกำกวมไม่คงที่(inconsistency)และมีต้นเหตุที่ยังเป็นที่สงสัย(questionable cause) จนไม่อาจนำมาใช้เป็นพื้นฐานในการศึกษาวิจัยต่อได้ จึงมีความจำเป็นที่จะย้อนรอยศึกษาด้วยวิธีวิทยาเชิงประวัติศาสตร์จากหลักฐานชั้นต้นหรือข้อมูลปฐมภูมิ (primary sources) ที่เป็นต้นตอต้นเหตุ ได้แก่ จดหมายเหตุตัวเขียนโบราณรัตนโกสินทร์ได้แก่จดหมายเหตุในรัชกาลที่๒สองรายการและจดหมายเหตุในรัชกาลที่ ๓ อีกหนึ่งรายการ  และเอกสารที่เกี่ยวเนื่องชั้นต่อมาได้แก่การศึกษาทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับ ”ส่วยครั่ง”; การศึกษา “ทำเนียบหัวเมืองรศ.๑๑๘”;และ”วิถีชุมชนนครชัยศรี” เป็นต้น  การศึกษาพบความบกพร่องของการตีความก่อนหน้านี้จึงลดความกำกวมทางประวัติศาตร์ลงได้ ทว่าการถูกนำไปใช้อ้างอิงในวงวิชาการของเอกสารการศึกษาทางประวัติศาสตร์ต้นทางก็มีส่วนด้านกลับกันในการสร้างตัวแบบชาติพันธุ์จินตกรรม “ลาวครั่ง” ขึ้นด้วย   อย่างไรก็ตามประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์นั้นเป็นพื้นฐานทางวิชาการสำหรับการวิจัยชาติพันธุ์วรรณามานุษยวิทยาชาติพันธุ์  และการวิจัยด้านชาติพันธุ์วรรณาหรือมานุษยวิทยาชาติพันธุ์ก็จะเป็นพื้นฐานทางวิชาการที่สนใจวัตถุธรรมทางวัฒนธรรม ซึ่งรวมถึงสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นศึกษาอีกต่อหนึ่ง  การย้อนพลวัตศึกษานี้นอกจากจะเป็นเครื่องมือที่ทบทวนซึ่งกันและกันทั้งต่อประวัติศาสตร์มานุษยวิทยาชาติพันธุ์แล้วยังเป็นการเสริมความสามารถของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นศึกษาที่จะเข้าถึงความหมายระดับสูงของสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างจะเป็นโอกาสทางวิชาการของสาขาวิชานี้ที่ช่วยให้เข้าใจและแก้ไขวิกฤตการณ์ทางสังคมและสิ่งแวดล้อมของสังคมไทยในปัจจุบัน

 

โปรดดาวน์โหลดฉบับเต็มได้ที่นี่

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net